ภาวะของเหลวสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial Effusion) คือ การสะสมของของเหลวส่วนเกินในช่องว่างรอบๆ หัวใจ หากมีของเหลวมากเกินไปก็สามารถเพิ่มแรงดันต่อหัวใจได้ เป็นอุปสรรคที่ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดได้ตามปกติ
เยื่อหุ้มหัวใจประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นบางๆ โดยปกติจะมีของเหลวจำนวนเล็กน้อยอยู่ระหว่าง 2 ชั้นนี้ ของเหลวจะลดแรงเสียดทานระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 2 ชั้น ขณะที่เสียดสีกันระหว่างการเต้นของหัวใจแต่ละครั้ง ในบางกรณีของเหลวส่วนเกินสามารถก่อตัวขึ้นระหว่าง 2 ชั้น กลายเป็นภาวะของเหลวสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจ
ของเหลวเพียงเล็กน้อยจะไม่ทำให้เกิดปัญหามากนัก แต่ถ้ามีของเหลวมากเกินไปก็อาจทำให้หัวใจเกิดภาวะที่เรียกว่า การบีบตัวของหัวใจ จำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน เนื่องจากหัวใจไม่สามารถขยายตัวได้ตามปกติ เลือดจึงเข้าสู่หัวใจจากร่างกายได้น้อยลง ซึ่งสามารถลดปริมาณออกซิเจนในเลือดที่ไหลเข้าสู่ร่างกายได้
ในบางกรณีของเหลวสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว เราจะเรียกว่า ของเหลวสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจเฉียบพลัน ในบางครั้ง ของเหลวจะค่อยๆ ก่อตัวขึ้น และหากเกิดปัญหามากกว่า 1 ครั้ง อาจทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ในที่สุด
สาเหตุของ Pericardial Effusion
เงื่อนไขหลายประการอาจทำให้เกิดของเหลวส่วนเกิน และการอักเสบในเยื่อหุ้มหัวใจ ได้แก่- มะเร็ง (แพร่กระจายจากส่วนอื่นของร่างกาย หรือจากเนื้อเยื่อหัวใจเอง)
- การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ เช่น จากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
- การอักเสบของถุงเยื่อหุ้มหัวใจ (เช่น เนื่องจากหัวใจวาย)
- การบาดเจ็บ (รวมถึงทั้งหัตถการเกี่ยวกับหัวใจ)
- ปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน
- สาเหตุของการเผาผลาญ เช่น ไตวาย
- ปฏิกิริยาต่อยาบางชนิด
- รังสี
อาการของภาวะของเหลวสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
เมื่อของเหลวสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจมากขึ้นจะทำให้เกิดอาการต่อไปนี้- เจ็บหน้าอก
- เส้นเลือดที่คอขยาย
- เป็นลม
- หายใจเร็ว
- อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
- คลื่นไส้
- ปวดท้องด้านขวาบน
- หายใจถี่
- แขนขาบวม
- วิงเวียนศีรษะ
- เหงื่อชุ่ม
- อ่อนเพลีย
- หายใจเร็ว
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ผิวสีซีด
- ปัสสาวะออกน้อย
- ช็อก
การรักษาภาวะของเหลวสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจ
การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการ อายุ และสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสาเหตุ การสะสมของเหลวในเยื่อหุ้มหัวใจเรื้อรัง และเฉียบพลันอาจต้องได้รับการรักษาที่แตกต่างกัน การสะสมของเหลวในเยื่อหุ้มหัวใจเคสที่ไม่รุนแรง การรักษาได้แก่- การเฝ้าติดตามตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำๆ
- การบำบัดที่มุ่งไปที่สาเหตุ เช่น ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือยา เช่น ไอบูโพรเฟน สำหรับการอักเสบ การรักษาอาการปวดด้วยแอสไพริน หรือยาอื่น
- การระบายน้ำออกจากเยื่อหุ้มหัวใจฉุกเฉินด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Pericardiocentesis ขั้นตอนนี้ใช้เข็ม และท่อที่บางและยืดหยุ่นได้ (สายสวน) เพื่อระบายของเหลว
- บางครั้งถุงเยื่อหุ้มหัวใจอาจถูกระบายออกระหว่างการผ่าตัด ศัลยแพทย์อาจนำชิ้นส่วนของเยื่อหุ้มหัวใจออกไปช่วยวินิจฉัยสาเหตุ รวมทั้งสามารถป้องกันไม่ให้ของเหลวสร้างขึ้นอีก
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น