อาการเจ็บหน้าอกข้างขวาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นเดียวกับการเจ็บหน้าอกข้างซ้าย อาจเกี่ยวกับปอด การย่อยอาหาร กล้ามเนื้อและกระดูก และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
หัวใจวายจากหลอดเลือดหัวใจข้างขวานั้นไม่ทำให้เสียชีวิตเร็วเท่ากับข้างซ้าย ผู้ป่วยจึงมักสังเกตเห็นได้น้อยถึงแม้ว่าจะมีภาวะหัวใจวายก็ตาม
อาการโรคหัวใจในผู้หญิงนั้นแตกต่างจากผู้ชาย ผู้หญิงมักจะมีอาการเจ็บหน้าอกข้างซ้ายน้อยกว่า แต่อาจมีอาการแสบร้อนที่หน้าอกทั้งสองข้างหรืออาจไม่มีความเจ็บปวดเลย
ยังมีโรคอื่นที่สามารถมีอาการเจ็บปกข้างขวาได้ เช่น โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด และผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง
อาการเจ็บหน้าอกข้างขวา
อาการเจ็บอกข้างขวาอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ฉับพลันหรือเรื้อรัง เจ็บบริเวณเดียวหรือเจ็บไปทั่ว แพทย์จะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อหาสาเหตุของการเจ็บหน้าอก อาการอื่น ๆ ได้แก่:- หายใจไม่อิ่ม
- ไข้
- ไออย่างต่อเนื่อง
- เสียงแหบ
- แสบร้อนกลางอก
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ภาวะตัวเหลือง
- คลื่นไส้และอาเจียน
- กลืนลำบาก
- ใจสั่น
- วิงเวียนศีรษะ
- เรอ
สาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจ
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น อาการเจ็บแน่นหน้าอก หัวใจวาย หรืออาการอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บในหน้าอก อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหน้าอกข้างขวาโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหัวใจอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดที่หน้าอกทั้งสองข้างหรือแค่ข้างขวา ซึ่งปกติแล้วจะพบอาการทางด้านขวามากกว่าโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นการอักเสบของเยื่อหุ้มรอบ ๆ หัวใจ ซึ่งมีสาเหตุหลายอย่างเช่น การติดเชื้อจากการรักษามะเร็ง โรคไต หรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอัตโนมัติ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย การการเจ็บมักแย่ลงในบางท่าทางและจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการหายใจลึก ๆสาเหตุจากปอด
ปอดข้างขวาทั้ง 3 กลีบ เยื่อหุ้มปอด และต่อมน้ำเหลืองอยู่ที่หน้าอกข้างขวา ปอดไม่มีตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด แต่อาจมีความรู้สึกเหมือนเจ็บที่ปอดได้ สาเหตุที่ทำให้เจ็บมีได้ดังนี้โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอกเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดที่ขาแตกและไหลไปที่ปอด หากลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดที่ปอดขวา อาจทำให้เกิดอาการเจ็บ อาการเจ็บมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และอาจมีอาการหายใจไม่อิ่มร่วมด้วย หากลิ่มเลือดใหญ่ อาจทำให้หมดสติได้ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเจ็บ แดง หรือบวมที่ขาทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่งก่อนที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดมะเร็งปอด
มะเร็งในปอดขวาหรือใกล้กับต่อมน้ำเหลืองอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกข้างขวาได้ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีอาการปวดกระดูกสะบัก หรือปวดระหว่างกระดูกสะบัก หรือข้างในไหล่ อาการอื่น ๆ อาจมี หายใจไม่อิ่มหรือไออย่างต่อเนื่อง มะเร็งปอดมักถูกพบในระยะสุดท้ายหลังจากที่แพร่กระจาย เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอกข้างขวาจึงควรได้รับการตรวจ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: มะเร็งปอดสาเหตุจากระบบทางเดินอาหาร
โรคที่เกิดในช่องท้อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหลอดอาหารหรืออวัยวะที่อยู่ทางด้านขวาของช่องท้อง เช่น ถุงน้ำดี และตับอาจทำให้เกิดอาการเจ็บที่อกข้างซ้ายได้ โรคที่อาจทำให้เจ็บหน้าอกข้างซ้ายได้แก่:โรคกรดไหลย้อน (GERD)
โรคกรดไหลย้อนอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและอาหารไม่ย่อย แต่อาจมีอาการเจ็บหน้าอกข้างขวาด้วยสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินอาหารส่วนต้น
สาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกข้างขวาอาจมาจากสิ่งแปลกปลอมไปอุดกั้นทางเดินอาหารส่วนต้น หากอาการเริ่มขึ้นขณะกำลังกินอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหลอดอาหารหดตัวผิดปกติ
หลอดอาหารหดตัวผิดปกติอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกข้างขวาได้ อาการเจ็บมักทำให้เกิดความสับสนกับอาการเจ็บจากโรคหัวใจโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี
ทั้งนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกข้างขวาได้ อาการเจ็บมักจะกระจายไปที่หลังและที่ไหล่ขวา อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: นิ่วในถุงน้ำดีโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
อาการเจ็บที่เกี่ยวข้องกับโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันแย่ลงหากนอนลงและจะดีขึ้นเมื่อนั่ง ผู้ที่เป็นเบาหวานและดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไปมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคนี้สาเหตุขากโรคกล้ามเนื้อและกระดูก
การบาดเจ็บ รอยแตก และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่ออ่อน เช่น กล้ามเนื้อ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ หากไม่มีประวัติการบาดเจ็บ การเจ็บหน้าอกอาจเกิดจากโรคต่าง ๆ ดังนี้ภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ
ภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบเกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบของกระดูกอ่อนที่เชื่อมต่อซี่โครงกับกระดูกอก มักเกิดขึ้นจากการใช้งานหนักไปที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อฉีก
กล้ามเนื้อฉีกเป็นสาเหตุของการเจ็บหน้าอกข้างขวาที่พบได้บ่อย ซึ่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายการเจ็บผนังหน้าอก
มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บผนังหน้าอก เช่น โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ความเครียด โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เป็นต้นเมื่อใดควรไปพบแพทย์:
- หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกหรือแรงกดทับหน้าอกอย่างฉับพลันและรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลามไปที่แขน กราม คอ หรือหลัง ให้ไปพบแพทย์ทันทีเนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของหัวใจวาย
- หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับหายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ เหงื่อออก หรือใจสั่น ให้ไปพบแพทย์ทันที
- อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ได้อธิบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมบางอย่าง ควรได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น