เรื่องน่ารู้การบริจาคอวัยวะ (Organ Donation) – เกณฑ์การบริจาค การได้มาซึ่งอวัยวะของผู้บริจาค

ในปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์นั้นก้าวไกลไปมากทำให้คนเราสามารถปลูกถ่ายอวัยวะจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องยาก และเรื่องที่ควรทำความเข้าใจก็คือ ในการรับบริจาคอวัยวะนั้นทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะจะรับบริจาคจาก Organ donor คือ ผู้ที่มีอายุไม่เกิน 65 ปี เนื่องจากเมื่อผู้บริจาคมีอายุมากขึ้น อวัยวะนั้นก็จะเสื่อมลงไปตามอายุการใช้งาน 

การได้มาซึ่งอวัยวะบริจาค

อวัยวะที่ได้รับมาจากผู้บริจาคต้องมาจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย เช่นเส้นเลือดแตกในสมอง หรือมีเลือดออกในช่องสมอง  และแพทย์ลงความเห็นแล้วว่าเสียชีวิตโดยการวินิฉัยขั้นนี้จำเป็นจะต้องประกอบไปด้วยองค์คณะแพทย์ที่มีแพทย์ผู้มาลงความคิดเห็นไม่น้อยกว่า 3 คน  พร้อมทั้งญาติประสงค์จะบริจาคอวัยวะนั้นให้ผู้ป่วยอื่น ๆ เนื่องจากผู้ที่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย อวัยวะต่าง ๆ ยังทำงานได้อยู่ เนื่องจากการใส่เครื่องช่วยหายใจไว้ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจน หัวใจก็สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย   หรือจากผู้ที่เคยแสดงเจตจำนงไว้เมื่อตอนยังชีวิตอยู่ โดยมีศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยเป็นสื่อกลาง

สำหรับคนที่ต้องการบริจาคอวัยวะ

สำหรับผู้ที่ประสงค์ที่จะบริจาคอวัยวะเมื่อล่วงหน้า และลงชื่อในแบบฟอร์มบริจาคร่างกายออนไลน์ สภากาชาดไทย หรือแม้แต่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย  อวัยวะที่สามารถบริจาคได้ในปัจจุบัน คือ
  • ดวงตา
  • หัวใจ
  • ลิ้นหัวใจ
  • ตับ
  • ปอด
  • ไต

ระยะเวลาในการเก็บรักษาอวัยวะที่ได้รับบริจาคมา

อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกายที่ได้รับบริจาคมาจะมีระยะเวลาในการเก็บรักษา การบริจาคดวงตา : หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตและเคยได้มีการประสงค์ที่จะบริจาคดวงตาไว้ก่อนหน้า หรือญาติแสดงความประสงค์ที่จะบริจาคดวงตานั้นจะต้องมีการไปรับดวงตาภายในเวลา 6 ชั่วโมงหลังการเสียชีวิตของผู้บริจาค และดวงตาที่บริจาคนั้นสามารถทำการเก็บรักษาเพื่อรอการปลูกถ่ายได้เป็นระยะเวลา 14 วัน การบริจาคตับ : ตับสามารถเก็บรักษาไว้เพื่อรอการปลูกถ่ายได้  15 ชั่วโมง   อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ การบริจาคอวัยวะใครทำได้บ้าง การบริจาคหัวใจ : เก็บรักษาเพื่อรอการผ่าตัดปลูกถ่ายได้ไม่เกิน 5 ชั่วโมง ต้องเก็บไว้ในที่ที่มีความเย็นเพื่อรักษาสภาพเนื้อเยื่อ  การบริจาคปอด : ปอดเช่นเดียวกันกับหัวใจสามารถเก็บรักษาได้ 5 ชั่วโมง   การบริจาคไต : ไต คือ อวัยวะที่สามารถบริจาคได้ในขณะที่ผู้บริจาคยัไม่เสียชีวิต ไตที่บริจาคต้องทำการเก็บรักษาด้วยความเย็น  48 ชั่วโมง การบริจาคลิ้นหัวใจ : ลิ้นหัวใจเป็นอวัยวะที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 5 ปี หลังผู้บริจาคเสียชีวิต 

Organ Donation

หลักเกณฑ์การบริจาคอวัยวะ

คุณสมบัติในการบริจาคอวัยวะนั้นมีมากกว่าส่วนของการบริจาคร่างกายเนื่องจากอวัยวะจะต้องมีความสมบูรณ์และความพร้อมในการใช้งาน อวัยวะต้องมีสุขภาพดี จึงทำให้กฎเกณฑ์ในการบริจาคอวัยวะมีมากกว่าการบริจาคร่างกาย โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะบริจาควัยวะได้ มีดังนี้
  • ผู้บริจาคอวัยวะจะต้องไม่เป็นผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อหรือโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดัน หัวใจ พิษสุราเรื้อรัง เอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้บริจาคต้องมีอายุต่ำกว่า 60 ปี
  • อวัยวะที่บริจาคจะต้องมีความสมบูรณ์
  • ผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตาย

การบริจาคร่างกาย

การบริจาคร่างกาย คือการที่ผู้บริจาคแสดงความประสงค์และอนุญาตให้นำร่างกายหลังการเสียชีวิตไปทำการศึกษาในสถาบันต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันทางการแพทย์

ข้อเท็จจริงของการบริจาคร่างกาย

การบริจาคอวัยวะเป็นกระบวนการช่วยชีวิตและการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะหรือเนื้อเยื่อโดยสมัครใจจากบุคคลที่มีชีวิตหรือเสียชีวิตไปยังบุคคลอื่นที่ต้องการ ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ:
  • การขาดแคลนอวัยวะ:
      • เกิดการขาดแคลนอวัยวะอย่างมากทั่วโลก ความต้องการอวัยวะ เช่น ไต หัวใจ ปอด และตับ มีมากกว่าปริมาณที่มีอยู่มาก การขาดแคลนนี้ส่งผลให้เกิดรายชื่อผู้เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะที่ต้องรอเป็นเวลานาน
  • ประเภทของการบริจาคอวัยวะ:
      • การบริจาคเพื่อชีวิต:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถบริจาคอวัยวะบางอย่าง เช่น ไตหรือส่วนหนึ่งของตับ ให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้ การบริจาคเพื่อดำรงชีวิตเป็นไปได้เนื่องจากร่างกายมนุษย์มักจะทำงานได้ดีโดยใช้ไตเพียงข้างเดียวหรือตับบางส่วนเท่านั้น
      • การบริจาคผู้เสียชีวิต:สามารถบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อได้จากบุคคลที่เสียชีวิต มักเกิดจากสมองตายหรือระบบไหลเวียนโลหิตเสียชีวิต ผู้บริจาคที่เสียชีวิตสามารถบริจาคอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต และเนื้อเยื่อ เช่น กระจกตา และผิวหนัง
  • ความสำเร็จในการปลูกถ่ายอวัยวะ:
      • การปลูกถ่ายอวัยวะได้กลายเป็นขั้นตอนทางการแพทย์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ความก้าวหน้าในเทคนิคการผ่าตัด การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน และการเก็บรักษาอวัยวะ ทำให้อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดปลูกถ่ายดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  • อวัยวะทั่วไปที่ปลูกถ่าย:
      • อวัยวะที่มีการปลูกถ่ายบ่อยที่สุด ได้แก่ ไต ตับ หัวใจ ปอด และตับอ่อน นอกจากนี้ยังสามารถปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ เช่น กระจกตา ผิวหนัง กระดูก และลิ้นหัวใจ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้รับได้
  • ความท้าทายในรายการรอ:
      • รายชื่อผู้รอการปลูกถ่ายอวัยวะเป็นแบบไดนามิก โดยมีการเพิ่มและลบบุคคลโดยขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนทางการแพทย์ ความพร้อมของอวัยวะ และความเข้ากันได้ น่าเสียดายที่ไม่ใช่ทุกคนที่อยู่ในรายชื่อรอรับการปลูกถ่ายอวัยวะเนื่องจากการขาดแคลนอวัยวะ
  • บริจาคอวัยวะและศาสนา:
      • ศาสนาหลักๆ หลายศาสนาสนับสนุนแนวคิดเรื่องการบริจาคอวัยวะว่าเป็นการกระทำที่เห็นแก่ผู้อื่นและมีความเห็นอกเห็นใจ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไป และขอแนะนำให้แต่ละบุคคลปรึกษากับผู้นำศาสนาหรือที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำ
  • ความตระหนักรู้ของประชาชน:
      • การรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ของสาธารณชนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขจัดความเชื่อผิด ๆ และเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ โครงการริเริ่มด้านการศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้บุคคลลงทะเบียนเป็นผู้บริจาคอวัยวะและหารือเกี่ยวกับความปรารถนาของตนกับสมาชิกในครอบครัว
  • การดูแลหลังการปลูกถ่าย:
    • ผู้รับการปลูกถ่ายจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ตลอดชีวิต รวมถึงยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการปฏิเสธอวัยวะ การนัดหมายติดตามผลอย่างสม่ำเสมอและการปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของการปลูกถ่าย

สถานที่ติดต่อศูนย์รับบริจาคอวัยวะ

  1. ศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะโรงพยาบาลขอนแก่น อาคารคุณากรปิยชาติ ชั้น 2 หรือแผนกประชาสัมพันธ์โทร. 043-232555 ต่อ 3865
  2. ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์  0-2256-41045-6 สายด่วน1666 ตลอด 24 ชั่วโมง E-mail : [email protected] www.organdonate.in.th อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ การบริจาคเลือด
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด