มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) คือการเกิดมะเร็งขึ้นในเนื้อเยื่อของตับอ่อน ที่เป็นอวัยวะสำคัญของต่อมไร้ท่อ อยู่บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร ตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ร่างกายต้องการในการย่อยไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน
ตับอ่อนยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ใช้ในการเผาผลาญกลูโคส อินซูลินช่วยให้เซลล์เผาผลาญน้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน กลูคากอนช่วยเพิ่มระดับของน้ำตามเมื่ออยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป
ตำแหน่งของตับอ่อนทำให้การตรวจหามะเร็งตับอ่อนเป็นเรื่องยาก โดยส่วนมากมักพบเมื่อมีการลุกลามแล้ว
อาการของมะเร็งตับอ่อน
มะเร็งตับอ่อนมักจะไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าจะมีการลุกลาม ทำให้ไม่มีสัญญาณใดๆบ่งบอกถึงอาการเริ่มต้นของมะเร็งตับอ่อนได้ เมื่อมะเร็งโตแล้ว อาการที่พบอาจเป็นเพียงเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น :- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
- ปวดท้องหรือปวดหลังส่วนล่าง
- มีลิ่มเลือด
- เป็นดีซ่าน
- โรคซึมเศร้า
สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับอ่อน
ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดมะเร็งตับอ่อน เป็นการเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในตับอ่อนจนก่อตัวเป็นเนื้องอก เมื่อคุณเป็นโรคมะเร็ง ร่างกายจะผลิตเซลล์ที่มีความผิดปกติมากขึ้นเพื่อเข้าแทนที่เซลล์ที่มีสุขภาพดี แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดเซลล์ที่ผิดปกติ แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้ ปัจจัยที่เสี่ยงที่สุดคือการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ยีนจะควบคุมการทำงายของเซลล์ทำให้การกลายพันธุ์ของยีนอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้อัตราการรอดชีวิตของผู้ที่เป็นมะเร็งตับอ่อน
อัตราการรอดชีวิตไม่ได้เป็นตัวระบุว่าจะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหนหลังจากการรักษา แต่เป็นการบ่งบอกว่ามีการประสบความสำเร็จในการรักษามากแค่ไหน อัตราการรอดชีวิตส่วนใหญ่ มักจะได้รับเป็นเปอร์เซนต์ 5 ปี หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับตัวเลขเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์โดยตรง อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี สำหรับโรคมะเร็งตับอ่อนคิดเป็น 34% แบ่งด้วยกันเป็น 3 ระยะ อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปี ของมะเร็งตับอ่อนที่แพร่กระจายไปยังบริเวณรอบๆหรือต่อมน้ำเหลืองคือ 12% ซึ่งอยู่ในระยะ 2B และ 3 มะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้ายคือระยะที่ 4 จะมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆเช่น ปอด ตับ หรือกระดูก และมีอัตราการรอดชีวิตเพียง 3%ระยะของมะเร็งตับอ่อน
เมื่อมีการตรวจพบมะเร็งตับอ่อน แพทย์อาจทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อดูว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่ โดยจะใช้การสแกนแบบ PET ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถระบุระยะของมะเร็งได้ หรืออาจจะใช้การตรวจเลือดเป็นต้น ด้วยการทดสอบเหล่านี้ จะทำให้แพทย์สามารถทราบถึงระยะของมะเร็ง และช่วยให้ทราบถึงการเจริญเติบโตของมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดวิธีการรักษาได้อีกด้วย เมื่อแพทย์ทำการวินิจฉัยแลเว จะแบ่งระยะเป็นดังนี้ :- ระยะที่ 1 : มีเนื้องอกอยู่ในตับอ่อนเท่านั้น
- ระยะที่ 2 : มีเนื้องอกแพรกระจายไปยังช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้เคียง
- ระยะที่ 3: มะเร็งแพร่กระจายไปยังเส้นเลือดใหญ่และต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 4 : มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ
มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 4
มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 4 จะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆที่ไกลออกไป เช่น สมองหรือกระดูก มะเร็งตับอ่อนมักจะพบมนระยะสุดท้าย เนื่องจากไม่ค่อยแสดงอาการใดๆ จนกว่าจะเกิดการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ อาการที่พบได้ในระยะนี้คือ :- ปวดในช่องท้องส่วนบน
- ปวดหลัง
- มีความเหนื่อยล้า
- ดีซ่าน
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- ภาวะซึมเศร้า
- เคมีบำบัด
- การรักษาอาการปวดแบบประคัยประคอง
- ผ่าตัดบายพาสท่อน้ำดี
- ใส่ขดลวดในท่อน้ำดี
- ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร
มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 3
มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 3 เป็นเนื้องอกในตับอ่อนและอาจลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองหรือหลอดเลือด มะเร็งตับอ่อนในระยะนี้จะลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น มะเร็วตับอ่อนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งเงียบ เพราะจะไม่สามารถวินิจฉัยได้ขนกว่าจะมีการลุกลาม มะเร็งตับอ่อนในระยะที่ 3 อาจมีอาการดังนี้ :- ปวดหลัง
- ปวดท้องส่วนบน
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- เหนื่อยล้า
- ภาวะซึมเศร้า
- ผ่าตัดเอาตับอ่อนออกด้วยวิธีการ Whipple
- ใช้ยาต้านมะเร็ง
- การฉายรังสี
มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 2
มะเร็งตับอ่อนระยะที่ 2 เป็นมะเร็งที่ยังคงอยู่ในตับอ่อน อาจมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆ แต่ยังไม่กระจายไปยังหลอดเลือดและส่วนอื่นๆของร่างกาย มะเร็งตับอ่อนในระยะนี้สามารถตรวจพบได้ยาก เพราะว่ายังไม่มีอาการที่บ่งชี้ชัดเจน แต่อาการที่สามารถพบได้มีดังนี้ :- ดีซ่าน
- ปัสสาวะมีการเปลี่ยนสี
- ปวดท้องส่วนบน
- น้ำหนักลด
- เบื่ออาหาร
- มีอาการเหนื่อยล้า
- การผ่าตัด
- ฉายรังสี
- เคมีบำบัด
- ใช้ยาต้านมะเร็ง
วิธีการรักษามะเร็งตับอ่อน
การรักษามะเร็งตับอ่อนขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง โดยมีเป้าหมายคือการฆ่าเซลล์มะเร็งและป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็ง อาการน้ำหนักลด ลำไส้อุดตัน ปวดท้องและตับวาย เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดของโรคมะเร็งตับอ่อน
การผ่าตัด
การผ่าตัดมะเร็งตับอ่อนจะใช้เกณฑ์การตัดสินใจสองอย่างคือ ตำแหน่งและระยะของมะเร็ง การผ่าตัดสามารถเอาตับอ่อนออกเพียงบางส่วนหรือออกทั้งหมดก็ได้ วิธีนี้สามารถกำจัดเนื้องอกที่เป็นสาเหตุได้ แต่ไม่สามารถนำเอาส่วนที่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นออกจากร่างกายได้ การผ่าตัดจะไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นมะเร็งในระยะลุกลามแล้วการฉายรังสี
การฉายรังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง เป็นวิธีที่มักจะเลือกใช้เมื่อมะเร็งลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆในร่างกายแล้วการทำเคมีบำบัด
ในบางครั้ง แพทย์อาจทำการรักษาอื่นๆควบคู่ไปกับการทำเคมีบำบัด เพื่อช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งยากำหนดเป้าหมายในการรักษา
การรักษามะเร็งตับอ่อนด้วยการใช้ยา เป็นการรักษาเพื่อทำลายเซลล์ที่มีความผิดปกติ ยาที่ใช้ในการรักษาถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้ทำลายเซลล์ที่ยังปกติเคล็ดลับอาหารมะเร็งตับอ่อน
เป็นเรื่องปกติที่หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนและเริ่มการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการน้ำหนักลดลง การลดน้ำหนักมากเกินไปและโภชนาการที่ไม่ดีอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อและทนต่อการรักษาได้ เพื่อช่วยรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง:- ชั่งน้ำหนักตัวเองทุกสัปดาห์
- ปรึกษานักโภชนาการสำหรับอาหาร
- หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักมากเกินไป และขอความช่วยเหลือจากทีมดูแลของคุณแต่เนิ่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโภชนาการ
- รักษาความชุ่มชื้น ดื่มน้ำให้เพียงพอระหว่างการรักษามะเร็งเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกอิ่มในเวลารับประทานอาหาร ให้ดื่มน้ำ 1 ชั่วโมงก่อนหรือหลังอาหาร
- เลือกเครื่องดื่มที่มีแคลอรีและสารอาหาร
- หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดน้ำ
- รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และบ่อยครั้ง การทานอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ จะทำให้ร่างกายของคุณมีสารอาหารเพียงพอที่จะทนต่อการรักษาได้ อาหารมื้อเล็กๆ มักจะทนได้ดีกว่าเมื่อมีผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น คลื่นไส้และเบื่ออาหาร ลองตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อรับประทานอาหาร 5-6 มื้อต่อวันทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
- อาหารโปรตีนสูงทุกมื้อ อาหารที่อุดมด้วยโปรตีนช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายและช่วยระบบภูมิคุ้มกันในการฟื้นตัวจากการเจ็บป่วย โปรตีนไม่ติดมันย่อยง่ายและควรรวมอยู่ในมื้ออาหารและของว่างแต่ละมื้อ
- เลือกอาหารที่ย่อยง่าย ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งตับอ่อนอาจส่งผลต่อการย่อยอาหาร อาหารที่ผ่านการสับ นิ่ม หรือต้มจะช่วยให้ร่างกายย่อยได้ง่ายขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อแดง หมู หรือผักดิบในช่วงเวลาที่การย่อยอาหารเป็นสิ่งที่ท้าทาย
- เลือกอาหารธัญพืชที่จำเป็น เมล็ดธัญพืชเป็นแหล่งพลังงานที่ดีต่อร่างกายโดยให้คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและไฟเบอร์
- ข้าวโอ๊ต
- ขนมปังโฮลเกรน
- ข้าวกล้อง
- พาสต้าโฮลเกรน
- ควินัว
- ข้าวโพด
- เลือกอาหารที่มีสีสัน ผักและผลไม้ทั้งสีเป็นอาหารที่มีสีสันและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งสามารถช่วยต่อต้านมะเร็งได้ กินผักและผลไม้อย่างน้อยห้ามื้อต่อวัน
- รวมไขมันที่ดีต่อสุขภาพ อาหารทอด อาหารมัน และไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพอาจทำให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไขมันเหล่านี้ให้พลังงาน สนับสนุนการเติบโตของเซลล์ และปกป้องอวัยวะ:
- น้ำมันมะกอก
- น้ำมันคาโนล่า
- อาโวคาโด
- เมล็ดพันธุ์
- ถั่ว
- ปลาที่มีไขมัน
- จำกัด ของหวานและน้ำตาลที่เพิ่ม ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมักมีปัญหาในการย่อยอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารเช่น โซดา เค้ก ลูกกวาดหรือของหวานสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและมักไม่ให้ประโยชน์ทางโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้และแทนที่ด้วยอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับถ่าย มะเร็งตับอ่อนและการรักษามักนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนิสัยการขับถ่าย เช่น ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด และแก๊สในกระเพาะ หากคุณพบการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการขับถ่าย โปรดแจ้งให้ทีมดูแลสุขภาพทราบ คุณอาจต้องเปลี่ยนอาหารหรือยา หรือเพิ่มเอ็นไซม์ตับอ่อนเสริมที่รับประทานพร้อมมื้ออาหาร สิ่งเหล่านี้อาจช่วยในการดูดซึมสารอาหารและวิตามินจากอาหารของคุณ
- ใช้งานอยู่เสมอ การออกกำลังกายสามารถช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและสารเอ็นโดรฟินตามธรรมชาติ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออาจสร้างความรู้สึกเป็นอยู่ที่ดีและทำให้คุณสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น เมื่อเป็นไปได้ ให้มีส่วนร่วมกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ในช่วงเวลารับประทานอาหารเพื่อให้ประสบการณ์สนุกสนานยิ่งขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pancreatic-cancer/symptoms-causes/syc-20355421
- https://www.nhs.uk/conditions/pancreatic-cancer/
- https://www.webmd.com/cancer/pancreatic-cancer/default.htm
- https://amp.cancer.org/cancer/pancreatic-cancer/detection-diagnosis-staging/signs-and-symptoms.html
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น