โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) คือ การติดเชื้อที่ปอดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย หรือไวรัส หรือเชื้อรา การอักเสบของถุงลมภายในปอดทำให้เกิดของเหลวหรือหนองคั่งในถุงลม ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหายใจลำบาก
นี่คือลิงค์ที่มาของแหล่งบทความของเรา
โรคปอดอักเสบเป็นโรคติดต่อหรือไม่?
เชื่อโรคที่เป็นสาเหตุของปอดอักเสบนั้นสามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้นหมายความว่าโรคปอดอักเสบเป็นโรคติดต่อ ทั้งไวรัสและแบคทีเรียก่อโรคปอดอักเสบนั้นสามารถแพร่กระจายผ่านละอองที่ฟุ้งในอากาศจากการจามหรือไอ รวมถึงการสัมผัสกับพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคนั้นๆ คุณสามารถสัมผัสกับเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบได้จากสภาพแวดล้อมทั่วไป อย่างไรก็ตามเชื้อรานี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้.อาการของโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ
อาการโรคปอดอักเสบประกอบไปด้วย- ไอแบบมีเสมหะ
- มีไข้
- เหงื่อออกหรือหนาวสั่น
- หายใจถี่ตลอดเวลารวมถึงเวลานอน
- เจ็บบริเวณอกระหว่างหายใจและไอ
- ความรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ(headache)
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจะมีอาการหายใจเร็วหรือหายใจไม่ออก
- ทารกจะไม่ปรากฏอาการใดๆ อาจจะมีอาการอาเจียน อ่อนเพลีย หรือมีปัญหาในการดื่มน้ำและรับประทานอาหาร
- ผู้สูงอายุมักจะมีอาการไม่รุนแรงนัก พวกเขาจะเกิดอาการมึนงงสับสน หรือ อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติได้
สาเหตุของปอดบวม
โรคปอดบวมเกิดจากอะไร โรคปอดบวมนั้นมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่แยกออกได้หลายประเภทดังนี้ปอดติดเชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุของปอดบวมที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียมักมาจากเชื้อ Streptococcus pneumoniae และนอกจากนั้นยังมีเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดปอดบวมได้คือ Mycoplasma pneumoniae, Haemophilus influenzae, Legionella pneumophilaปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส
โดยทั่วไปแล้วการติดเชื้อไวรัสผ่านระบบทางเดินหายใจมักจะส่งผลกระทบข้างเคียงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบและกลายเป็นปอดบวมได้ โดยหากผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสจำพวกนี้ ควรเฝ้าระวังไม่ให้เกิดอาการปอดอักเสบ ;โรคปอดอักเสบจากเชื้อรา
เชื้อราจากดินหรือมูลของนกอาจทำให้เกิดโรคปอดบวมได้ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ เช่นเป็นโรคประจำตัวอยู่ก่อนหน้าแล้วอาจจะก่อให้เกิดปัจจัย เสี่ยงมากขึ้น ประเภทเชื้อราที่สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวมได้คือ :- Pneumocystis jirovecii
- Histoplasmosis species
- Cryptococcus species
การรักษาโรคปอดบวม
วิธีการรักษาปอดอักเสบนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคปอดบวมที่ผู้ป่วยเป็น และความรุนแรงของโรค รวมไปถึงการพิจารณาสุขภาพของผู้ป่วยด้วยปอดบวมด้วยสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส
ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล โดยแพทย์จะสั่งจ่ายยาไปให้และพักรักษาตัวเองอยู่ที่บ้าน ดื่มน้ำมาก ๆ และตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายอย่างเคร่งครัด และสังเกตสีของริมฝีปากและเล็บ หากมีสีคล้ำกว่าเดิมควรกลับไปพบแพทย์ทันทีปอดบวมด้วยสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
หากผู้ป่วยเป็นปอดบวมเนื่องมาจากอาการปอดติดเชื้อแบคทีเรีย หากผู้ป่วยมีมีอาการรุนแรงเช่น มีไข้สูง ไอ หรือหอบมาก แพทย์อาจจะทำการตรวจเลือดและให้ยาปฎิชีวนะ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาลเนื่องจากจะต้องมีการให้ออกซิเจนและน้ำเกลือใครที่มีความเสี่ยงเป็นปอดบวม
โรคปอดบวมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่จะมีบุคคลบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกวาคนทั่วไป กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเหล่านี้คือ :- ผู้สูงอายุ
- ทารกและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากโรคประจำตัว หรือจากการใช้ยาบางจำพวก เช่น สเตียรอยด์ หรือยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่นโรคหอบหืด โรคเบาหวานโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุรี่จัด
การป้องกันการเกิดโรคปอดบวม
มีหลายวิธีด้วยกันที่จะป้องกันโรคปอดบวมได้การรับวัคซีน
มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคปอดบวมได้เช่นPrevnar 13 สามารถใข้ได้กับ:
- เด็กที่มีอายุต่ำกว่าสองขวบ
- ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 64 ปี ที่มีโรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคปอดบวม
Pneumovax 23 เหมาะกับ:
- ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
- เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ขวบ จนไปถึงผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อปอดบวม
- บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 19 ถึง 64 ปีที่สูบบุหรี่จัด
วัคซีนป้องกันไข้หวัด
วัคซีนป้องกันไข้หวัดสามารถป้องกันโรคปอดบวมได้เช่นกัน โดยผู้ป่วยสามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดประจำปีได้ เพื่อสุขภาพ และไม่ป่วยเป็นหวัดบ่อย ๆ โดยสามารถฉีดให้กับทารกที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไปจนไปถึงผู้สูงอายุวัคซีน Hib
วัคซีนชนิดนี้ใช้ป้องกันโรคฮิบ หรือ Haemophilus influenzae type b (Hib) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยวัคซีนนี้เหมาะกับ:- เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
- ผู้ป่วยที่เคยได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก
คำถามที่พบบ่อย
การรักษาโรคปอดบวมที่ดีที่สุดคืออะไร แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับโรคปอดบวมจากแบคทีเรีย คนส่วนใหญ่เริ่มรู้สึกดีขึ้นหลังจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหนึ่งถึงสามวัน อย่างไรก็ตาม คุณควรทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง หากคุณหยุดเร็วเกินไป โรคปอดบวมของคุณอาจกลับมาอีก โรคปอดอักเสบสามารถหายได้เองหรือไม่ โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสมักไม่รุนแรงและหายไปได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางครั้งก็ร้ายแรงถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โรคปอดบวมสามารถอยู่ได้นานแค่ไหน อาจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวจากโรคปอดบวม บางคนรู้สึกดีขึ้นและสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ใน 1 ถึง 2 สัปดาห์ สำหรับคนอื่น อาจใช้เวลาหนึ่งเดือนหรือนานกว่านั้น คนส่วนใหญ่ยังคงรู้สึกเหนื่อยอยู่ประมาณหนึ่งเดือน ไม่ควรกินอะไรเมื่อเป็นโรคปอดบวม อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดบวมมีดังนี้- เนื้อสัตว์แปรรูป จากการศึกษาพบว่าไนไตรต์ที่ใช้ในการผลิตและถนอมเนื้อสัตว์แปรรูปอาจทำให้เกิดการอักเสบและความเครียดในปอด
- แอลกอฮอล์
- เครื่องดื่มหวาน
- อาหารที่มีโซเดียมสูง
นี่คือลิงค์ที่มาของแหล่งบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pneumonia/symptoms-causes/syc-20354204
- https://www.webmd.com/lung/understanding-pneumonia-basics
- https://www.nhs.uk/conditions/pneumonia
- https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/pneumonia
- https://medlineplus.gov/pneumonia.html
- https://medlineplus.gov/ency/article/000145.htm
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น