กระดูกเชิงกราน (Pelvic Pain) คือ ตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ อยู่บริเวณท้องส่วนล่างติดกับส่วนขา โดยอาการปวดอุ้งเชิงกรานสามารถแผ่ออกไปที่ท้องส่วนล่าง ดังนั้นการแยกอาการปวดอุ้งเชิงกรานออกจากอาการปวดท้องจึงทำได้ยาก เพราะไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นการปวดท้องน้อยตรงกลางหรือปวดท้องน้อยที่ด้านในด้านหนึ่ง
โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID)
โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) คือ การติดเชื้อในระบบสืบพันธ์ุของเพศหญิงโดยทั่วไปจะเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่และไม่ได้รับการรักษา เช่น หนองในเทียมหรือหนองใน เมื่อติดเชื้อครั้งแรก จะไม่เกิดอาการ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงรวมถึงอาการปวดเรื้อรังที่อุ้งเชิงกรานหรือในช่องท้อง อาการอื่นๆ ประกอบไปด้วย:- มีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์
- ไข้
- ตกขาวมีกลิ่นแรง
- เจ็บบริเวณท้องน้อยระหว่างถ่ายปัสสาวะ
สาเหตุการปวดอุ้งเชิงกราน
มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยทั้งแบบฉับพลันและปวดท้องน้อยบ่อยๆ แบบเรื้อรัง การปวดอุ้งเชิงกรานแบบฉับพลัน คือ อาการปวดที่เพิ่งเกิดขึ้นและเกิดขึ้นอย่างทันที ในขณะที่การปวดอุ้งเชิงกรานแบบเรื้อรัง คือ อาการปวดที่มีระยะเวลายาวนาน โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากมีสาเหตุจาก:- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
- แผลเป็นที่อวัยวะสืบพันธุ์
- ฝี
- ความไม่สมบูรณ์ของระบบสืบพันธุ์
เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอในช่วงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อมดลูกนอกมดลูก และเนื้อเยื่อนี้ยังคงทำหน้าที่เหมือนที่มันเคยเป็น รวมถึงเรื่องการไหลเวียนเพื่อตอบสนองต่อรอบประจำเดือน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มีหลายระดับความเจ็บปวดด้วยกันตั้งไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นรุนแรงได้ ความเจ็บปวดนี้จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนทำให้สุขภาพทรุดโทรม และพบมากในช่วงที่เป็นประจำเดือนนอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์และมีการเคลื่อนไหวของลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ ความเจ็บปวดในบริเวณอุ้งเชิงกราน แต่สามารถขยายเข้าไปในช่องท้อง ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอาจส่งผลกระทบต่อปอดและกระบังลมแม้ว่าจะเกิดขึ้นได้น้อยก็ตาม นอกจากอาการเจ็บปวดยังประกอบด้วยอาการเหล่านี้:- ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
- คลื่นไส้
- ท้องอืด
การตกไข่
ในผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการเจ็บแปลบท้องช่วงที่ตกไข่คือเมื่อไข่ตกจากรังไข่ เรียกว่าอาการปวดท้องจากการตกไข่ (Mittelschmerz) อาการปวดนี้จะเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมง และสามารถรักษาด้วยยาแก้ปวดทั่วไปปวดท้องประจำเดือน
อาการปวดท้องหน่วง ปวดท้องน้อย หรือปวดอุ้งเชิงกรานสามารถเกิดก่อนหรือระหว่างเป็นประจำเดือน เป็นอาการปวดเกร็งท้องน้อยหรือในกระดูกเชิงกราน ความรุนแรงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน อาการปวดก่อนมีประจำเดือนอยู่ใน กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) หากความเจ็บปวดรุนแรงมากจนรบกวนกิจวัตรประจำวัน เราจะเรียกว่า กลุ่มอาการผิดปกติรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (PMDD) PMS และ PMDD มักจะมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ ได้แก่ : อาการเหล่านี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนนี้จะรู้สึกปวดท้องเกร็งหรือเจ็บท้องน้อยและมาพร้อมกับอาการ: ถ้าคุณปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ด่วน เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโรครังไข่บิดขั้ว
หากรังไข่นั้นเกิดการบิดตัวจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดทันทีอย่างรุนแรง บางครั้งอาการปวดจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการคลื่นไส้และอาเจียน อาการนี้อาจจะเริ่มก่อนการปวดเกร็งหน้าท้อง โรครังไข่บิดขั้วถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดทันทีโรคถุงน้ำรังไข่
โรคถุงน้ำในรังไข่หรือซีสต์ในรังไข่มัก เริ่มแรกจะไม่ส่งผลให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากมีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บหรือปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน หรือหน้าท้องด้านใดด้านหนึ่ง และหน้าท้องส่วนล่างจะป่องกว่าปกติ หากถุงน้ำในรังไข่แตกจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดรุนแรงอย่างฉับพลัน ถุงน้ำในรังไข่สามารถหายไปเองได้ แต่อย่างไรก็ตามควรเข้าพบแพทย์ กรณีที่ถุงน้ำในรังไข่มีขนาดใหญ่ แพทย์จะทำการผ่าตัดออกให้ เพื่อหลีกเลี่ยงถุงน้ำรังไข่แตกเนื้องอกในมดลูก (Myomas)
เนื้องอกในมดลูกนั้นเป็นอันตรายสำหรับมดลูก อาการแตกต่างกันไปตามขนาดและตำแหน่งที่เกิดเนื้องอก ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ปรากฏอาการใดๆ อาการที่จะเกิดร่วมกรณีมีเนื้องอกในมดลูกได้แก่ : กรณีที่เนื้องอกในมดลูกทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานรุนแรง ผู้ป่วยควรพบแพทย์ โดยสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณดังนี้ :- ปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรัง
- ปวดกระดูกเชิงกรานรุนแรง
- ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
- ปัสสาวะติดขัด
โรคมะเร็งทางสูตินารีเวช
มะเร็งสามารถเกิดได้ในหลายตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน ได้แก่:- มดลูก
- เยื่อบุโพรงมดลูก
- ปากมดลูก
- รังไข่
สาเหตุปวดอุ้งเชิงกรานในสตรีมีครรภ์
อาการปวดอุ้งเชิงกรานระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ใช่สัญญาณปัญหาด้านสุขภาพ แต่กำลังจะบอกว่าร่างกายของคุณมีการเจริญเติบโต กระดูกเชิงกรานของคุณกำลังขยาย ทำให้คุณรู้สึกถึงความไม่สบายตัวและความเจ็บปวดได้ อย่างไรก็ตามความเจ็บปวดนี้สามารถทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ได้ แม้จะไม่รุนแรง แต่คุณควรพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด เป็นต้น สาเหตุของการปวดอุ้งเชิงกรานระหว่างตั้งครรภ์ได้แก่ :อาการเจ็บท้องเตือน Braxton-Hicks contractions
อาการนี้มักจะเป็นอาการเตือนถึงการตั้งครรภ์ และปัจจัยที่กระตุ้นอาการนี้ได้แก่:- การยกของหนัก
- การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
- การขาดน้ำ
การแท้งบุตร
การแท้งบุตร คือ การสูญเสียทารกในครรภ์ก่อนสัปดาห์ที่ 20 การแท้งบุตรส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นก่อนสัปดาห์ที่ 13 และจะมีอาการนี้ร่วมด้วย:- ตกเลือด
- ปวดท้อง
- ปวดอุ้งเชิงกราน
- มีของเหลวหรือเนื้อเยื่อออกจากทางช่องคลอด
การคลอดก่อนกำหนด
อาการนี้จะเกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 โดยมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย:- มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง
- ปวดหลังส่วนล่าง
- เมื่อยล้า
- ตกขาวหนักกว่าปกติ
- ปวดเกร็งท้องน้อย
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
รกนั้นก่อตัวและยึดติดกับผนังมดลูกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยมีหน้าที่ให้ออกซิเจนและสารอาหารแก่ลูกน้อยจนกว่าจะคลอด ภาวะนี้เกิดจากรกนั้นจะแยกตัวออกจากผนังมดลูกอาจจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด เราเรียกว่าภาวะรกลอก ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดอาจทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอด ร่วมกับการปวดท้องและหลังอย่างรุนแรงฉับพลัน อาจเกิดขึ้นได้หลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ หากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์ฉุกเฉินโดยทันทีการตั้งครรภ์นอกมดลูก
การตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิของไข่ที่ท่อนำไข่หรือส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ในมดลูก อาการแบบนี้ไม่สามารถรักษาได้และอาจส่งผลให้ท่อนำไข่แตกและมีเลือดออกภายใน ผู้ป่วยจะเจ็บช่องท้องอย่างรุนแรงและมีเลือดออกทางช่องคลอด รวมถึงอาจจะมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานร่วมด้วยสาเหตุปวดท้องน้อยอื่นๆ
อาการปวดอุ้งเชิงกรานสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ นอกจากด้านบนได้ โดยอาจจะมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้:- ม้ามโต
- ไส้ติ่งอับเสบ
- ท้องผูกเรื้อรัง
- ถุงผนังลำไส้อักเสบ
- ไส้เลื่อน(hernia)
- กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีปัญหา
- ลำไส้ใหญ่อักเสบ
- นิ่วในไต
การบำบัดรักษาด้วยตนเอง
อาการปวดอุ้งเชิงกรานสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดท้องที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยารักษาใดๆ ระหว่างตั้งครรภ์ และการพักผ่อนสามารถช่วยได้ในการปวดอุ้งเชิงกรานจากสาเหตุบางประเภท สำหรับบางคนการออกกำลังกายเบาๆ สามารถช่วยได้ และคุณสามารถลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้ได้:- ใช้กระเป๋าหรือขวดน้ำร้อนในการผ่อนคลายอาการปวดท้องน้อย หรืออาบน้ำอุ่น
- ยกขาให้สูง อาจจะบรรเทาอาการปวดอุ้งเชิงกรานและอาการปวดหลังส่วนล่างหรือต้นขา
- โยคะและทำสมาธิสามารถช่วยจัดการความเจ็บปวดได้
- ใช้สมุนไพร เช่น เปลือกวิลโลว์ ช่วยลดอาการปวดได้ แต่ทั้งนี้ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์ก่อนการใช้ระหว่างตั้งครรภ์
การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการสอบถามและตรวจสภาพร่างกายโดยทั่วไป เพื่อหาอาการเบื้องต้นและความเจ็บปวดที่ได้รับ รวมถึงอาการผิดปกติร่วมอื่นๆ แพทย์อาจจะแนะนำแปปสเมียร์ (Pap smear) หากคุณไม่เคยมีอาการใดๆ ใน 3 ปีที่ผ่านมา การตรวจสอบอาการโดยทั่วไปมีดังนี้:- การตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อหาจุดที่ปวดบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
- อัลตร้าซาวด์เชิงกราน เพื่อให้แพทย์สามารถดูโครงสร้างของมดลูกและระบบสืบพันธ์ทั้งหมด การทดสอบนี้ใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อตรวจสอบผ่านทางจอคอมพิวเตอร์
- การทดสอบเลือดและปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อ
- ซีทีสแกน CT scan
- ทำเอ็มอาร์ไอ MRI อุ้งเชิงกราน
- ส่องกล้องดูอุ้งเชิงกราน Pelvic laparoscopy
- ส่องกล้องดูระบบลำไส้ Colonoscopy
- ส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ Cystoscopy
คำถามที่พบบ่อย
อะไรคือสาเหตุหลักของอาการปวดกระดูกเชิงกราน- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
- โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (เรียกอีกอย่างว่า PID การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์)
- ถุงน้ำรังไข่บิดหรือแตก
- การแท้งบุตรหรือการแท้งคุกคาม
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ไส้ติ่งอักเสบ
- ท่อนำไข่แตก
- เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- แอลกอฮอล์
- ผักและผลไม้ที่เป็นกรดสูง: มะเขือเทศ แครนเบอร์รี่ และส้ม
- เครื่องดื่มอัดลม: โซดา
- อาหารรสเผ็ด
- น้ำตาลเทียมและสารให้ความหวาน
นี่คือลิงค์ที่มาของแหล่งบทความของเรา
https://www.nhs.uk/conditions/pelvic-paincs https://www.webmd.com/women/ss/slideshow-pelvic-pain-causes https://www.onhealth.com/content/1/pelvic_pain_causes https://medlineplus.gov/pelvicpain.html https://patient.info/womens-health/pelvic-pain-in-womenเนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น