ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) บางคนอาจเรียกสั้นๆ ว่า โรครูมาติก แต่การเรียกชื่อเช่นนี้จะทำให้สับสนกับโรคอื่นๆ (เช่น หัวใจรูมาติก) ควรใช้ชื่อเต็มๆ ว่า “ไข้รูมาติก” โรคนี้ส่งผลต่อหัวใจ ข้อต่อ สมอง และผิวหนัง ไข้รูมาติกสามารถทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การวินิจฉัยการติดเชื้อในระยะเริ่มต้น และการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันไข้รูมาติก
อาการทั่วไปของ Rheumatic Fever คือ
อาการของไข้รูมาติกได้แก่- มีไข้
- ข้ออักเสบ และเจ็บปวดมักเป็นที่หัวเข่า ข้อเท้า ข้อศอก และข้อมือ
- ภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว
- เหนื่อยล้า
- ชักกระตุก (เคลื่อนไหวโดยไม่สามารถควบคุมได้)
- ก้อนบวมใต้ผิวหนังใกล้ข้อต่อ
- ผื่นเป็นวงแหวนและมีสีชมพูตรงกลางชัดเจน (อาการพบได้ยาก)
- หัวใจพองโต
- ของเหลวรอบเยื่อหุ้มหัวใจ
โรคไข้รูมาติกเกิดขึ้นได้อย่างไร
ไข้รูมาติกอาจเกิดขึ้นได้หลังจากติดเชื้อคออักเสบ หรือไข้อีดำอีแดงที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จากแบคทีเรียที่เรียกว่า Group A Streptococcus หรือ Group A strep ทำให้เกิดโรคคออักเสบ และไข้อีดำอีแดง โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-5 สัปดาห์หลังจากเกิดโรคคออักเสบหรือไข้อีดำอีแดงแล้วจึงสามารถพัฒนาเป็นไข้รูมาติก ไข้รูมาติกเกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อการติดเชื้อสเตรปโธรท (คออักเสบ) หรือไข้อีดำอีแดงก่อนหน้าและทำให้เกิดการตอบสนองต่อการอักเสบพบไข้รูมาติกมากในเด็กๆ
แม้ว่าทุกคนสามารถเป็นไข้รูมาติกได้ แต่ก็พบได้บ่อยในเด็กวัยช่วงอายุ 5-15 ปี ไข้รูมาติกพบได้น้อยมากในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และในวัยผู้ใหญ่ ปกติแล้วโรคติดเชื้อ รวมทั้ง Strep group A มักจะแพร่กระจายทุกที่ที่มีคนกลุ่มใหญ่มารวมกัน สภาพที่แออัดสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นคออักเสบ หรือไข้อีดำอีแดง และทำให้เกิดไข้รูมาติก เช่นสถานที่ต่อไปนี้- โรงเรียน
- ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
- ค่ายฝึกทหาร
การวินิจฉัย และการรักษาไข้รูมาติก
การทดสอบ และการซักถามประวัติจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคไข้รูมาติกได้ ไม่มีการทดสอบชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถบอกได้ว่าเป็นไข้รูมาติก ต้องอาศัยการทดสอบร่วม และการสังเกต แพทย์จะมองหาสัญญาณของการเจ็บป่วย การซักประวัติการรักษาของผู้ป่วย และทำการทดสอบหลายอย่าง เช่น- สำลีเช็ดคอหาเชื้อ (Swab Test) เพื่อค้นหาการติดเชื้อสเตรปกลุ่มเอ
- การตรวจเลือด เพื่อค้นหาแอนติบอดีที่จะแสดงว่าผู้ป่วยเพิ่งมีการติดเชื้อสเตรปกลุ่ม A
- การทดสอบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือ EKG หัวใจ
- การทดสอบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ (Echocardiography หรือ echo)
การป้องกันโรคไข้รูมาติก
การติดเชื้อสเตรปกลุ่ม A ไม่ได้สร้างภูมิต้านทาน หรือป้องกันการติดเชื้ออีกในอนาคต ผู้คนสามารถเป็นไข้รูมาติกได้มากกว่า 1 ครั้ง อย่างไรก็ตามมีบางอย่างที่ผู้คนสามารถทำได้ เพื่อปกป้องตนเอง และผู้อื่น การป้องกันการติดเชื้อ Strep Group A เน้นการมีสุขอนามัยที่ดี และวิธีที่ดีที่สุดในการไม่แพร่เชื้อสเตรปกลุ่ม A เช่น สเตรปโธรท หรือไข้อีดำอีแดง คือ การล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากไอ หรือจาม และก่อนเตรียมอาหาร หรือรับประทานอาหาร ยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งสำคัญในการรักษา และป้องกัน เพราะเป็นวิธีหลักในการรักษาโรคไข้รูมาติก การรักษาโรคติดเชื้อสเตรปกลุ่ม A เช่น สเตรปโธรท และไข้อีดำอีแดงด้วยยาปฏิชีวนะจะช่วยป้องกันไข้รูมาติกได้ เพราะเป็นการป้องกันการติดเชื้อสเตรปกลุ่ม A ตั้งแต่แรก ในปัจจุบันมียาปฏิชีวนะเชิงป้องกันช่วยปกป้องผู้ที่เป็นไข้รูมาติกไม่ให้กลับมาเป็นอีก แพทย์เรียกการให้ยาปฏิชีวนะนี้ว่า “การป้องกันรอง” ด้วยการได้รับยาปฏิชีวนะป้องกันตามที่แพทย์กำหนดเป็นระยะเวลาหลายปี (โดยปกติจนถึงอายุ 21 ปี) การป้องกันโรคอาจใช้ยาปฏิชีวนะทุกวันทางปาก หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 2-3 สัปดาห์สรุป
โรคไข้รูมาติกสามารถป้องกันได้ด้วยสุขอนามัยที่ดี และหากมีการติดเชื้อคออักเสบ หรือไข้อีดำอีแดง โปรดเข้ารับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการพัฒนาเป็นไข้รูมาติก และการรักษาไข้รูมาติกที่ทันท่วงที จะป้องกันโรคหัวใจรูมาติกที่รุนแรงได้หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น