การติดเชื้อที่หูชั้นนอก (Outer Ear Infection)

หูชั้นนอกอักเสบคืออะไร 

หูชั้นนอกอักเสบคือการติดเชื้อที่บริเวณหูชั้นนอกและรูหูชั้นนอก ซึ่งเชื่อมต่อกับส่วนของแก้วหู เป็นการติดเชื้อที่ทางการแพทย์เรียกว่า หูชั้นนอกอักเสบ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “swimmer’s ear”      หูชั้นนอกอักเสบบ่อยครั้งมักเกิดขึ้นจากการสัมผัสกับความชื้น ซึ่งมักเกิดขึ้นในเด็ก วันรุ่นและผู้ใหญ่ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการว่ายน้ำ ภาวะหูชั้นนอกอักเสบจากการว่ายน้ำพบได้บ่อยราว 2.4 ล้านคนต่อปีในประเทศสหรัฐอเมริกา

หูชั้นนอกอักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร 

การว่ายน้ำ (หรือบางทีอาจมาจากการอาบน้ำ แช่น้ำในอ่างบ่อยๆ) สามารถทำให้เกิดหูชั้นนอกอักเสบได้ น้ำที่หลงเหลือค้างอยูาภายในช่องหูจะเป็นตัวเพาะเชื้อของแบคทีเรีย การติดเชื้อมักเกิดขึ้นหากผิวชั้นบนที่มีความบางของช่องหูได้รับการบาดเจ็บ จากการเกาอย่างรุนแรง การใช้หูฟังหรือการใช้สำลีพันก้านไม้เข้าไปปั่นในหูก็สามารถสร้างความเสียหายให้แก่ผิวในช่องหูได้ เมื่อชั้นของผิวได้รับความเสียหายและมีการอักเสบ ก็จะกลายเป็นจุดกำเนิดสำหรับเชื้อแบคทีเรีย ขี้หูคือการป้องกันการติดเชื้อตามธรรมชาติของหู แต่หากขี้หูสัมผัสความชื้นอยู่บ่อยๆและมีการเกาที่ทำให้ขี้หูหมดไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น  

หูชั้นนอกอักเสบอาการมีอะไรบ้าง

หูชั้นนอกอักเสบอาการรวมไปถึง:
  • บวม
  • แดง
  • รู้สึกร้อนผ่าว
  • ปวดหรือรู้สึกไม่สบายหู
  • มีหนอง ฝี
  • คัน
  • มีของเหลวไหลออกมา
  • หูอื้อหรือการได้ยินลดลง
อาการปวดบริเวณใบหน้า ศีรษะหรือคออย่างรุนแรงเป็นสัญญานของการติดเชื้อ อาจมีอาการไข้สูงหรือต่อมน้ำเหลืองโตรวมด้วยอาจบอกได้ว่ามีการติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น หากมีอาการปวดหูร่วมกับอาหารดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ในทันที

คนที่มีความเสี่ยงให้การเกิดภาวะหูชั้นนอกอักเสบคือใครบ้าง 

การว่ายน้ำคือปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดในการเกิดหูชั้นนอกอักเสบ โดยเฉพาะการว่ายในน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียในระดับสูง สระว่ายน้ำที่มีคลอรีนที่เหมาะสมจะมีการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียน้อยกว่า การอาบน้ำหรือการทำความสะอาดหูบ่อยๆเท่ากับเป็นการเปิดช่องทางให้หูติดเชื้อ รูหูชั้นนอกจะแคบกว่าอาจทำให้น้ำไปติดค้างอยู่ภายในได้ โดยเฉพาะรูหูของเด็กจะแคบกว่ารูหูของผู้ใหญ่ การใช้หูฟังหรือเครื่องช่วยฟังรวมถึงภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบและผิวเกิดการระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์ผมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหูชั้นนอกอักเสบ หูชั้นนอกอักเสบไม่ใช่โรคติดต่อ

การรักษาหูชั้นนอกอักเสบ

หูชั้นนอกอักเสบอาจเยียวยาตัวเองให้หายได้โดยไม่จำเป็นต้องรักษา ยาหยอดหูชนิดที่เป็นยาปฏิชีวนะคือยาที่มักใช้รักษาหูชั้นนอกอักเสบที่ไม่หายได้ด้วยตัวเอง และต้องสั่งโดยแพทย์ แพทย์จะสั่งยาหยอดหูปฏิชีวนะที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสมเพื่อลดอาการบวมในช่องรูหู ยาหยอดหูมักต้องใช้เวลาในการรักษาราว 7 ถึง 10 วัน หากเชื้อราคือสาเหตุของหูชั้นนอกอักเสบ แพทย์อาจสั่งยาหยอดหูชนิดต้านเชื้อรา การติดเชื้อชนิดนี้มักเกิดขึ้นในคนที่เป็นโรคเบาหวานหรือคนที่ระบบภูมิต้านทานลดลง เพื่อบรรเทาอาการหูชั้นนอกอักเสบ สิ่งที่สำคัญคือพยายามอย่าให้น้ำเข้าหูในขณะที่การติดเชื้อกำลังเยียวยาตัวเอง ยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่นไอบูโรเฟนหรืออะเซตามีโนเฟนสามารถนำมาใช้เพื่อลดความปวด ในรายที่เป็นรุนแรงอาจต้องใช้ยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง หูชั้นนอกอักเสบหรือ

การรักษาที่บ้านสำหรับหูชั้นนอกอักเสบ

ส่วนที่สำคัญมากที่สุดในการรักษาหูชั้นนอกอักเสบที่บ้านคือการป้องกัน พยายามรักษาให้หูแห้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เคล็ดลับอื่นๆที่ที่ควรจำไว้ให้ขึ้นใจคือ:
  • ควรใช้สำลีก้อนหรือที่อุดหูชนิดนุ่มเพื่อป้องกันน้ำเข้าหูขณะอาบน้ำ
  • ใช้หมวกว่ายน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการเกาด้านในหูแม้แต่กับการใช้สำลีก้าน
  • หลีกเลี่ยงการแคะขี้หูด้วยตนเอง
  • การใช้ยาหยอดหูร่วมกับการใช้แอลกอฮอล์และหรือน้ำส้มสายชูเช็ดถูหลังการว่ายน้ำเพื่อช่วยเช็ดน้ำส่วนเกินให้แห้ง
  • ใช้ผ้าขนหนูเช้ดหัวและหูให้แห้งหลังว่ายน้ำ
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: ชนิดของที่อุดหู

หูชั้นนอกอักเสบในเด็ก

เด็กมีแนวโน้มที่หูชั้นนอกจะอักเสบได้บ่อยโดยเฉพาะเด็กที่ใช้เวลาอยู่ในน้ำนานๆ ช่องรูหูของเด็กจะมีขนาดเล็กกว่าของผู้ใหญ่จึงเป็นเรื่องยากที่ของเหลวจะไหลออกมาจากหูของเด็กได้ ซึ่งอาจทำให้มีการติดเชื้อเพิ่ม อาการปวดหูคืออาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ของหูชั้นนอกอักเสบ เด็กหรือเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถพูดได้อาจแสดงอาการให้เห็นดังต่อไปนี้:
  • ดึงหรือขยี้ใกล้ๆหู
  • ร้องไห้เมื่อสัมผัสโดนบริเวณหู
  • มีไข้สูงในบางราย
  • มีอาการงอแง ร้องไห้บ่อยกว่าปกติหรือมีปัญหาด้านการนอน
  • มีน้ำไหลออกมาจากหู

ภาวะแทรกซ้อนและอาการฉุกเฉิน

หากหูชั้นนอกอักเสบไม่ได้รับการรักษาและไม่สามารถหายได้ด้วยตนเอง อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง อาจเกิดฝีขึ้นที่บริเวณรอบๆบริเวณด้านในหู ที่อาจหายได้เองหรืออาจจำเป็นต้องให้แพทย์ช่วยเอาออกให้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับหูดับ อ่านต่อที่นี หูชั้นนอกอักเสบระยะยาวอาจทำให้ช่องรูหูแคบลง ซึ่งส่งผลต่อการได้ยินและในรายที่เป็นรุนแรงอาจทำให้หูหนวกได้ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แก้วหูทะลุหรือเยื่อแก้วหูทะลุเป็นภาวะแทรกซ้อนของหูชั้นนอกอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการนำเอาวัตถุใส่เข้าไปในหู จะเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง จะมีอาการรวมถึงการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว มีเสียงกริ่งหรือเสียงหึ่งในหู มีตุ่มหนองและมีเลือดไหลจากในหู บางรายอาจมีอาการหูชั้นนอกอักเสบขั้นรุนแรงเกิดขึ้น แม้จะพบได้ไม่บ่อยนักก็ตามภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อแพร่กระจายเข้าไปที่กระดูกอ่อนและกระดูกที่อยู่รอบๆช่องรูหู ผู้ใหญ่ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอจะยิ่งมีความเสี่ยงมาก หากไมาได้รับการรักษาอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ต่อไปนี้คืออาการของโรคที่เป็นอาการฉุกเฉิน:
  • ปวดศีรษะและปวดหูอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน
  • มีหนองไหลออกมาจากหู
  • ใบหน้าเป็นอัมพาต (ใบหน้าตก) ข้างที่หูเกิดการอักเสบ
  • มีกระดูกเผยออกมาในช่องหู
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับแก้วหูทะลุได้ที่นี่

การวินิจฉัยหูชั้นนอกอักเสบทำอย่างไร 

แพทย์มักวินิจฉัยหูชั้นนอกอักเสบด้วยการประเมินจากอาการของคนไข้และดูเข้าไปในหูด้วยกล้องตรวจหู

ความคาดหวังและการป้องกัน

ความคาดหวังสำหรับการติดเชื้อชนิดนี้ก็คือการติดเชื้อสามารถหายได้เองหรือสามารถกำจัดได้ง่ายๆด้วยยาหยอดหู วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันหูชั้นนอกอักเสบคือการพยายามทำให้หูแห้งที่สุดเท่าที่ทำได้:
  • เมื่อไปว่ายน้ำควรใช้ที่อุดหูหรือหมวกอาบน้ำก็สามารถช่วยได้
  • หลังว่ายน้ำหรืออาบน้ำ แนะนำให้เช็ดหูให้แห้งจนทั่ว
  • เอียงศีรษะให้น้ำส่วนเกินไหลออกจากหู
  • อย่านำวัตถุเช่นไม้ก้านลำสี กิ๊บหนีบผม ปากกาหรือดินสอแหย่เข้าไปในหูเพื่อป้องกันการเสียหายและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

    ภาวะแทรกซ้อนของหูชั้นนอกอักเสบ

    การติดเชื้อที่หูชั้นนอก  อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่างหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือหากการติดเชื้อรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อที่หูชั้นนอก ได้แก่:
    • การติดเชื้อเรื้อรังหรือเกิดซ้ำ : หากการติดเชื้อที่หูชั้นนอกไม่ได้รับการรักษาอย่างเพียงพอ การติดเชื้อเหล่านั้นอาจกลายเป็นเรื้อรังหรือเกิดซ้ำ ส่งผลให้รู้สึกไม่สบายและอักเสบในช่องหูอย่างต่อเนื่อง
    • การแพร่กระจายของการติดเชื้อ : ในกรณีที่รุนแรง การติดเชื้อที่หูชั้นนอกสามารถแพร่กระจายออกไปเลยช่องหูไปยังโครงสร้างโดยรอบ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนัง หรือกระดูกของกะโหลกศีรษะ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น เช่น เซลลูไลติหรือกระดูกอักเสบ
    • แก้วหูมีรูพรุน : การอักเสบและแรงกดทับอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อที่หูชั้นนอกอาจทำให้แก้วหู (เยื่อแก้วหู) แตกหรือทะลุได้ แก้วหูที่มีรูพรุนอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน ปวดหู และเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง
    • การเกิดฝี : ในบางกรณี การติดเชื้อที่หูชั้นนอกอาจทำให้เกิดฝี ซึ่งเป็นหนองที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ ฝีอาจต้องอาศัยการระบายน้ำและการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อแก้ไข
    • หูอื้อหูอื้ออาจเกิดขึ้นจากการอักเสบและการระคายเคืองของช่องหูที่เกิดจากการติดเชื้อที่หูชั้นนอก อาการนี้อาจสร้างความรำคาญและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้
    • เส้นประสาทใบหน้าอัมพาต : การติดเชื้อที่หูชั้นนอกที่รุนแรงซึ่งพบไม่บ่อยนักอาจทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้า (เส้นประสาทสมอง VII) ส่งผลให้ใบหน้าอ่อนแอหรือเป็นอัมพาตที่ด้านข้างของใบหน้าที่ได้รับผลกระทบ ภาวะแทรกซ้อนนี้ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที
    • Malignant otitis externa : Malignant otitis externa เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ยากแต่ร้ายแรงในการติดเชื้อที่หูชั้นนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือเป็นโรคเบาหวาน โดยเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังกระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบของฐานกะโหลกศีรษะ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยยาปฏิชีวนะเชิงรุกและการผ่าตัด
    จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพบแพทย์ทันที หากคุณสงสัยว่าคุณติดเชื้อที่หูชั้นนอก หรือหากคุณมีอาการต่างๆ เช่น ปวดหู คัน มีของเหลวไหล หรือสูญเสียการได้ยิน การวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการฟื้นตัว ผู้ให้บริการด้านการแพทย์อาจสั่งยาหยอดหู ยาปฏิชีวนะในช่องปาก ยาแก้ปวด หรือการรักษาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด