ภาพรวม
หากคุณมีภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) คือการที่ร่างกายของผู้ป่วยมีความหนาแน่นและมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ ความหนาแน่นของร่างกายจะขึ้นสูงสุดตอนอายุประมาณ 35 ปี
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD) คือการตรวจความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก เพื่อหาค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นกระดูกที่มีโอกาสแตกหักง่ายจากการทำกิจกรรมตามปกติ คนที่มีภาวะมวลกระดูกบางจะมีความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่าปกติ แต่ยังไม่ถือว่าเป็นโรค
แต่อย่างไรก็ตามคนที่มีภาวะกระดูกบางนั้นมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนด้วย โรคกระดูกพรุนเป็นต้นเหตุของกระดูกที่แตกหัก หลังค่อมและยังเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรงและความสูงที่ลดหายไป
คุณสามารถป้องกันภาวะกระดูกบางได้ เพียงแค่ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง หากคุณมีภาวะกระดูกบาง ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีที่คุณจะสามารถปรับปรุงและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ภาวะโรคกระดูกพรุน
สาเหตุของภาวะกระดูกบางและปัจจัยเสี่ยง
อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุหลักของภาวะกระดูกบาง หลังจากความหนาแน่นของกระดูกขึ้นสูงถึงจุดสุดยอดแล้วนั้น ร่างกายของคนเราจะสลายเนื้อกระดูกเก่าได้รวดเร็วกว่าการเสริมสร้างกระดูกใหม่ นั้นหมายความว่าคุณกำลังสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกไป
ผู้หญิงจะเสียความหนาแน่นของกระดูกไปอย่างรวดเร็วเมื่อย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในช่วงระหว่างที่ระดับเอสโตรเจนลดน้อยลง หากการสูญเสียมีมากเกินไป มวลของกระดูกคุณอาจตกต่ำลงจนเกินกว่าจะประเมินได้
กว่าครึ่งของชาวอเมริกันที่มีอายุเกินกว่า 50 ปีจะมีภาวะกระดูกบาง ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีปัจจัยเสี่ยง และจะยิ่งเสี่ยงมากยิ่งขึ้นเพราะ:
-
เพศหญิง ผู้หญิงชาวเอเซียที่มีกระดูกเล็กและฝรั่งขาวหรือชาวเชื้อสายคอเคเซียนจะมีความเสี่ยงสูงมากที่สุด
-
ประวัติครอบครัวมีภาวะมวลกระดูกต่ำ
-
มีอายุมากกว่า 50 ปี
-
ย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
-
มีการตัดรังไข่ออกก่อนวัยหมดประจำเดือน
-
ขาดการออกกำลังกาย
-
ขาดโภชนาการที่ดี โดยเฉพาะขาดแคลเซียมและวิตามินดี
-
สูบบุหรี่หรือยาสูบรูปแบบต่างๆ
-
การดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป
-
มีการใช้ยาเพรดนิโซโลนหรือยาเฟนิโทอิน
การมีโรคประจำตัวอื่นๆก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกบางได้เช่น:
-
โรคกลัวอ้วน อะนอเร็กเซีย
-
โรคบูลิเมีย (Bulimia)
-
กลุ่มอาการคุชชิง
-
โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง
-
โรคที่เกิดจากการอักเสบต่างๆเช่น โรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส หรือโรคโครห์น (Crohn’s disease)
อาการของโรคกระดูกบาง
ภาวะกระดูกบางตามปกติแล้วนั้นไม่มีอาการใด ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก และไม่มีอาการเจ็บปวด
การวินิจฉัยภาวะกระดูกบาง
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจหาภาวะกระดูกบาง?
มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งชาติได้แนะนำให้มีการตรวจหามวลของกระดูกหากคุณเป็นผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้:
-
เพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
-
เข้าข่ายวัยหลังหมดประจำเดือนโดยมีอายุน้อยกว่า 65 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยหนึ่งอย่างหรือมากกว่า
-
อยู่ในวัยหลังหมดประจำเดือนและกระดูกแตกหักจากการทำกิจกรรมตามปกติธรรมดา เช่นการดันเก้าอี้เพื่อลุกขึ้นยืนหรือการดูดฝุ่น
แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหามวลกระดูกจากเหตุผลอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น 1 ใน 3 ของหญิงผิวขาวหรือชาวเอเซียที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปที่มีความหนาแน่นกระดูกต่ำ
การตรวจ DEXA
การตรวจ Dual energy X-ray absorptiometry หรือที่เรียกว่า DEXA หรือ DXA คือเครื่องตรวจวัดมวลกระดูกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน หรือที่เรารู้จักกันดีว่าการตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก เป็นวิธีการเอ็กซเรย์ด้วยรังสีปริมาณต่ำกว่าการเอ็กซเรย์ทั่วไป การตรวจรูปแบบนี้ไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆแก่คนไข้
เครื่องตรวจ DEXA มักนำมาใช้ตรวจหาระดับความหนาแน่นของกระดูกที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก ข้อมือ นิ้วมือ หน้าแข้งหรือส้นเท้า เครื่อง DEXA จะทำการเปรียบเทียบความหนาแน่นของกระดูกในคนที่มีอายุประมาณ 30 ปีที่มีเพศและเชื้อชาติเดียวกัน ผลที่ได้จากการตรวจ DEXA คือ ค่าทีสกอร์มาตรฐานที่แพทย์สามารถนำมาใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยได้
ค่าT-score |
การวิจฉัย |
+1.0 to –1.0 |
ความหนาแน่นกระดูกปกติ |
–1.0 to –2.5 |
ความหนาแน่นของกระดูกต่ำ หรือภาวะกระดูกบาง |
–2.5 or more |
ภาวะโรคกระดูกพรุน |
หากค่าทีสกอร์แสดงผลว่าคุณเป็นภาวะกระดูกบาง ผลรายงานจากการตรวจ DEXA จะมีค่า FRAX รวมอยู่ด้วย แต่หากว่าไม่มีแพทย์ของคุณจะสามารถคำนวณหามาให้คุณรู้ได้
เครื่องมือ FRAX เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อหาความหนาแน่นของกระดูกและสามารถคำนวณความเสี่ยงอื่นๆในอัตราค่าเฉลี่ยสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีการแตกหักของสะโพก กระดูกสันหลัง แขนท่อนล่าง หรือหัวไหล่ในอีก 10 ปีข้างหน้า
แพทย์ของคุณอาจจะใช้คะแนนจากการตรวจด้วย FRAX มาช่วยในการตัดสินใจเรื่องการดูแลรักษาภาวะกระดูกบางร่วมด้วย
การป้องกันภาวะกระดูกบาง
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกบางคือการหลีกเลี่ยงหรือหยุดพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ถ้าคุณสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนในปริมาณมาก ให้เลิกซะ-โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอายุต่ำกว่า 35 ปี ในช่วงวัยที่กระดูกยังคงสร้างตัวได้เองอยู่
หากคุณมีอายุเกิน 65 ปี แพทย์จะแนะนำให้คุณตรวจ DEXA สแกนอย่างน้อยหนึ่งครั้งเมื่อดูกระดูกที่สูญเสียไป
คนทั่วไปในทุกช่วงอายุสามารถช่วยทำให้กระดูกของตนเองมีความแข็งแรงได้ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และแน่ใจว่าได้รับปริมาณสารอาหารแคลเซียมและวิตามินอย่างพอเพียง นอกจากได้จากการรับประทานอาหารแล้วนั้นยังมีวิธีได้รับวิตามินอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือการออกไปรับแสงแดดสักเล็กน้อย ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรับแสงแดดอย่างถูกวิธีและมีความปลอดภัย
การรักษาภาวะกระดูกบาง
เป้าหมายหลักของการรักษาคือการพยายามคงที่ภาวะกระดูกบางไว้ก่อนที่ภาวะดังกล่าวจะดำเนินต่อไปสู่โรคกระดูกพรุน
ช่วงแรกของการรักษาจะดูแลในเรื่องของโภชนาการอาหารและทางเลือกในการออกกำลังกาย ความเสี่ยงในการเกิดกระดูกแตกหักเมื่ออยู่ในภาวะกระดูกบางนั่นเป็นสิ่งที่พบได้ไม่บ่อยนัก ดังนั้นตามปกติแล้วแพทย์จะยังไม่มีการสั่งจ่ายยารักษาโรคใดๆให้ผู้ป่วย จนกว่าความหนาแน่นในกระดูกของผู้ป่วยจะแสดงผลว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนมากแล้ว
ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพอาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเสริมประเภทแคลเซียมหรือวิตามินดี ถึงแม้จะพบว่าเป็นเรื่องที่ดีมากกว่าเราหากได้รับมันจากอาหารที่เราเลือกรับประทานก็ตาม
อาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง
ควรรับประทานแคลเซียมและวิตามินดี ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำและปราศจากไขมัน เช่น ชีส นม และโยเกิร์ต น้ำส้มบางชนิด ขนมปัง และซีเรียลที่เสริมแคลเซียมและวิตามินดี รวมไปถึงอาหารอื่นๆที่มีแคลเซียม เช่น:
-
ถั่วอบแห้งต่างๆ
-
บร็อคโคลี่
-
ปลาแซลมอน
-
ผักโขม
เพื่อตรวจเช็คคำนวณหาปริมาณสารอาหารสำหรับกระดูกที่เหมาะสม คุณสามารถใช้โปรแกรมคำนวณแคลเซียมจากบนหน้าเวบไซต์ของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งชาติได้ การคำนวณจะใช้มาตรวัดสัดส่วนเป็นกรัม ดังนั้นจึงควรจำไว้ว่า 30 กรัมคือประมาณ 1 ออนซ์
ปริมาณแคลเซียมที่เป็นเป้าหมายของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนคือประมาณ 1200มิลลิกรัมต่อวัน และ วิตามินดี 800 IU แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกบางยังไม่ได้รับรายงานว่าต้องรับในปริมาณเดียวกันหรือไม่แต่อย่างไร
การออกกำลังกายในผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง
หากคุณมีภาวะกระดูกบาง ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวและเป็นเพศหญิงที่อยู่ในช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน การเดิน กระโดดหรือวิ่งอย่างน้อยวันละ 30 นาทีต่อวันจะช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยมีการลงน้ำหนักที่ขาทุกรูปแบบนั่นหมายความว่าเท้าของคุณจะต้องแตะบนพื้น ในขณะที่การว่ายน้ำหรือการขี่จักรยานอาจช่วยเรื่องการทำงานของหัวใจและสร้างกล้ามเนื้อได้ด้วยโดยไม่ทำร้ายกระดูก
การเพิ่มมวลกระดูกที่แม้จะมีเพียงน้อยนิดแต่ก็พบว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดการแตกหักได้ดีในช่วงท้ายของชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคนเราเริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องยากแล้วในการสร้างกระดูก ในอายุที่เพิ่มขึ้นเราควรใช้การออกกำลังกายเพื่อเน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและสร้างการทรงตัวให้กับร่างกายแทน
การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด แต่ปัจจุบันนี้การว่ายน้ำหรือการขี่จักรยานก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน ด้วยการออกกำลังกายเหล่านี้จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ดี
ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดและมีความปลอดภัยมากที่สุด
นอกจากการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือแบบอื่นๆแล้ว อาจลองการออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงดังต่อไปนี้:
การออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน
กล้ามเนื้อต้นขาด้านในจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับสะโพก และช่วยให้ร่างกายทรงตัวได้ดีขึ้น ลองทำท่าดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์
-
ยืนหันข้างขนานกับเก้าอี้ และจับบนเก้าอี้ด้วยมือข้างหนึ่ง ยืดตัวตรง
-
วางมืออีกข้างไว้ตรงบริเวณด้านบนกระดูกเชิงกราน และยกขาขึ้นออกไปทางด้านข้าง ยืดตรง
-
ชี้ปลายเท้าไปข้างหน้า ไม่ยกสูงเกินกว่าระดับเชิงกราน
-
ลดขาลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง
-
เปลี่ยนข้าง และทำเหมือนเดิมกับขาอีกข้าง 10 ครั้ง
ยกเท้าและส้นเท้าให้สูง
การยกเท้าและส้นเท้าจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้น่องขาและช่วงในการทรงตัวให้ดีขึ้น ควรทำทุกวัน หากคุณรู้สึกเจ็บเท้าควรสวมรองเท้าสำหรับการออกกำลังนี้
-
ยืนตรงหันหน้าเข้าด้านหลังเก้าอี้ จับที่พนักเก้าอี้เบาๆด้วยมือข้างหนึ่งหรืออาจทั้งสองมือ ยืนทรงตัวให้ดี การออกกำลังนี้สามารถใช้มือข้างหนึ่งหรือนิ้วมือเพื่อช่วยในการทรงตัว
-
ยืนตัวตรง
-
วางส้นเท้าบนพื้น และยกปลายเท้าขึ้นจากพื้น ยืนตัวตรงพร้อมกับเข่าตรง
-
ยกค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นวางเท้าลง
-
ยกส้นเท้าขึ้นเขย่ง นึกภาพคุณกำลังยื่นศีรษะขึ้นบนเพดาน
-
ค้างไว้ 5 วินาที จงหยุดหากเกิดอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว
-
ค่อยๆลดส้นเท้าลงที่พื้น
-
ทำซ้ำ 10 ครั้ง
นอนคว่ำยกขา
การนอนคว่ำแล้วยกขาเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับแผ่นหลังช่วงล่างและบริเวณก้น และยังทำให้ต้นขาด้านในของคุณแข็งแรง ออกกำลังด้วยท่านี้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
-
นอนคว่ำลงบนเสื่อที่พื้นหรือที่นอนที่แข็งไม่อ่อนยวบ
-
วางหมอนไว้บริเวณใต้ท้อง เมื่อคุณยกขาขึ้นจะอยู่ตำแหน่งตรงกลางพอดี คุณอาจวางพักศีรษะไว้บนแขนหรืออาจม้วนผ้าขนหนูรองไว้ที่บริเวณหน้าผาก บางคนอาจม้วนผ้าขนหนูรองไว้ที่ไหล่ทั้งสองข้างและที่ใต้เท้าด้วย
-
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ค่อยๆกดเชิงกรานเข้ากับหมอน บีบก้นไว้.
-
ยกต้นขาขึ้นจากพื้นอย่างช้าๆ พร้อมกับยืดหัวเข่าเบาๆ ค้างไว้นับถึง 2 ปล่อยเท้าตามสบาย
-
ลดต้นขาและสะโพกลงกลับที่พื้น
-
ทำซ้ำ 10 ครั้ง
-
ทำแบบเดิมกับขาอีกข้างอีก 10 ครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง
โรคกระดูกบางเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีลักษณะความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ต่ำกว่าปกติ แต่ไม่ต่ำพอที่จะจัดเป็นโรคกระดูกบาง มักถูกมองว่าจะเป็นบ่อเกิดของโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงกว่าโดยมีลักษณะของกระดูกเปราะบางและมีแนวโน้มที่จะแตกหักได้ง่าย แม้ว่าภาวะโรคกระดูกบางมักไม่ก่อให้เกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ แต่ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักได้ในอนาคต ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนและข้อควรพิจารณาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับโรคกระดูกบาง:- ความเสี่ยงต่อการแตกหักที่เพิ่มขึ้น: โรคกระดูกบางบ่งชี้ว่าความหนาแน่นของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกอ่อนแอลงและไวต่อกระดูกหักมากขึ้น กระดูกหักที่พบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับภาวะกระดูกพรุนเกิดขึ้นที่สะโพก กระดูกสันหลัง และข้อมือ
- การลุกลามของโรคกระดูกบาง: หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โรคกระดูกบางสามารถลุกลามไปสู่โรคกระดูกพรุนได้ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อกระดูกหักและการสูญเสียมวลกระดูกที่รุนแรงมากขึ้น
- กระดูกหัก: ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของภาวะกระดูกบางคือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของกระดูกหัก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหักอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและอาจส่งผลให้เกิดความพิการได้
- คุณภาพชีวิตที่ลดลง: การแตกหักที่เกิดจากโรคกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกพรุนอาจทำให้คุณภาพชีวิตลดลง การเคลื่อนไหวลดลง และอาการปวดเรื้อรัง
- การบีบอัดกระดูกหัก: โรคกระดูกบางสามารถนำไปสู่การแตกหักของกระดูกสันหลังซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ความสูงลดลง และท่าทางก้มตัว
- การสูญเสียอิสรภาพ: โรคกระดูกบางอาจนำไปสู่การสูญเสียอิสรภาพ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลและการฟื้นฟูในระยะยาว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
- ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง: การแตกหักของการบีบอัดอย่างรุนแรงในกระดูกสันหลังอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของกระดูกสันหลังเช่น kyphosis (ความโค้งมากเกินไปของกระดูกสันหลังส่วนบน) และนำไปสู่อาการปวดเรื้อรังและลดความจุปอด
- ปัญหาสุขภาพทุติยภูมิ: การเคลื่อนไหวที่ลดลงเนื่องจากกระดูกหักอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทุติยภูมิ เช่น ลิ่มเลือด โรคปอดบวม และแผลกดทับ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.webmd.com/osteoporosis/guide/osteopenia-early-signs-of-bone-loss
-
https://www.nhs.uk/conditions/osteoporosis/
-
https://www.medicinenet.com/osteopenia/article.htm
-
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499878/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team