การลด การใช้ซ้ำ และการรีไซเคิล เป็นสิ่งที่เราได้ยินกันทั่วโลกมาเป็นเวลาหลายสิบปี ในความพยายามที่จะลดการสะสมของก๊าซเรือนกระจก ผู้บริโภคมักจะใช้ขวดพลาสติกซ้ำ แต่มันเป็นการกระทำที่ปลอดภัยหรือไม่ ยังไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ในบทความนี้จะกล่าวถึงพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ใส่น้ำ ของเหลว และเครื่องดื่ม และเราจะยังได้ทราบถึงสารเคมีต่าง ๆ ที่อาจรั่วไหลจากขวดน้ำพลาสติกเมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และวิธีเลือกใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำที่ดีที่สุด
ไม่ใช่พลาสติกทุกชนิดที่สามารถทำเป็นขวดพลสติกได้ ขวดพลาสติกที่ถูกผลิตทุกวันนี้คือขวดที่มาจากพลาสติกชนิดที่ #1 #2 หรือ #7
ขวดน้ำพลาสติกทำมาจากอะไร
ขวดพลาสติกทำมาจากยางไม้ และสารประกอบธรรมชาติหลายชนิดที่ถูกทำให้กลายเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ ขวดพลาสติกมีรหัสรีไซเคิลติดอยู่ที่ขวด รหัสเหล่านี้จะบอกเราว่า ขวดพลาสติกขวดนั้นทำมาจากพลาสติกชนิดใด ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติกใส หรือขวดพลาสติกสีก็ตาม รหัสพลาสติกจะมีตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 7 หมายเลขเหล่านี้ออกแบบขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้เราสามารถแยกประเภทของพลาสติกที่จะรีไซเคิลได้#1 | polyethylene terephthalate พลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET และ PETE) |
#2 | high-density polyethylene พลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) |
#3 | polyvinyl chloride พลาสติกพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) |
#4 | low-density polyethylene พลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) |
#5 | polypropylene พลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) |
#6 | polystyrene พลาสติกพอลิสไตรีน (PS) |
#7 | อื่น ๆ |
พลาสติกประเภทที่ 1 พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET or PETE)
พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตเป็นชื่อของพลาสติกที่เป็นโพลีเอสเตอร์ PET นั้นไม่มีส่วนผสมของพาทาเลต รวมทั้งไม่มีส่วนผสมของสารอื่นๆ ที่เป็นอันตราย เช่น BPA แต่ว่ามีส่วนผสมของ Aldehyde และ Antimony ในปริมาณเล็กน้อย Antimony หรือพลวงนั้นสามารถซึมออกมาผสมกับของเหลวในขวดได้เมื่อขวดถูกความร้อน เช่น ถูกปล่อยไว้ในแสงแดด หรือในรถที่ร้อน ๆ โรงงานอุตสาหกรรม และผลิตขวด PET เพื่อเป็นขวดที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ถึงแม้ว่าองค์การอาหารและยาจะรับรองว่าขวด PET สามารถเป็นขวดประเภทที่สามารถใช้ซ้ำได้ แต่ผู้ผลิตและผู้บริโภคก็ยังผลักดันให้ขวด PET เป็นขวดที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งพลาสติกประเภทที่ 2 พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE)
HDPE ถูกมองว่าเป็นพลาสติกที่มีอันตรายต่ำ เพราะมีความเสี่ยงในการรั่วซึมต่ำ HDPE มีส่วนผสมของ Nonylphenol ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ Nonylphenol อีกทั้งยังเป็นตัวขัดขวางการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ นั่นหมายความว่ามันอาจส่งผลต่อระบบไร้ท่อที่ควบคุมฮอร์โมนต่าง ๆ ของเรา ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า Nonylphenol สามารถรั่วซึมออกมาจากขวดพลาสติก HDPE ได้ พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงนั้นแข็งแรง และถูกออกแบบมาทนต่อความร้อน และแสงแดดอีกด้วย โรงงานอุตสาหกรรมใช้พลาสติก HDPE สำหรับผลิตขวดใหญ่ ๆ เช่น ขวดนม ขวดพลาสติกใส่น้ําผลไม้ขนาดใหญ่ ขวดสารเคมีขนาดใหญ่ และขวดใส่น้ำที่เป็นแกลลอน ขวดเหล่านี้เป็นขวดที่ถูกผลิตมาเพื่อใช้ครั้งเดียว แต่สามารถรีไซเคิลได้พลาสติกประเภทที่ 7 อื่น ๆ
ขวดที่สามารถรีไซเคิลได้ ที่มีรหัส 7 บ่อยครั้งถูกทำมาจากพลาสติกพอลีคาร์บอเนตหรืออีพอกซี่ เรซิ่น ซึ่งมี BPA ผสมอยู่ด้วย BPA ปริมาณเล็กน้อยสามารถรั่วซึมเข้าสู่ของเหลว หรืออาหารที่ถูกบรรจุอยู่ได้ องค์การอาหารและยากล่าวว่าปริมาณ BPA ที่ถูกพบในอาหารปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม การที่ BPA ไปรบกวนระบบต่อมไร้ท่อนั่นทำให้เป็นที่กังวลต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้:- การเจริญพันธุ์ในเพศชาย และหญิง
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งเต้านม
- ภาวะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวก่อนวัยอันควร
ขวดน้ำพลาสติกปลอดภัยที่จะนำกลับมาใช้ซ้ำหรือไม่
หากคุณเป็นคนที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม เพราะโทษของพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายนั้นมีมาก คุณคงเลือกที่จะใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำมากกว่าที่จะซื้อใหม่เรื่อย ๆ แต่มันก็อาจไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพของคุณเสมอไประวังการปนเปื้อนจากไมโครพลาสติก
การศึกษาหนึ่งได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างขวดน้ำดื่มพลาสติกจากหลายโรงงานอุตสาหกรรมในหลายประเทศ นักวิจัยพบว่า 93% ของขวดน้ำดื่มปนเปื้อนไมโครพลาสติก ไมโครพลาสติกเป็นพลาสติกอนุภาคเล็ก ๆ ที่สามารถรั่วซึมเข้าสู่ของเหลวหรืออาหารที่ถูกบรรจุไว้ การใช้ขวดพลาสติกชนิดที่ 1 และ 2 ซ้ำนั้นไม่เป็นไร กรณีที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำ และใช้ด้วยความระมัดระวัง แม้ว่าคุณทราบว่าขวดพลาสติกชนิดที่ 7 ที่คุณใช้อยู่ไม่มีส่วนผสมของ BPA ก็ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำดูว่ามีรอยร้าว รอยผุ หรือแตกหักหรือไม่
ขวดน้ำดื่มพลาสติกไม่ว่าชนิดใดก็ตามไม่ควรที่จะถูกน้ำกลับมาใช้ซ้ำหากมีรอยของการร้าว หรือแตกหัก เพราะมันทำให้สารเคมีรั่วซึมออกมา รอยที่แตกอาจกลายเป็นเศษพลาสติกเล็กๆ และไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมขวดพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งจึงไม่ถูกแนะนำให้ใช้ซ้ำอย่าปล่อยให้ขวดพลาสติกถูกความร้อน
อย่าให้ขวดพลาสติกโดนความร้อน เพราะจะทำให้สารเคมีรั่วซึมออกมาเร็วขึ้น หากคุณใช้ขวดพลาสติกในอากาศที่ร้อน ในห้องโยคะร้อน หรือในที่ที่มีความชื้นหรือมีไอน้ำ อย่าวางขวดน้ำไว้กลางแดดล้างขวดน้ำดื่มที่ใช้ด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ
ขวดพลาสติกควรที่จะถูกล้างระหว่างการใช้งานเพื่อไม่ให้สะสมแบคทีเรีย ใช้น้ำสบู่อุ่น ๆ ล้างก่อนที่จะเติมน้ำดื่มลงไปขวดพลาสติกทุกชนิดรีไซเคิลได้หรือไม่
การรีไซเคิลขวดพลาสติกทำให้สามารถกลับมาใช้ได้อีกครั้ง พลาสติกที่ถูกรีไซเคิลสามารถกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ เช่น เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และขวดพลาสติกใหม่ ขวดพลาสติกที่ไม่ถูกรีไซเคิลใช้เวลา 450 ปีเพื่อย่อยสลายในการฝังกลบ ถึงแม้ว่าขวดพลาสติกส่วนมากจะสามารถรีไซเคิลได้ แต่พวกมันจำนวนมากก็ถูกทิ้งไว้ที่บ่อฝังกลบ หรือเตาเผาเพราะไม่มีใครรีไซเคิลพวกมัน หรือกลายเป็นขยะในทะเลและสร้างความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ขวดที่มีสัญลักษณ์ 1 และ 2 สามารถที่จะถูกรีไซเคิล ขวดพลาสติก PET เป็นขวดที่ถูกรีไซเคิลมากที่สุดไม่จำเป็นต้องแยกประเภทขวด แต่ให้เทน้ำในขวดออก
คุณไม่จำเป็นต้องแยกขวดพลาสติกตามประเภท พวกมันจะถูกแยกที่ศูนย์แยก คุณควรที่จะเทน้ำออกจากขวดก่อนที่จะนำไปรีไซเคิลไม่ใช่ขวดพลาสติกทุกชนิดที่รีไซเคิลได้
ขวดที่มีรหัสรีไซเคิลหมายเลข 7 ไม่สามารถที่จะใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลได้ การหลีกเลี่ยงการใช้ขวดเหล่านี้จะช่วยคุณ ครอบครัวของคุณ และโลกใบนี้ได้นวัตกรรมใหม่ในพลาสติก
พลาสติกส่วนมากไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้รีไซเคิลได้ ฉะนั้น พลาสติกชนิดใหม่จึงเกิดขึ้น วัสดุที่นำมาใช้นั้นเรียกว่า โพลี (Diketoenamine) หรือ PDK มันสามารถแตกออกเป็นโมเลกุล และสามารถทำเป็นรูปร่างใหม่ได้โดยมีพื้นผิว สี หรือรูปร่างโดยไม่ลดคุณภาพหรือคุณสมบัติเลย วัสดุประเภทนี้จะง่ายกว่าที่จะแยกประเภทที่ศูนย์รีไซเคิล และวัสดุที่ได้จากการรีไซเคิลมีความทนทาน และมีคุณภาพที่ดีกว่า หาก PDK ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในโรงงานอุตสาหกรรม พลาสติก PDK อาจช่วยให้ขยะพลาสติกในบ่อเก็บขยะ และในมหาสมุทรกลายเป็นอดีตไปทำไมขวดพลาสติกถึงไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
องค์กรสหประชาชาติคาดการณ์ว่าพลาสติกประมาณ 300 ล้านตันถูกผลิตในแต่ละปี จากตัวเลขนั้น มากกว่า 8 ล้านตันได้เข้าไปสู่มหาสมุทร ซึ่งมันจะไปปนเปื้อนเเนวปะการังและทำลายชีวิตสัตว์ทะเล ปลา และเหล่านกทะเล ที่คิดว่าพลาสติกเป็นอาหาร การผลิตพลาสติกทุกชนิดจำเป็นต้องใช้พลังงานอย่างมาก นอกจากนี้ มันยังปล่อยสารพิษ และมลพิษไปสู่อากาศ น้ำ และพื้นดิน นี่เป็นส่วนนึงที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและทำให้สารพิษเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์ และสัตว์ต่าง ๆ ขวดพลาสติกเป็นขยะอยู่ตามท้องถนนของเรา พวกมันทับถมอยู่ในบ่อถมขยะ ใช้เวลานานหลายร้อยปีที่จะย่อยสลาย หากพวกมันถูกเผา พวกมันก็จะปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เมื่อขวดเหล่านี้ถูกผลิตมา เพื่อให้ใช้ครั้งเดียว ทางออกที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การใช้ขวดพลาสติกให้น้อยลง การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ระดับของความอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปสิ่งที่ควรทำ
- นำพลาสติกไปรีไซเคิลเสมอ
- เทน้ำออกจากขวดก่อนที่จะนำไปรีไซเคิล
- ในบางขวดที่ไม่แน่ใจว่าต้องแกะฝาหรือเปล่า แนะนำให้โทรสอบถามศูนย์รีไซเคิลว่าขวดนั้นจำเป็นที่จะต้องนำฝาขวดน้ำออกหรือไม่
- ส่งเสริมการรีไซเคิลให้เป็นนิสัยที่ปฏิบัติกันในครอบครัว สนับสนุนให้มีการรีไซเคิล ที่โรงเรียน ที่ทำงาน และที่บ้านอย่างเต็มรูปแบบ
- หลีกเลี่ยงการใช้ขวดพลาสติก ทุกครั้งที่สามารถทำได้ ใช้สิ่งที่รีไซเคิลได้แทน เช่น แก้ว กระเบื้องพอร์ซเลน หรือสแตนเลส
- สร้างตัวอย่างให้ชุมชนของคุณโดยการเก็บขวดน้ำพลาสติก และขยะชนิดอื่น ๆ ที่รีไซเคิลได้เมื่อพบเห็นตามท้องถนน ชายหาด หรือสถานที่อื่น ๆ
คำแนะนำในการใช้พลาสติกซ้ำ
มีวิธีที่สร้างสรรค์และใช้งานได้จริงมากมายในการนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ลดของเสีย และมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ต่อไปนี้เป็นแนวคิดบางประการเกี่ยวกับวิธีนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่:- ขวดปลูกดอกไม้แบบ DIY:ตัดส่วนบนของขวดออก เจาะรูที่ฐานเพื่อระบายน้ำ และใช้เป็นกระถางต้นไม้สำหรับต้นไม้หรือสมุนไพรขนาดเล็ก
- บัวรดน้ำ:สร้างบัวรดน้ำง่ายๆ โดยการเจาะรูที่ฝาขวด เติมน้ำลงในขวด ขันฝากลับเข้าไป แล้วใช้รดน้ำต้นไม้
- กระปุกออมสิน:ตัดกรีดเล็กๆ ข้างขวด ตกแต่งแล้วใช้เป็นกระปุกออมสินทำเองเก็บเงินทอน
- ที่ให้อาหารนก:สร้างที่ให้อาหารนกโดยการตัดช่องด้านข้าง เติมเมล็ดพันธุ์นกลงไป แล้วแขวนไว้ในสวนหรือสวนของคุณ
- เครื่องมือจัดระเบียบ:ตัดขวดในแนวนอนเพื่อสร้างภาชนะขนาดต่างๆ สำหรับเก็บของเล็กๆ เช่น น็อต สลักเกลียว หรืออุปกรณ์ศิลปะ
- ที่ตักหรือกรวย:ตัดส่วนบนของขวดออก แล้วปั้นเป็นทัพพีสำหรับใส่อาหารสัตว์เลี้ยง ทำสวน หรือกรวยสำหรับเทของเหลว
- งานฝีมือ DIY:ใช้ขวดพลาสติกสำหรับงานฝีมือต่างๆ เช่น แจกันตกแต่ง หรือแม้แต่การสร้างงานศิลปะ
- ภาชนะบรรจุปุ๋ยหมัก:สร้างถังปุ๋ยหมักขนาดเล็กโดยการตัดส่วนบนของขวดออกแล้วใช้เพื่อรวบรวมขยะที่ย่อยสลายได้ในห้องครัว
- การสร้างของเล่นหรือเกม:ออกแบบของเล่น เช่น จรวดน้ำ ขวดประสาทสัมผัสสำหรับเด็ก หรือแม้แต่เกมง่ายๆ โดยใช้ชิ้นส่วนขวดที่ถูกตัด
ใจความสำคัญ
ผู้ผลิตออกแบบขวดพลาสติก เพื่อให้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง แต่อย่างไรก็ตามหากขวดเหล่านั้นยังไม่ฉีกขาดก็ยังสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ นี่คือเหตุผลทางอนุรักษ์นิยม เปลี่ยนการใช้ขวดพลาสติกไปเป็นการใช้สิ่งอื่นแทนที่ใช้ได้นานขึ้น เช่น ขวดที่ทำจากสแตนเลส ซึ่งดีต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น