ภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax-Collapsed Lung) – อาการ การวินิจฉัย การรักษา

ภาวะปอดรั่วคืออะไร 

ภาวะปวดรั่ว Pneumothorax คือ คำอธิบายถึงภาวะปอดแตก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีอากาศเข้าไปแทรกอยู่รอบๆปอด (ช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด) อากาศสามารถหาทางเข้าไปช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอดเมื่อผนังทรวงอกเปิดเพราะได้รับบาดเจ็บหรือฉีกขาดหรือมีรอยแตกในเนื้อเยื่อปอด และไปรบกวนแรงดันที่ช่วยทำให้ปอดพองตัว สาเหตุของการแตกหรือบาดเจ็บที่หน้าอกหนือผนังปอดอาจรวมไปถึงโรคปอด การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือเล่นกีฬา การช่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ หรือเกิดจากการเปลี่ยนแรงดันอากาศที่มักพบจากการดำน้ำหรือปีนเขา แต่ในบางครั้งภาวะปวดรั่วก็ไม่รู้สาเหตุ การเปลี่ยนแปลงของแรงดันมีสาเหตุมาจากช่องเปิดในหน้าอกหรือผนังปอดที่เกิดมาจากปอดแตกและมีแรงดันไปที่หัวใจ ภาวะเช่นนี้ถือเป็นเรื่องรุนแรง แม้จะมีอากาศเล็กน้อยไปติดอยู่ในช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอดก็ตาม ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งสามารถหายได้ด้วยตัวเองหากไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในอนาคต ในกรณีที่มีอาการรุนแรงคือมีปริมาณอากาศปริมาณมากจนสามารถทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจถุงลมโป่งพองเพราะอะไร

ชนิดและสาเหตุของภาวะปอดรั่ว

ภาวะปอดรั่วแบ่งออกได้เป็นสองชนิด คือชนิดปอดรั่วที่มีบาดแผล และปอดรั่วชนิดไม่มีบาดแผล ซึ่งแต่ละชนิดสามารถนำไปสู่ลมดันในช่องปอดได้หากอากาศที่อยู่รอบๆปอดมีแรงดันเพิ่มขึ้น ลมดันในช่องปอดคือสิ่งที่มักพบในการได้กรณีได้รับบาดแผลและต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน  

ปอดรั่วชนิดที่มีบาดแผล

ปอดรั่วชนิดมีบาดแผล เกิดขึ้นหลังได้รับบาดแผลบางชนิดหรือได้รับบาดเจ็บที่เกิดขึ้นต่อหน้าอกหรือผนังปอด ซึ่งสามารถมีได้ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงสังเกตเห็นได้ บาดแผลนี้สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างของหน้าอกและเป็นสาเหตุให้มีอากาศแทรกเข้าไปช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด ตัวอย่างการบาดเจ็บที่สามารถนำไปสู่ภาวะปอดรั่วชนิดมีบาดแผลคือ:
  • บาดแผลที่หน้าอกจากอุบัติเหตุทางยานพาหนะ
  • ซี่โครงหัก
  • ถูกตีอย่างแรงที่หน้าอกจากการเล่นกีฬา  เช่นจากการกระแทกในการเล่นฟุตบอล
  • แผลถูกแทงหรือถูกยิงเข้าที่หน้าอก
  • มีการผ่าตัดที่สร้างความเสียหายแก่ปอด เช่น การใส่สายสวนหลอดเลือดส่วนกลาง การใช้เครื่องช่วยหายใจ การตัดชิ้นเนื้อปอดส่งตรวจหรือการทำซีพีอาร์
การเปลี่ยนแปลงแรงดันอากาศจากการดำน้ำหรือการปีนเขาก็สามารถเป็นสาเหตุของภาวะปอดรั่วที่มีบาดแผลได้ การเปลี่ยนความสูงส่งผลให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในปอดและจากนั้นก็แตก นำไปสู่ปอดแตก ควรรักษาภาวะปอดรั่วให้เร็วที่สุดเพราะการเกิดบาดแผลที่หน้าอกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อาการที่เกิดขึ้นมักมีความรุนแรงและสามารถทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่นภาวะหัวใจหยุดเต้น ระบบทางเดินหายใจล้มหลว ช็อคและเสียชีวิต

ภาวะปอดรั่วชนิดที่ไม่มีบาดแผล

ภาวะปอดรั่วชนิดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นหลังการได้รับบาดเจ็บ แต่มักเกิดขึ้นเอง ภาวะปอดรั่วชนิดไม่มีบาดแผลมีสองชนิดหลักๆคือ ชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิ ภาวะปอดรั่วแบบปฐมภูมิ (PSP) เกิดขึ้นในคนที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคปอด มักส่งผลกนะทบต่อเด็กผู้ชายที่มีลักษณะผอมและสูง ภาวะปอดรั่วทุติยภูมิ (SSP) มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่รุ็ว่าปอดมีปัญหา ภาวะที่เป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะ SSP คือ: Spontaneous hemopneumothorax (SHP) คือปอดรั่วที่พบได้ยากเป็นชนิดย่อยของภาวะปอดรั่วที่เกิดขึ้นเอง มักเกิดขึ้นเมื่อมีทั้งเลือดและอากาศเข้าไปในโพรงเยื่อหุ้มปอดโดยปราศจากบาดแผลหรือมีประวัติเป็นโรคปอด

อาการของภาวะปอดรั่ว

อาการปอดรั่วแบบมีแผลมักปรากฏอาการทันทีที่มีแผลหรือบาดเจ็บที่หน้าอก หรือระยะสั้นๆหลังจากนั้น อาการสำหรับภาวะปอดรั่วที่เกิดขึ้นเองมักไม่ค้อยแสดงอาการ อาการเจ็บหน้าอกกระทันหันมักเป็นอาการแรก อาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นเช่น:
  • มีอาการเจ็บหน้าอกไม่หาย
  • หายใจสั้นหรือหายใจลำบาก
  • แน่นหน้าอก
  • ผิวเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรืออาการตัวเขียว
  • หัวใจเต้นเร็วรุนแรง

ปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดภาวะปอดรั่ว

ปัจจัยความเสี่ยงสำหรับภาวะปอดรั่งแบบมีแผลและเกิดขึ้นเองนั้นแตกต่างกัน ปัจจัยความเสี่ยงสำหรับภาวะปอดรั่วแบบมีบาดแผลคือ:
  • มีการเล่นกีฬาที่มีการกระแทก เช่นฟุตบอลหรือฮอกกี้
  • การแสดงโลดโผนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายที่หน้าอก
  • มีประวัติการต่อสู้ที่รุนแรง
  • ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อไม่นานหรือตกจากที่สูง
  • เพิ่งได้รับการผ่าตัดหรือใส่เครื่องช่วยระบบทางเดินหายใจ
คนที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับภาวะปอดรั่วชนิด PSP คือ:
  • เด็ก
  • ผอม
  • เพศชาย
  • อายุระหว่าง 10 ถึง 30 ปี
  • มีผลมาจากความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กลุ่มอาการมาร์แฟน
  • สูบบุหรี่
  • สัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมหรือหน้าที่การงาน เช่น โรคซิลิโคซิส
  • สัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงความดันของชั้นบรรยากาศและอากาศที่เปลี่ยนอย่างรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงหลักๆสำหรับ SSP มักพบว่าเคยได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเคบมีโรคปอดมาก่อน และมักเกิดขึ้นกับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป

Pneumothorax-Collapsed Lung

การวินิจฉัยภาวะปอดรั่ว

การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับการเกิดอากาศในเนื้อที่รอบๆปอด การใช้หูฟังทางการแพทย์สามารถฟังเสียงในปอดที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่จะค้นหาจุดรั่วเล็กๆได้ยาก การถ่ายภาพบางอย่างก็ยากจะระบุได้เพราะตำแหน่งของอากาศระหว่างผนังหน้าอกและปอด การถ่ายภาพทั่วไปที่ใช้ในการวินิจฉัยภาวะปอดรั่ว เช่น:
  • ภาพถ่ายรังสีทรวงอก ท่าหลัง-หน้า ท่ายืน
  • การทำซีทีสแกน
  • การทำ A thoracic ultrasound

การรักษาภาวะปอดรั่ว

การรักษาจะขึ้นอยู่กับภาวะความรุนแรงของโรค และขึ้นอยู่ว่าเคบมีภาวะปอดรั่วมาก่อนหรือไม่และอาการที่เป็น สามารถรักษาได้ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ทางเลือกในการรักษาซึ่งรวมไปถึงการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดร่วมกับการสอดท่อเข้าที่หน้าอก หรือผ่าตัดส่องกล้องเพื่อแก้ไขและป้องกันการเกิดอาการปอดแตกในอนาคต การให้ออกซิเจนอาจจำเป็นต้องถูกนำมาใช้

การเฝ้าติดตาม

การเฝ้าติดตามหรือ “การจับตาดูอย่างระมัดระวัง” คือ คำแนะนำสำหรับในรายที่มีอาการ PSP เล็กน้อย แพทย์จะเฝ้าติดตามอาการเบื้องต้น โดยดูอากาศที่แทรกเข้าไปในช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด ต้องเอกซเรย์บ่อยๆเพื่อตรวจดูปอดให้มีการขยายเต็มที่อีกครั้ง แพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางทางอากาศไปจนกว่าอาการปวดรั่วจะได้รับการแก้ไขแล้ว ภาวะปอดรั่วอาจเป็นสาเหตุทำให้ระดับออกซิเจนตกลงในบางราย ภาวะนี้เรียกว่าภาวะขาดออกซิเจนในเลือด หากเป็นกรณีเช่นนี้แพทย์จะสั่งให้ออกซิเจนเสริมร่วมกับการจำกัดกิจกรรมบางอย่าง

การถ่ายอากาศส่วนเกินออก

ด้วยการใช้เข็มเจาะและการสวนท่อเข้าไปที่หน้าอกสามารถทำเพื่อเป็นการนชระบายอากาศส่วนเกินออกจากช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด  สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องวางยาระงับความรู้สึก

การเชื่อมเยื่อหุ้มปอด

การเชื่อมเยื่อหุ้มปอดเป็นการรักษาที่ล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกายสำหรับภาวะปอดรั่ว มักแนะนำสำหรับในรายที่มีภาวะปอดรั่วซ้ำ ในระหว่างการเชื่อมเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะจัดการช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอดเพื่อไม่ให้อากาศและของเหลวไปสะสมได้อีก  “เยื่อหุ้มปอด”หมายถึงเยื่อที่อยู่รอบๆปอดแต้ละข้าง การเชื่อเยื่อหุ้มปอดคือการทำให้เยื่อของปอดนี้เชื่อมติดกับช่องอก เมื่อเยื่อหุ้มปอดยึดติดกับผนังอกแล้ว ช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอดก็จะไม่ขยายอีกต่อไป เป็นการป้องกันการเกิดภาวะปอดรั่วในอนาคต

การผ่าตัด

การรักษาด้วยการผ่าตัดภาวะปอดรั่วจะทำในสถายการณ์บางอย่างเท่านั้น อาจจำเป็นต้องผ่าตัดหากมรภาวะปอดรั่วที่เกิดขึ้นเองซ้ำ ปริมาณอากาศที่ติดอยู่ในช่องอกมีมากหรือมีภาวะโรคปอดอื่นๆที่ต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม การผ่าตัดสำหรับภาวะปอดรั่วมีหลายชนิด หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการผ่าตัดเปิดลงไปในช่องทรวงอก ในระหว่างการผ่าตัดแพทย์จะกรีดแผลผ่าตัดในช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด เพื่อให้เห็นปัญหา  อีกหนึ่งทางเลือกคือ การส่องกล้องดูในช่องอก หรือที่เรียกว่า การผ่าตัดทรวงอกผ่านการส่องกล้อง โดยแพทย์จะใส่กล้องตัวเล็กๆผ่านเข้าทางผนังอกเพื่อเข้าไปดูภายในทรวงอก กล้องจะช่วยทำให้แพทย์ตัดสินใจในการรักษาได้ 

สิ่งที่ต้องเฝ้าติดตามระยะยาวคืออะไร?

การเฝ้าติดตามจะขึ้นอยู่กับขนาดของปอดรั่ว รวมถึงสาเหตุและการรักษา โยทั่วๆไป ภาวะปอดรั่วเล็กน้อยที่อาจไม่มีอาการชัดเจนสามารถแก้ไขได้ด้วยการเฝ้สติดตามอาการหรือรักษาเล็กๆน้อยๆ แต่เมื่อปอดรั่วมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นผลมาจากบาดแผล ส่งผลกระทบต่อปอดทั้งสองข้างหรือเกิดภายใต้โรคปอดอื่นๆ การรักษาและการฟื้นฟูอาจมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่า ภาวะปอดรั่วสามารถกลับมาเกิดขึ้นอีกได้ซึ่งต้องการการรักษาที่ท้าทายมากขึ้น อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ อยากเลิกสูบบุหรี่ทำอย่างไร การเกิดภาวะปอดรั่วมากกว่าหนึ่งครั้ง ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากเกิดอาการขึ้นอีกครั้ง ในกรณีดังกล่างพบว่าราว 5 เปอร์เซ็นต์อาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมและป้องกันการกลับมาเกิดภาวะปอดรั่วอีกครั้ง

ภาวะปอดรั่วกับอาการแทรกซ้อน

  • การเกิดซ้ำ:

      • บุคคลที่เป็นโรคปอดรั่วมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีภาวะปอดผิดปกติ
  • ภาวะปอดอักเสบจากความตึงเครียด:

    • ภาวะแทรกซ้อนที่พบไม่บ่อยแต่ร้ายแรง โดยที่อากาศสะสมในช่องเยื่อหุ้มปอดและไม่สามารถหลบหนีออกไปได้ นำไปสู่การบีบตัวของหัวใจและโครงสร้างอื่นๆ ภาวะปอดอักเสบจากความตึงเครียดถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์
โรคปอดรั่วต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที และวิธีการรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สาเหตุ ขนาดของภาวะปอดบวม และสุขภาพโดยรวมของแต่ละบุคคล การแทรกแซงตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการฟื้นตัวอย่างเหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด