น้ำเกลือล้างแผล คืออะไร
น้ำเกลือเป็นสารละลายที่นิยมใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยที่น้ำเกลือไม่ได้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ น้ำเกลือที่นิยมใช้นั้นจะมีความเข้มข้นที่ 0.9% หรือในสารละลาย 100 มิลลิตร จะมีโซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride : NaCl) อยู่ 0.9 กรัม ทางการแพทย์เรียกน้ำเกลือชนิดนี้ว่า “นอร์มัลซาไลน์” (Normal Saline Solution หรือ NSS) ระดับความเข้มข้นที่เลือกใช้นั้นมาจากระดับความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายมนุษย์นั่นเอง ขั้นตอนการผลิตน้ำเกลือชิดนี้ต้องผ่านกระบวนการทำฆ่าเชื้อ (Sterile) และสารก่อไข้ (Pyrogen) ด้วยความร้อนสูง อย่างไรก็ดีนอกจากน้ำเกลือล้างแผลแล้วยังมีน้ำเกลือชนิดอื่น ๆ ที่ถูกใช้ทางการแพทย์อีกด้วย ล้างแผลเปิดอย่างไรให้ปลอดภัยอ่านต่อที่นี่ประเภทของน้ำเกลือ
ประเภทของน้ำเกลือ จะถูกระบุเอาไว้ที่ข้างขวดน้ำเกลือ ดังนี้ For Irrigation เป็นน้ำเกลือล้างแผล ล้างจมูก ล้างตา หรือใช้ล้างคอนแทคเลนส์ก็ได้ โดยน้ำเกลือ For Irrigation จะถูกแบ่งตามระดับของความบริสุทธิ์ดังนี้- Non-sterile เป็นน้ำเกลือล้างแผลที่ใช้น้ำกลั่นในกระบวนการผลิต มีความสะอาด และควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ สิ่งแปลกปลอมให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ใช้ในการล้างแผลและล้างจมูกได้ แต่อาจไม่เหมาะสมสำหรับการล้างตา
- Sterile เป็นการนำน้ำเกลือชนิด Non-sterile มาฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ทำให้น้ำเกลือมีความบริสุทธิ์มากขึ้น สามารถนำมาล้างตา และล้างคอนแทคเลนส์ หรือเช็ดทำความสะอาดใบหน้าได้ บางครั้งอาจระบุที่ขวดว่า ‘For Rinsing Contact Lens’ แต่ยังไม่บริสุทธิ์พอที่จะฉีดเข้าหลอดเลือด
ข้อควรระวังในการใช้น้ำเกลือ
น้ำเกลือเป็นวิธีล้างแผลที่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำเกลือที่มีฉลาก วันที่ผลิต และวันที่หมดอายุระบุไว้อย่างชัดเจน หรือได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้มั่นใจว่ามีกระบวนการผลิตที่ปลอดเชื้อ ภายใต้กรรมวิธีที่ได้มาตรฐาน ด้วยความร้อนสูง ไร้สิ่งปนเปื้อนแปลกปลอม หรือเกิดความผิดปกติของน้ำเกลือ การใช้น้ำเกลือเป็นอุปกรณ์ล้างแผลควรใช้ให้หมด ภายใน 30 วันหลังเปิดขวด อาจจดบันทึกวันที่เปิดใช้ขวดน้ำเกลือเอาไว้ทุกครั้ง เนื่องจากน้ำเกลือไม่มีสารกันเสีย การเปิดใช้เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ จึงต้องระมัดระวังการใช้งาน และเก็บรักษา ควรล้างมือให้สะอาดก่อนใช้น้ำเกลือ เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (ห่างไกลจากความชื้น ความร้อน และแสงแดด) หยุดใช้เมื่อพบว่าน้ำเกลือมีสิ่งปนเปื้อน สกปรก หรือเกิดการเปลี่ยนสี น้ำเกลือที่เก็บในที่ ๆ มีอากาศร้อนอาจยังมีคุณสมบัติเป็นยาล้างแผลเหมือนเดิม แม้ว่าบนฉลากจะระบุวิธีเก็บรักษาในที่ ๆ มีอุณภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียสก็ตาม เพราะส่วนประกอบของน้ำเกลือมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และน้ำเกลือทุกขวดล้วนผ่านกระบวนการผลิตฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียสมาแล้ว สำหรับ NSS ที่บรรจุในขวดพลาสติกขนาดเล็กสำหรับใช้เพียงครั้งเดียว ก่อนใช้ควรเขย่าเบา ๆ ให้น้ำยาที่ค้างปลายหลอดกลับลงไปในหลอด จากนั้นให้ใช้มือข้างหนึ่งจับหลอดเอาไว้ให้แน่น ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งของมืออีกข้างจับส่วนของปลายด้านบนของหลอดเอาไว้ จากนั้นจึงบิดเพื่อเปิดใช้งาน (NSS ในรูปแบบนิยมใช้ล้างดวงตา หยอดจมูก หรือล้างแผลขนาดเล็ก) ทางเลือกของน้ำยาล้างแผลที่ปลอดภัย อ่านต่อที่นี่วิธีล้างแผลด้วยน้ำเกลือ
การใช้ผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์มาปิดบริเวณที่เกิดบาดแผล ไม่สามารถป้องกันแผลจากสิ่งสกปรกได้ แต่ควรล้างแผลให้สะอาดก่อนปิดบาดแผล โดยมีวิธีการล้างแผลดังนี้- ล้างมือให้สะอาด ควรสวมถุงมือหากมือมีแผล
- กรณีทำแผลให้ผู้อื่น ให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนเสมอ
- หากแผลมีสิ่งปนเปื้อน ให้เริ่มวิธีล้างแผลด้วยการล้างแผลก่อน โดยใช้น้ำเกลือราดลงบนบาดแผล หรือให้น้ำสะอาดไหลผ่านบาดแผล อาจใช้ทิชชูหรือผ้าก๊อซเช็ดล้างทำความสะอาดแผล แต่ห้ามใช้สำลีเช็ดแผล เพราะเส้นใยของสำลีอาจติดอยู่บนแผล และห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผลเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อที่แผลเกิดความเสียหาย ทำให้บาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น
- เมื่อล้างสิ่งสกปรกออกจากแผลแล้ว นำผ้าก๊อซไปชุบน้ำเกลือล้างแผล โดยชุบน้ำเกลือให้เปียกหมาด ๆ แล้วทาหรือเช็ดบริเวณรอบ ๆ บาดแผล
- ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล หรือพลาสเตอร์ยาที่ปลอดเชื้อ
- หากสังเกตเห็นเลือดซึมออกมาจากบาดแผล ให้นำผ้าพันแผลอีกชิ้นมาปิดทับอีกชั้น แล้วกดแผลค้างไว้ และหากพบสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ติดแน่นอยู่ในแผล ควรไปแพทย์ ไม่ควรพยายามนำสิ่งแปลกปลอมออกมาเองโดยพลกา
ข้อควรระวัง
แม้ว่าน้ำเกลือล้างแผลจะปลอดภัยสำหรับบาดแผลส่วนใหญ่ แต่อาจไม่เหมาะกับบาดแผลที่มีเลือดออกมากหรือมีการปนเปื้อนอย่างหนัก ในกรณีเช่นนี้ สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลบาดแผลอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับบาดแผลหรือหากมีอาการของการติดเชื้อ (เช่น มีรอยแดง บวม รู้สึกอุ่น หรือมีหนอง) ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินและการรักษา โดยรวมแล้ว น้ำเกลือล้างแผลเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดบาดแผลและส่งเสริมการสมานแผล เป็นองค์ประกอบสำคัญของการดูแลบาดแผล และควรรวมอยู่ในชุดปฐมพยาบาลและเวชภัณฑ์สำหรับบ้านและการดูแลสุขภาพหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น