ผักปลอดสารพิษคืออะไร

ผักปลอดสารพิษ คือ ผักที่มีกระบวนการผลิตที่ปลอดสารพิษจากสารเคมีที่ใช้ป้องกัน และปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช อาจใช้การเว้นระยะในการใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้ แม้ว่าผลผลิตที่ได้อาจมีสารเคมีตกค้างอยู่บ้าง แต่ต้องตรวจสอบไม่เกินปริมาณที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่ออกใบรับรองเพื่อรับรองว่าผักผลไม้นั้น ๆ ปลอดสารพิษ

สารตกค้างในผักมีอะไรบ้าง

สารพิษหมายถึง สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการเพาะปลูกพืชผักชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช วัชพืชชนิดต่าง ๆ รวมถึงสารเคมีที่ใช้ในการเพาะปลูก โดยทั้วไปพบอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ 1 คาร์โบฟูราน (Carbofuran) เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้กันทั่วไป ใช้กำจัดหนอนกอ หนอนแมลงวัน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ นิยมใช้ตามนาข้าว ถั่วเหลือง ข้าวโพด แตงโม แตงกวา กาแฟ ส้ม มะพร้าว และอื่น ๆ อีกหลายชนิด เมื่อได้รับสารพิษนี้ ในปริมาณมาก ๆ จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียความสามารถในการทรงตัว มองภาพไม่ชัด และยังเป็นสารก่อมะเร็งที่รุนแรง ทำให้เซลล์ตับแบ่งตัวอย่างผิดปกติ กระตุ้นให้เกิดเนื้องอก อสุจิไม่แข็งแรง และทำลายเอนไซม์บริเวณเยื่อหุ้มสมอง 2 เมโทมิล (Methomyl) สารเคมีใช้กำจัดแมลงหลายชนิด ทั้งแมลงกัดกินใบ แมลงดูดน้ำหวาน เพลี้ย และหนอนชนิดต่าง ๆ นิยมใช้ในพืชผลชนิดต่าง ๆ รวมทั้งผักกินใบ และผลก็ได้เช่นกัน สารพิษตกค้างในผักชนิดนี้หากรับเข้าไปในปริมาณมาก ๆ จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ชักเกร็ง เป็นพิษต่อหัวใจ  ฮอร์โมนเพศชายลดลง ทำลายท่อที่อยู่ในลูกอัณฑะ การรับสารพิษในระยะยาวจะทำลายโครงสร้างดีเอ็นเอ ส่งผลให้โครโมโซมผิดปกติ และเป็นพิษต่อม้าม 3 ไดโครโตฟอส (Dicrotophos) สารไดโครฟอสคือ สารเคมีที่ใช้กำจัดแมลงประเภทปากดูด เจาะ หรือกัด ในพืชผักผลไม้ ชนิดต่าง ๆ เป็นพิษต่อยีน ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ เกิดเนื้องอก เป็นสารก่อมะเร็ง พิษต่อไต หากได้รับพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ จะส่งผลต่อระบบประสาท ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง เจ็บแปลบ ๆ เหมือนเข็มแทง มือเท้าอ่อนแรง 4 อีพีเอ็น (EPN) ใช้เป็นหัวน้ำยายา และใช้ผสมกับสารเคมีทางการเกษตรชนิดอื่น ๆ ในการเพาะปลูก ช่วยกำจัดแมลงได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกอข้าว แมลงดำหนาม ในนาข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลแตง ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ ชนิดต่าง ๆ หากได้รับในปริมาณมากจะทำให้เกิดท้องเสีย แน่นหน้าอก มองภาพไม่ชัด สูญเสียความสามารถในการทรงตัว ไอ ปอดปวม หายใจไม่ออก  ระบบประสาทถูกทำลาย ไขสันหลังเกิดความผิดปกติ การรับสารพิษเรื้อรังจะทำให้ทารกในครรภ์เกิดผลกระทบ พัฒนาการทางสมองของทารกหยุดชะงักได้Organic Vegetables

เทคนิคการเลือกซื้อผักปลอดสารพิษ

เทคนิคการเลือกซื้อผักปลอดสาร ได้ของดี สดอร่อย คุณค่าทางอาหารครบถ้วน มีรายละเอียดดังนี้

การเลือกซื้อผักที่ได้รับรองคุณภาพว่าเป็นผักปลอดสารพิษ 

ในปัจจุบันมีหน่วยงานที่ให้การรับรองปลอดสารพิษจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งหากดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษ หรือปลอดยาฆ่าแมลงได้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานก็จะได้รับเครื่องหมายรับรองมาให้ผู้สนใจเลือกซื้อได้

การเลือกซื้อตามความเหมาะสมของผักมีอะไรบ้าง 

พิจารณาตามส่วนต่างๆ ของพืชที่นำมาใช้เป็นอาหาร ได้แก่ ใบ ราก ผล เมล็ด ดอก ดังนี้
  • เลือกซื้อตามฤดูกาล จะทำได้ผักที่ใช้สารเคมีน้อย มักมีคุณภาพดีกว่าช่วงอื่น ๆ และราคาถูก
  • เลือกซื้อจากสีของผัก ขนาดที่เหมาะสมกับการบริโภค รูปร่างสมส่วน ความอ่อนแก่กำลังพอดี สด และไม่มีรอยช้ำ
  • เลือกซื้อตามชนิดของผัก ได้แก่
  • ผักที่บริโภคส่วนหัว ควรเลือกซื้อผักที่มีน้ำหนักดี เนื้อแน่น ไม่มีรอยตำหนิ
  • ผักที่บริโภคฝัก ควรเลือกผักที่ฝักยังอ่อน ๆ อยู่ เช่น  กรณีเลือกถั่วฝักยาว ฝักต้องเขียว เนื้อแน่น ไม่พองกลวง และอวบอ้วน
  • ผักที่บริโภคใบ ควรเลือกผักที่ยังมีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ อาจมีรอยหนอนไขบางเล็กน้อย แต่ไม่ควรมีรอยของโรคพืช ต้นอวบใหญ่ ส่วนใบแน่นยังติดกับโคน
  • ผักที่บริโภค ควรพิจารณาเลือกผักที่ยังมีสีสดอยู่ ไม่เหี่ยวเฉา และไม่เน่าเสีย

ลักษณะของผักที่ตลาดต้องการมากที่สุด

เผือก มัน ให้เลือกส่วนหัวที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวของหัวเรียบ ไม่มีตำหนิหรือรอยช้ำ หัวไชเท้า เลือกหัวที่ไม่คดงอ ขนาดกลาง ไม่ใหญ่เกินไป เพราะยังอ่อน ๆ อยู่ และมีผิวเรียบ กะหล่ำปลี ให้เลือกหัวกะหล่ำปลีที่แน่น ๆ และมีน้ำหนักมาก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ให้เลือกฝักที่ยังอ่อน ๆ สีเขียวสด เนื้อแน่นไม่มีเมล็ดฝ่อ ฝักแก่มักมีสีขาวนวล ผักคะน้า ผักกาดหอม เลือกผักที่ส่วนต้นยังเขียวสด ไม่เหี่ยวเฉา ไม่มีรอยช้ำ ต้นค่อนข้างใหญ่ โคนใบยังติดแน่นกับส่วนต้น มะเขือเปราะ มะเขือยาว เลือกผักที่ขั้วผลยังติดแน่น ขั้วผลมีสีเขียวสด น้ำหนักมาก และไม่เหี่ยวเฉา แตงร้าน เลือกผลที่มีน้ำหนักมาก ลูกยาวพอเหมาะ มีสีเขียวอ่อน ไม่มีรอยช้ำ รอยเน่า และผิวนวลเรียบ แตงกวา เลือกแตงกวาที่ผิวของผลเป็นสีเขียวสดเปลือกมีเนื้อหนา เมล็ดเล็ก เพราะเนื้อจะยังสดกรอบอยู่ มะนาว เลือกผลที่มีเปลือกบาง ผิวเรียบและไม่เหี่ยวเฉา ฟักทอง เลือกลูกที่มีน้ำหนักมาก ผิวเปลือกขรุขระ เคาะดูจะรู้สึกได้ว่าเนื้อแน่น

เทคนิคเลือกซื้อผักปลอดภัยทำอย่างไร

  • เปลือกผิวดูสดใหม่
  • ขั้วหรือก้านยังเขียว และติดแน่นอยู่
  • เปลือกไม่มีรอยช้ำ ดำ
  • ขนาดของผลเหมาะสม
  • หากพบมดบริเวณกิ่งและผล แสดงว่าเป็นผักปลอดสาร หรือมีการปนเปื้อนไม่มาก อาจทำให้ปลอดสารพิษมากขึ้นด้วยการใช้สารละลายล้างผัก ได้แก่
  • น้ำยาล้างผัก
  • น้ำด่างทับทิม ใช้ด่างทับทิมประมาณ 5 เกล็ดใหญ่ต่อน้ำ 4 ลิตร
  • น้ำเกลือ ละลายเกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนๆ ต่อน้ำ 4 ลิตร
  • น้ำซาวข้าว ใช้ข้าวสาร 2 กก. ต่อน้ำ 4 ลิตร
  • น้ำส้มสายชู ใช้น้ำส้มสายชูครึ่งถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร

ผักปลอดสารพิษ ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่

การปลูกผักปลอดสารพิษขายคือการปลูกในภาคเกษตรกรรมขนาดใหญ่ โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษอย่างเหมาะสม แต่ก็อาจยังมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษ และสิ่งปนเปื้อนจากธรรมชาติแวดล้อมได้อยู่ดี อันเป็นการปนเปื้อนในขณะเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การขนย้าย หรือขั้นตอนใด ๆ ก่อนถึงมือผู้บริโภค ดังนั้น แม้จะถูกระบุว่าเป็นผักปลอดสารพิษ แต่ผู้บริโภคก็ควรลดความเสี่ยงในได้รับสารพิษ ด้วยการเลือกซื้อผักอย่างระมัดระวัง เลือกผักที่สดใหม่ คุณภาพดี และล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ให้ดี ก่อนนำมาบริโภคหรือปรุงเป็นอาหาร

คำถามที่พบบ่อยผักปลอดสารพิษ

1. “ออร์แกนิก” เมื่อพูดถึงผักหมายถึงอะไร?

คำตอบ:ผักออร์แกนิกปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงสังเคราะห์ สาร กำจัดวัชพืช ปุ๋ย หรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) แนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญกับสุขภาพของดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ และความยั่งยืน2. ผักออร์แกนิกดีต่อสุขภาพมากกว่าผักที่ปลูกทั่วไปหรือไม่? คำตอบ:แม้ว่าผักออร์แกนิกอาจมีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างน้อยกว่า แต่สารอาหารก็อาจคล้ายคลึงกับผักที่ปลูกทั่วไป ทางเลือกระหว่างสารอินทรีย์และสารทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับความชอบส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชที่อาจเกิดขึ้น

3. ผักออร์แกนิกปลอดสารกำจัดศัตรูพืชหรือไม่?

คำตอบ:การทำเกษตรอินทรีย์อนุญาตให้ใช้ยาฆ่าแมลงตามธรรมชาติบางชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ยาฆ่าแมลงเหล่านี้มักสังเคราะห์และเป็นพิษน้อยกว่าที่ใช้ในการเกษตรแบบเดิมๆ ผักออร์แกนิกอาจมียาฆ่าแมลงตกค้างอยู่บ้าง แต่โดยทั่วไประดับจะต่ำกว่า

4.ทำไมผักออร์แกนิกถึงแพงกว่า?

คำตอบ:การทำเกษตรอินทรีย์มักต้องใช้แรงงานมากขึ้นและการจัดการอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ผลผลิตอาจต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการทำฟาร์มทั่วไป ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาผักออร์แกนิกสูงขึ้น

5. ผักออร์แกนิกสามารถดัดแปลงพันธุกรรมได้หรือไม่?

คำตอบ:ไม่ได้ ผักออร์แกนิกไม่สามารถดัดแปลงพันธุกรรมได้ ห้ามใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในการทำเกษตรอินทรีย์

6. จะรู้ได้อย่างไรว่าผักออร์แกนิคจริงหรือไม่?

คำตอบ:มองหาฉลาก USDA Organic บนบรรจุภัณฑ์ ฉลากนี้ระบุว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ในบางภูมิภาค หน่วยรับรองที่แตกต่างกันอาจจัดให้มีการรับรองออร์แกนิก

7. ผักออร์แกนิกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าหรือไม่?

คำตอบ:โดยทั่วไปแล้ว การทำเกษตรอินทรีย์ถือว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากมุ่งเน้นไปที่แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์ใหม่ สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงการหมุนเวียนพืช การครอบตัด และลดการใช้ปัจจัยการผลิตสังเคราะห์

8. การเลือกผักออร์แกนิกมีข้อเสียหรือไม่?

คำตอบ:ผักออร์แกนิกอาจมีราคาแพงกว่า และผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายอาจมีจำกัดเมื่อเทียบกับตัวเลือกทั่วไป นอกจากนี้ การทำเกษตรอินทรีย์อาจมีผลผลิตต่ำกว่าเล็กน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสูงขึ้นได้

9. ปลูกผักออร์แกนิกที่บ้านได้ไหม?

คำตอบ:ได้ คุณสามารถปลูกผักออร์แกนิกที่บ้านได้โดยหลีกเลี่ยงยาฆ่าแมลงและปุ๋ยสังเคราะห์ ใช้ทางเลือกจากธรรมชาติและออร์แกนิก และมุ่งเน้นไปที่การสร้างดินที่ดีผ่านการทำปุ๋ยหมักและแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนอื่นๆ

10. ผักออร์แกนิกรสชาติดีขึ้นหรือไม่?

คำตอบ:ความชอบด้านรสชาติเป็นเรื่องส่วนตัว บางคนเชื่อว่าผักออร์แกนิกมีรสชาติเข้มข้นกว่า ในขณะที่บางคนอาจไม่สังเกตเห็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ รสชาติอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น คุณภาพดิน ความสด และพันธุ์ผักที่เฉพาะเจาะจง โปรดจำไว้ว่า ความชอบส่วนบุคคล การพิจารณาเรื่องสุขภาพ และความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม มีบทบาทในการเลือกระหว่างผักออร์แกนิกและผักที่ปลูกตามอัตภาพ การตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลตามค่านิยมและลำดับความสำคัญส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด