โรคอ้วน (Obesity) คือ ภาวะความผิดปกติจากการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เนื่องจากร่างกายมีภาวะไขมันสะสมตามอวัยวะส่วนต่างๆ มากเกินกว่าปกติ
สาเหตุของโรคอ้วนมาจากอะไร
โรคอ้วนเกิดจากการกินอาหารที่มีแคลอรี่เกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถเผาผลาญ หากปล่อยให้ล่วงเลยเวลาไป จะทำให้เกิดการสะสมของแคลอรี่ส่วนเกินและทำให้น้ำหนักเพิ่ม ส่งผลให้เป็นสาเหตุของโรคอ้วนสาเหตุโดยทั่วไปของโรคอ้วน เช่น :
- กินอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง
- การใช้ชีวิตโดยไม่ได้ออกกำลังหรือขยับตัว เพื่อเผาผลาญไขมันส่วนเกินออก
- นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและทำให้เกิดความหิวมากกว่าเดิมและอยากทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง
- เกิดจากพันธุกรรม จากการประมวลผลพลังงานของร่างกาย กระบวนที่ร่างกายกักเก็บไขมัน
- มีอายุที่มากขึ้นทำให้อัตราการเผาผลาญช้าลง ส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้ง่าย
- เกิดจากการตั้งครรภ์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ อาจทำให้ลดยากและไขมันอยู่กับตัวนานจนทำให้นำไปสู่โรคอ้วน
กรณีทางการแพทย์ ที่อาจนำไปสู่โรคอ้วนเช่น
- Polycystic ovary syndrome (PCOS): ภาวะที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนสืบพันธุ์เพศหญิง
- Prader-Willi syndrome: เป็นภาวะที่ค่อนข้างพบได้ยาก เกิดในผู้ที่มีภาวะความหิวผิดปกติ
- Cushing Syndrome : เกิดจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) สูง
- hypothyroidism (underactive thyroid): ภาวะพร่องไทรอยด์ทำงานต่ำ (underactive ไทรอยด์): คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ออกมาไม่เพียงพอ
- Osteoarthritis : อาการข้อเสื่อม เป็นอาการที่กระดูกอ่อน (Cartilage) ในข้อต่อกระดูกเสื่อมสภาพจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ การใช้งาน เป็นต้น
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน
การผสมผสานของหลายปัจจัยของการเป็นโรคอ้วน เช่น ทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม หรือสุขภาพจิต สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความเสี่ยงที่มาจากผลกระทบของโรคอ้วนพันธุกรรม
บางคนเป็นโรคอ้วน เนื่องมาจากพันธุกรรม ทำให้การลดน้ำหนักค่อนข้างเป็นไปได้ยากสิ่งแวดล้อมและชุมชน
สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตทั้งในบ้าน หรือที่ทำงาน และในที่ชุมชนอาจส่งผลให้มีอิทธิพลต่อการควบคุมน้ำหนักและการควบคุมอาหารการกิน บางท่านอาจอยู่ในแหล่งที่หาซื้อของกินได้อย่างสะดวก การใช้ชีวิตที่เร่งรีบเลยจำเป็นต้องซื้ออาหารนอกบ้าน ซึ่งการซื้ออาหารสำเร็จรูป หรืออาหารที่วางขายทั่วไป เราอาจไม่รู้วิธีการปรุงอาหาร และการใช้วัตถุดิบในการทำอาหารว่าใช้วัตถุดิบและวิธีการปรุงอาหารที่ปลอดภัย หรือบางทานอาจอยู่ห่างไกลในสถานที่ที่สามารถจะออกกำลังกาย เช่น เดินหรือวิ่งได้ ส่งผลทำให้ร่างกายไม่ได้รับการเบิร์นไขมันหรือแคลอรี่ออกไปปัจจัยทางจิตวิทยาและอื่น ๆ
บางครั้งอาการซึมเศร้าอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ผู้คนบางส่วนนิยมรับประทานอาหารเพื่อบำบัดอารมณ์ โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางอาหาร และการใช้ยากล่อมประสาทบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเพิ่มน้ำหนักได้ อีกปัจจัยหนึ่งคือการเลิกสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ดี แต่นั่นอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเน้นเรื่องการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายในขณะที่อยู่ระหว่างการเลิกสูบบุหรี่ ส่วนผู้ที่ใช้ยารักษาโรค เช่น สเตียรอยด์ หรือยาคุมกำเนิดอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มน้ำหนักด้วยเช่นกันการวินิจฉัยโรคอ้วน
โรคอ้วน หมายถึงการมีค่าดัชนีมวลกาย 30 หรือมากกว่าเป็นต้นไป ดัชนีมวลกายเป็นการคำนวณคร่าวๆของน้ำหนักของบุคคลที่เสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะมีน้ำหนักเกินกว่ากำหนด วิธีการตรวจที่ได้ผลแม่นยำมากขึ้นเพื่อตรวจการกระจายไขมันในร่างกายและตรวจวัดระดับไขมันในร่างกาย ได้แก่ ความหนาของผิวหนังการเปรียบเทียบรอบเอวถึงสะโพก และการตรวจด้วยวิธีการอัลตร้าซาวด์การคำนวณเอกซ์เรย์แบบคอมพิวเตอร์ แบบ CT สแกน และ MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ(Radio Frequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์ แพทย์อาจกำหนดวิธีการทดสอบเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคอ้วน รวมถึงสอบถามความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน และอาจตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบระดับคอเลสเตอรอลและกลูโคส การทดสอบการทำงานของตับ ทดสอบต่อมไทรอยด์และการทดสอบหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้า การวัดไขมันรอบเอวก็สามารถเป็นตัววัดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนได้เช่นกันภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วนคืออะไร?
โรคอ้วนนำไปสู่การเพิ่มน้ำหนักได้อย่างง่ายดาย การมีไขมันในร่างกายสูงต่อกล้ามเนื้อ ส่งผลต่อกระดูกและอวัยวะภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังเพิ่มการอักเสบในร่างกายซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง โรคอ้วนยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวานระยะที่ 2 อีกด้วย โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนสามารถเชื่อมโยงกับสุขภาพที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากโรคอ้วน เช่น :- โรคเบาหวานระยะที่ 2
- โรคหัวใจ
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคถุงน้ำดี
- โรคไขมันพอกตับ
- คอเลสเตอรอลสูง
- อาการหยุดหายใจขณะหลับ และปัญหาการหายใจอื่น ๆ
- โรคไขข้อ
- ภาวะมีบุตรยาก
การใช้ยาลดน้ำหนัก
การใช้ยาลดน้ำหนักควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์ ยาอาจจะถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะในกรณีที่วิธีการลดน้ำหนักแบบอื่นแล้วไม่ได้ผล และหากผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกายเป็น 27 หรือมากกว่านั้น ยาลดความอ้วนตามใบสั่งของแพทย์จะทำงานเพื่อป้องกันการดูดซึมไขมันหรือระงับความอยากอาหาร ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ตัวอย่างยา เช่น orlistat (Xenical) ตัวยาประเภทนี้สามารถทำให้ไขมันและก๊าชในลำไส้ค่อยๆเคลื่อนไหว การใช้ยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกทานอาหารจะช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนักและเป็นวิธีลดความอ้วนได้เป็นอย่างดี ควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่เหมาะกับร่างกาย และควรจัดวางแผนโปรแกรมการออกกำลังกาย หรือจัดอาหารสำหรับโปรแกรมการลดน้ำหนักในแต่ละวัน หรือต่อสัปดาห์ การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ความอดทน และช่วยการทำงานเมทาบอลิซึมของร่างกายได้ดีขึ้นการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก
การผ่าตัดลดน้ำหนัก (โดยทั่วไปเรียกว่า “ผ่าตัดลดความอ้วน”) ต้องอาศัยความมุ่งมั่นจากผู้ป่วยที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต การผ่าตัดประเภทนี้จะทำงานโดยการ จำกัด จำนวนอาหารที่ผู้ป่วยต้องรับประทาน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซึมอาหารและแคลอรี่ ที่เป็นส่วนเกินเข้าไป การผ่าตัดลดน้ำหนักไม่ใช่วิธีที่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว การผ่าตัดอาจมีความเสี่ยงร้ายแรง หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารและการรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อการอาการของโรคอ้วนอย่างเคร่งครัด ผู้ที่ต้องการผ่าตัดลดน้ำหนัก จะต้องมีค่าดัชนีมวลกาย 40 หรือมากกว่า หรือมีค่าดัชนีมวลกาย 35-39.9 และมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนอย่างจริงจัง ผู้ป่วยจะต้องควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนักก่อนเข้ารับการผ่าตัด นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการให้คำปรึกษาจากแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าเตรียมพร้อมสำหรับการผ่าตัดและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตตามที่ปราถนาเพื่อขจัดโรคอ้วนออกไปได้อย่างแน่นอนตัวเลือกการผ่าตัดรวมถึง:
- gastric bypass surgery : การผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร นำลำไส้ไปต่อกระเพาะอาหารทำให้อาหารไม่ผ่านกระเพาะจะทานอาหารได้น้อยและรู้สึกอิ่มเร็ว
- laparoscopic adjustable gastric banding (LAGB) : เป็นการนำห่วงรัดที่ปรับได้ไปรัดกระเพาะเพื่อลดปริมาณการทานอาหารต่อครั้งลง
- gastric sleeve: เป็นการลดขนาดของกระเพาะอาหาร
- biliopancreatic diversion with duodenal switch: เป็นวิธีที่ลดน้ำหนักได้มากที่สุด แต่ก็มีผลแทรกซ้อนมากที่สุด ในเรื่องของการดูด ซึมสารอาหาร
โรคอ้วนรักษาได้อย่างไร?
หากคุณเป็นโรคอ้วนและไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยตัวเอง หรือหากต้องการปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจจะแนะนำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำหนักโดยเฉพาะ แพทย์จะให้คำปรึกษาในเรื่องการลดน้ำหนัก สามารถปรึกษานักโภชนาการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพทั่วไปได้เช่นกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายเป็นต้นป้องกันโรคอ้วนได้อย่างไร?
การป้องกันการการมีน้ำหนักเพิ่ม ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควรตั้งเป้าออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก เช่นการเดินออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อย เป็นเวลา 20 ถึง 30 นาทีทุกวัน เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ธัญพืชและโปรตีนลีน กินอาหารที่มีไขมันและแคลอรีในปริมาณที่พอเหมาะ วิธีลดความอ้วนอย่างเร่งด่วน ควรงดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ในแต่ละวัน วิธีนี้จะส่งผลให้น้ำหนักลดได้เร็วอย่างเห็นได้ชัดวิธีการลดไขมันในร่างกาย
- กินอาหารประเภทโปรตีนกับไขมันให้ครบถ้วนสมดุล
- ไม่ควรงดอาหารมือเช้า
- กินอาหารที่มีกากใยทุกมือ
- ดื่มน้ำมากๆ
แนวโน้มระยะยาวสำหรับโรคอ้วน
โรคอ้วนส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับโรคอ้วนได้หลายโรคเลยทีเดียว ปัจจุบันผู้คนเลยให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและทำกิจกรรมเพื่อช่วยลดความอ้วนได้อย่างง่ายๆกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามการดูแลตัวเองขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบต่อตัวเราเองด้วย เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสุขภาพอย่างถาวรคำถามที่พบบ่อย
อาหารที่ดีที่สุดสำหรับคนอ้วนคืออะไร เลือกอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด ทั้งธัญพืช ผัก ผลไม้ ถั่ว แหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ (ปลา สัตว์ปีก ถั่ว) และน้ำมันจากพืช จำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ธัญพืชขัดสี มันฝรั่ง เนื้อแดงและเนื้อแปรรูป และอาหารแปรรูปสูงอื่นๆ เช่น อาหารจานด่วน จัดการกับโรคอ้วนได้อย่างไร การลดแคลอรีและฝึกนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพมีความสำคัญต่อการเอาชนะโรคอ้วน แม้ว่าคุณอาจจะลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็วในตอนแรก แต่การลดน้ำหนักอย่างต่อเนื่องในระยะยาวถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการลดน้ำหนักและเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนักอย่างถาวร ทำไมกินน้อยแต่ยังอ้วน การเผาผลาญอาหารช้า ร่างกายของคุณจะไม่เปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานในปริมาณที่เพียงพอ ดังนั้นอาหารส่วนใหญ่ที่คุณกินจึงถูกเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้บางคนอ้วนทั้งที่กินไม่เยอะ ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมักไม่แข็งแรงเพราะเหตุใด โรคอ้วนหมายถึงการมีไขมันในร่างกายในปริมาณที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สิ่งนี้ทำให้สุขภาพของคุณตกอยู่ในอันตราย โรคอ้วนทำให้คุณมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจ ความ ดันโลหิตสูง โรคข้ออักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มะเร็งบางชนิด และโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาเกี่ยวข้องกับแผนระยะยาวในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต อาหาร 6 ชนิด ป้องกันโรคอ้วน มีอะไรบ้าง เน้น ผลไม้ ผัก เมล็ดธัญพืช และนมและผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำหรือไขมันต่ำ รวมถึงอาหารที่มีโปรตีนหลากหลาย เช่น อาหารทะเล เนื้อไม่ติดมันและสัตว์ปีก ไข่ พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่ว และเมล็ดพืช วิธีแก้อ้วน มีอะไรบ้าง การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ( ธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ แหล่งไขมันและโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ) และเครื่องดื่ม จำกัดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (ธัญพืชขัดสีและขนมหวาน มันฝรั่ง เนื้อแดง เนื้อแปรรูป) และเครื่องดื่ม (เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล) เพิ่มการออกกำลังกาย การจำกัดเวลาโทรทัศน์ เวลาหน้าจอ เดินบ่อย ๆ โรคอ้วนเป็นพันธุกรรมหรือไม่ โรคอ้วนมักเกิดขึ้นในครอบครัวตามรูปแบบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ชัดเจนซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในยีนเดียว ยีนที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ MC4R ซึ่งเข้ารหัสตัวรับเมลาโนคอร์ติน 4 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอ้วน ดัชนีมวลกาย สำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่: ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5 ถึง 24.9 ถือว่ามีสุขภาพดี ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 25 ถึง 29.9 ถือว่ามีน้ำหนักเกิน ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไปถือเป็นโรคอ้วน 3 กุญแจสำคัญในการป้องกันโรคอ้วนคืออะไร กลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรคอ้วนคือพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และลดกิจกรรมนั่งนิ่ง (เช่น ดูโทรทัศน์และวิดีโอเทป และเล่นเกมคอมพิวเตอร์) กินน้อยเกินไปทำให้อ้วนจริงหรือไม่ สาเหตุหลักประการหนึ่งที่การรับประทานอาหารน้อยเกินไปอาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้ก็เพราะการบริโภคแคลอรีน้อยเกินไปอาจทำให้อัตราการเผาผลาญของคุณช้าลง ซึ่งหมายความว่าคุณอาจเผาผลาญแคลอรีน้อยลงตลอดทั้งวัน ไข่ช่วยเผาผลาญไขมันหรือไม่ อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ สามารถช่วยให้คุณเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้นเพื่อรองรับการลดน้ำหนัก อาหารที่มีโปรตีนสูงอาจเพิ่มการเผาผลาญของคุณได้ถึง 80–100 แคลอรี่ต่อวัน เนื่องจากจำเป็นต้องมีพลังงานเพิ่มเติมเพื่อช่วยเผาผลาญโปรตีนในอาหาร เราสามารถลดน้ำหนักโดยไม่ออกกำลังกายได้หรือไม่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายหลายอย่างสามารถช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ สามารถใช้จานที่เล็กลง กินให้ช้าลง ดื่มน้ำ และหลีกเลี่ยงการกินหน้าทีวีหรือคอมพิวเตอร์ การจัดลำดับความสำคัญของอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนและเส้นใยหนืดอาจช่วยได้เช่นกัน กาแฟดีสำหรับการลดน้ำหนักหรือไม่ ใช่ กาแฟสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ กาแฟมีสารอาหาร เช่น ไนอาซิน โพแทสเซียม แมกนีเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถปรับปรุงสุขภาพทางเดินอาหาร สนับสนุนการทำงานของกล้ามเนื้อ และทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีคาเฟอีนซึ่งช่วยเพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มพลังงาน และสามารถส่งเสริมการลดน้ำหนักลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/obesity/symptoms-causes/syc-20375742
- https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
- https://www.nhs.uk/conditions/obesity/
- https://www.cdc.gov/obesity/adult/defining.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น