อุ้งเชิงกรานอักเสบ Pelvic Inflammatory Disease (PID): อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบคืออะไร

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือ Pelvic inflammatory disease (PID) คือ การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง อุ้งเชิงกรานนั้นคือท้องส่วนล่าง ซึ่งประกอบไปด้วย ท่อนำไข่ รังไข่  ปากมดลูก และมดลูก

จากข้อมูลของ กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบส่งผลกระทบต่อผู้หญิงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

แบคทีเรียหลายชนิดสามารถเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ได้ รวมไปถึงแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ sexually transmitted infections (STIs) หนองในแท้ และ หนองในเทียม โดยเริ่มต้นจากการที่แบคทีเรียเข้าสู่อวัยวะเพศหญิงแล้วทำให้เกิดการติดเชื้อ เมื่อเวลาผ่านไป การติดเชื้อนั้นก็จะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในอุ้งเชิงกราน

การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานนั้นสามารถเป็นสิ่งที่อันตรายมากได้ อาจมีอันตรายถึงชีวิต หากการติดเชื้อนั้นเข้าสู่กระแสเลือด เพราะฉะนั้น หากคุณสงสัยว่าคุณกำลังติดเชื้ออยู่ ควรรีบพบแพทย์ทันที

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ

หากคุณเคยเป็นโรคหนองในแท้ หรือ หนองในเทียม หรือ เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน คุณมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ อย่างไรก็ตาม ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบสามารถเกิดขึ้นถึงแม่ว่าคุณจะไม่เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อนก็ตาม

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ:

  • มีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 25 ปี

  • มีคู่นอนหลายคน

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย

  • เพิ่งใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

  • การสวนล้างช่องคลอด

  • มีประวัติการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

อาการของภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ผู้หญิงบางคนที่ติดเชื้อนั้นไม่แสดงอาการ แต่สำหรับผู้มีอาการนั้น อาการต่าง ๆ มีดังนี้:

  • ปวดท้องน้อย(อาการที่พบได้บ่อยที่สุด)
  • ปวดท้องส่วนบน
  • มีไข้
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะขัด
  • เลือดออกผิดปกติ
  • ตกขาวเยอะขึ้น มีกลิ่นเหม็น
  • เหนื่อยล้า
Pelvic Inflammatory Disease

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ในระดับน้อยจะถึงระดับกลาง แต่อย่างไรก็ตาม ผู็หญิงบางคนมีอาการปวดอย่างรุนแรงและอาการอื่น ๆ  เช่น:

หากคุณมีอาการรุนแรงเหล่านี้ ควรติดต่อแพทย์หรือไปพบแพทย์ การติดเชื้ออาจเข้าไปสู่กระแสเลือดหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษาการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

แพทย์มักจะให้ยาต้านแบคทีเรียสำหรับการรักษาโรคนี้ เพราะแพทย์อาจไม่ทราบว่าแบคทีเรียชนิดไหนที่ทำให้คุณติดเชื้อ คุณอาจได้รับยาต้านแบคทีเรียสองชนิดที่สามารถรักษาแบคทีเรียหลายชนิดได้

หลังจากการรักษาเพียงไม่กี่วัน อาการของคุณอาจจะดีขึ้นหรือหายเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม คุณควรจะทานยาให้หมดถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้ว  เพราะหากหยุดยาก่อนที่ยาจะหมดอาจจะทำให้การติดเชื้อกลับมาได้

หากคุณกำลังป่วยหรือตั้งครรภ์อยู่ หรือไม่สามารถกลืนยาได้ หรือ มีฝีในอุ้งเชิงกราน แพทย์จะให้คุณเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานอาจต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด  แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักนอกเสียจากว่าฝีในอุ้งเชิงกรานแตก หรือ แพทย์สงสัยว่าฝีจะแตก หรือการรักษาอย่างอื่นไม่ตอบสนอง

แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบนั้นสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ หากคุณมีเพศสัมพันธ์อยู่ ก็ควรให้คู่ของคุณเข้ารับการตรวจด้วยเพราะผู้ชายอาจจะมีแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้โดยไม่รู้ตัว

การติดเชื้ออาจกลับมาอีกหากคู่ของคุณนั้นไม่ได้รับการรักษาไปด้วย คุณอาจต้องงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการติดเชื้อจะหายไป

การป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

คุณสามารถลดความเสี่ยงได้จาก:

  • มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

  • เข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างอวัยวะเพศ

  • เช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง หลังการใช้ห้องน้ำ เพื่อที่แบคทีเรียจะได้ไม่เข้าสู่อวัยวะเพศของค

ภาวะแทรกซ้อนของอุ้งเชิงกรานอักเสบ โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) คือการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี มักเกิดจากแบคทีเรียที่เข้าสู่ปากมดลูกแล้วแพร่กระจายขึ้นไปในมดลูก ท่อนำไข่ และโครงสร้างอื่นๆ โดยรอบ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือจัดการไม่เพียงพอ PID อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ภาวะแทรกซ้อนบางประการ ได้แก่:
  • ความเสียหายของท่อนำไข่และภาวะมีบุตรยาก: หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดของ PID คือความเสียหายต่อท่อนำไข่ การอักเสบและรอยแผลเป็นที่เกิดจากการติดเชื้ออาจทำให้ท่ออุดตันหรือตีบตัน ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้ไข่ปฏิสนธิหรือไปถึงมดลูกได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการตั้งครรภ์ (ภาวะมีบุตรยาก) หรือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการตั้งครรภ์นอกมดลูก  ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก:ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ PID สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ ในการตั้งครรภ์นอกมดลูก ไข่ที่ปฏิสนธิจะปลูกถ่ายและเติบโตนอกมดลูก โดยทั่วไปจะอยู่ในท่อนำไข่ นี่เป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการแทรกแซงทางการแพทย์และอาจนำไปสู่การแตกของท่อนำไข่ได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • อาการปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรัง:อาการปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของ PID โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการติดเชื้อทำให้เกิดแผลเป็นหรือมีการยึดเกาะภายในอวัยวะในอุ้งเชิงกราน การยึดเกาะเหล่านี้อาจทำให้เนื้อเยื่อเกาะติดกัน ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะได้รับการรักษาการติดเชื้อแล้วก็ตาม
  • ฝีในท่อรังไข่:ในบางกรณี PID สามารถนำไปสู่การก่อตัวของฝีในท่อรังไข่ ซึ่งเป็นกลุ่มของของเหลวและหนองที่ติดเชื้อซึ่งสะสมอยู่ในท่อนำไข่และรังไข่ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง มีไข้ และอาการอื่นๆ และอาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำออก
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ:เยื่อบุช่องท้องอักเสบคือการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่เรียงตัวในช่องท้อง หากฝีในรังไข่แตก อาจทำให้วัสดุที่ติดเชื้อรั่วไหลเข้าไปในช่องท้องและทำให้เกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • การติดเชื้อเรื้อรัง:บางครั้ง PID อาจนำไปสู่การติดเชื้อเรื้อรังที่เกิดขึ้นอีกซึ่งยากต่อการรักษาและจัดการ การติดเชื้ออย่างต่อเนื่องเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะสืบพันธุ์ได้
  • ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs):การมีประวัติของ PID สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ เนื่องจากการอักเสบและความเสียหายต่อปากมดลูกและอวัยวะสืบพันธุ์สามารถทำให้การติดเชื้อเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น
สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์ทันทีหากคุณสงสัยว่าคุณมี PID หรือกำลังมีอาการต่างๆ เช่น ปวดอุ้งเชิงกราน มีไข้ มีตกขาวผิดปกติ หรือปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ การวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ และการรักษาที่เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับ PID หรือภาวะแทรกซ้อน ควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำและคำแนะนำเฉพาะบุคคล

แหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pelvic-inflammatory-disease/symptoms-causes/syc-20352594

  • https://www.cdc.gov/std/pid/stdfact-pid.htm

  • https://www.nhs.uk/conditions/pelvic-inflammatory-disease-pid/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด