ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะครรภ์เป็นพิษคืออะไร

ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) คือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เกิดจากการที่มีความดันโลหิตสูง และมีโปรตีนรั่วออกมาปนในปัสสาวะ ไตทำงานผิดปกติในะหว่างที่ตั้งครรภ์หรือหลังคลอด ซึ่งอาจมีปัจจัยการแข็งตัวของเกล็ดเลือดในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดปัญหาของไตหรือตับของคุณ ภาวะครรภ์เป็นพิษมักจะเกิดขึ้นหลังจาก 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตาม บางกรณีนั้นเกิดภาวะนี้ก่อนหรือหลังคลอดก็ได้ ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นอาการที่ร้ายแรงของครรภ์เป็นพิษ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดอาการชัก(seizured) ซึ่งเหมือนกับภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างการตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นก่อนคลอดหรือหลังคลอดก็ได้  5% ของหญิงที่ตั้งครรภ์มักประสบกับภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)

อาการของครรภ์เป็นพิษ

มันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากคุณสังเกตแล้วอาจไม่พบอาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจจะมีอาการที่เราพบบ่อยได้ดังนี้:
  • มีอาการปวดหัว
  • น้ำหนักขึ้นอย่างฉับพลัน
  • มีอาการมือบวมและหน้าบวมที่ผิดปกติ
  • มีปัญหาทางค่าสายตาและการมองเห็น
  • อาการปวดในช่องท้องส่วนบนขวา
ในระหว่างการตรวจสุขภาพทางกายภาพ แพทย์อาจจะพบว่า คุณมีความดันโลหิตสูงถึง 140/90 หรืออจจะสูงกว่านั้น และผู้ป่วยจะพบผลตรวจโปรตีนในปัสสาวะและเลือด  ร่วมกับภาวะเอนไซม์ในตับผิดปกติ และ ระดับเกล็ดเลือดต่ำ

สาเหตุครรภ์เป็นพิษ

แพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุครรภ์เป็นพิษที่แท้จริง แต่ก็มีการสำรวจอาการบางอย่างที่ทำให้รู้ว่านี่คือสาเหตุ ครรภ์เป็นพิษเกิดจากอะไร
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • ปัญหาของหลอดเลือด
  • ภาวะคุ้มกันผิดปกติ
นั่นคือสาเหตุครรภ์เป็นพิษซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีดังต่อไปนี้:
  • การตั้งครรภ์แฝด
  • ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี
  • ตั้งครรภ์ตอนอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก
  • มีภาวะโรคอ้วน(diabesity)
  • เคยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
  • เคยมีประวัติเป็นโรคไต(kidney disease)
การดูแลสุขภาพก่อนคลอดอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษได้เร็วขึ้นและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ การวินิจฉัยนั้นจะช่วยให้แพทย์ของคุณสามารถให้การตรวจสอบที่เหมาะสมกับคุณจนถึงวันคลอด

การรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ

การรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษที่แนะนำในระหว่างการตั้งครรภ์ คือการคลอดบุตรออกมาซึ่งจะช่วยให้ภาวะครรภ์เป็นพิษอาการค่อยๆดีขึ้นหลังจากคลอดบุตรและจะหายเป็นปกติไปเอง

การคลอดบุตร

แพทย์จะพิจารณาจากอายุครรภ์หากอายุครรภ์น้อยจะไม่เหมาะสม ซึ่งอายุครรภ์ของคุณควรอยู่ในสัปดาห์ที่ 37 หรือนานกว่านั้น แพทย์อาจจะแนะนำการคลอดบุตร ซึ่งการรักษานี้ ทารกที่คลอดออกมานั้นจะมีพัฒนาการที่ปกติ และไม่ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนด หากคุณมีภาวะครรภ์เป็นพิษก่อนอายุ 37 สัปดาห์ แพทย์จะพิจารณาตรวจทั้งสุขภาพของคุณและลูกน้อย ในการตัดสินใจเลือกเวลาคลอด ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงอายุครรภ์ของลูกไม่ว่าจะมีการดิ้นหรือไม่และมีภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงเพียงใด

การรักษาทางเลือกอื่นในระหว่างการตั้งครรภ์

บางกรณีในอาการครรภ์เป็นพิษนั้นอาจรักษาโดยให้ยาเพื่อลดความดันโลหิต คุณอาจได้รับยาเพื่อป้องกันอาการชัก ซึ่งอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของอาการครรภ์เป็นพิษด้วย ผู้ป่วยอาจจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าดูอาการครรภ์เป็นพิษ เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม คุณอาจได้รับยา ซึ่งฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อลดความดันโลหิต หรือการฉีดยาสเตรียรอยด์เพื่อให้ปอดของทารกในครรภ์ได้รับการพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น  การจัดการของภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นตัวชี้นำว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษนั้นมีความรุนแรงหรือไม่ สัญญาณของความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษมีดังนี้:
  • จังหวะการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลง 
  • มีอาการปวดท้อง
  • มีอาการชัก
  • การทำงานของตับและไตมีความผิดปกติ
  • มีการสะสมของเหลวในปอด
หากคุณมีอาการครรภ์เป็นพิษที่ผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณควรจะปรึกษาแพทย์ ความวิตกกังวลนั้นอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณและทารกในครรภ์ได้

การรักษาหลังคลอด

เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว อาการครรภ์เป็นพิษควรจะลดลง และความดันควรจะอยู่ในระดับปกติภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ จะมีอาการที่ดีขึ้น และการทำงานของตับและไตจะกลับมาเป็นปกติภายในไม่กี่เดือนหลังจากที่คลอดบุตรแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม บางกรณีนั้น ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่คลอดบุตรไม่กี่วัน แพทย์จะติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและการตรวจความดันโลหิตให้เป็นปกตินั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากหลังจากการคลอดบุตร ถึงแม้ว่าอาการครรภ์เป็นพิษจะเกิดขึ้นได้ยาก แต่ภาวะครรภ์เป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้ในตอนที่ตั้งครรภ์ได้ปกติ ซึ่งเกิดจากหลังคลอดไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรจะพบแพทย์ หากคุณเพิ่งผ่านการคลอดบุตรและมีอาการที่กล่าวข้างต้น 

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นอาการที่รุนแรงมาก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ส่งผลต่อชีวิตทั้งแม่และลูกได้ ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่พบได้มีดังนี้:
  • ปัญหาเลือดออกเนื่องจากระดับเกล็ดเลือดต่ำ
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด (รกแยกออกมาจากผนังมดลูก)
  • ตับถูกทำลาย
  • ระบบการทำงานของไตล้มเหลว
  • อาการปอดบวมน้ำ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับทารกเกิดขึ้นได้ถ้าคุณมีภาวะคลอดก่อนกำหนด  ในระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องที่สำคัญที่จะรักษาสุขภาพคุณและทารกในครรภ์ มารดาควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ รับประทานวิตามินและกรดโฟลิค และตรวจสุขภาพก่อนคลอดเป็นประจำ แต่ถึงแม้จะให้การดูแลอย่างดีแค่ไหน อาการที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นอย่างครรภ์เป็นพิษก็สามารถเกิดขึ้นได้ในบางครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด ภาวะนี้ทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งแม่และลูก ถ้าคุณรู้ว่ามีภาวะเสี่ยงหรือสัญญาณเตือนที่จะมีอาการครรภ์เป็นพิษ คุณควรจะปรึกษาแพทย์ และหากจำเป็นแพทย์อาจจะให้ส่งต่อคุณไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีศาสตร์ตรวจอาการข้างต้น เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมในการดูแลก่อนและหลังคลอด

สถิติผู้มีภาวะครรภ์เป็นพิษในประเทศไทย

สถิตินี้มาจากเว็บไซต์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อปี 2556 เกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
  • มีสตรีเสียชีวิตจากภาวะที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ 500,000 ราย/ปี
  • 10% ของสตรีตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง
  • 2-8% ของสตรีตั้งครรภ์มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • 10-15% ของสตรีตั้งครรภ์ที่เสียชีวิตเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ

แนวทางโภชนาการเพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ

แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่คิดว่าสรีรวิทยาของภาวะครรภ์เป็นพิษเกี่ยวข้องกับการมีรกเกาะต่ำผิดปกติ การแพร่กระจายของเซลล์บุผนังหลอดเลือดที่ผิดปกติ และการอักเสบทั่วร่างกายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากธาตุอาหารรองมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดของรก ความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน และการแสดงออกของปัจจัยสร้างเส้นเลือดใหม่ จึงมีการเสนอการเสริมธาตุอาหารรองในช่องท้องเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดรายงานผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกัน การบริโภคแคลเซียม (>1 กรัม/วัน) อาจลดความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษในสตรีที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ ข้อมูลจากการทบทวน Cochrane ที่ปรับปรุงล่าสุดไม่สนับสนุนการเสริมวิตามิน C, E หรือ D เป็นประจำเพื่อป้องกันหรือรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ หลักฐานยังไม่เพียงพอในการสนับสนุนการเสริมสังกะสีหรือกรดโฟลิกสำหรับการป้องกันภาวะครรภ์เป็น พิษ ดาร์กช็อกโกแลต อาหารที่อุดมด้วยฟลาโวนอยด์ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสายยาวอาจเป็นตัวเลือกในการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ ด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ หรือขยายหลอดเลือดสารอาหารรองจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ แนะนำให้เสริมแคลเซียมเพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในสตรีที่รับประทานแคลเซียมต่ำ แม้จะมีข้อมูลทางการแพทย์และในหลอดทดลองที่เป็นบวก แต่ก็ยังขาดหลักฐานที่ชัดเจนในการสนับสนุนการเสริมสารอาหารรอง อื่น ๆ เพื่อ ลดความเสี่ยงต่อ ภาวะครรภ์เป็นพิษ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินประโยชน์ของอาหารเสริม เช่น ช็อกโกแลตและกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสายยาว

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.marchofdimes.org/complications/preeclampsia.aspx
  • https://www.webmd.com/baby/preeclampsia-eclampsia

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด