ยา Penicillin คืออะไร
เพนิซิลลิน (Penicillin) คือ ยาปฏิชีวนะจากเชื้อราชื่อเพนิซิลลิเนียม โนเตตุม กลไกการออกฤทธิ์มักมีผลข้างเคียงที่น้อยมาก ยาจะมีปฏิกิริยากับการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อคน แต่อันตรายชองยาจะมาในรูปแบบของการแพ้ยา อันเนื่องมาจากการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสารประกอบนี้ อาการแพ้ยาอาจรุนแรงมากจนเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้ อาการแพ้ของยาเพนิซิลลินมักพบได้บ่อยขึ้นในยาที่เก็บไว้เป็นเวลานาน โดยอาการแพ้ยาจะพบในเพนนิซิลินแบบฉีดมากกว่าแบบกิน ผู้ที่เคยแพ้ยามาก่อนมีโอกาสแพ้ได้อีก นอกจากนี้การใช้ยาเพนิซิลลินยังสามารถใช้เป็นยาทาแผลภายนอก เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อยาได้มากขึ้น แต่กรณีทีอาการแพ้ยาเพนิซิลลินไม่ควรใช้ยานี้เช่นกันชนิดของยา Penicillin
ยากลุ่ม penicillin แบ่งได้ ดังนี้ อะมิโนเพนิซิลลิน (Aminopenicillins) คือกลุ่มยาเพนนิซิลินที่มีโครงสร้างของเบต้าแลคแตม (Beta-Lactam) มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย มีสรรพคุณจัดการเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ทั้งแบคทีเรียชนิดแกรมบวกและแกรมลบ เช่น เชื้ออีโคไล หรือเชื้อฮีโมฟิลุสอินฟลูเอนเซ ใช้รักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผิวหนังอักเสบ และอาการอื่น ๆ ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่อะม็อกซี่ซิลลิน แอมพิซิลลิน แอนตี้ซูโดโมนอล เพนิซิลลิน (Antipsudo Penicillins) คือกลุ่มยาเพนิซิลลินที่ใช้รักษาการติดเชื้อซูโดโมนาส รวมทั้งต้านเชื้อซูโดโมนาส เอนทีโรค็อกคัส และเคลบซิลลา ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่ยาพิเพอราซิลลิน สารยับยั้งเบต้าแลคแทม (Beta-Lactamase Inhibitors) คือกลุ่มยาเพนิซิลลินที่มีเบต้าแลคแทมเป็นส่วนประกอบ ใช้ยับยั้งการสังเคราะห์บริเวณผนังเซลล์ของแบคทีเรีย รวมทั้งมีส่วนประกอบที่ช่วยกำจัดการสร้างเอนไซม์เบต้าแลคแทมเมสของแบคทีเรีย ซึ่งส่วนประกอบนี้คืออาวุธที่แบคทีเรียใช้ต้านยาฆ่าเชื้อ ทำให้เกิดอาการดื้อยา การใช้ยาปฏิชีวนะให้ได้ผล และลดอาการดื้อยา จึงมักใช้ควบคู่กับสารยับยั้งเบต้าแลคแทมเมสไปด้วย ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะม็อกซี่ซิลลินผสมคลาวูลาเนท พิเพอราลินผสมทาโซแบคแทม และแอมพิซิลลินผสมซุลแบคแทมเพนิซิลลินที่ได้จากธรรมชาติ (Natural Penicillins)
คือยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ใช้ทางการแพทย์ เป็นส่วนประกอบหลักที่ได้จากโครงสร้างเพนิซิลลิน จี ใช้ยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก และแกรมลบได้ กลุ่มยานี้ได้แก่ Penicillin g เพนิซิลลิ น วี โปรเคนเพนิซิลลลิน และเบนซาธีน เพนิซิลลิน จี ยาเพนนิซิลินที่ต่อการถูกทำลายของเพนนิซิลลิเนส (Penicillinase Resistant Penicillins) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านทางเอนไซม์เพนิซิลลิเนส ซึ่งแบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างขึ้นมาเพื่อทำลายเบต้าแลคแทมในยาปฏิชีวนะ ยากลุ่มนี้ใช้รักษาการดื้อยาของเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส และการติดเชื้ออื่น ๆ ยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ คลอกซาซิลลิน ไดคลอกซาซิลลิน ออกซาซิลลิน หรือเมธิซิลลินรูปแบบของยาเพนิซิลลิน
- ยาเม็ด
- ยาแคปซูล
- ยาน้ำเชื่อม
- ยาน้ำแขวนตะกอน
สรรพคุณของเพนิซิลลิน
- ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก เช่น ไข้หวัดที่มีอาการแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ไข้อีดำอีแดง เหงือกอักเสบ ถุงน้ำตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ (หูน้ำหนวก) คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมหลังช่องจมูกอักเสบ ปอดอักเสบ แผลอักเสบ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบ รูขุมขนอักเสบ โรคไฟลามทุ่ง โรคแอนแทรกซ์ การติดเชื้อของบาดแผลที่ถูกสัตว์หรือคนกัด
- ใช้ป้องกันไข้รูมาติก และโรคหัวใจรูมาติก ( RHD)
- ใช้ป้องกันโรคไตอักเสบชนิดเฉียบพลัน
คำเตือนการใช้ยา Penicillin
ผลข้างเคียงที่สำคัญของ Penicillin คือ อาการภูมิแพ้ Penicillin อาการอาจเกิดเป็นผื่น หรือเกิดอาการแพ้ที่รุนแรงเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจแพ้กลุ่มยา Penicillin ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือแพ้ร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ ได้ หญิงที่กำลังให้นมบุตร การใช้ยานี้อาจทำให้ทารกท้องร่วง ติดเชื้อจากเชื้อรา และผื่นขึ้นได้ เพราะเนื่องจากทารกจะได้รับตัวยาผ่านทางน้ำนมแม่ได้ ผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในปัสสาวะ ทำให้การตรวจคิดตามอาการของผู้ป่วยเบาหวานเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ผู้ป่วยโรคไตหรือตับต้องควบคุมปริมาณการใช้ยา Penicillin อย่างเหมาะสม ผู้ที่กำลังใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน หรือผู้ป่วยที่ใช้ยาแก้อักเสบ ยาแอสไพริน หรือยาโปรเบเนสิด ควรใช้ยา Penicillin อย่างระมัดระวัง เพราะยาอาจทำปฎิกิริยากัน ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง หรือเกิดผลข้างเคียงได้ กลุ่มยา Penicillin แต่ละชนิดจะปรากฏผลข้างเคียงแตกต่างกัน ผู้ป่วยจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือข้อบ่งชี้การใช้ยาอย่างเคร่งครัดผลข้างเคียงจากการใช้ยา Penicillin
ผลข้างเคียงที่ควรหยุดการใช้ยาทันที :- หายใจถี่
- มีไข้
- เจ็บบริเวณข้อต่อ
- วิงเวียนศีรษะ และเป็นลม
- หน้าหรือหนังตาบวม
- ผิวแดงและเป็นขุย
- หายใจสั้น
- เกิดผื่นหรือลมพิษบนผิวหนัง อาจรู้สึกคันร่วมด้วย
- รู้สึกปวดบีบ ๆ หรือเจ็บเหมือนถูกกดที่ท้องอย่างรุนแรง
- ชักเกร็ง
- ปัสสาวะน้อย
- ถ่ายเหลวรุนแรง หรือถ่ายมีเลือดปนออกมา
- เกิดภาวะซึมเศร้า
- คลื่นไส้ และอาเจียน
- เกิดอาการปวดบริเวณที่ฉีดยา
- เจ็บคอ เป็นไข้
- มีเลือดออกผิดปกติ หรือเกิดรอยช้ำ
- ตา และผิวมีสีเหลือง
- วิตกกังวล และสับสน
- เกิดอาการทางจิต เช่น เพ้อ ประสาทหลอน
ใครที่ไม่ควรใช้ penicillin
เพนิซิลินเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด อย่างไรก็ตาม มีบุคคลบางกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เพนิซิลินเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้หรือข้อพิจารณาด้านสุขภาพอื่นๆ สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือใครก็ตามที่พิจารณาใช้ยาเพนิซิลินควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล ต่อไปนี้เป็นกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเพนิซิลิน: โรคภูมิแพ้เพนิซิลลิน:- บุคคลที่ทราบกันว่าแพ้เพนิซิลลินหรือยาปฏิชีวนะเบต้าแลคตัมอื่นๆ (เช่น อะม็อกซีซิลลินหรือเซฟาโลสปอริน) ควรหลีกเลี่ยงการใช้เพนิซิลลิน ปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อเพนิซิลินอาจมีตั้งแต่ผื่นผิวหนังเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรงที่คุกคามถึงชีวิต เช่น ภูมิแพ้
- บุคคลที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรง (ภูมิแพ้) ต่อเพนิซิลลินในอดีตควรหลีกเลี่ยงการใช้ซ้ำ Anaphylaxis เป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่ร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตซึ่งต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที
- บุคคลบางคนที่แพ้เพนิซิลลินอาจแพ้ยาปฏิชีวนะเซฟาโลสปอรินด้วย แม้ว่าปฏิกิริยาข้ามจะไม่เป็นสากล แต่บุคคลที่มีประวัติแพ้เพนิซิลลินอย่างรุนแรงควรใช้ความระมัดระวังและปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนใช้ยาเซฟาโลสปอริน
- บุคคลที่มีอาการป่วยเฉพาะ เช่น ประวัติปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต ควรใช้เพนิซิลินด้วยความระมัดระวัง ในกรณีเช่นนี้ อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา หรืออาจพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะชนิดอื่น
- ยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับเพนิซิลลิน ส่งผลต่อประสิทธิภาพหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง บุคคลที่รับประทานยาอื่นๆ ควรแจ้งผู้ให้บริการด้านสุขภาพของตนเพื่อประเมินปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้น
- แม้ว่าโดยทั่วไปถือว่ายาเพนิซิลลินปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร แต่สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนที่จะใช้ยาใดๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบสำหรับสถานการณ์เฉพาะ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/216798
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a685015.html
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น