NSAIDs คืออะไร
ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) ใช้บรรเทาอาการอักเสบและอาการปวดในโรคข้ออักเสบ หรือบรรเทาอาการปวดศรีษะ และลดไข้ รู้จักกันในชื่อ ยาแก้ปวดข้อหรือยาแก้ข้ออักเสบ มีกลไกการออกฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างพรอสตาแกลนดิน สาเหตุของการปวด อาการไข้และอักเสบ โดยส่วนใหญ่จะใช้ยาในการรักษาอาการปวดประจำเดือน ปวดโรคเกาต์ ปวดโรคข้อเสื่อม ปวดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีอาการอย่างไรประโยชน์ทางการแพทย์ของ NSAIDs
ยา NSAIDs สามารถใช้รักษาการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด รักษาการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ รักษาอาการปวดจากเอ็นอักเสบยา บางชนิดสามารถใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือนเฉียบพลัน อาการปวดบาดแผลผ่าตัด รักษาอาการปวดภายหลังการถอนฟัน และบางชนิดมีฤทธิ์ลดไข้ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน แต่ไม่ควรใช้ในการลดไข้ทั่วไปยา NSAIDs มีอะไรบ้าง
- แอสไพริน (Aspirin หรือ Acetyl salicylic acid)
- ไดโคลฟีแน็ก (Diclofenac)
- ไพร็อกซิแคม (Piroxicam)
- เอทอริค็อกสิบ (Etoricoxib)
- นาพร็อกเซน (Naproxen)
- เมล็อกซิแคม (Eloxicam)
- เซเลค็อกสิบ (Celecoxib)
- ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
ผลข้างเคียงของยาในกลุ่ม NSAIDs
- ไอ มีเสมหะ มีเลือดปน อาเจียนมีสีดำ อุจจาระดำ และซีด
- ส่งผลต่อเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
- ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีเลือดออก
- อาจมีการระคายต่อกระเพาะอาหาร
- อาจแน่นท้อง เสียดท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ตาเหลืองตัวเหลือง
- เบื่ออาหาร
- แน่นหน้าอก แน่นชายโครง
- ส่งผลเสียต่อไต ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ
- อาจทำให้ตับอักเสบ ความดันโลหิตสูงขึ้น
- เท้าบวม น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
- ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ และมีสีเข้ม
- ผื่นขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
- อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- อาจทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด
- อาจมีไข้ เจ็บคอ ผื่นขึ้น ผิวหนังลอก ใบหน้าบวม หนังตาบวม ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการแพ้
- มึนงง เวียนศีรษะ
- หูอื้อหากใช้ยาในปริมาณที่มาก
ประเภทของยา NSAID
ยาแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Nonselective NSAIDs และ Selective NSAIDs ซึ่ง Nonselective NSAIDs มีกลไกยับยั้ง Enzymes ทั้งชนิด COX-1 and COX-2 enzymes จึงมีผลข้างเคียงทำให้ระคายต่อกระเพาะอาหาร และ Selective NSAIDs มีกลไกเลือกยับยั้งเฉพาะชนิด COX-2 enzymes ทำให้ระคายกระเพาะน้อยยาในกลุ่ม Nonselective NSAIDs
- ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
- ไดโคลฟีแน็ก (Diclofenac)
- นาพร็อกเซน (Naproxen)
- ไพร็อกซิแคม (Piroxicam)
ยาในกลุ่ม Selective NSAIDs
- เซเลค็อกสิบ (Celecoxib)
- เอทอริค็อกสิบ (Etoricoxib)
- พาเรค็อกสิบ (Parecoxib)
ยาในกลุ่ม Nonselective NSAIDs และ Selective NSAIDs
- เมล็อกซิแคม (Meloxicam)
- นิเมซูไลด์ (Nimesulide)
- นาบูมีโทน (Nabumetone)
- เอโทโดแล็ก (Etodolac)
ข้อระมัดระวังในการใช้ยา NSAIDs
- ควรแจ้งและปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาหากมีโรคประจำตัวดังนี้ โรคหัวใจ โรคตับ ไต หอบหืด ลมชัก ริดสีดวงจมูก โรคกระเพาะอาหาร มีประวัติเลือดออกง่าย
- ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่ตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย
- ไม่ควรใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
- ควรแจ้งแพทย์หากกำลังรับประทานยาตัวอื่นอยู่ ทั้งยาตามที่แพทย์สั่งและยาที่ซื้อรับประทานเอง ยาสมุนไพรต่างๆ
- ควรแจ้งแพทย์หากมีประวัติการแพ้ยา
- การใช้ยาในผู้สูงอายุควรระมัดระวัง อาจทำให้สับสน หน้าบวม เท้าบวม ปัสสาวะน้อย
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือผู้ที่เคยทำ ballon หลอดเลือดหัวใจ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ที่เคยเป็นอัมพาตหรืออัมพฤต
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูง
- สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ควรใช้ยาในกลุ่ม Selective NSAIDs เพราะอาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่ม Nonselective NSAIDs ในผู้ที่มีเลือดออก
- ควรหยุดใช้ยาก่อนผ่าตัดเป็นเวลา 7 วัน ในผู้ที่ต้องการผ่าตัด
- ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร
- ควรใช้ยาในปริมาณที่ต่ำที่สุดและระยะเวลาสั้นที่สุด
ใครที่ไม่เหมาะกับ NSAIDs
ต่อไปนี้คือกลุ่มคนบางกลุ่มที่ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยง NSAIDs:- บุคคลที่มีอาการแพ้หรือแพ้ง่าย:
-
-
- ผู้ที่แพ้ NSAIDs หรือเคยมีอาการแพ้ (เช่น ผื่นที่ผิวหนัง คัน หรือบวม) หลังจากรับประทานยาเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยงยาเหล่านี้
-
- ประวัติปัญหาระบบทางเดินอาหาร:
-
-
- บุคคลที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือมีปัญหาทางเดินอาหารอื่นๆ ควรใช้ NSAIDs ด้วยความระมัดระวัง ยาเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในทางเดินอาหารได้
-
- ผู้สูงอายุ:
-
-
- ผู้สูงอายุอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับ NSAID เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือปัญหาไต ขอแนะนำให้ผู้สูงอายุใช้ NSAID ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
-
- โรคไต:
-
-
- ผู้ที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว รวมถึงโรคไตเรื้อรัง ควรใช้ NSAIDs อย่างระมัดระวัง NSAIDs อาจส่งผลต่อการทำงานของไตและอาจทำให้ปัญหาไตที่มีอยู่แย่ลง
-
- โรคหัวใจ:
-
-
- บุคคลที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือหัวใจล้มเหลว ควรระมัดระวังการใช้ยากลุ่ม NSAIDs NSAIDs บางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง
-
- สตรีมีครรภ์:
-
-
- สตรีมีครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 ควรหลีกเลี่ยง NSAIDs เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ความเสี่ยงเหล่านี้รวมถึงความเกี่ยวข้องที่อาจเกิดขึ้นกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะหัวใจบกพร่องและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
-
- สตรีให้นมบุตร:
-
-
- NSAIDs สามารถขับออกทางน้ำนมแม่ได้ และความปลอดภัยระหว่างให้นมบุตรยังไม่เป็นที่แน่ชัด สตรีให้นมบุตรควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อนใช้ NSAID
-
- โรคหอบหืด:
-
-
- บุคคลที่เป็นโรคหอบหืดอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีอาการกำเริบของโรคหอบหืดหรือหลอดลมหดเกร็งเมื่อใช้ NSAIDs อาการนี้เรียกว่าโรคทางเดินหายใจที่ทำให้รุนแรงขึ้นจากแอสไพริน (AERD) หรือโรคหอบหืดที่เกิดจากแอสไพริน
-
- โรคตับ:
-
-
- ผู้ที่เป็นโรคตับ รวมถึงโรคตับแข็ง ควรใช้ NSAIDs ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากยาเหล่านี้อาจส่งผลต่อการทำงานของตับ
-
- ยาบางชนิด:
-
- NSAIDs อาจเกิดปฏิกิริยากับยาบางชนิด รวมถึงยาละลายลิ่มเลือด (ยาต้านการแข็งตัวของเลือด) ยาขับปัสสาวะ และยาลดความดันโลหิตบางชนิด บุคคลที่รับประทานยาเหล่านี้ควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนใช้ NSAID
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น