โรคกลัวคืออะไร
โรคกลัว (Phobia) คือ ความรู้สึกกลัวหรือหวาดวิตกอย่างรุนแรง เมื่อพบกับสิ่งที่เป็นต้นเหตุให้กลัว ความกลัวอาจเกิดกับสถานที่ สถานการณ์ หรือสิ่งของใดๆ ซึ่งไม่เหมือนกับโรควิตกกังวลตรงที่โรคกลัวนี้จะเกิดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ความ “กลัว” นี้ อาจเล็กน้อยตั้งแต่ความไม่สบายใจ จนถึงความหวาดกลัวจนกระทั่งไม่สามารถทำงาน หรือดำรงชีวิตได้ตามปกติ ผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะรู้ว่า ความกลัวนั้นไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถควบคุมได้ ความกลัวแบบนี้มีผลต่อการทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยสาเหตุของโรคกลัว
สามารถเกิดได้จากทั้งจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เด็กที่มีผู้ใกล้ชิด (พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือคนเลี้ยง) ที่เป็นโรควิตกกังวล มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกลัว ภาวะกดดันมากๆ เช่น การ(เกือบ)จมน้ำ ก็ก่อให้เกิดโรคกลัวได้เช่นกัน การอยู่ในที่แคบ การอยู่ในที่สูงมากๆ การถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ก็เป็นสาเหตุของโรคกลัวได้ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มักมีโรคกลัวร่วมด้วย มีรายงานว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะบาดเจ็บของสมอง ใช้สารเสพติด และซึมเศร้า มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกลัว อาการของโรคกลัว ต่างจากโรคทางจิต เช่น โรคจิตเภท คนที่เป็นโรคจิตเภท จะมีอาการหลอนทางการมองเห็น และการได้ยิน(คือ ได้ยินหรือเห็น ในสิ่งที่ไม่มีจริง) หลงผิด หวาดระแวง อาการในทางลบ เช่น ไม่ยินดียินร้าย สับสน แม้ว่าผู้ที่เป็นโรคกลัวดูเหมือนว่าไม่มีเหตุผล แต่ว่ายังสามารถแยกจินตนาการจากความเป็นจริงได้โรคกลัวชุมชน Agoraphobia
โรคกลัวชุมชน (Agoraphobia) คือ ความกลัวสถานที่หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ ที่จริงความหมายของคำนี้คือ ความกลัว(สถาน)ที่กว้าง คือจะกลัวการอยู่ในฝูงชนหรือติดค้างอยู่นอกบ้าน เขามักจะเลี่ยงการพบปะผู้คน และอยู่แต่ในบ้าน ผู้ที่เป็นโรคกลัวชุมชนมักกลัวว่า ตนเองจะมีอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงในที่ที่เขาหลบเลี่ยงไปไหนไม่ได้หรือจัดการอะไรไม่ได้ เช่น ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง มักกลัวว่าตนเองจะป่วยหนักในที่ชุมชน และไม่มีใครช่วยได้(จึงไม่ยอมออกจากบ้านที่ซึ่งเขาคิดว่าปลอดภัยที่สุด)โรคกลัวสังคม Social phobia
โรคกลัวสังคม (Social phobia) คือ การมีความกังวลอย่างสูงในการเข้าสังคม และมักจะแยกตัวจากสังคม (อยู่คนเดียว)ความกลัวนี้รวมถึงการปฎิสัมพันธ์กับผู้คนอย่างง่ายๆเช่น การสั่งอาหาร การรับโทรศัพท์ ก็ก่อให้เกิดความตื่นตกใจอย่างรุนแรงได้ ผู้ที่มีความกลัวสังคมมักหลีกเลี่ยงปฎิสัมพันธ์ทางสังคมทุกวิถีทางโรคกลัวอื่นๆ Other types of phobias
หลายๆ คนไม่ชอบสถานการณ์หรือสิ่งของบางอย่าง แต่สำหรับคนที่เป็นโรคกลัว ความกลัวนั้นรุนแรงถึงขั้นมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ตัวอย่างของโรคกลัวแบบต่างๆ เช่น โรคกลัวการนำเสนอ หรือพูดในที่ชุมชน คนที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการทางด้านร่างกายอย่างรุนแรง เพียงแค่คิดว่าตนจะต้องอยู่ต่อหน้าผู้คนก็อาการกลัวกำเริบแล้ว โรคกลัวความสูง คนที่เป็นโรคนี้จะหลีกเลี่ยงการขึ้นไปบนภูเขา สะพานหรือบนชั้นสูงๆของอาคาร โดยแสดงอาการก็คือ เวียนศีรษะ มึนงง เหงื่อแตก รู้สึกเหมือนจะเป็นลมหรือหมดสติ โรคกลัวที่แคบ ผู้ที่กลัวมากๆจะไม่สามารถนั่งในรุถยนต์หรือเข้าไปในลิฟต์ได้ (นั่นหมายถึงว่าไม่สามารุถดำเนินชีวิตตามปกติได้) โรคกลัวการบิน ตามชื่อคือกลัวการขึ้นเครื่องบิน เครื่องร่อน บอลลูนหรือยานพาหนะที่อยู่ในอากาศทุกชนิด โรคกลัวทันตแพทย์ กลัวการทำทันตกรรม กลัวเสียงหวีดหวืวของเครื่องมือ กลัวการปิดหน้าในขณะปฏิบัติการ แต่คนที่กลัวมากๆ ไม่ยอมไปหาทันตแพทย์เลย ก็ทำให้มีปัญหาในช่องปากได้ โรคกลัวเลือด มีคนจำนวนมากที่กลัว แต่ผู้ที่เป็นโรคกลัวเลือดจะถึงกับเป็นลม เมื่อเห็นเลือดของตัวเอง หรือของผู้อื่น โรคกลัวความมืด หรือกลัวกลางคืน โดยปกติเด็กเล็กมักกลัวความมืด แต่ถ้าถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว ยังกลัวอยู่ ถือว่าเป็นโรคกลัวความมืดอาการของโรคกลัว
อาการที่พบบ่อยและทำให้มีผลต่อความสามารถหรือการดำเนินชีวิต คือ อาการตื่นตระหนก ซึ่งมีดังนี้- ใจเต้นถี่
- หายใจถี่
- พูดเร็วหรือพูดไม่ออก
- ปากแห้ง
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- คลื่นไส้
- ความดันขึ้น
- ตัวสั่น
- เจ็บหน้าอก
- หายใจไม่ออก
- เวียนหัว หน้ามืด
- เหงื่อแตก
- ขนศีรษะลุก
แนวทางการรักษา
การรักษาสามารถทำโดยการบำบัด ยา หรือทั้งสองอย่างร่วมกันการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม
การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เป็นวิธีที่ใช้บ่อยในการบำบัดโรคกลัว มีการเผชิญกับสิ่งที่กลัวในสภาพการณ์ที่ควบคุมได้ จะช่วยลดความกลัวและความกังวลได้ การบำบัด คือ การเน้นให้แยกแยะ และเปลี่ยนความคิดในทางลบ รวมทั้งความเชื่อที่ไม่เหมาะสม ต่อสิ่งที่กลัว การบำบัดนี้ใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อนำผู้ป่วยไปสัมผัสกับแหล่งความกลัวของตนอย่างปลอดภัยการรักษาด้วยยา
การใช้ยาแก้ซีมเศร้าและยาคลายกังวล จะช่วยให้สงบอารมณ์ และลดการตอบสนองทางร่างกายต่อความกลัว แต่การบำบัดและการให้ยาควบคู่กันจะได้ผลดีที่สุดการรับมือกับโรคกลัว
การมีชีวิตอยู่กับอาการกลัวอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่มีกลยุทธ์และแนวทางหลายประการที่คุณสามารถใช้เพื่อจัดการและรับมือกับอาการกลัวได้ ต่อไปนี้คือขั้นตอนบางส่วนที่คุณสามารถพิจารณาได้:- ศึกษาและวิเคราะห์ตนเอง:เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหวาดกลัวของคุณ การทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และตัวกระตุ้นสามารถช่วยให้คุณรู้สึกควบคุมได้มากขึ้นและรู้สึกหนักใจน้อยลง
- ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ:ลองพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องการรักษาโรคกลัว พวกเขาสามารถให้การบำบัดและเทคนิคต่าง ๆ เพื่อจัดการกับความหวาดกลัวของคุณ
- การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT): CBT เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคกลัว มันเกี่ยวข้องกับการระบุรูปแบบความคิดเชิงลบและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหวาดกลัวของคุณ และพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้นผ่านการสัมผัสกับวัตถุหรือสถานการณ์ที่น่ากลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การบำบัดโดยการสัมผัสจะช่วยให้คุณไม่รู้สึกกลัวเมื่อเวลาผ่านไป
- เทคนิคการผ่อนคลาย:ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การทำสมาธิ หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อช่วยจัดการความวิตกกังวลเมื่อคุณเผชิญกับอาการหวาดกลัว
- การใช้ยา:ในบางกรณี แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยจัดการกับอาการวิตกกังวลและความตื่นตระหนกที่เกี่ยวข้องกับโรคกลัว โดยทั่วไปจะใช้ร่วมกับการบำบัด
- ตั้งเป้าหมาย:การค่อยๆ สัมผัสกับวัตถุหรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัวเป็นกุญแจสำคัญในการเอาชนะความกลัว เริ่มต้นด้วยก้าวเล็กๆ และค่อยๆ ก้าวไปสู่การเผชิญกับความกลัว
- รับการสนับสนุน:พูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวเกี่ยวกับโรคกลัวของคุณ เพื่อให้พวกเขาสามารถให้การสนับสนุนได้ บางครั้งการได้รู้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียวก็สามารถสบายใจได้
- การดูแลตัวเอง:ทำกิจกรรมที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายและลดความเครียด การออกกำลังกายเป็นประจำ การนอนหลับที่เหมาะสม และการรับประทานอาหารที่สมดุลสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพจิตโดยรวมของคุณได้
- การมีสติ:ฝึกเทคนิคการมีสติเพื่อให้อยู่กับปัจจุบันและมีสมาธิ ซึ่งสามารถช่วยลดความรุนแรงของความวิตกกังวลและความกลัวได้
- การพูดคุยกับตนเองเชิงบวก:ท้าทายความคิดเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับความหวาดกลัวของคุณด้วยการยืนยันเชิงบวกและการคิดอย่างมีเหตุผล เตือนตัวเองว่าความกลัวเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ แต่คุณมีอำนาจที่จะจัดการมันได้
- การหลีกเลี่ยงการกระตุ้น:แม้ว่าเป็นเรื่องปกติที่คุณจะต้องหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นให้คุณเกิดอาการหวาดกลัว แต่การหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านั้นสามารถเสริมความกลัวได้จริงๆ การเปิดเผยอย่างค่อยเป็นค่อยไปดังที่กล่าวไว้ข้างต้นเป็นกลยุทธ์ที่ดีกว่าในการเอาชนะความกลัว
- ติดตามความคืบหน้า:จดบันทึกเพื่อติดตามความคืบหน้าของคุณเมื่อเวลาผ่านไป เฉลิมฉลองชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ และใช้ความพ่ายแพ้เป็นประสบการณ์การเรียนรู้
บทสรุป
สำหรับผู้ป่วยโรคกลัว อย่ากลัวที่จะไปรับการรักษา การเอาชนะโรคกลัว อาจไม่ง่าย แต่ก็มีความเป็นไปได้ หากรักษาถูกวิธี การรักษาจะช่วยให้สามารถจัดการกับความกลัว และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/conditions/phobias/
- https://www.webmd.com/anxiety-panic/ss/slideshow-phobias
- https://medlineplus.gov/phobias.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น