โนโรไวรัส (Norovirus) คือ ไวรัสในกระเพาะอาหาร และลำไส้ที่ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอ้อมกับผู้ติดเชื้อ เชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน และศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
ส่วนใหญ่แล้วทุกคนต้องเคยติดเชื้อโนโรไวรัส เพราะนี่ความเจ็บป่วยที่พบบ่อยของกระเพาะอาหาร และลำไส้ โนโรไวรัสเป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษอย่างหนึ่ง เพราะสามารถได้รับจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน
อาการที่ชัดเจนของโนโรไวรัสคือ อาเจียนและถ่ายเหลวเป็นน้ำ แต่ไม่มีเลือด อาการเหล่านี้มักเริ่มภายใน 12 – 48 ชั่วโมง หลังจากได้รับเชิ้อและอยู่ได้นานถึง 3 วัน คนส่วนมากมักฟื้นตัวได้เต็มที่
ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง หลักๆ คือการพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดคือ ภาวะขาดน้ำ โนโรไวรัสนั้นเป็นอันตรายมากหากพบในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด โดยอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
เนื่องจากมีโนโรไวรัสหลายสายพันธุ์ การที่เคยติดแล้วไม่ได้หมายความว่าจะมีภูมิคุ้มกันและไม่เป็นอีก โดยสามารถลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคได้โดยล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ
อาการท้องเสียจากโนโรไวรัส
อาการของการติดเชื้อมักเกิดขึ้นช่วง 12 – 48 ชั่วโมงหลังจากที่สัมผัสกับไวรัส โดยสามารถแสดงอาการที่ไม่รุนแรงและรุนแรงได้ โดยอาการบางอย่างได้แก่ อาการจะคงอยู่อยู่ระหว่าง 24 – 72 ชั่วโมง โปรดพบแพทย์หากอาการยังคงอยู่เกินกว่านั้น หรืออุจจาระเป็นเลือด อาการท้องร่วงอย่างรุนแรงส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยอาการขาดน้ำมีดังนี้- ปากและคอแห้ง
- ปัสสาวะลดลง หรือปัสสาวะมีสีเข้ม
- กรณีเด็ก ไม่ปัสสาวะนาน 12 ชม.
- ตาโหล
- ง่วงนอน และอ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- เวียนศีรษะ
- มึนงงและง่วง
- หัวใจเต้นเร็ว
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- ผู้ที่มีภาวะสุขภาพมาก่อน
- ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก
- ผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือเซลล์ต้นกำเนิด
สาเหตุของการท้องเสียจากโนโรไวรัส
การติดเชื้อเริ่มต้นเมื่อสัมผัสกับไวรัส อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน หรือการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อก่อนจะแตะปากหรือจมูก นั่นคือเมื่ออนุภาคเล็ก ๆ ของเชื้อเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีทางไม่รู้ตัวขณะที่อนุภาคเข้าไปในหลอดอาหาร เชื้อจะผ่านกระเพาะอาหาร และเข้าสู่ลำไส้ข ลำไส้เป็นแหล่งสะสมของโนโรไวรัสซึ่งดูเหมือนว่าจะมีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว และร่างกายจะสั่งให้แอนติบอดี้จัดการเชื้อเหล่านั้น โดยส่วนใหญ่แอนติบอดีจะสามารถกำจัดไวรัสเหล่านั้นได้ภายใน 3 วัน แต่อาจใช้เวลาในการกำจัดนานถึง 2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นการรักษาอาการท้องเสียจากโนโรไวรัส
ไม่มียาสำหรับกำจัดโนโรไวรัสโดยตรง เพราะไม่ใช่การติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นยาปฏิชีวนะจึงไม่สามารถช่วยได้ การรักษาส่วนใหญ่เพื่อป้องกันอาการไม่ให้แย่ลง โดยป้องกันการขาดน้ำเป็นหลัก ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อดูแลผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่าออกแรงเยอะ ควรจะพักผ่อนอยู่ที่บ้านให้เพียงพอดื่มน้ำให้เพียงพอ
ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อเพิ่มอิเล็กโทรไลต์ ขอแนะนำให้ใช้สารละลายให้ความชุ่มชื้นในช่องปาก เช่น Pedialyte ซึ่งจำเป็นมากในผู้ป่วยวัยเด็กและทารก เกลือแร่ ไอศกรีม และน้ำซุป เป็นอาหารที่แนะนำสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่เท่านั้น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
ทารกควรดื่มนมแม่ต่อไป หรือดื่มนมที่เป็นประโยชน์สำหรับทารก สำหรับเด็กโต และผู้ใหญ่ ควรรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ได้แก่- น้ำซุป
- ก๋วยเตี๋ยว
- ข้าว
- พาสต้า
- ไข่
- มันฝรั่ง
- ขนมปังหรือแครกเกอร์
- ผลไม้สด
- โยเกิร์ต
- เจลโล่
- ผักปรุงสุก
- โปรตีนที่ไม่ติดมัน เช่น ไก่และปลา
พบแพทย์
ผู้ป่วยสามารถลองใช้ยาต้านอาการท้องร่วงที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป (OTC) ยกเว้นกรณีที่อุจจาระเป็นเลือด หรือท้องเสียอย่างรุนแรง อย่าให้ยาประเภทนี้แก่ทารกหรือเด็กที่มีอาการอาเจียน หรือท้องร่วง เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ปกติแล้วอาการจะต้องดีขึ้นภายใน 2-3วัน หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์- มีไข้
- สูญเสียน้ำอย่างต่อเนื่อง
- ท้องร่วงรุนแรง หรือเป็นมากกว่า 3 วัน
- อุจจาระเป็นเลือด
- ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ร้ายแรง
- รับประทานยาต้านท้องร่วง แต่ยังไม่หายดี
โนโรไวรัสในเด็ก
ทารก และเด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโนโรไวรัส โดยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ อาการในทารกและเด็กได้แก่- หงุดหงิดหรืองอแง
- ง่วงนอน
- อาเจียน
- ท้องร่วง
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน และมีอาการอาเจียน หรือท้องร่วง
- ถ่ายเหลวภายใน 24 ชั่วโมง
- อาเจียนมากกว่า 3 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง
- ผิวซีด
- ร้องไห้ไม่มีน้ำตา
- ตาโหล
- มีไข้
- เซื่องซึมหรือตอบสนองน้อยกว่าปกติ
- มีอาการท้องร่วงเป็นเลือด
- เวียนหัว
- ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย
- มีอาการเป็นเวลานานกว่า 2 วัน
- มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย
โนโรไวรัสเป็นโรคติดต่อไหม?
โนโรไวรัสเป็นโรคติดต่อ ทุกคนสามารถรับไวรัสได้ และนั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นอีก ลักษณะของการติดต่อได้แก่- เพียง 18 อนุภาคไวรัส ก็สามารถทำให้ป่วยได้
- ไวรัสมีระยะฟักตัวสั้น ทำให้สามารถแพร่ไปทั่วร่างกายโดยที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ
- ไวรัสมีความทนทาน และสามารถอยู่รอดนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายวัน
- ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสต่อไปได้นานกว่า 2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
- ในบางคนที่ติดเชื้อไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังคนอื่นๆ ได้
- การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน หรือพักในสถานเลี้ยงเด็ก หรือบ้านพักคนชราเป็นเวลานาน ไวรัสแพร่กระจายเร็ว เพราะความใกล้ชิด การพักที่รีสอร์ตหรือโรงแรมก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน
- การสัมผัสกับผู้ป่วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสกับอาเจียนหรืออุจจาระ
- การแบ่งปันอาหาร หรือใช้ช้อนส้อมร่วมกับผู้ป่วย
- รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย
การแพร่เชื้อโนโรไวรัส
การแพร่เชื้อทำได้ง่าย ใช้เวลาเพียงไม่นานในการสัมผัสก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ด้วยระยะฟักตัวที่สั้นคุณสามารถแพร่กระจายได้ก่อนที่จะรู้ตัวว่าป่วย และแม้ว่าอาการจะหายไปแล้วแต่หลังจากนั้นยังคงแพร่เชื้อได้นาน 2-3 วัน หรือมากกว่า 1 เดือน เชื้อโรคสามารถทนความร้อนจัด หนาวจัด และอยู่ภายนอกร่างกายได้นานหลายวัน ปกติแล้วโนโรไวรัสแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระ ปาก แต่ก็สามารถแพร่กระจายผ่านละอองของอาเจียนได้เช่นกัน โดยสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการสัมผัสระหว่างบุคคล เช่น เมื่อจับมือผู้ป่วย แล้วไม่ล้างมือให้สะอาด หรือการสัมผัสด้วยปากเพียงครั้งเดียวก็ทำให้ติดเชื้อได้ การแพร่เชื้อทางอ้อมได้แก่ อาหาร น้ำ หรือผิวสัมผัสปนเปื้อน เพียงแค่สัมผัสลูกบิดประตู หรือโทรศัพท์มือถือที่ติดเชื้อ ก็สามารถติดต่อได้ เมื่อมีคนอาเจียนออกมาไวรัสอาจแพร่กระจายไปในอากาศได้ ดังนั้นหากไวรัสเข้าไปในปาก ก็จะแพร่สู่ลำไส้โดยทันทีโนโรไวรัสนั้นแพร่กระจายได้ง่ายในกลุ่มคนจำนวนมากการป้องกันโนโรไวรัส
- ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่บ่อยๆครั้งละประมาณ 20 วินาที (ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์เจลแทนการล้างมือเพราะ Norovirus เป็นไวรัสกลุ่ม Non-Enveloped virus ไวรัสกลุ่มนี้จะมีความทนต่อกรดต่อแอลกอฮอล์สูง)
- ล้างมือให้สะอาดหลังการใช้ห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม
- หลีกเลี่ยงน้ำและอาหารที่ไม่สะอาด เชื้อไวรัสจะทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมในน้ำได้นาน
- ล้างผักและผลไม้ก่อนรับประทานอาหารให้สะอาดอยู่เสมอ
- ปรุงอาหารให้สุกเสมอก่อนรับประทาน
- ทิ้งเศษอาเจียนและอุจจาระอย่างระมัดระวัง โดยใช้ผ้าชุปน้ำหมาดๆซับเพื่อไม่ให้มีการฟุ้งกระจายและทิ้งลงในถุงพลาสติกมัดปากให้สนิท
- ฆ่าเชื้อไวรัสในพื้นที่ปนเปื้อนด้วยสารละลายคลอรีน
- ผู้ป่วยควรงดการทำอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
- ผู้ป่วยในเด็กเมื่อได้รับเชื้อ ควรงดไปโรงเรียนหรือสถานที่รับเลี้ยงเด็กเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไกลจนกว่าจะอาการจะดีขึ้น
นี่คือที่มาของแหล่งบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/norovirus/index.html
- https://www.nhs.uk/conditions/norovirus/
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/norovirus/symptoms-causes/syc-20355296
- https://www.webmd.com/food-recipes/food-poisoning/norovirus-symptoms-and-treatment
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น