โรคหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) : อาการ สาเหตุ การรักษา 

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โรคหวาดระแวง
โรคหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) คืออาการที่พบได้บ่อยของโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง และในปี 2556 สมาคมจิตแพทย์ของอเมริกาได้ทราบว่า ความระแวงเป็นหนึ่งในอาการที่มีผลต่อโรคจิตเภท ซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างกันในการวินิจฉัยอาการโรคจิตเภทเลย จึงได้เปลี่ยนอาการความระแวงนี้ว่าเป็นโรคจิตเภทเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนก็ยังเรียกอาการที่มีความระแวงนี้ว่า โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง เนื่องจากชื่อนี้ใช้กันอย่างมายาวนานแล้ว หากคุณมีอาการโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง อาจจะทำให้บอกเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างความจริงและความฝันได้ยากมาก ซึ่งในทางกลับกันอาการโรคจิตเภทนี้อาจส่งผลกระทบที่ใหญ่หลวงต่อการรับมือและโต้ตอบกับคนบนโลกใบนี้ได้  ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่จะพัฒนามาเป็นความระแวงได้ทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม โรคหวาดระแวงนี้ก็เป็นอาการทางจิตที่สำคัญโรคหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องทราบเกี่ยวกับอาการโรคจิตเภทนี้ไว้ตั้งแต่เนิ่น เพื่อให้คุณได้รับการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณได้เร็วขึ้น อ่านเพิ่มเติมเพื่อเรียนรู้อาการโรคจิตเภทแบบหวาดระแวงได้ที่นี่

ประเภทอาการของโรคหวาดระแวง

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของการทางจิตเภทที่สามารถพัฒนากลายเป็นโรคหวาดระแวงได้ทุกเวลา แต่ไม่ใช่กับผู้ป่วยโรคจิตเภททุกคนที่จะพบอาการเหล่านี้ ซึ่งอาจมีอาการอื่น ดังนี้:
  • โรคจิตหลงผิด
  • โรคประสาทหลอน
  • พูดไม่ได้ศัพท์หรือไม่รู้เรื่อง
  • พฤติกรรมที่แปลกไปจากเดิม
  • อาการทางจิตด้านลบ
  • การคิดจะฆ่าตัวตาย

โรคจิตหลงผิด

โรคจิตหลงผิด เป็นอาการที่เชื่อในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือผิดเพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งมีอาการหลงผิดอยู่หลายประเภท ซึ่งมีดังต่อไปนี้:
  • อาการหลงผิดที่คิดว่ามีคนมาควบคุม: คุณอาจคิดว่าคุณถูกควบคุมโดยกองกำลังจากภายนอกเช่น รัฐบาล หรือ มนุษย์ต่างดาว
  • อาการหลงผิดที่คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่: คุณอาจมีอาการที่คิดว่าตนเองมีความสามารถที่เกินตัว มีความร่ำรวย หรือคิดว่าตนเองสำคัญกว่าใคร
  • อาการหลงผิดที่คิดว่าตนเองถูกกลั่นแกล้ง: อาการนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเอง หรือมาแกล้งตนเอง
  • อาการหลงผิดที่เกิดจากการอ้างอิงที่ผิดปกติ: อาการที่เชื่อว่าเหตุการณ์ วัตถุ หรือบุคลลอื่นมาหาเพื่อตนเองโดยเฉพาะอย่างผิดปกติ
การสำรวจพบว่าประมาณ 90 เปอร์เซนต์ของผู้ป่วยโรคจิตเวทที่พบว่ามีอาการโรคจิตหลงผิดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่จะพบอาการโรคจิตหลงผิดได้

โรคประสาทหลอน

โรคประสาทหลอนเกิดจากความผิดปกติของการรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งคิดว่ามันเป็นจริง ทั้งที่ไม่มีอะไรเลย การได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินนั้ เป็นอาการประสาทหลอนที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง ซึ่งเสียงนั้นอาจเป็นเสียงของคนที่ผู้ป่วยรู้จักดีก็ได้ ซึ่งอาการจะแย่ลงได้ หากผู้ป่วยได้แยกตัวจากคนอื่นออกมา อาการพูดไม่ได้ศัพท์ หากคุณมีอาการโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง ซึ่งอาจมีอาการพูดไม่ได้ศัพท์ ซึ่งคุณอาจพูดวกไปวนมาหรืออาจเปลี่ยนเรื่องที่พูดไปโดยเฉียบพลัน ซึ่งอาจเป็นคำพูดที่คิดขึ้นมาเอง ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทแบบหวาดระแวงใช้สมาธิได้ลำบากมาก อาการพูดไม่ได้ศัพท์ในอาการโรคจิตเภทนี้ไม่เหมือนกับอาการความบกพร่องในการพูดเลย ซึ่งเป็นคนละอาการกัน พฤติกรรมที่แปลกไปจากเดิม พฤติกรรมที่แปลกไปจากเดิมนั้น หมายถึงอาการที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่แปลกไปจากปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาต่อไปนี้:
  • การใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป
  • การควบคุมการกระตุ้นให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว
  • การตรวจและควบคุมอารมณ์
  • มีพฤติกรรมที่แปลกไปจากเดิม
อาการนี้สามารถส่งผลกระทบไปยังที่ทำงาน สังคม และที่บ้านของคุณได้

อาการทางจิตด้านลบ

อาการทางจิตด้านลบ คือ อาการที่ขาดอารมณ์หรือพฤติกรรมที่คนทั่วไปที่ไม่ได้มีอาการจิตเภทควรจะมีในด้านความรู้สึก ซึ่งอาการทางจิตด้านลบ มีดังต่อไปนี้:
  • ภาวะสิ้นยินดี หรือการขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆที่ทำเป็นประจำ
  • ไม่มีอารมณ์ร่วมกับคนอื่น
  • การแสดงอารมณ์หรือท่าทางที่แข็งทื่อ
  • ไม่มีความสนใจกับสิ่งใดบนโลกใบนี้

การคิดจะฆ่าตัวตาย

การคิดจะฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมที่แสดงออก ซึ่งเป็นอาการทางจิตเภทอีกอย่างหนึ่ง และมีอาการที่ร้ายแรงได้ หากไม่ได้รับการรักษา หากคุณหรือใครก็ตามที่มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย สามารถโทรหาแพทย์ฉุกเฉินได้ เพื่อให้ติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชที่สามารถช่วยได้ในเรื่องนี้

สาเหตุที่เสี่ยงที่เป็นโรคหวาดระแวง

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคจิตเภทแบบหวาดระแวงจนทำให้เกิดอาการจิตตกนั้น ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีการพบว่า โรคจิตเภทนั้นสามารถเป็นกรรมพันธ์จากคนในครอบครัวได้ ซึ่งเป็นไปได้ว่ามาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคจิตเภทนั้นไม่ได้มาจากพันธุกรรมเสมอไปและไม่ใช่ผู้ป่วยโรคจิตเภททุกคนจะสามารถเป็นโรคจิตเภทแบบหวาดระแวงได้  ความเสี่ยงอื่นนั้นก็สามารถทำให้เป็นโรคจิตเภทได้ รวมถึงความเสี่ยงต่อไปนี้:
  • ความผิดปกติทางสมอง
  • การถูกทำร้ายในวัยเด็ก
  • ระดับออกซิเจนต่ำแต่กำเนิด
  • ถูกพรากไปจากพ่อแม่ตั้งแต่ยังเด็ก
  • การได้รับไวรัสตั้งแต่ช่วงที่เป็นทารก

การวินิจฉัยโรคหวาดระแวง

การวินิจฉัยโรคจิตเภทแบบหวาดระแวงนั้น จำเป็นต้องใช้การตรวจสอบและการประเมินอาการ ซึ่งแพทย์อาจถามเกี่ยวกับเรื่องดังนี้:
  • การทำงานของเลือดและผลจากการใช้ยาอื่นๆ
  • ประวัติการใช้ยา
  • ผลการสร้างภาพของประสาท
  • ผลการตรวจร่างกาย
และแพทย์อาจประเมินอาการทางจิตเวชของคุณด้วย คุณอาจได้รับการวินิจฉัยอาการทางจิตเภทแบบความระแวงที่มีอาการที่เห็นได้ชัดอยู่ 2-3 อาการในเดือนที่แล้ว ซึ่งอาการเหล่านี้จะต้องมีความรุนแรงมากที่จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณได้Paranoid Schizophrenia1

การรักษาโรคหวาดระแวง

การรักษาโรคหวาดระแวงในระยะยาว ซึ่งจะประสบความสำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับการนำมาผสมผสานในการรักษา ซึ่งรวมถึงยาต่างๆที่ใช้ในการบำบัดทางจิตด้วย บางกรณีที่มีอาการรุนแรงนั้นอาจมาจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยสำหรับตัวคุณหรือคนอื่นด้วย การรักษาตัวที่โรงพยาบาลอาจจะเป็นทางที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง

การใช้ยา

การรักษาโดยการใช้ยา เรียกว่า ยาต้านอาการทางจิต ซึ่งช่วยรักษาอาการที่ร้ายแรงให้บรรเทาลงได้ เช่นโรคจิตหลงผิด และโรคประสาทหลอน ยาเหล่านี้ทำงานโดยการควบคุมสารโดพามีนในสมอง ซึ่งอาจรวมถึง:
  • ยาโคลโปรมาซิน (Thorazine)
  • ยาฟลูฟีนาซิน (Modectate)
  • ยาฮาโลพีริโดล (Haldol)
  • ยาเปอฟีนาซิน (Trilafon)
แพทย์อาจแนะนำยาตัวใหม่ที่มีผลข้างเคียงน้อยลง ซึ่งอาจใช้เวลาในการยาต้านอาการทางจิตและปริมาณที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ คุณอาจมีอาการทางจิตเภทที่ลดลง แต่ผู้ป่วยโรคจิตเภทบางคนนั้นได้รับผลการรักษาที่ดีขึ้นได้ภายใน 3 ถึง 6 สัปดาห์ และผู้ป่วยโรคจิตเภทบางคนนั้นใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลา 12 สัปดาห์จึงจะดีขึ้น ยาต้านอาการทางจิตบางชนิดอาจทำให้อาการทางจิตของคุณเพิ่มขึ้นเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียเกี่ยวกับยาต้านอาการทางจิต และอาจมีความเสี่ยงด้านผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น: บางครั้งแพทย์ก็อาจให้คำแนะนำในการใช้ยาตัวอื่นเพื่อรักษาอาการทางจิตอาการอื่นด้วย ซึ่งยาเหล่านี้รวมถึงยายาต้านกังวลหรือยาแก้โรคซึมเศร้าด้วย

การบำบัดทางจิต

การรักษาโดยการบำบัดซึ่งรวมไปถึงการบำบัดอาการทางจิตด้วย การทำบำบัดแบบกลุ่มนั้นมีประโยชน์มาก เพราะทำให้คุณรู้ถึงคนที่มีอาการทางจิตแบบเดียวกันกับคุณ ซึ่งสร้างความรู้สึกร่วมกันในการพบปะคนที่มีอาการโรคจิตเภทเหมือนกัน ซึ่งสามารถรักษาอาการทางจิตไปด้วยกันได้ การบำบัดอาการทางจิตสามารถช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติได้ ซึ่งการรักษานี้จะผสมผสานกับการบำบัดทางการพูดถึงกลยุทธ์ทางสังคมที่ทำให้คุณทำงานได้หลายแบบ ซึ่งในระหว่างการบำบัด คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสติของตนเองและการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งรวมถึงสัญญาณเตือนที่คุณต้องพบแพทย์หรือปรึกษากับคนที่คุณไว้ใจได้

การพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

เมื่อพบอาการโรคจิตเภทแบบหวาดระแวงตั้งแต่เนิ่นนั้น ซึ่งอาจประสบความสำเร็จในการรักษาโดยการใช้ยาและการบำบัดอาการทางจิตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณอยู่ในภาวะเสี่ยงที่มีอาการโรคจิตเภทแบบรุนแรง จำเป็นต้องทำการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล การพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้นสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถจัดการเรื่องของตนเองในเบื้องต้นได้ เช่นเสื้อผ้า อาหาร และที่พักอาศัย เป็นต้น

การอยู่กับโรคหวาดระแวง

ผู้ป่วยโรคหวาดระแวงอาจมีอาการการหลงผิดและภาพหลอน  สับสน และไม่สงบได้ คุณจึงอาจพบว่าเป็นการยากที่จะบอกให้ใครรู้ว่าคุณกำลังประสบกับอะไร อาจเป็นเรื่องท้าทายเมื่อคุณถูกทิ้งให้รู้สึกกลัว อยู่คนเดียว และไม่สามารถไว้วางใจผู้อื่นได้ หากคุณรู้สึกไม่ปลอดภัย การสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ รักษางาน หรือมีส่วนร่วมในงานประจำวันอาจเป็นเรื่องท้าทาย การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอาจรู้สึกว่าเป็นการคุกคามและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมอาจรู้สึกเสี่ยง ซึ่งอาจทำให้ผู้คนกลายเป็นคนสันโดษและพยายามรู้สึกปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคจิตเภท แบ่งปันว่าหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการขอความช่วยเหลือสำหรับผู้ที่มีอาการหวาดระแวงและโรคจิตเภทคือการขาดความตระหนักหรือความเข้าใจในสภาวะของพวกเขา เมื่อมีอาการมากขึ้น คนที่มีอาการหวาดระแวงอาจรู้ตัวว่าป่วยและขอความช่วยเหลือ ในกรณีนี้ สมาชิกในครอบครัวหรือบริการสนับสนุนอาจจำเป็นเพื่อช่วยในการรักษา 

สถิติผู้ป่วยโรคหวาดระแวงในประเทศไทย

สถิตินี้มาจาก กรมสุขภาพจิต ในปี 2530 ซึ่งเป็นการวิจัยโรคจิตเภทแบบหวาดระแวงของผู้ต้องขังที่เรือนจำกลางจังหวัดนครปฐมทุกประเภทคดี ตัวอย่างในการวิจัยนี้เป็นผู้ต้องขังชาย จำนวน 50 ราย ซึ่งได้ตอบแบบสอบถามสุขภาพจิต พบว่ามีผู้ต้องชายที่ป่วยเป็นโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง ถึงร้อยละ 60 ของผู้ต้องขังทั้งหมด

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.psycom.net/paranoid-schizophrenia
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/schizophrenia/symptoms-causes/syc-20354443
  • https://www.nhs.uk/conditions/schizophrenia/symptoms/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด