ถั่วลิสง

ถั่วลิสง ชื่อวิทยาศาสตร์  Arachis hypogaea  คือ พืชตระกูลถั่วที่มีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ มีชื่อหลากลายเช่น กราวน์นัท เอิร์ธนัทและกูเบอร์ ถึงแม้จะมีชื่อตามนั้น แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับนัทยืนต้น เพราะเป็นพืชตระกูลถั่วจึงมีความเกี่ยวข้องกับถั่ว ถั่วเลนทิล และถั่วเหลือง เราจะบริโภคในรูปของน้ำมันถั่วลิสง แป้งและโปรตีน อาหารเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในอาหารได้หลากหลาย เช่นขนมหวาน ขนมเค้ก ลูกอม ขนมขบเคี้ยวและซอส ถั่วลิสงอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน และสารอาหารเพื่อสุขภาพมากมาย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อาจช่วยในการลดน้ำหนัก และส่งผลในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

คนยังมองหา : ยาลดความอ้วน

 

ประโยชน์ของถั่วลิสง

คุณค่าทางโภชนาการสำหรับถั่วลิสง 3.5 ออนซ์ (100 กรัม) ได้แก่
  • แคลลอรี่: 567
  • น้ำ: 7%
  • โปรตีน: 25.8 กรัม
  • แป้ง: 16.1 กรัม
  • น้ำตาล: 4.7 กรัม
  • ใยอาหาร: 8.5 กรัม
  • ไขมัน: 49.2 กรัม
    • อิ่มตัว: 6.28 กรัม
    • ไม่อิ่มตัว: 24.43 กรัม
    • ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน: 15.56 กรัม
    • โอเมก้า-3: 0 กรัม
    • โอเมก้า-6: 15.56 กรัม
    • ไขมันทรานส์: 0 กรัม 

ไขมันในถั่วลิสง

ถั่วลิสงมีไขมันสูง จัดอยู่ในประเภทเมล็ดพืชน้ำมัน ด้วยสัดส่วนขนาดใหญ่ของถั่วลิสงที่ได้จากการเก็บเกี่ยวจะถูกนำไปใช้ทำน้ำมันอะแรคิส  ด้วยไขมันที่มีอยู่ราว 44-56% และส่วนใหญ่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันชนิดไม่อิ่มตัวพันธะคู่  ซึ่งส่วนใหญ่ไว้สร้างกรดโอเลอิก และกรดลิโนเลอิก 

โปรตีนถั่วลิสง

ถั่วลิสงเป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอด โปรตีนมีอยู่ราว 22-30% ของแคลลอรี่ทั้งหมด ทำให้กลายเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถั่วลิสงมีโปรตีนมากมาย อะแรคิน และคอนอะแรคิน อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงในบางคน อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิตได้

คาร์บ

ถั่วลิสงมีคาร์บต่ำ ตามความเป็นจริงแล้ว ในถั่วลิสงมีคาร์บอยู่ราว 13-16% ของน้ำหนักทั้งหมด การมีคาร์บต่ำและมีโปรตีน ไขมันและใยอาหารสูง มีค่าดัชนีน้ำตาล (GI) ต่ำ ซึ่งวัดจากความเร็วของแป้งที่เข้าสู่กระแสเลือดหลังมื้ออาหารเหมาะสมสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน

Peanuts

วิตามินและเกลือแร่

ถั่วลิสงคือแหล่งของวิตามินและเกลือแร่ที่ยอดเยี่ยม รวมไปถึง:
  • ไบโอติน ถั่วลิสงคือหนึ่งในแหล่งไบโอตินที่มากมายที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในระหว่างตั้งครรภ์
  • ทองแดง การบริโภคแร่ธาตุรอง ทองแดงมักพบว่ามีการบริโภคต่ำในแถบตะวันตก ภาวะพร่องนี้อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพของหัวใจ
  • ไนอาซิน หรือที่รู้จักกันดีคือวิตามินบี3 มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของร่างกายมากมายหลายอย่าง ซึ่งส่งผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • โฟเลต หรือที่รู้จักกันดีว่าวิตามินบี9 หรือกรดโฟลิค โฟเลตมีผลต่อการทำงานที่จำเป็นและโดยเฉพาะมีความสำคัญอย่างยิ่งในระหว่างช่วงตั้งครรภ์
  • แมงกานีส เป็นจุลธาตุที่พบในน้ำดื่มและอาหารส่วนมาก
  • วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง วิตามินนี้มักถูกพบว่ามีปริมาณสูงในอาหารที่มีไขมัน
  • ไทแอมีน หรือที่รู้จักกันดีคือวิตามินบี1 ที่ช่วยให้เซลล์ร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนแป้งให้กลายเป็นพลังงานได้และมีความจำเป็นสำหรับการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อและระบบประสาท 
  • ฟอสฟอรัส ประโยชน์ของถั่วลิสงคือเป็นแหล่งที่ดีของฟอสฟอรัส แร่ธาตุที่มีบทบาทที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและบำรุงรักษาเนื้อเยื่อของร่างกาย
  • แมกนีเซียม คือแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานที่สำคัญมากมาย การบริโภคแมกนีเซียมที่เพียงพอเชื่อว่าจะช่วยปกป้องต่อการเกิดโรคหัวใจ

กินถั่วอ้วนไหม

มีการศึกษาอย่างกว้างขวางเรื่องเกี่ยวกับการคงที่ของน้ำหนักตัว  หลายคนตั้งคำถามว่ากินถั่วอ้วนไหมถึงแม้ถั่วลิสงแคลลอรี่และไขมันสูงก็ตาม แต่ถั่วลิสงไม่ได้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มแต่อย่างใด ตามความจริงแล้ว จากการศึกษาสังเกตการณ์แสดงให้เห็นว่าการบริโภคถั่วลิสงอาจช่วยคงที่น้ำหนักตัวได้และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนอีกด้วย จากการศึกษาผู้หญิงที่มีสุขภาพดีเป็นเวลา 6 เดือนที่ได้รับรับประทานแทนอาหารไขมันอื่นๆ สามารถลดน้ำหนักได้ราว 3 กก.

ถั่วลิสงอบเกลือผลเสีย

ผลข้างเคียงจากอาการแพ้ การกินถั่วลิสงยังไม่เคยส่งผลเสียมากมายนัก แต่ปัญหาด้านสุขภาพบางอย่างอาจต้องพิจารณา

อัลฟลาทอกซินเป็นพิษ

ถั่วลิสงบางครั้งอาจมีการปนเปื้อนจากเชื้อรา (แอสเปอจิลลัสฟลาวัส) ซึ่งผลิตสารพิษอัลฟลาทอกซิน อาหารหลักของอัลฟลาทอกซินเป็นพิษรวมไปถึงความอยากอาหารลดลงและตาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง (ดีซ่าน) ซึ่งเป็นสัญญานของตับที่มีปัญหา หากเกิดอาการรุนแรงอาจทำให้ให้ตับวายและมะเร็งตับ ความเสี่ยงจากการปนเปื้อนอัลฟลาทอกซินขึ้นอยู่กับวิธีเก็บรักษา ความเสียงจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นหากเก็บในที่ชื้นและอุ่น โดยเฉพาะในประเทศแถบร้อน การปนเปื้อนสารอัลฟลาทอกซินสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยการทำให้ถั่วลิสงแห้งอย่างเหมาะสมหลังการเก็บเกี่ยว และเก็บรักษาในที่ๆอุณหภูมิและความชื้นต่ำ

สารต้านโภชนาการ

ถั่วลิสงมีสารต้านโภชนาการหลายตัว ซึ่งเป็นสารที่ไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหารและไปลดคุณค่าโภชนาการลง สารต้านโภชนาการในถั่งลิสง คือกรดไฟทิก กรดไฟทิก (ไฟเตต) มักพบได้ในเมล็ดที่รับประทานได้ ถั่ว ธัญพืช เกรนและเลมกูม 

การแพ้ถั่วลิสง

ถั่วลิสง คือ หนึ่งในอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้มากที่สุดตัวหนึ่ง การแพ้ถั่วลิสงอาจทำให้ถึงแก่เสียชีวิตได้ และบางครั้งถูกจัดว่าเป็นสารก่ออาการแพ้ที่รุนแรงที่สุด คนที่แพ้ควรหลีกเลี่ยง

ข้อควรระวังในการกินถั่ว

ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วยอดนิยมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่มีข้อควรพิจารณาหลายประการที่ต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อาจมีอาการแพ้หรือมีปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะ:
  • อาการแพ้:การแพ้ถั่วลิสงถือเป็นอาการแพ้อาหารที่พบบ่อยและรุนแรงที่สุด ปฏิกิริยาการแพ้ถั่วลิสงอาจมีตั้งแต่อาการไม่รุนแรง เช่น ลมพิษและอาการคัน ไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรงที่คุกคามถึงชีวิต เช่น ภูมิแพ้ ผู้ที่ทราบว่าแพ้ถั่วลิสงจะต้องหลีกเลี่ยงถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงโดยสิ้นเชิง และระมัดระวังการปนเปื้อนข้าม
  • อันตรายจากการสำลัก: ถั่วลิสง โดยเฉพาะทั้งเมล็ดหรือเป็นชิ้นใหญ่ อาจทำให้เกิดอันตรายจากการสำลักได้ โดยเฉพาะสำหรับเด็กเล็ก ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเสิร์ฟถั่วลิสงแก่เด็ก ๆ เพื่อป้องกันเหตุการณ์สำลัก
  • การปนเปื้อนของอะฟลาทอกซิน:ถั่วลิสงไวต่ออะฟลาทอกซินซึ่งเป็นสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อราบางชนิด อะฟลาทอกซินอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งตับ การจัดเก็บและการจัดการถั่วลิสงอย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราและการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซิน
  • ปริมาณแคลอรี่และไขมันสูง:ถั่วลิสงมีแคลอรี่หนาแน่นและมีไขมันสูง แม้ว่าจะมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ แต่การบริโภคถั่วลิสงในปริมาณมากอาจทำให้ได้รับแคลอรี่มากเกินไปและอาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ การควบคุมสัดส่วนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนัก
  • ความไวหรือการแพ้:บุคคลบางคนอาจมีความไวหรือการแพ้ส่วนประกอบในถั่วลิสง ทำให้เกิดปัญหาทางเดินอาหาร ผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) หรือภาวะทางเดินอาหารอื่นๆ อาจพบว่าถั่วลิสงทำให้อาการแย่ลง
  • เกลือและสารเติมแต่ง:ถั่วลิสงหลายชนิดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะมีการใส่เกลือหรือคั่วด้วยน้ำมันที่เติมเข้าไป การบริโภคเกลือมากเกินไปอาจเป็นข้อกังวลสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาสุขภาพบางประการ นอกจากนี้ สารเติมแต่งบางชนิดที่ใช้ในการคั่วหรือปรุงถั่วลิสงอาจทำให้เกิดปัญหากับบุคคลที่ไวต่อสารเหล่านี้
ถั่วลิสงมีประโยชน์ทางโภชนาการมากมาย โดยให้โปรตีน ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ วิตามิน และแร่ธาตุ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องคำนึงถึงสารก่อภูมิแพ้ที่อาจเกิดขึ้น การปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน ปริมาณแคลอรี่สูง และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคคลบางคนหรือก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ หากคุณมีข้อกังวลหรือสภาวะสุขภาพที่เฉพาะเจาะจง ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียนเพื่อรับคำแนะนำส่วนบุคคลเกี่ยวกับการบริโภคถั่วลิสง

ประเด็นสำคัญ

ถั่วลิสงเป็นที่นิยมมากในเรื่องของสุขภาพ เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ดีเยี่ยมและยังมีวิตามิน เกลือแร่สูง และมีสารประกอบพืช มีประโยชน์ในการช่วยลดน้ำหนัก และอาจช่วยลดความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจและนิ่วในถุงน้ำดี แต่อย่างไรก็ตามก็มีไขมันสูง แคลอรี่สูง และไม่ควรรับประทานมากเกินไป

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/diet/health-benefits-peanuts
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/325003
  • https://www.nationalpeanutboard.org/wellness/what-is-benefit-eating-peanuts-every-day.htm
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด