ยา Propranolol คืออะไร
ยาโพรพราโนลอล Propranolol คือ ยาชนิดหนึ่งในกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับเบตา (Beta Blockers) สามารถใช้รักษาอาการของโรคได้หลายอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง หัวใจห้องบนเต้นถี่ อาการมือไม้สั่น ยาลดความตื่นเต้น แต่ยาอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างหัวใจเต้นช้า อ่อนเพลีย เวียนหัว ได้ แต่ยังไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยา แม้จะใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งการสลายไขมัน ทำให้เซลล์ใช้กลูโคสลดลง ทำให้ผู้ใช้ยารู้สึกไม่กระตือรือร้น และไม่ค่อยอยากเคลื่อนไหวร่างกาย จึงมักส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ข้อบ่งชี้การใช้ยาโพรพราโนลอล
ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ บรรเทาอาการทางกายเช่น อาการสั่นจากอาการหวาดวิตกกังวล และใช้ป้องกันอาการเจ็บหน้าอก ภาวะหัวใจวายและอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือปวดไมเกรน นอกจากนี้ยังใช้บรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไทรอย์มากผิดปกติ เช่น อาการหัวใจเต้นเร็ว ตัวสั่นไม่หยุด- ขนาดปกติสำหรับรักษาความดันโลหิตสูงคือ ขนาด 40 มิลลิกรัม วันละ 2 คร้ัง แพทย์อาจพิจารณาใช้ Propranolol รักษาอาการเพียงตัวเดียว หรือใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม Diuretics และแพทย์อาจพิจารณาเพิ่มขนาดยาจนกว่าจะสามารถควบคุมความดันโลหิตได้
- ขนาดยาสำหรับรักษาระดับความดันโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 120-240 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ยา Propranolol 20-80 มิลลิกรัม วันละ 2-4 คร้ัง
การใช้ยา Propranolol
ก่อนใช้ยาควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยมีประวัติการallergy-0094/”>แพ้ยา โรคประจำตัว หรือกำลังใช้ยาชนิดอื่น ๆ อยู่ ผู้ป่วยควรศึกษารายละเอียดบนฉลากให้ดีก่อนรับประทาน และใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรหยุด เปลี่ยน หรือปรับขนาดยาเอง ยา Propranolol สามารถรับประทานพร้อมอาหาร หรือไม่ก็ได้ แต่ควรกินให้เป็นเวลาเดียวกัน ห้ามบด หัก เคี้ยว หรือแกะยาออกจากแคปซูล ควรกลืนลงไปทั้งแคปซูล กรณีต้องให้ยากับทารก ควรให้ยาระหว่างเด็กที่กำลังกินนม หรือหลังกินนมไปได้ไม่นาน การให้ยาควรเว้นระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง และหลังกินยาทารกสามารถรับประทานอาหาร หรือนมได้ตามปกติหรือไม่ และหากทารกเกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะปริมาณจะสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของเด็ก หรือหากเด็กเกิดอาเจียน หรือไม่อยากอาหาร ให้รีบแจ้งแพทย์ทราบทันที การรับประทาน Propranolol ยา ชนิดน้ำควรวัดปริมาณด้วยหลอดดูดยาเฉพาะ หรือช้อนสำหรับวัดปริมาณยา หรือถ้วยยาเท่านั้น ผู้ป่วยควรตรวจความวัดดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และหากจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ควรบอกกับศัลยแพทย์ว่ากำลังใช้ Propanolol อยู่ และอาจต้องหยุดยาสักระยะหนึ่ง และควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าก่อนเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ทุกครั้ง เพราะยาอาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ผิดปกติได้ ผู้ป่วยที่ใช้ ยา Propranolol รักษาอาการความดันโลหิตสูง ควรใช้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีอาการที่ดีขึ้นก็ตาม เพราะโรคความดันโลหิตสูงอาจแค่ไม่แสดงอาการ การใช้ Propranolol Dose เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษา ผู้ป่วยควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก และดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไปพร้อม ๆ กับการใช้ยา และพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด การรับประทานยาควรทานให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ และหากลืมรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด ให้รีบรับประทานทันทีที่รู้ตัว แต่หากใกล้ถึงกำหนดการรับประทานมื้อต่อไปน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ให้ข้ามไปรับประทานยาในรอบถัดไปเลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า และหากมีอาการที่ผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์ ให้เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากความร้อน ความชื้น และแสงแดด และห้ามนำยาไปแช่เย็นหรือแช่แข็งผู้ที่ไม่ควรใช้ยาโพรพราโนลอล
- มีปัญหาหัวใจเต้นช้ามาก หรือมีการปิดกันการน้ำไฟฟ้าในหัวใจรุนแรง
- มีปัญหาหัวใจด้านซ้ายล้มเหลวรุนแรง
- โรคหัวใจขาดเลือดชนิด Prinzmetal’s angina
- โรคหอบหืดระดับรุนแรง
- โรคประสาทซึมเศร้ารุนแรง
- โรคเส้นเลือดส่วนปลายตีบที่เป็นอาการรุนแรงจนเนื้อเยื่อตาย
- ไม่ควรใช้ในหญิงครรภ์ เพราะยาจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารก
ผลข้างเคียงยาโพรพราโนลอล
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ นอนไม่หลับคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง ความต้องการทางเพศลดลง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรืออ่อนเพลีย กรณีแพ้ยาจะมีอาการเกิดลมพิษ หายใจติดขัด บวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอ ควรพบแพทย์ทันที หากมีอาการต่อไปนี้:- จังหวะหัวใจเต้นช้า หรือไม่สม่ำเสมอ
- รู้สึกวิงเวียน คล้ายจะหมดสติ
- เกิดปัญหาในการหายใจ หรือเวลาหายใจมีเสียงหวีด
- หายใจได้ไม่ลึก
- ตัวบวม น้ำหนักเพิ่ม
- อ่อนเพลียอย่างกะทันหัน เกิดปัญหาในการมองเห็น หรือเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
- มือและเท้าเย็น
- ภาวะซึมเศร้า สับสน เห็นภาพหลอน
- เกิดปัญหากับตับ อาการคือคลื่นไส้ ปวดท้องช่วงบน อ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระสีซีด ดีซ่าน
- น้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้มีอาการปวดศีรษะ หิวบ่อย อ่อนเพลีย เหงื่อออก สับสน หงุดหงิด วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นถี่ รู้สึกกระวนกระวาย
- กรณีน้ำตาลในเลือดต่ำในเด็กเล็ก อาจทำให้เกิดอาการผิวซีด หรือคล้ำเป็นสีม่วงหรือฟ้า มีเหงื่อออก ร้องไห้งอแง ไม่อยากอาหาร หนาวสั่น ง่วงซึม อ่อนเพลีย หายใจได้ไม่ลึก ชัก หมดสติ
- เกิดปฏิกริยารุนแรงที่ผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการไข้ขึ้น เจ็บคอ บวมบริเวณใบหน้า หรือลิ้น แสบตา เจ็บผิวหนัง และมีผื่นสีแดงหรือม่วงกระจายไปตามผิวหนัง และทำให้เกิดแผลพุพอง
ยาอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายยาโพรพราโนลอล
Propranolol เป็นยา beta-blocker ที่ใช้กันทั่วไปในการรักษาอาการต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจบางอย่าง นอกจากนี้ยังกำหนดไว้สำหรับการจัดการความวิตกกังวล อาการสั่น และอาการปวดหัวไมเกรน หากมีคนไม่สามารถทนต่อโพรพราโนลอลได้หรือมีข้อห้ามเนื่องจากสภาวะสุขภาพหรือผลข้างเคียง บุคลากรทางการแพทย์อาจพิจารณาใช้ยาทางเลือกตามความต้องการของแต่ละบุคคล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล เนื่องจากการเลือกใช้ยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์เฉพาะที่กำลังรับการรักษา ต่อไปนี้คือตัวปิดกั้นเบต้าและยาทางเลือกที่อาจพิจารณาได้:ตัวบล็อคเบต้า:
- เมโทโพรลอล (Lopressor, Toprol-XL):
- เช่นเดียวกับโพรพาโนลอล เมโทโพรลอลเป็นยาเบต้าบล็อคเกอร์ที่ใช้สำหรับความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และภาวะหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ
- อะทีโนลอล (เทนอร์มิน):
- Atenolol เป็นอีกหนึ่ง beta-blocker ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจบางอย่าง
- นาโดล (คอร์การ์ด):
- Nadolol เป็นตัวบล็อกเบต้าแบบไม่เลือกสรรที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ยาลดความดันโลหิตอื่นๆ:
- ตัวบล็อกช่องแคลเซียม:
- ยา เช่น แอมโลดิพีน ดิลเทียเซม และเวราปามิล เป็นตัวป้องกันช่องแคลเซียมที่สามารถใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
- สารยับยั้ง ACE (สารยับยั้งเอนไซม์ที่แปลงแอนจิโอเทนซิน):
- Enalapril, lisinopril และ ramipril เป็นตัวอย่างของสารยับยั้ง ACE ที่ใช้สำหรับความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลว
- ARB (ตัวบล็อกตัวรับ Angiotensin II):
- Losartan, valsartan และ candesartan เป็นตัวอย่างของ ARB ซึ่งใช้สำหรับความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลวเช่นกัน
ยาต้านความวิตกกังวล:
- เบนโซไดอะซีพีน:
- สำหรับการจัดการความวิตกกังวล อาจพิจารณาใช้ยา เช่น ลอราซีแพม ไดอะซีแพม หรือโคลนาซีแพม อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาเบต้าบล็อคเกอร์
- สารยับยั้งการรับเซโรโทนินแบบเลือกสรร (SSRIs):
- SSRIs เช่น sertraline, fluoxetine หรือ escitalopram มักถูกกำหนดไว้สำหรับโรควิตกกังวลเรื้อรัง
ยาไมเกรน:
- โทพิราเมต (โทปาแม็กซ์):
- Topiramate เป็นยากันชักที่บางครั้งใช้เพื่อป้องกันไมเกรน
- อะมิทริปไทลีน:
- Amitriptyline ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้า tricyclic บางครั้งมีการกำหนดไว้เพื่อป้องกันไมเกรน
- เวราปามิล:
- Verapamil นอกจากจะเป็นตัวป้องกันช่องแคลเซียมแล้ว ยังอาจใช้เพื่อป้องกันไมเกรนได้อีกด้วย
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/propranolol-oral-tablet
- https://www.nhs.uk/medicines/propranolol/
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682607.html
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น