ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
โปรเจสเตอโรน Progesterone คือฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในร่างกาย ซึ่งสามารถผลิตได้ในห้องปฏิบิติการ “โปรเจสติน” progestin คือคำเรียกทั่วไปสำหรับสารที่เป็นสาเหตุบางอย่างหรือทั้งหมดทางชีววิทยาที่ส่งผลต่อโปรเจสเตอโรน โปรเจสตินบางครั้งใช้เรียกโปรเจสเตอโรนที่ผลิตขึ้นในห้องปฏิบัติการที่ใช้ในยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานและฮอร์โมนทดแทน แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งโปรเจสเตอโรนและผลิตภัณฑ์โปรเจสตินผลิตได้ในห้องปฏิบัติการ คำว่า “โปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ” จริงๆแล้วคือการใช้คำที่ผิดไป ซึ่งรวมไปถึงผลิตภัณฑ์คริโนเน่และโพรเมเทรียม ก็ล้วนทำมาจากสารเคมีที่เรียกว่าสารไดออสเจนิน ซึ่งแยกออกมาจากมันเทศป่าหรือถั่วเหลืองในทางห้องปฏิบัติการ ไดออสเจนินจะถูกเปลี่ยนให้เป็นโปรเจสเตอโรน ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถสร้างโปรเตสเตอโรนจากไดออสเจนินได้ ดังนั้นการรับประทานมันเทศป่าหรือถั่วเหลืองจะไม่สามารถเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรนได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: เมื่อประจำเดือนไม่มาได้ที่นี่ ผลิตภัณฑ์โปรเจสเตอโรนที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปอาจไม่ได้มีปริมาณโปรเจสเตอโรนเข้มข้นตามที่ระบุไว้บนฉลาก ดังนั้นผลิตภัณฑ์โปรเจสเตอโรนชนิดทา (สำหรับทาผิว) ที่มีตามท้องตลาดอาจไม่ได้รับการรับรองจาก FDA ผู้หญิงที่รับประทานฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะช่วยเริ่มต้นรอบเดือนที่หยุดไปเริ่มได้ใหม่(ภาวะขาดระดู) ช่วยรักษาภาวะเลือดออกจากมดลูกผิดปกติที่มีส่วนมาจากฮอร์โมนไม่สมดุล และรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนที่รุนแรง(PMS) โปรเจสเตอโรนมักถูกนำมาใช้ร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการให้ฮอร์โมนทดแทน เพราะหากเอสโตรเจนที่ให้ไม่มีโปรเจสเตอโรน เอสโตรเจนจะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูก อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ:อาการปวดประจำเดือนได้ที่นี่โปรเจสเตอโรนทำงานอย่างไร
โปรเจสเตอโรนคือฮอร์โมนที่ถูกปล่อยมาจากรังไข่ ระดับโปรเจสเตอโรนที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อรอบเดือนผิดที่ปกติและอาการวัยหมดประจำเดือน โปรเจสเตอโรนคือสิ่งที่จำเป็นในการฝังตัวของไข่ในการปฏิสนธิและเพื่อรักษาการตั้งครรภ์ให้อยู่ตลอดไปประโยชน์ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
น่าจะมีประสิทธิภาพสำหรับ
- รอบเดือนขาดหายไป (ภาวะขาดระดู) การรับประทานโปรเจสเตอโรนและการทาเจลโปรเจสเตอโรนเข้าไปในช่องคลอดคือวิธีรักษาภาวะขาดระดูในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน Micronized progesterone คือฮอร์โมนที่ FDA อนุมัติให้สามารถใช้ได้ เช่นเดียวกันกับ intravaginal progesterone gel (Crinone 4%)
- ฮอร์โมนทดแทน (HRT) Micronized progesterone (Prometrium)คือตัวที่ FDA อนุมัติให้ใช้ร่วมกับเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนทดแทน จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อเติมโปรเจสเตอโรนเข้าไปในฮอร์โฒนทดแทนจะช่วยป้องกันการเกิดผลข้างเคียงของเอสโตรเจนได้
- ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายในหนึ่งปีหลังจากพยายามตั้งครรภ์ Intravaginal progesterone gel (Crinone 8%) คือสิ่งที่ FDA อนุมัติให้นำมาใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง จากการวิจัยาบางตัวแนะนำว่าทาโปรเจสเตอโรนทางช่องคลอดและฉีดโปรเจสเตอโรนเข้ากล้ามเนื้ออาจได้ผลดีสำหรับการเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้เหมือนกับชนิดรับประทาน
มีประสิทธิภาพสำหรับ
- เนื้อเยื่อมดลูกหนาผิดปกติ (ภาวะเยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติ) บางการวิจัยแนะนำว่าการทาโปรเจสเตอโรน (คริโนเน่) เข้าไปในมดลูกจะช่วยป้องกันภาวะเยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติในผู้หญิงที่มดลูกสมบูรณ์ที่ต้องรับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน
- เจ็บเต้านม (ภาวะปวดเต้านม) การทาโปรเจสเตอโรนเข้าไปในช่องคลอดดูเหมือนจะช่วยลดอาการปวดเต้านมและอาการกดเจ็บในผู้หญิงที่มีภาวะเกี่ยวกับเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็งได้
- อาการวัยทอง การทาครีมโปรเจสเตอโรนเฉพาะเจาะจง (โปรเจส)เข้าไปที่ผิวหนังจะช่วยลดอาการเช่น ร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้
ผลข้างเคียง
ชนิดรับประทาน: โปรเจสเตอโรนได้รับอนุญาติจากองค์การอาหารและยาว่ามีความปลอดภัยสูงเมื่อนำมารับประทานภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์ ชนิดทาผิวหนัง: โปรเจสเตอโรนได้รับอนุญาติจากองค์การอาหารและยาว่ามีความปลอดภัยสูงเมื่อนำมาทาที่ผิวหนังภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์ ชนิดฉีด: โปรเจสเตอโรนได้รับอนุญาติจากองค์การอาหารและยาว่ามีความปลอดภัยสูงเมื่อนำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์ ชนิดใช้สำหรับช่องคลอด: โปรเจสเตอโรนได้รับอนุญาติจากองค์การอาหารและยาว่ามีความปลอดภัยสูงเมื่อนำมาใช้ในช่องคลอดภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์ แต่อย่างไรก็ตาม โปรเจสเตอโรนอาจส่งผลข้างเคียงได้หลายอย่างรวมไปถึงอาการไม่สบายท้อง ความอยากอาหารเปลี่ยนไป น้ำหนัดตัวเพิ่มขึ้น ภาวะคั่งน้ำและบวม (อาการบวมน้ำ) อ่อนล้า สิวขึ้น เซื่องซึมหรือนอนไม่หลับ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ลมพิษ มีไข้ ปวดศีรษะ ซึมเศร้า เต้านมคัดหรือขยายใหญ่ขึ้น กลุ่มอาการก่อนมีรอบเดือน รอบเดือนมีการเปลี่ยนแปลง มีเลือดออกผิดปกติและผลข้างเคียงอื่นๆข้อควรระวังพิเศษและคำเตือน
หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่กำลังให้นมบุตร: โปรเจสเตอโรนเจลชนิดใช้สำหรับช่องคลอดมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยากหรือเพื่อป้องกันทารกคลอดก่อนกำหนด แต่กระนั้นโปรเจสเตอโณนก็ไม่มีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์และยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าโปรเจสเตอโรนมีความปลอดภัยพอสำหรับหญิงที่กำลังให้นมบุตรหรือไม่ ดังนั้นควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ โรคหลอดเลือดแดง: ห้ามใช้โปรเจสเตอโรนหากมีภาวะโรคหลอดเลือดแดง มะเร็งเต้านม: หลีกเลี่ยงการใช้โปนเจสเตอโรนเว้นแต่แพทย์สั่ง ภาวะซึมเศร้า: ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการใช้โปรเจสเตอโรนหากมีภาวะซึมเศร้าหรือเคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน โรคตับ: โปรเจสเตอโรนอาจทำให้โรคตับมีอาการแย่ลง ห้ามใช้เด็ดขาด เลือดออกจากช่องคลอด: หากมีเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ ห้ามใช้โปรเจสเตอโรนการเกิดปฏิกิริยา
- การเกิดปฏิกิริยาปานกลาง ควรระวังเมื่อใช้ร่วมกัน เอสโตรเจนที่ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยากับโปรเจสเตอโรน โปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนด้วยกันทั้งคู่ หากนำมารับประทานด้วยกัน โปรเจสเตอโรนจะไปลดผลข้างเคียงบางอย่างของเอสโตรเจน แต่โปรเจนเตอโรนเองก็อาจไปลดประโยชน์บางอย่างของเอสโตรเจนด้วยเช่นกัน การรับปนะทานโปรเจสเตอโรนร่วมกับเอสโตรเจนอาจเป็นสาเหตุของอาการเจ็บเต้าน
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น