ภาวะซึมเศร้า vs. อารมณ์เศร้า
ประมาณ 80 เปอร์เซนต์ของแม่ที่คลอดเด็กทารกมีอารมณ์ซึมเศร้า (Postpartum Depression) หลังจากให้กำเนิดบุตร ในทางกลับกันมีงานวิจัยขนาดใหญ่ในปี 2013 พบว่ามีคุณแม่หลังคลอดจำนวนเพียง 14 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่มีผลทดสอบภาวะซึมเศร้าเป็นบวก นอกเหนือจากนั้นมีผู้หญิงจำนวน 19.3 เปอร์เซนต์มีความคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเองและ 22.6 เปอร์เซนต์ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไบโพลาร์ปัจจัยเสี่ยง
ในงานวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้าได้แก่คนในกลุ่มดังต่อไปนี้- วัยรุ่น
- มีการศึกษาต่ำ
- ประกันสังคม
- เชื้อชาติแอฟริกันอเมริกัน
การเกิดเริ่มต้น
นอกจากนี้ผู้เขียนยังพบข้อมูลในระหว่างทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่บ้านหรือพูดคุยผ่านโทรศัพท์ ในการสัมภาษณ์ผู้หญิงจำนวน 973 คนพบข้อมูลทางสถิติดังต่อไปนี้- 26.5 เปอร์เซนต์มีภาวะซึมเศร้าก่อนการตั้งครรภ์
- 33.4 เปอร์เซนต์เริ่มมีภาวะซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์
- 40.1 เปอร์เซนต์เริ่มสังเกตุพบอาการซึมเศร้าหลังคลอดบุตร
เข้ารับความช่วยเหลือ
เนื่องจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดไม่ได้เปนโรคที่มีพัฒนาการร้ายแรงเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้นมีเพียงผู้หญิงจำนวน 15 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่ได้รับความช่วยเหลือเพื่อรักษาอาการซึมเศร้าจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ตัวเลขดังกล่าวยังหมายถึงจำนวนผู้หญิงที่มีเด็กทารกที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่รวมจำนวนผู้หญิงที่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่เกิดการแท้งหรือเด็กเสียชีวิตตั้งแต่กำเนิด ดังนั้นหมายความว่าจำนวนของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างแท้จริงอาจมีอัตราสูงกว่าที่เราคิดสถิติอื่นๆ
- ภาวะวิตกกังวลหลังคลอดเป็นอาการที่เกิดขึ้นปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงจำนวน 1 ใน 6 รายหลังจากการคลอดบุตร ในคุณแม่มือใหม่มีอัตราเกิดขึ้นจำนวน 1 ใน 5 ราย
- การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของผู้หญิงที่มีเด็กเสียชีวิตหลังคลอด ซึ่งเป็นสาเหตุทั่วไปส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่เสียชีวิตหลังคลอดบุตร
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรที่เกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นอาการที่ค่อนข้างพบได้ยาก ซึ่งพบได้ 1 ถึง 3 คนในผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตรจำนวน 100 คน
- โรคจิตหลังคลอดเป็นอาการที่พบได้น้อยมากซึ่งพบเพียง 1 ถึง 2 คนจากผู้หญิง 1,000 คนหลังจากคลอดบุตร
- 25 เปอร์เซนต์ของคุณพ่อมีอาการซึมเศร้าหลังจากภรรยาคลอดบุตรในปีเเรก
- หลังจากกำเนิดบุตร 1 ปีงานวิจัยในปี 2010 พบว่า 39 เปอร์เซนต์ของคุณแม่และ 21 เปอร์เซนต์ของคุณพ่อเป็นโรคที่มีอาการซึมเศร้าระหว่างช่วงเวลาที่เด็กมีอายุ 12 ปี
อาการทางจิตหลังคลอดสามารถรักษาด้วยวิธีใด
มียาหลายชนิดที่ใช้รักษาอาการทางจิต ซึ่งสามารถใช้ยาชนิดเดียวหรือใช้ยาสองชนิดร่วมกันได้- ยาควบคุมอารมณ์
- ยาต้านโรคซึมเศร้า
- ยารักษาอาการทางจิต
ภาวะวิตกกังวลหลังคลอด
ภาวะวิตกกังวลหลังคลอดเป็นอาการที่ควรได้รับความใส่ใจ แต่อย่างไรก็ตามความวิตกกังวลหลังคลอดเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงจำนวนมากกว่า 1 ใน 6 คนหลังจากคลอดบุตร เป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกเครียดเล็ดน้อยหรือมีความกังวลหลังจากนำเด็กทารกกลับบ้าน บางครั้งคุณอาจรู้สึกวิตกกังวลเนื่องจากการถูกรบกวนในชีวิตประจำวัน อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้แก่ภาวะหายใจเร็วเกินไปและภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีเหตุผล สำหรับอาการหายใจเร็วเกินไปมักเกิดขึ้นเมื่อคุณมีหายใจลึกและเร็วเกินไปจึงทำให้ก็าซคาร์บอนลดลงจึงทำให้คุณเกิดความรู้สึกหายใจไม่ออก ภาวะตื่นตระหนกโดยไม่มีสาเหตุมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้- มีอาการใจสั่น
- เจ็บหน้าอก
- เหงื่อออก
- หายใจสั้น
- มีความกังวลมากเกินไปกับเหตุหารณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
- ไม่สามารถนอนหลับได้เนื่องจากเกิดความวิตกกังวล
- คิดถึงปัญหาเดิมซ้ำๆ แม้ว่าปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไขเเล้วหรือเป็นปัยหาที่ไม่สำคัญ
- มีสมาธิไม่ดีเนื่องจากเกิดความกังวล
- ปกป้องลูกของตนเองมากเกินไปเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้
- มีความกังวลหรือจินตนาการเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
ภาวะหลังคลอดที่เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำ
ถ้าหากคุณต้องการเลี้ยงบุตรในสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกกดดันว่าทุกอย่างจำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ ความคิดเช่นนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ปกติสำหรับคุณแม่มือใหม่และความกดดันที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำได้ โรคย้ำคิดย้ำทำที่เกิดหลังคลอดเป็นอาการที่ผิดปกติมาก โดยผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตรประมาณ 1 ถึง 3 เปอร์เซนต์มีอาการย้ำคิดย้ำทำซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดขึ้นภายในสัปดาห์แรกหลังจากให้กำเนิดบุตร อาการหมกหมุ่นหรือย้ำคิดย้ำทำหมายถึงอาการใดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่เเล้วมักเป็นอาการที่มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของเด็ก เช่นคุณอาจมีความกังวลเกี่ยวกับว่าเด็กอาจเสียชีวิตตอนกลางคืนหรือคุณไม่สามารถวางเด็กลงได้ ถ้าหากคุณเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหลังจากการคลอดบุตร คุณอาจมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าว อย่างเช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้- จัดของและทำความสะอาดบริเวณต่างๆซ้ำๆและหมกหมุ่นเกี่ยวกับเชื้อโรคที่ลูกอาจสัมผัสได้
- ตรวจดูลูกซ้ำๆในช่วงกลางคืน แม้ว่าจะทราบว่าเพิ่งไปดูทารกมา
- มีภาวะย้ำคิดย้ำทำทางจิตเช่นการภาวนาให้เด็กปลอดภัยเป็นประจำ
- ความเชื่อเช่นการสัมผัสกับบางอย่างหรือการห้อยเครื่องรางสามารถปกป้องเด็กจากที่เป็นอันตรายได้
- ใช้เวลามากในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก
เคล็ดลับสำหรับคุณพ่อเมื่อภรรยามีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
การใช้ชีวิตร่วมกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจเป็นเรื่องน่าลำบากใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีลูกใหม่และบ้านดูเหมือนจะเต็มไปด้วยสิ่งที่ต้องทำ เมื่อพูดถึงการช่วยภรรยาในการจัดการกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สิ่งที่คุณทำมีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่คุณคิดว่าอาจช่วยได้ อาจจะไม่ ร้ายไปกว่านั้น มันอาจทำให้สิ่งต่าง ๆ แย่ลง จำไว้ว่าคุณไม่สามารถแก้ไขภาวะซึมเศร้าของคนอื่นได้ คุณไม่สามารถทำให้มันหายไปได้ ในกรณีของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ไม่ว่าคุณจะพยายามมากแค่ไหนหรือรักภรรยามากแค่ไหน การฟื้นตัวจะใช้เวลานานกว่าที่คุณคาดหวัง คุณต้องเต็มใจที่จะรอสิ่งนี้กับเธอ คำแนะนำเหล่านี้อาจช่วยได้- การวิจัยแสดงให้เราเห็นว่าภาวะซึมเศร้าของผู้หญิงจะดีขึ้นอย่างชัดเจนด้วยการสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอจากคนสำคัญ
- ยิ่งคุณแสร้งทำเป็นว่าอาการซึมเศร้าจะหายไปเองหรือปฏิเสธว่าไม่ได้เกิดขึ้นนานเท่าไร การฟื้นตัวของเธอก็จะใช้เวลานานขึ้นเท่านั้น
- ยิ่งคุณคาดหวังในตัวเธอมากเท่าไหร่ ความต้องการของคุณก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น การฟื้นตัวของเธอก็จะยิ่งยากขึ้นเท่านั้น
- ยิ่งคุณกดดันตัวเองมากเท่าไหร่ ทรัพยากรที่คุณต้องใช้ในแต่ละวันก็จะน้อยลงเท่านั้น
- คุณต้องใช้สิ่งนี้อย่างจริงจัง
- คุณมีอำนาจมากที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์ของความรู้สึกของคุณทั้งคู่มากกว่าที่คุณคิด
- ถ้าคุณบอกเธอว่าคุณรักเธอ… เธออาจไม่เชื่อคุณ
- ถ้าคุณบอกเธอว่าเธอเป็นแม่ที่ดี… เธออาจจะคิดว่าคุณพูดแบบนั้นเพื่อทำให้เธอรู้สึกดีขึ้น
- ถ้าคุณบอกว่าเธอสวย… เธออาจคิด ว่าคุณโกหก
- หากคุณบอกเธอว่าไม่ต้องกังวลอะไร… เธออาจคิดว่าคุณไม่รู้ว่าเธอรู้สึกแย่แค่ไหน
- ถ้าคุณบอกเธอว่าคุณจะกลับบ้านก่อนเวลาเพื่อช่วยเธอ… เธออาจจะรู้สึกผิด
- ถ้าคุณบอกเธอว่าคุณต้องทำงานสาย… เธออาจจะคิดว่าคุณไม่สนใจ
- บอกเธอว่าคุณรู้ว่าเธอรู้สึกแย่
- บอกเธอว่าเธอจะต้องดีขึ้น
- บอกเธอว่าเธอกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อให้อาการดีขึ้น ( การบำบัดการใช้ยา หรือวิธีอื่น ๆ )
- บอกเธอว่าเธอยังสามารถเป็นแม่ที่ดีได้แม้ว่าเธอจะรู้สึกแย่ก็ตาม
- บอกเธอว่าไม่เป็นไรที่จะทำผิดพลาด เธอไม่ต้องทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ
- บอกเธอว่าคุณรู้ว่าเธอทำงานหนักแค่ไหนในตอนนี้
- บอกให้เธอรู้ว่าเธอต้องการให้คุณช่วยอะไร
- บอกเธอว่าคุณรู้ว่าเธอทำดีที่สุดแล้ว
- บอกเธอว่าคุณรักเธอ
- บอกเธอว่าลูกของคุณจะสบายดี
สิ่งที่คุณสามารถทำได้จริง
- ช่วยงานบ้าน
- กำหนดขอบเขตกับเพื่อนและครอบครัว
- รับโทรศัพท์ รับข้อความ
- พาเธอไปพบแพทย์
- ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
- เขียนข้อกังวลและคำถามที่คุณมีและปรึกษากับแพทย์หรือจิตแพทย์ของเธอ
- สิ่งที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวที่คุณต้องทำเพื่อช่วยคือการอยู่กับเธอ นั่งกับเธอ ไม่มีทีวี ไม่มีเด็ก ไม่มีสุนัข ไม่มีบิล ไม่มีหนังสือพิมพ์ แค่คุณและเธอ ให้เธอรู้ว่าคุณอยู่ที่นั่น การดำเนินการนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ดูเศร้าหรือห่างเหิน ห้านาทีต่อวันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/postpartum-depression/symptoms-causes/syc-20376617
- https://www.womenshealth.gov/mental-health/mental-health-conditions/postpartum-depression
- https://www.webmd.com/depression/guide/postpartum-depression
- https://www.nimh.nih.gov/health/publications/perinatal-depression/index.shtml
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น