โรคซาร์ส (SARS) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคซาร์ส (SARS) คืออะไร

โรคซาร์ส (SARS) ชื่อภาษาอังกฤษ “Severe Acute Respiratory Syndrome”  คือ โรคทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลัน หมายถึง โรคปอดอักเสบรุนแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดโคโรนา ชื่อ SARS ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.2003 ในปี 2003 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ SARS เป็นภัยคุกคามของโลก  และโรคไข้หวัดมรณะนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 774 คน

อาการของโรคทางเดินหายใจซาร์ส

อาการคล้ายไข้หวัด เช่น :

  • ไข้สูงกว่า 38 องศา
  • ไอแห้ง
  • เจ็บคอ
  • หายใจลำบาก หายใจตื้นๆ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยร่างกาย
  • เบื่ออาหาร
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • เหงื่อออกกลางคืนและหนาวสั่น
  • สับสน
  • ผื่นขึ้น
  • ท้องเสีย
ปัญหาด้านการหายใจจะเกิดภายใน 2-10 วัน หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ หลังจากติดเชื้อไวรัสแล้วเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะกักตัวผู้ป่วยที่มีอาการข้างต้นและสมาชิกในครอบครัว หากมีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ผู้นั้นจะถูกกักตัว 10 วัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสSARS

เชื้อไวรัส SARS แพร่กระจายได้อย่างไร

โรคนี้ติดต่อได้เมื่อผู้ป่วย ไอ จาม หรือใกล้ชิดกับผู้อื่น การใกล้ชิดเช่น 
  • ทำงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคนี้
  • สัมผัสกับของเหลวที่ออกมาจากร่างกายผู้ป่วย
  • จูบ กอด สัมผัส หรือกินอาหาร หรือเครื่องดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ
คุณอาจติดเชื้อ SARS ด้วยการสัมผัสพื้นผิวที่มีน้ำลาย หรือเสมหะจากผู้ติดเชื้อแล้วนำมามาสัมผัสที่ตา ปาก จมูกของตนเอง นอกจากนี้เชื้อไวรัสดังกล่าวอาจแพร่กระจายผ่านอากาศได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อยืนยันที่ชัดเจน  การรักษาโรคระบบทางเดินหายใจซาร์ส ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ใช้ได้สำหรับผู้ป่วยทุกคน มีเพียงการรักษาตามอาการ ด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสและยาสเตียรอยด์เพื่อใช้ลดความบวมของปอด แต่การใช้ยาอาจใช้ไม่ได้ผลสำหรับทุกคนเสมอไป  ในกรณีที่รุนแรงจำเป็นต้องให้ออกซิเจนหรือใส่เครื่องช่วยหายใจและอาจเติมน้ำเลือด(พลาสมา) จากผู้ป่วยที่หายแล้ว แต่ยังไม่มีหลักฐานมากพอที่จะยืนยันได้ว่าวิธีดังกล่าวนี้ใช้ได้ผล

แนวโน้มทั่วไปของโรค

นักวิจัยยังพยายามผลิตวัคซีนโรคนี้ แต่ยังไม่มีการเริ่มทดลองในคน เนื่องจากยังไม่มีวิธีรักษาโรคให้หายขาด ดังนั้นควรมีมาตรการป้องกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิธีการป้องกันการแพร่เชื้อ หากคุณอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางเดินหายใจอักเสบติดเชื้อ มีดังต่อไปนี้
  • ควรล้างมือบ่อยๆ
  • หากจะต้องสัมผัสของเหลวจากตัวผู้ป่วย ควรใส่ถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง
  • ใส่หน้ากากชนิดเดียวกับที่ใช้ในห้องศัลยกรรม หากต้องอยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วย
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวที่เกิดการปนเปื้อนของไวรัส
  • ทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น เครื่องนอนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับผู้ป่วย
ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวให้ครบอย่างน้อย 10 วันหลังจากอาการของโรคหายไปแล้ว หากพบว่าลูกหลานของคุณเริ่มมีไข้หรือมีอาการทางการหายใจ หลังจากสัมผัสผู้ที่เป็นโรค ควรหยุดพักรักษาตัวเองที่บ้าน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด