โพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium Chloride)

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โพแทสเซียมคลอไรด์

Potassium Chloride คืออะไร 

โพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ที่พบในอาหารหลายชนิดและจำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะการเต้นของหัวใจ โพแทสเซียมคลอไรด์ ใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia ระดับโปแตสเซียมต่ำจากโรคหรือผลของการใช้ยาบางอย่าง หรือการท้องเสียและอาเจียนนานๆ

ข้อควรระวัง

คุณไม่ควรใช้โพแทสเซียมคลอไรด์หากมีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูงหรือใช้ยาขับปัสสาวะชนิดไม่ขับโปแตสเซียม เพื่อให้แน่ใจว่าโพแทสเซียมคลอไรด์ช่วยให้อาการของคุณดีขึ้น ควรตรวจเลือดบ่อยๆและตรวจการเต้นของหัวใจด้วยการตรวจคลื่นหัวใจเพื่อดูการส่งกระแสไฟฟ้าในหัวใจ การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์ตัดสินใจได้ว่าควรจะรักษาด้วยโปแตสเซียมไปอีกนานเท่าไร อย่าผิดนัดกับแพทย์ ผลข้างเคียงที่รุนแรงของโพแทสเซียม เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ,กล้ามเนื้ออ่อนแรง,ปวดท้องมาก,ชาหรือซ่าที่มือ เท้าหรือปาก อย่าหยุดใช้ยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะจะทำให้อาการเลวลง อย่าบด เคี้ยว ดูดหรือตัดเม็ดยาชนิดละลายช้าหรือยาแคปซูล กลืนทั้งเม็ด การบดหรือตัดเม็ดยาจะทำให้ตัวยาออกมามากไป การดูดเม็ดยาจะทำให้ปากและคอระคายเคือง กินยาพร้อมหรือหลังอาหารทันที

ก่อนกินยา

คุณไม่ควรใช้โพแทสเซียมคลอไรด์หากคุณแพ้ หรือ
  • มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง กินยาขับปัสสาวะชนิดไม่ขับโพแทสเซียม. เช่น Amiloride, Spironolactone และ Triamterene
เพื่อให้แน่ใจว่าจะปลอดภัย ควรถามแพทย์หากคุณ
  • เป็นโรคไต
  • ตับแข็งหรือมีโรคตับ
  • โรคของต่อมอะดรีนัล
  • มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออย่างมากเช่นบาดเจ็บรุนแรงจากไฟไหม้
  • ขาดน้ำรุนแรง
  • เบาหวาน
  • โรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง
  • เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • มีการอุดกั้นในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ หรือ
  • ท้องเสียเรื้อรัง(เช่นลำไส้เป็นแผล โรคโครห์น )
ยังไม่ทราบว่ายานี้มีอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ อาจต้องปรับขนาดยาเมื่อตั้งครรภ์ แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร อย่าให้ยานี้กับเด็กโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์Potassium Chloride

รับประทานยาอย่างไร 

รับประทานตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ตามคำแนะนำการใช้ยา แพทย์อาจเปลี่ยนขนาดยาเป็นครั้งคราว รับประทานโพแทสเซียมคลอไรด์กับน้ำหนึ่งแก้ว รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพื่อป้องกันการคลื่นไส้  ตวงยาน้ำด้วยภาชนะที่ให้มา หากไม่มี ขอจากเภสัชกร อย่าบด เคี้ยว ดูดหรือตัดเม็ดยาชนิดละลายช้าหรือยาแคปซูล การดูดเม็ดยาจะทำให้ปากและคอระคายเคือง แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกลืนเม็ดยาลำบาก อาจต้องละลายยาในน้ำหรือผสมยาจากแคปซูลลงในอาหารอ่อน ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ผสมผงยากับน้ำอย่างน้อยครึ่งแก้ว หรือน้ำเย็นหรือน้ำผลไม้ก่อนดื่ม ดื่มช้าๆ ภายใน5 หรือ 10 นาที และเพื่อให้แน่ใจว่าได้ยาครบ หลังจากดื่มแล้ว เต็มน้ำเล็กน้อยลงในแก้วเขย่าและดื่มให้หมด เพื่อให้แน่ใจว่ายานี้รักษาได้ผล ต้องตรวจเลือดบ่อยๆ คุณอาจไม่รู้สึกว่าอาการเปลี่ยนแปลง แต่ผลการตรวจเลือดจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจได้ว่าควรจะรักษาด้วยโปแตสเซียมคลอไรด์ไปอีกนานเท่าไร อาจต้องตรวจการทำงานของหัวใจ (EKG) แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ การตรวจจะช่วยให้แพทย์ทราบว่ายานั้นได้ผลหรือไม่ คุณอาจต้องอาหารชนิดพิเศษ ทำตามแผนการจัดอาหารที่แพทย์หรือโภชนากรจัดให้ ทำความคุ้นเคยกับรายการอาหารที่ควรกินและควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้สุขภาพดีขึ้น อาหารที่โปแตสเซียมสูง เช่น squash,มันฝรั่งอบพร้อมเปลือก,ผักโขม,ถั่วเลนทิล,บรอกโคลี่,กะหล่ำปม,ซูกีนี่,ถั่วแดง,ลูกเกด,แตงโม,น้ำส้ม,กล้วย,แคนตาลูปและนมไขมันต่ำหรือโยเกิร์ต ควรกินตามปริมาณที่แพทย์หรือโภชนากรกำหนด ยาเม็ดบางชนิดอาจมีเปลือกที่ไม่ละลายในร่างกาย จะถูกขับออกมากับอุจจาระ เป็นเรื่องปกติ ไม่ได้ทำให้ยามีฤทธิ์น้อยลง เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง ไกลจากความชื้นและความร้อน เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด

หากลืมกินยา

กินทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้กับเวลาของมื้อต่อไปให้กินยามื้อต่อไป ไม่ต้องกินเพิ่ม

หากได้ยาเกินขนาด

ไปโรงพยาบาลโดยด่วน  อาการของการได้รับยาเกินคือ ใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เจ็บหน้าอก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

หลีกเลี่ยงการกินอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีโปแตสเซียมโดยไม่ปรึกษาแพทย์ สารทดแทนเกลือหรืออาหารที่มีเกลือน้อยมักมีโปแตสเซียม หากคุณใช้ผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับยา อาจได้โปแตสเซียมมากเกินไป อ่านฉลากยาอื่นๆที่คุณใช้อยู่เพื่อดูว่ามีโปแตสเซียมหรือไม่

ผลข้างเคียงของโพแทสเซียมคลอไรด์

หากคุณมีอาการแพ้ เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก หน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอบวม ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที หยุดยาและแจ้งแพทย์ทันทีหากมีอาการ
    • ระคายคออย่างรุนแรง
    • ท้องป่อง อาเจียนรุนแรง,ปวดท้องรุนแรง
  • อาการของเลือดออกในกระเพาะอาหาร อุจจาระเป็นเลือดหรือสีดำ ไอเป็นเลือดหรืออาเจียนเป็นสีกาแฟ(ดำ)
ผลข้างเคียงของโพแทสสเซียมคลอไรด์ อาจรวมถึง
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ปวดท้อง ท้องอืด หรือ
  • มีเม็ดยา(ไม่ใช่เปลือดเม็ดยา)ออกมาในอุจจาระ
นี่ไม่ใช่ผลข้างเคียงทั้งหมด อาจมีอื่นๆด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลข้างเคียง

ยาอื่นๆที่มีผลต่อโปแตสเซียมคลอไรด์

ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณได้รับยาอะไรอยู่ และยาอะไรที่คุณเริ่มหรือเลิกกิน โดยเฉพาะ
  • ยาขับปัสสาวะ หรือ
  • ยารักษาโรคหัวใจและความดันโลหิต
นี่ยังไม่ใช่ทั้งหมด ยาอื่นๆที่อาจมีผลกับโปแตสเซียมคลอไรด์ เช่นยาที่แพทย์สั่ง หรือยาที่ซื้อตามร้าน วิตามิน และสมุนไพร ข้อมูลอื่นๆ อย่าลืมเก็บยาให้ไกลจากมือเด็ก อย่าใช้ยาร่วมกับผู้อื่น และใช้ยาตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด

ผู้ที่ห้ามใช้โพแทสเซียมคลอไรด์

โพแทสเซียมคลอไรด์เป็นยาและอาหารเสริมที่ให้แร่ธาตุโพแทสเซียมที่จำเป็น แม้ว่าโพแทสเซียมมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายต่างๆ แต่ก็มีบางคนที่ควรใช้ความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งรวมถึง:
  • บุคคลที่มีภาวะโพแทสเซียมสูง:ควรหลีกเลี่ยงบุคคลที่มีโพแทสเซียมในเลือดสูง (ภาวะโพแทสเซียมสูง) ระดับโพแทสเซียมที่สูงอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและกล้ามเนื้อและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากคุณมีภาวะโพแทสเซียมสูง สิ่งสำคัญคือต้องจัดการปริมาณโพแทสเซียมภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • บุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต:ผู้ที่เป็นโรคไต โดยเฉพาะผู้ที่ฟอกไต มักจำเป็นต้องติดตามและจำกัดการบริโภคโพแทสเซียมอย่างใกล้ชิด โดยปกติโพแทสเซียมจะถูกขับออกทางไต แต่ความผิดปกติของไตอาจทำให้เกิดการสะสมโพแทสเซียมในเลือดได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะให้คำแนะนำด้านอาหารและยาโดยเฉพาะเพื่อจัดการระดับโพแทสเซียมในกรณีเช่นนี้
  • ยาบางชนิด:ยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับโพแทสเซียมคลอไรด์หรือส่งผลต่อระดับโพแทสเซียมในร่างกาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณทราบถึงยาและอาหารเสริมทั้งหมดที่คุณกำลังใช้เพื่อป้องกันปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้น
  • ผู้ที่มีอาการป่วยบางอย่าง:บุคคลที่มีอาการป่วยเฉพาะ เช่น โรคแอดดิสัน ความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ และอาการทางเดินอาหารบางอย่าง อาจได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงหรือจำกัดโพแทสเซียมคลอไรด์ การตัดสินใจนี้จะขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของแต่ละบุคคลและคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ
  • สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร:สตรีมีครรภ์และให้นมบุตรควรใช้อาหารเสริมโพแทสเซียมภายใต้คำแนะนำของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ปริมาณโพแทสเซียมที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร แต่การบริโภคโพแทสเซียมมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้
  • เด็ก:ควรให้อาหารเสริมโพแทสเซียม รวมถึงโพแทสเซียมคลอไรด์แก่เด็กภายใต้การดูแลของกุมารแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพเท่านั้น ขนาดยาที่เหมาะสมควรพิจารณาตามอายุ น้ำหนัก และความต้องการด้านสุขภาพเฉพาะของเด็ก
  • ปฏิกิริยาการแพ้:บุคคลที่ทราบว่ามีอาการแพ้โพแทสเซียมคลอไรด์หรือส่วนประกอบใด ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรืออาหารเสริมนี้ ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง และอาจรวมถึงอาการต่างๆ เช่น ผื่น คัน บวม และหายใจลำบาก
สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เช่น แพทย์หรือนักโภชนาการ ก่อนที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพแทสเซียมคลอไรด์ หรือเปลี่ยนแปลงอาหารที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับโพแทสเซียม พวกเขาสามารถให้คำแนะนำตามสถานะสุขภาพเฉพาะของคุณและความต้องการเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งานที่ปลอดภัยและเหมาะสม ปริมาณโพแทสเซียมควรได้รับการจัดการอย่างระมัดระวัง เนื่องจากโพแทสเซียมทั้งน้อยเกินไปและมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/drugs/2/drug-676-7058/potassium-chloride-oral/potassium-extended-release-dispersible-tablet-oral/details
  • https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Potassium-chloride
  • https://www.uofmhealth.org/health-library/d00345a1
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด