หวาดระแวง (Paranoia) คือกระบวนการคิดที่ทำให้เกิดความสงสัยหรือไม่ไว้ใจผู้อื่นแบบไม่มีเหตุผล ผู้ที่มีความหวาดระแวงอาจรู้สึกว่าถูกข่มเหงหรือรู้สึกว่าถูกคุกคามจากการถูกทำร้ายร่างกายแม้ว่าจะไม่ได้ตกอยู่ในอันตรายก็ตาม บางครั้งอาการหวาดระแวงสามารถพบได้ในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม โรคหวาดระแวงเป็นอาการของความผิดปกติทางจิต
อาการของหวาดระแวง
ทุกคนสามารถมีอาการหวาดระแวงได้ อาการหวาดระแวงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก ซึ่งจะมีความรุนแรงของอาการแตกต่างกันไป และอาจมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เช่น :- ความเครียดหรือความวิตกกังวลต่อผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง
- มีอาการไม่ไว้วางใจผู้อื่น
- เชื่อคนยากหรือเข้าใจผู้อื่นผิด
- รู้สึกว่าตกเป็นเหยื่อหรือถูกคุกคาม ถึงแม้ว่าจะไม่มีการคุกคามก็ตาม
- สันโดษ
สาเหตุการเกิดของหวาดระแวง
อาการหวาดระแวงมักเกิดจากความผิดปกติด้านบุคลิกภาพหรืออาการเจ็บป่วยทางจิต เช่น โรคจิตเภท ผู้ที่ใช้ยา หรือใช้ยาในทางที่ผิด ยังไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดว่าสาเหตุของโรคคืออะไร อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยรวมกัน เช่น :- พันธุกรรม
- ความเครียด
- สารเคมีในสมอง
- อาการไบโพล่าร์
- อาการวิตกกังวล
- โรคซึมเศร้า
วิธีรักษาหวาดระแวง
การรักษาจึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ รวมไปถึงการใช้ยาและการบำบัดทางจิตด้วย การบำบัดทางจิตมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีอาการหวาดระแวง :- ยอมรับความอ่อนแอ
- เพิ่มความนับถือตัวเอง
- เพิ่มความไว้ใจผู้อื่น
- เรียนรู้ที่จะแสดงออกและจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
ภาพรวมของอาการหวาดระแวง
สำหรับผู้ที่มีอาการหวาดระแวงควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยทัยที เพื่อเข้ารับการบำบัดและใช้ยาที่ได้ผล ผู้ที่มีอาการหวาดระแวงมักไม่เชื่อใจผู้อื่นและคิดว่าความคิดหวาดระแวงนั้นเป็นเรื่องจริง ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก ถ้าคนใกล้ชิดของคุณแสดงอาการหวาดระแวง ควรแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเร็วที่สุดหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น