โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) คือ โรคร้ายที่พบในเพศชายที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยใพระบรมราชูปถัมภ์ให้ข้อมูลว่า ชายไทยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น โดยมีอุบัติการณ์อยู่ที่ 2.5-3 รายต่อแสนประชากร จากเดิมเป็นมะเร็งชายไทยอันดัน 7-8 ปัจจุบันสูงเป็นอันดับ 4 ของโรคมะเร็งทั่วไปในชายไทย ต่อมลูกหมากนั้นเป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่ต่ำกว่าหน้าท้องช่วงล่างของเพศชาย ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบด้วยท่อปัสสาวะ ต่อมลูกหมากถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเทสโทสเทอร์โรน (Testosterone) และเป็นส่วนผลิตของเหลวที่เรียกว่า น้ำอสุจิ เมื่อเกิดความผิดปกติที่เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในต่อมลูกหมาก เราจะเรียกว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเซลล์มะเร็งนี้สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ในร่างกายได้ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)

ประเภทของเซลมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นกับต่อม โดยโรคนี้คือการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากจัดเป็นประเภทต่างๆ โดยความรวดเร็วในการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
  • มะเร็งต่อมลูกหมากที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • มะเร็งต่อมลูกหมากที่เจริญเติบโตอย่างช้าๆ
มะเร็งต่อมลูกหมากที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เซลล์มะเร็งจะสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เช่น กระดูก เป็นต้น

อาการมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากอาการนั้นบางครั้งไม่ได้ร้ายแรง ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการใดๆ อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีสัญญาณหรืออาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก โปรดอย่าลังเลใจที่จะเข้าพบแพทย์ เมื่อคุณได้รับการตรวจสอบ แพทย์จะทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี อาการของมะเร็งต่อมลูกหมากมีดังนี้

ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

ปัญหาทางเดินปัสสาวะเป็นอาการทั่วไป เพราะต่อมลูกหมากนั้นมีตำแหน่งอยู่ใกล้กับกระเพาะปัสสาวะและล้อมรอบไปด้วยท่อปัสสาวะ เมื่อเนื้องอกหรือเซลล์ในต่อมลูกหมากเจริญเติบโตก็สามารถส่งผลไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะได้ โดยสามารถมีปัญหาดังนี้:
  • ปวดปัสสาวะบ่อยครั้ง
  • ใช้เวลาปัสสาวะนานกว่าปกติ
  • มีเลือดออกปนมากับปัสสาวะ

ปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์

หย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเป็นอาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงมีเลือดในน้ำอสุจิในการหลั่งระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ความเจ็บปวด

เซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายปยังกระดูกสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดในบริเวณต่อไปนี้:
  • กระดูกเชิงกราน
  • หลัง
  • อก
หากเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูกไขสันหลัง ผู้ป่วยอาจจะสูญเสียความรู้สึกที่ขาและระบบปัสสาวะ

สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นยังไม่มีสาเหตุที่แท้จริง เช่นเดียวกับมะเร็งอื่นๆ โดยสาเหตุนั้นอาจจะมาจากหลายๆ ปัจจัย อันประกอบด้วย ประวัติผู้ป่วยเป็นมะเร็งในครอบครัวหรือการสัมผัสสารเคมีบางชนิดอย่างไรก็ตามปัจจัยเหล่านี้สามารถนำไปสู่การกลายพันธุ์ของเซลล์และไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้ในต่อมลูกหมาก

ความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นสามารถพบในชายคนใดก็ได้ ปัจจัยบางประการสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ ประกอบไปด้วย:
  • อายุที่มากขึ้น
  • มีประวัติผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในครอบครัว
  • เชื้อชาติ
  • ภาวะน้ำหนักเกิน
  • การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากมักขึ้นอยู่กับดุลยพินิจส่วนบุคคล เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่เติบโตช้าและไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นอกจากนี้ส่วนหนึ่งมีเหตุผลมาจากผลลัพธ์จากการทดสอบแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (PSA) ซึ่งสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่ผิดพลาด ดังนั้นการคัดกรองด้วยวิธี PSA อาจจะไม่มีความจำเป็น

คำแนะนำเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากมีดังนี้:

  • ช่วงอายุ 40 ปี: ชายที่จะมีความเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ช่วงอายุ 45 ปี: ชายที่จะมีความเสี่ยงได้แก่ เชื้อชาติแอฟริกัน เชื้อชาติอเมริกา
  • ช่วงอายุ 50 ปี: ชายทุกคนมีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

เครื่องมือในการวินิจฉัยมะเร็งต่อลูกหมาก

หากคุณและแพทย์ตัดสินใจที่จะคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก สิ่งที่จะทำได้แก่การตรวจสอบร่างกาย และซักถามประวัติด้านสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยมีดังนี้:
  • การตรวจทางทวารหนักแบบดิจิตอล (DRE): แพทย์ของคุณจะใช้นิ้วที่สวมถุงมือเข้าไปในไส้ตรงของผู้ป่วย เพื่อตรวจสอบต่อมลูกหมากของผู้ป่วยว่ามีก้อนเนื้อแข็ง ๆ ที่ต่อมลูกหมากซึ่งอาจเป็นเนื้องอกหรือไม่
  • การทดสอบแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (PSA): การตรวจเลือดนี้จะตรวจสอบระดับ PSA  ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมลูกหมาก
  • การตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก: แพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจสอบอื่นๆ ได้แก่ MRI scan, CT scan หรือ Bone scan.
แพทย์จะทำการแจ้งผลการตรวจร่วมกับผู้ป่วย และแนะนำการรักษาในขั้นตอนต่อไป

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

แพทย์จะทำแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับโรคมะเร็งของผู้ป่วย โดยพิจารณาจากอายุ สุขภาพและระยะของมะเร็งต่อมลูกหมากว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก หรือมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หากเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากที่เจริญเติบโตแบบช้าๆ แพทย์จะยังไม่ทำการรักษา แต่จะนัดตรวจติดตามอาการเป็นระยะ และเมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มเจริญเติบโตเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาดังนี้:
  • ผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • รังสีวิทยา
  • การบำบัดด้วยความเย็น
  • การบำบัดด้วยฮอร์โมน
  • การบำบัดด้วยเคมี
  • การผ่าตัดด้วยคลื่น
  • การบำบัดระบบภูมิคุ้มกัน
กรณีที่เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังกระดูก อาจจะมีวิธีการรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย กรณีใช้วิธีการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นการผ่าตัดต่อมลูกหมากบางส่วนหรือทั้งหมดที่มีเซลล์มะเร็ง หากมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ได้แพร่กระจายออกไปยังส่วนอื่นๆ แพทย์จะแนะนำให้คุณมีการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกไปทั้งหมด

การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

ความเสี่ยงบางประการที่ทำให้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ อายุ ซึ่งคุณไม่สามารถจะควบคุมอายุได้ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจับอื่นๆ ที่คุณสามารถควบคุมได้ ตัวอย่างเช่น การเลิกสูบบุหรี่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน

การควบคุมอาหาร

อาหารบางชนิดสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่:
  • มะเขือเทศ
  • บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก และคะน้า
  • ปลา
  • ถั่วเหลือง
  • น้ำมันที่มีโอเมก้า 3 เช่น น้ำมันมะกอก
และอาหารที่จะเพิ่มความเสี่ยงได้แก่:
  • ผลิตภัณฑ์จากนม
  • กรดไขมันอิ่มตัว
  • เนื้อแดง
  • เนื้อย่าง

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยเผาผลาญและลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นการลดภาวะน้ำหนักเกินอันเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที/สัปดาห์

อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

หากผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้รับการวินิจฉัยโดยเร็ว และเซลล์มะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายออกจากต่อมลูกหมากไปยังส่วนอื่นๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี การตรวจหาและการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี หากมีอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากคุณควรนัดพบแพทย์ทันที เพราะหากมะเร็งต่อมลูกหมากลุกลามไปนอกต่อมลูกหมากของคุณนั่นจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

อาหารสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้หรือไม่ 

  คุณอาจเคยได้ยินว่าอาหารบางชนิดอาจช่วยลดความเสี่ยงของคุณ รวมถึงอาหารจากถั่วเหลือง ปลาที่มีน้ำมัน และอาหารที่มี:
  • ไลโคปีน – เช่น มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ 
  • ซีลีเนียม  – แร่ธาตุที่พบในอาหาร เช่น ถั่วบราซิล ปลา อาหารทะเล  
  • วิตามินอี  – เช่น ถั่ว เมล็ดพืช โฮลเกรน ผักใบเขียว และอะโวคาโด 
อาหารแต่ละชนิดสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ คุณควรรับประทานอาหารที่สมดุล 

อาหารประเภทใดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

เราไม่ทราบแน่ชัดว่าอาหารใดเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ แต่อาหารบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงหากคุณกินมากเกินไป

อาหารประเภทนม

การรับประทานหรือดื่มผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม โยเกิร์ต และชีส อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจเป็นเพราะมีแคลเซียม แต่นักวิจัยก็กำลังมองหาสาเหตุอื่นๆ ด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญคือต้องกินอาหารที่ทำจากนมทุกวันเพื่อให้กระดูกแข็งแรง นมทางเลือกที่มีแคลเซียมเสริมเช่นโยเกิร์ตถั่วเหลืองและนมถั่วเหลืองก็นับเช่นกัน เลือกตัวเลือกไขมันต่ำและน้ำตาลต่ำเมื่อทำได้

แคลเซียม

การมีแคลเซียมมากเกินไปในอาหารของคุณอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่คุณต้องการประมาณ 700 มก. ต่อวันเพื่อให้กระดูกแข็งแรง คุณสามารถได้รับสิ่งนี้จากการรับประทานอาหารที่สมดุล ตัวอย่างเช่น นม 200 มล. มีแคลเซียมระหว่าง 240-260 มก. และโยเกิร์ตไขมันต่ำ 120 ก. มีแคลเซียมประมาณ 180 มก. คุณยังสามารถได้รับแคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นม ปลา ขนมปัง และผักบางชนิด

เนื้อแดงและแปรรูป

การรับประทานเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งบางชนิด เราไม่รู้ว่ามันเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ หรือแพะ เนื้อแปรรูปรวมถึงไส้กรอก เบคอน แฮม ซาลามิ และเนื้อที่ผ่านการบ่มหรือถนอมอาหารอื่นๆ คุณควรพยายามจำกัดปริมาณเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปที่คุณกิน พยายามลดให้เหลือไม่เกิน 70 กรัมต่อวัน 

แอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งบางชนิด เราไม่รู้ว่ามันเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เพื่อสุขภาพโดยรวมของคุณ ให้จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มไว้ที่ 14 หน่วยต่อสัปดาห์ นี่คือเบียร์ความแรงเฉลี่ยประมาณหกไพนต์หรือไวน์ความแรงต่ำสิบแก้ว (125 มล.) พยายามกระจายสิ่งเหล่านี้ออกไปตลอดทั้งสัปดาห์และมีวันที่ปลอดแอลกอฮอล์ 

นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prostate-cancer/symptoms-causes/syc-20353087
  • https://www.urologyhealth.org/urologic-conditions/prostate-cancer
  • https://www.nhs.uk/conditions/prostate-cancer/
  • https://www.cancer.org/cancer/prostate-cancer.html

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด