โรคไอกรน
โรคไอกรน (Pertussis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอย่างรุนเเรง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Bordetella pertussis การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจชนิดนี้ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนเเรงเเละไม่สามารถควบคุมได้จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหายใจลำบากได้ โรคไอกรนสามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย แต่อย่างไรก็ตามโรคไอกรนที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกหรือเด็กเล็กเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ ข้อมูลจากสถาบันป้องกันเเละควบคุมโรคระบุว่าก่อนที่จะมีวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว โรคไอกรนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กในสหรัศอเมริกาเสียชีวิตมากที่สุด ซึ่งสถาบันป้องกันเเละควบคุมโรคได้รายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคไอกรนในปี 2016 จำนวนต่ำกว่า 18,000 รายและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจำนวน 7 รายอาการของโรคไอกรน
ระยะฟักตัวของโรคไอกรนใช้เวลาประมาณ 5-10 วันแต่ในช่วงเวลานี้อาจยังไม่มีอาการของโรคปรากฎขึ้นเป็นเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ โดยข้อมูลจากสถาบันป้องกันเเละควบคุมโรคระบุว่าอาการของโรคไอกรนมีลักษณะคล้ายกับเป็นไข้หวัด ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้แก่ มีน้ำมูกไหล ไอและมีไข้ รวมถึงมีอาการไอแห้งเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์และอาจทำให้เกิดอาการหายใจลำบากได้ เด็กที่มักทำเสียงลมหายใจดัง “วู้ป” เมื่อพวกเขาพยายามหายใจหลังจากการไอ ดังนั้นเสียงชนิดนี้เป็นอาการที่พบได้น้อยในเด็กทารก อาการไออย่างรุนเเรงชนิดนี้ยังเป็นสาเหตุของอาการดังต่อไปนี้ได้แก่ สำหรับผู้ใหญ่และวัยรุ่นโดยปกติจะมีอาการไอกรนรุนเเรงมากขึ้นเช่นเกิดอาการไอที่มีเสียงลมหายใจ “วู้ป” เรื้อรังการวินิจฉัยและการรักษาโรคไอกรน
ถ้าหากลูกของคุณมีอาการไอกรนควรไปพบเเพทย์ทันที โดยเฉพาะเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันโรคไอกรน โรคไอกรนเป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่เชื้อได้สูงมาก โดยแบคทีเรียจะเกิดการแพร่กระจายสู่อากาศเมื่อผู้ที่มีเชื้อไอ จาม หรือ หัวเราะจึงทำให้เชื้อเเบคทีเรียสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการวินิจฉัยโรคไอกรน แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและนำตัวอย่างเสมหะที่จมูกและคอไปตรวจ โดยนำตัวอย่างสารคัดหลั่งเหล่านี้ไปตรวจเพื่อค้นหาเชื้อแบคทีเรีย B. pertussis นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องตรวจเลือดด้วยเพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและแม่นยำการรักษา
ผู้ป่วยที่เป็นทารกหรือเด็กเล็กหลายรายจำเป็นต้องนอนพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตุอาการและให้ความช่วยเหลือด้วยเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องให้น้ำเกลือผ่านเส้นเลือดดำ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำ เนื่องจากโรคไอกรนเป็นการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย การรักษาเบื้องต้นจึงจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วยาปฏิชีวนะสามารถรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเกิดโรคไอกรนในระยะเเรก แต่อย่างไรก็ตามยาปฏิชีวนะสามารถนำมาใช้ในระยะสุดท้ายของการติดเชื้อได้เช่นกันเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ทั้งนี้ยาปฏิชีวนะสามารถรักษาการติดเชื้อได้ แต่ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาอาการไอได้ อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ไอเนื่องจากยาแก้ไอไม่สามารถรักษาโรคไอกรนได้และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับเด็กทารกหรือเด็กเล็กได้ แทพย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้เครื่องทำความชื้นในห้องนอนของเด็กเพื่อทำให้อากาศมีความชื้นและบรรเทาอาการของโรคไอกรนภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้
เด็กทารกที่เป็นโรคไอกรนจำเป็นต้องได้รับการดูเเลอย่างใกล้ชิดเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างเช่นการขาดออกซิเจน นอกจากนี้ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอย่างอื่นได้แก่- สมองถูกทำลาย
- โรคปอดบวม
- ภาวะลมชัก
- เลือดออกในสมอง
- ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ
- อาการชักกระตุก (อาการตัวสั่นอย่างรุนเเรงเเละไม่สามารถควบคุมได้)
- เสียชีวิต
- นอนไม่หลับ
- กระเพาะปัสสาวะรั่ว (สูณเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ)
- ปอดบวม
- กระดูกซี่โครงหัก
บทสรุปทั่วไป
อาการของโรคไอกรนสามารถเกิดขึ้นได้นานถึง 4 สัปดาห์หรือมีระยะเวลายาวนานกว่านั้นแม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการรักษา โดยปกติเด็กและผู้ใหญ่สามารถหายจากโรคไอกรนได้เร็วกว่า เมื่อได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้น เด็กทารกมีความเสี่ยงเป็นโรคไอกรนได้สูงและเสียชีวิตจากโรคนี้ได้ แม้ว่าจะเริ่มต้นรักษาโรคไอกรนเเล้วก็ตาม พ่อแม่ควรสังเกตุอาการของเด็กทารกที่ติดเชื้ออย่างระมัดระวัง ถ้าหากมีอาการของโรคไอกรนเกิดขึ้นเรื้อรังและรุนเเรง ควรไปพบเเพทย์ทันทีการป้องกันโรคไอกรน
วัคซีนไอกรนนำมาใช้การป้องกันโรคไอกรนเป็นหลัก สถาบันป้องกันเเละควบคุมโรคแนะนำว่าเด็กทารกควรได้รับวัคซีนในช่วงอายุดังต่อไปนี้- 2 เดือน
- 4 เดือน
- 6 เดือน
- 15 ถึง 18 เดือน
- 4 ถึง 6 ปีและควรฉีดอีกครั้งเมื่ออายุ 11 ปี
- ทำงานเกี่ยวกับการดูแลเด็กทารกหรือเด็กเล็ก
- มีอายุมากกว่า 65 ปี
- ทำงานในเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
อาหาร 11 ชนิดเหล่านี้ที่สามารถช่วยลดอาการของโรคไอกรนได้:
ขิงเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับอาการไอ เป็นหวัด และการติดเชื้อทั่วไปอื่นๆ ที่ส่งผลต่อจมูกและคอ ต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ- ขมิ้น
- น้ำผึ้ง
- โปรไบโอติก
- ของเหลวเพิ่มพลังงาน
- กีวี
- เมล็ดฟักทอง
- น้ำซุป
- อัลมอนด์
- กระเทียม
- พริกไทยดำ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/whooping-cough/symptoms-causes/syc-20378973
- https://www.nhs.uk/conditions/whooping-cough/
- https://www.cdc.gov/pertussis/about/signs-symptoms.html
- https://www.health.gov.au/health-topics/whooping-cough-pertussis
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น