โรคแพนิค (Panic Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคแพนิค (Panic disorder) คือ อาการที่ปรากฏเป็นภาวะตื่นตระหนก ตกใจ ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่ทราบสาเหตุ วิธีการ DSM-5 ซึ่งเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพจิตใจระบุถึงโรคแพนิคไว้ว่า เป็นอาการของความตื่นตระหนก หวาดกลัว และรู้สึกไม่สบายตัวในช่วงเวลาอันสั้น ผู้ป่วยแพนิคอยู่ในห้วงของความหวาดระแวงว่าจะมีอาการแพนิคกำเริบอีก ทุกคนสามารถมีอาการแพนิค หากผู้ป่วยรู้สึกหวาดกลัวอย่างฉับพลันและไม่สามารถหาเหตุผลได้ อาจจะทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่อิ่มหรือติดขัด และเหงื่อออกมาก ผู้คนโดยส่วนมากจะมีอาการแพนิคอย่างน้อย 1 – 2 ครั้ง ในชีวิต โรคแพนิคนั้นมีสาเหตุมาจากการมีประสบการณ์ที่ทำให้เสียขวัญอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าจะถูกทำให้เสียขวัญอีกจนกลายเป็นอาการหวาดกลัว แม้ว่าอาการผิดปกตินี้จะน่ากลัวและรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามสามารถเยียวยารักษาได้ โดยการหาวิธีรักษาอาการแพนิคนั้นจะช่วยปรับปรุงให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อาการของโรคแพนิค

อาการของโรคแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ (อายุน้อยกว่า 25 ปี) หากผู้ป่วยเกิดอาการแพนิคมากกว่า 4 ครั้ง หรือผู้ป่วยเคยอยู่ในภาวะหวาดกลัวหลังจากถูกทำให้เสียขวัญครั้งหนึ่ง นั่นบอกว่าอาจจะเป็นโรคแพนิค อาการแพนิคจะเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว โดยไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ อาการแพนิคแต่ละครั้งจะเกิดในช่วงเวลา 10-20 นาที หรือในกรณีที่เลวร้ายอาจจะยาวนานเกินกว่าชั่วโมง โดยอาการแพนิคของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป อาการแพนิคโดยทั่วไปมีดังนี้:
  • หัวใจเต้นแรง 
  • หายใจไม่อิ่ม
  • มีอาการช็อค
  • สับสนทางอารมณ์
  • วิงเวียนศีรษะ คล้ายเป็นลม
  • คลื่นไส้
  • เหงื่อออกหรือหนาวสั่น
  • ตัวสั่น
  • อารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือรู้สึกถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
  • ชาหรือซ่าที่มือเท้า
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • อาการเป็นลม
  • มีความกลัวว่าจะเสียชีวิต
อาการแพนิคยังไม่ปรากฏสาเหตุที่แน่ชัด โดยทั่วไปอาการแพนิคนั้นไม่สัมพันธ์กับระดับความอันตรายรอบตัวผู้ป่วย ดังนั้นการเกิดแพนิคจะไม่สามารถคาดเดาได้และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ความหวาดกลัวต่ออาการแพนิคที่เคยเกิดขึ้นไปแล้วว่าจะเกิดอาการแพนิคอีกหรือไม่ ส่งผลให้อาการแพนิคเกิดขึ้นได้

สาเหตุโรคแพนิคเกิดจาก

สาเหตุของโรคแพนิคนั้นยังไม่ชัดเจน มีงานวิจัยได้กล่าวถึง อาการแพนิคไว้ว่าอาจจะเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาการแพนิคยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น การออกจากมหาวิทยาลัย การแต่งงงาน หรือมีลูกคนแรก ทั้งหมดนี้สามารถทำให้เกิดความเครียด และนำไปสู่อาการแพนิคได้

การวินิจฉัยโรคแพนิค

หากผู้ป่วยเคยมีประสบการณ์การเป็นแพนิค ผู้ป่วยสามารถติดต่อพบแพทย์ได้ ผู้คนโดยส่วนใหญ่มักจะมีประสบการณ์แพนิคสำหรับครั้งแรกที่รู้สึกว่าตนเองหัวใจจะวาย ในขณะที่แผนกฉุกเฉินที่ให้บริการผู้ป่วยจะทำการทดสอบหลายอย่างเพื่อดูว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากหัวใจวายหรือไม่ พวกเขาอาจทำการทดสอบเลือด เพื่อคัดกรองสาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคล้าบกับอาการหัวใจวาย ทำการทดสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อตรวจสอบการทำงานของหัวใจ และเมื่อไม่ได้อยู่ในสภาวะฉุกเฉินแล้วจะนำส่งตัวผู้ป่วยไปยังแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสุขภาพจิตและสอบถามเกี่ยวกับอาการและความผิดปกติอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยอาการแพนิค

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นแพนิค

แม้ว่าสาเหตุของการเกิดแพนิคจะยังไม่ชัดเจน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้สามารถบ่งชี้ว่าสำหรับบางคนสามารถพัฒนาไปสู่อาการผิดปกตินี้ได้ และพบว่าอาการแพนิคพบได้เป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับเพศชาย หรือโรคความกลัวต่าง ๆ เช่นโรคกลัวที่แคบ  เมื่อผู้ป่วยต้องไปอยู่ในที่แคบมาก ๆ จะส่งผลให้เกิดอาการแพนิคกำเริบ และเกิดความตื่นตระหนกได้อย่างมาก

วิธีรักษาโรคแพนิค

การรักษาโรคแพนิคนั้น มุ่งเน้นไปที่การลดหรือกำจัดอาการของผู้ป่วย โดยสามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้กรณีที่ได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  อีกวิธีการรักษาคือการปรับเปลี่ยนการรับรู้และพฤติกรรมของผู้ป่วย (Cognitive-behavioral therapy CBT) การรักษาด้วยวิธีนี้จะสอนให้ผู้ป่วยเปลี่ยนมุมมองความคิดและสามารถจัดการกับอาการแพนิคที่เกิดขึ้นได้ การใช้ยารักษาโรคแพนิคนั้นจะประกอบไปด้วยการใช้เซโรโทนิน (Selective serotonin reuptake inhibitors SSRIs) กลุ่มยากล่อมประสาท SSRIs นี้ประกอบไปด้วย
  • ฟลูอ็อกซีทีน (Fluoxetine)
  • พาโรออกซีทีน(Paroxetine)
  • เซอร์ทรารีน(Sertraline)
วิธีการรักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ มีดังนี้
  • เซโรโทนิน Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) ซึ่งเป็นยาแก้โรคซึมเศร้าประเภทหนึ่ง
  • ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • เบนโซไดอะซีไพน์ Benzodiazepines เป็นยากล่อมประสาท รวมถึง ไดอะซีแพม diazepam หรือ โคลนาซีแพม Clonazepam
  • โมโนอะมีน อ็อกซิเดส Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), antidepressant มีฤทธิ์รุนแรง แต่แพทย์จะหลีกเลี่ยงการให้ยานี้
สำหรับวิธีการรักษาเพิ่มเติมที่ผู้ป่วยสามารถทำเองที่บ้านได้มีดังนี้:
  • ดำเนินกิจกรรมชีวิตประจำวันตามปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน
  • ฝีกลมหายใจและฝึกการคิดเชิงบวก จะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถแก้อาการหายใจติดขัดเมื่ออาการแพนิคกำเริบและหายใจไม่ทันได้

การป้องกันโรคแพนิค

เป็นไปได้ยากที่จะทำการป้องกันโรคแพนิค อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถลดอาการแพนิคได้ด้วยการหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และยาเสพติด สิ่งเหล่านี้จะช่วยผู้ป่วยได้นั่นคือการสังเกตุว่า ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวลหลังจากพบเหตุการณ์อะไรในชีวิต หากคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงจากการเกิดโรคแพนิค ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำและรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภาพรวมของโรคแพนิค

โรคแพนิคมักจะเป็นอาการเรื้อรัง ดังนั้นจึงยากที่จะทำการรักษา ในผู้ป่วยบางรายไม่ตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งจะมีช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการแพนิคและไม่เป็นแพนิค แต่ทั้งนี้อาการแพนิคจะสามารถบรรเทาได้ด้วยการเข้ารับการรักษา

เมื่อมีอาการแพนิคควรทำอย่างไร

ศาสตราจารย์ Paul Salkovskis ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาคลินิกและวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัยบาธ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องไม่ปล่อยให้ความกลัวตื่นตระหนกควบคุมคุณ อาการตื่นตระหนกมักจะผ่านไป และอาการเหล่านี้ไม่ใช่สัญญาณบ่งชี้ถึงสิ่งที่เป็นอันตราย เขากล่าว “บอกตัวเองว่าอาการที่คุณประสบอยู่นั้นเกิดจากความวิตกกังวล  เขาบอกว่าอย่ามองหาสิ่งรบกวน “หลีกเลี่ยงการโจมตี พยายามทำสิ่งต่างๆ ต่อไป ถ้าเป็นไปได้ สิ่งสำคัญคือต้องพยายามอยู่ในสถานการณ์จนกว่าความวิตกกังวลจะสงบลง” “เผชิญหน้ากับความกลัวของคุณ หากคุณไม่วิ่งหนีจากมัน คุณกำลังให้โอกาสตัวเองได้ค้นพบว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น” เมื่อความวิตกกังวลเริ่มหายไป ให้เริ่มสนใจสิ่งรอบตัวและทำสิ่งที่คุณเคยทำก่อนหน้านี้ต่อไป หากคุณมีอาการตื่นตระหนกกะทันหัน การมีคนอยู่ด้วยจะเป็นประโยชน์ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าอาการจะหายไปและอาการต่างๆ ไม่มีอะไรต้องกังวล 

การฝึกหายใจเมื่อมีอาการแพนิค

หากคุณหายใจเร็วระหว่างที่มีอาการตื่นตระหนก การฝึกหายใจสามารถบรรเทาอาการอื่นๆ ของคุณได้ ลองสิ่งนี้:
  • หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ และเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ทางจมูก
  • หายใจออกช้า ๆ ลึก ๆ และเบา ๆ ทางปากของคุณ
  • บางคนพบว่าการนับเลข 1 ถึง 5 อย่างต่อเนื่องนั้นมีประโยชน์ในการหายใจเข้าและหายใจออกแต่ละครั้ง
  • หลับตาและจดจ่ออยู่กับการหายใจ
คุณควรเริ่มรู้สึกดีขึ้นในไม่กี่นาที คุณอาจรู้สึกเหนื่อยในภายหลัง

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งที่มาข้อมูลของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/panic-attacks/symptoms-causes/syc-20376021
  • https://www.nhs.uk/conditions/panic-disorder
  • https://adaa.org/understanding-anxiety/panic-disorder
  • https://www.nimh.nih.gov/health/publications/panic-disorder-when-fear-overwhelms/index.shtml
  • https://medlineplus.gov/panicdisorder.html
  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/4451-panic-disorder
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด