ความเสี่ยงและสาเหตุสะโพกหัก (Risks of Broken Hip) – การวินิจฉัยการรักษา

สะโพก

กระดูกสะโพกร้าวหัก คือ ภาวะรุนแรงสำหรับคนทุกวัย ส่วนใหญ่มักต้องได้รับการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากกระดูกแตกหักสามารส่งผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ อ่านบทความต่อไปนี้ และเรียนรู้ รวมถึงทราบถึงความเสี่ยง อาการ การรักษา และการเฝ้าติดตามสำหรับกระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหักมีกี่ประเภท 

การแตกหักของกระดูกสะโพกมักเกิดขึ้นในบริเวณลูกบอลกลม (กระดูกโคนขา) ของข้อต่อสะโพก และสามารถเกิดขึ้นกับตำแหน่งอื่นๆก็ได้ ในเวลาเดียวกันกระดูกเบ้าสะโพก หรืออะซีตาบูลัมก็สามารถแตกหักได้เช่นกัน คอกระดูกต้นขาหัก: เป็นการแตกหักชนิดที่เกิดขึ้นกับกระดูกโคนขาที่อยู่เหนือส่วนหัวกระดูกบนเบ้ารองรับขึ้นมา 1 หรือ 2 นิ้ว คอกระดูกต้นขาหักนี้อาจไปทำให้เส้นเลือดฉีกขาดส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปสู่ลูกบอลกลมของสะโพก กระดูกสะโพกอินเตอร์โทรแคนเทอริกหัก: การแตกหักของกระดูกสะโพกอินเตอร์โทรแคนเทอริกมักเกิดขึ้นห่างจากสะโพกออกไปราว 3 ถึง 4 นิ้วจากข้อต่อ การแตกหักลักษณะนี้จะไม่ไปปิดกั้นการไหลของเลือดไปที่กระดูกโคนขา การแตกหักภายในเยื่อหุ้มข้อ: การแตกหักชนิดนี้จะส่งผลกระทบต่อลูกบอลกลม และเบ้าส่วนสะโพก ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุของการฉีกขาดของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงลูกบอลกลมได้

สาเหตุของสะโพกแตกหักคืออะไร 

โอกาสที่ทำให้เกิดสะโพกแตกหักคือ:
  • ล้มกระแทกบนพื้นแข็ง หรือล้มจากที่สูง
  • การบาดเจ็บจากการกระแทกที่บริเวณสะโพก เช่นอุบัติเหตุจากรถชน
  • เกิดจากโรคเช่น โรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่มีสาเหตุมาจากการสูญเสียเนื่อเยื่อกระดูก
  • ภาวะโรคอ้วน เกิดจากมีแรงกดของน้ำหนักตัวมากเกินไปต่อกระดูกสะโพก

คนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกสะโพกแตกหักคือใครบ้าง 

มีปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดกระดูกสะโพกแตกหัก เช่น เคยมีประวัติประดูกสะโพกหัก หากเคยมีภาวะกระดูกสะโพกหักมาก่อน คุณก็อาจมีความเสี่ยงมากขึ้นกว่าคนอื่นๆ เชื้อชาติ: คนเชื้อสายเอเซีย หรือคอเคเซียนจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะโรคกระดูกพรุน เพศ: เพศหญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกสะโพกแตกหักได้มากกว่าเพศชาย เพราะผู้หญิงมีแนวโน้มจะเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย อาย: คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดกรกกะดูกสะโพกแตกหัก เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นความแข็งแรงและมวลความหนาแน่นของกระดูกก็จะลดน้อยลง กระดูกที่อ่อนแอสามารถแตกหักได้ง่ายกว่า อีกทั้งเมื่ออายุมากขึ้นการมองและการทรงตัวก็มักเริ่มมีปัญหารวมถึงปัญหาด้านอื่นๆก็อาจทำให้เกิดโอกาสในการหกล้มได้มากขึ้นด้วย ภาวะทุพโภชนาการ: การรับประทานที่ดีต่อสุขภาพมีความสำคัญสำหรับสุขภาพของกระดูก เช่นโปรตีน วิตามินดี และแคลเซียม หากได้รับแคลลอรี่ หรือสารอาหารจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการแตกหักมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพโภชนาการจะมีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกสะโพกแตกหักได้สูงกว่า ดังนนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กในการได้รับแคลเซียม และวิตามินดีที่เพียงพอเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพของกระดูกในอนาคต อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ประโยชน์ของวิตามินดี

Risks of Broken Hip

ภาวะกระดูกสะโพกแตกหักคืออะไร 

อาการของภาวะกระดูกสะโพกแตกหัก คือ
  • รู้สึกปวดที่สะโพก และบริเวณขาหนีบ
  • ส่งผลให้ขาเริ่มสั้นกว่าข้างที่ไม่มีผลกระทบ
  • ไม่สามารถเดิน หรือทิ้งน้ำหนัก หรือออกแรงกดลงบนสะโพก และขาข้างที่มีผลกระทบได้
  • สะโพกมีการอักเสบ
  • มีรอยฟกช้ำ
การแตกหักที่สะโพกสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากสงสัยว่าอาจเกิดการแตกหักที่สะโพกให้รีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

การวินิจฉัยกระดูกสะโพกแตกหัก

แพทย์อาจสังเกตเห็นสัญญานของกระดูกสะโพหแตกหักได้อย่างชัดเจน เช่น อาการบวม รอยฟกช้ำ หรือผิดรูป แต่อย่างไรก็ตามเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์อาจสั่งตรวจพิเศษเพื่อความแน่ใจการประเมินอาการเบื้องต้น การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายจะช่วยแพทย์ในการระบุตำแหน่งที่มีการแตกหัก แพทย์จะสั่งเอกซเรย์เพื่อดูภาพสะโพก หากวิธีนี้ไม่สามารถทำให้เห็นภาพแตกหักได้แพทย์อาจใช้วิธีอื่น เช่นการทำเอ็มอาร์ไอหรือซีทีสแกน การทำเอ็มอาร์ไออาจแสดงภาพแตกหักที่กระดูกะโพกได้ดีกว่าการเอกซเรย์ ภาพที่ได้จะแสดงภาพที่มีความละเอียดในบริเวณสะโพก แพทย์อาจแสดงภาพเป็นแผ่นฟิลม์ หรือบนจอคอมพิวเตอร์ การซีทีสแกน คือ วิธีถ่ายภาพที่มร้างภาพกระดูกสะโพกและกล้ามเนื้อในบริเวณรอบๆ รวมถึงเนื้อเยื่อ และไขมัน

การรักษากระดูกสะโพกแตกหัก

แพทย์จะสอบถามอายุ และโรคประจำตัวเพื่อนำมาพิจารณาก่อนวางแผนการรักษา สำหรับผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวแพทย์อาจมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไป ทางเลือกในการรักษามีดังต่อไปนี้:
  • การรักษาด้วยยา
  • การผ่าตัด
  • กายภาพบำบัด
แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัว การผ่าตัดมักเป็นการรักษาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนสะโพก การผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกหมายถึงการนำเอาส่วนที่ได้รับความเสียหายของสะโพกออก และใส่สะโพกเทียมเข้าไปแทนที่ หากได้รับการผ่าตัดแพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดร่วมด้วยเพื่อช่วยให้การฟื้นฟูเร็วขึ้น

การฟื้นฟูและการเฝ้าติดตามระยะยาว

ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังการผ่าตัดสองสามวัน อาจต้องใช้เวลาฟักฟื้นสักระยะ ระยะเวลาในการฟักฟื้นขึ้นอยู่กับสภาพทางร่างกายก่อนการได้รับบาดเจ็บ ถึงแม้ว่าการผ่าตัดส่วนใหญ่มักประสบผลสำเร็จที่ดีก็ตาม แต่กฌอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ กระดูกสะโพกแตกหักสามารถทำให้สูญเสียความสามารถในการเดินชั่วระยะเวลาหนึ่ง การไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อาจก่อให้เกิดอาการเช่น:

สำหรับผู้สูงอายุ

กระดูกสะโพกแตกหักเป็นภาวะที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะมีความเสี่ยงในการผ่าตัดสำหรับผู้สูงอายุ และการฟื้นฟูของร่างกาย หากการฟื้นฟูไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องการการดูแลในระยะยาว การสูญเสียการเคลื่อนไหว และความเป็นอิสระอาจนำมาซึ่งภาวะซึมเศร้าในบางราย และสิ่งนี้ยิ่งอาจทำให้การฟื้นฟูช้าลงอีก ผู้สูงอายุอาจต้องได้รับการเยียวยาจากการผ่าตัดกระดูกสะโพก และป้องกันไม่ให้เกิดการแตกหักใหม่ อาหารเสริมแคลเซียมจะช่วยสร้างมวลกระดูก แพทย์อาจแนะนำการออกกำลังกายแบบ Weight-Bearing คือ การออกกำลังกายโดยใช้เท้า และขา หรือแขนในการรับน้ำหนักของตัวเองเพื่อป้องกันการแตกหัก และสร้างความแข็งแรง ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกายหลังผ่าตัดสะโพก อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ เวทเทรนนิ่ง

อาหารที่ควรรับประทานเมื่อกระดูกหัก

โภชนาการมีบทบาทสำคัญในกระบวนการฟื้นฟูหลังสะโพกหัก อาหารที่สมดุลและอุดมด้วยสารอาหารสามารถช่วยรักษากระดูก รักษาสุขภาพโดยรวม และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ข้อควรพิจารณาด้านโภชนาการสำหรับผู้ที่ฟื้นตัวจากสะโพกหักมีดังนี้

1. อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน:

  • โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมแหล่งโปรตีนไร้ไขมันในอาหารของคุณ เช่น สัตว์ปีก ปลา เนื้อไม่ติดมัน ไข่ ผลิตภัณฑ์นม พืชตระกูลถั่ว และเต้าหู้

2. แคลเซียมและวิตามินดี:

  • แคลเซียมมีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูก และวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม รวมผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียว นมจากพืชเสริม และปลาที่มีไขมันในอาหารของคุณ ใช้เวลานอกบ้านเพื่อรับแสงแดดธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามินดี

3. ผักและผลไม้:

  • อาหารเหล่านี้ให้วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นซึ่งสนับสนุนกระบวนการบำบัด ตั้งเป้าไปที่ผักและผลไม้หลากสีสันเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย

4. ธัญพืช:

  • เมล็ดธัญพืชเช่นข้าวกล้อง ควินัว โฮลวีต และข้าวโอ๊ตให้ไฟเบอร์ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูโดยรวม

5. ไขมันเพื่อสุขภาพ:

  • รวมแหล่งของไขมันที่ดีต่อสุขภาพไว้ในอาหารของคุณ เช่น อะโวคาโด ถั่ว เมล็ดพืช และน้ำมันมะกอก กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบในปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอนและวอลนัท มีคุณสมบัติต้านการอักเสบได้

6. ความชุ่มชื้น:

  • การดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพโดยรวมและการรักษา ตั้งเป้าที่จะดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน การขาดน้ำอาจส่งผลเสียต่อกระบวนการบำบัดและอาจส่งผลให้ท้องผูกได้

7. จำกัดอาหารและน้ำตาลแปรรูป:

  • อาหารแปรรูปและน้ำตาลที่เติมเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการอักเสบและอาจขัดขวางกระบวนการบำบัด มุ่งเน้นไปที่อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนแทน

8. ปรึกษากับนักโภชนาการ:

  • หากคุณมีข้อจำกัดด้านอาหาร อาการแพ้ หรือข้อกังวลใดๆ โปรดปรึกษานักโภชนาการที่ลงทะเบียน พวกเขาสามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคลตามความต้องการส่วนบุคคลของคุณ และช่วยให้แน่ใจว่าคุณมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดทางโภชนาการของคุณ

9. อาหารเสริม (หากแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ):

  • คุณอาจได้รับอาหารเสริมตามที่แพทย์สั่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนบุคคลของคุณและคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ อาหารเสริมทั่วไป ได้แก่ แคลเซียม วิตามินดี และอื่นๆ ที่อาจสนับสนุนสุขภาพกระดูก

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/hip-fracture/
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hip-fracture/diagnosis-treatment/drc-20373472
  • https://www.webmd.com/osteoporosis/what-happens-when-you-have-a-hip-fracture
  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17101-hip-fracture
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด