ฝันร้าย (Nightmares) เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ เพราะใครๆ ก็อยากนอนหลับฝันดี ฝันร้ายเป็นความฝันที่น่ากลัว และรบกวนใจ รูปแบบของฝันร้ายนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่หัวข้อทั่วไปมักจะเป็นการถูกไล่ตาม การตกจากที่สูง หรือความรู้สึกหลงทาง หรือติดอยู่ ฝันร้ายอาจทำให้คุณรู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆ ได้แก่
ซึ่งอารมณ์ยังจะคงติดค้างได้จนถึงหลังตื่นนอน
ฝันร้ายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน อย่างไรก็ตาม ฝันร้ายมักเกิดขึ้นในเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ผู้หญิงมักจะมีปัญหากับฝันร้ายมากกว่าเด็กผู้ชาย ฝันร้ายดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามปกติ แต่ไม่ได้รวมถึงความผิดปกติของความเครียดหลังเกิดบาดแผลทางจิตใจ (PTSD) หรือความผิดปกติทางจิตอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ฝันร้ายอาจกลายเป็นปัญหาได้หากมันยังคงอยู่ และรบกวนการนอนหลับที่ดี จนทำให้คุณไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ โปรดปรึกษาแพทย์หากฝันร้ายทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
สาเหตุของฝันร้าย
ฝันร้ายสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยดังต่อไปนี้- ภาพยนตร์ หนังสือ หรือวิดีโอเกมที่น่ากลัว
- รับประทานอาหารว่างก่อนนอน
- เจ็บป่วย หรือมีไข้
- ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท และยาเสพติด เป็นต้น
- ยานอนหลับที่หาซื้อเอง
- แอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด
- หยุดรับประทานยานอนหลับ หรือยาแก้ปวด
- ความเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
- โรคฝันร้าย (Nightmare disorder) โรคนอนไม่หลับที่มักฝันร้ายบ่อยๆ
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- Narcolepsy ความผิดปกติของการนอนหลับที่มีอาการง่วงนอนอย่างรุนแรงในระหว่างวัน จนทำให้หลับใน
- PTSD จากการที่ประสบเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การข่มขืน หรือฆาตกรรม เป็นต้น
การวินิจฉัยอาการฝันร้าย
เด็กและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มักฝันร้ายเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตามหากฝันร้ายต่อเนื่องเป็นเวลานานจนรบกวนชีวิต รบกวนการนอนหลับ และรบกวนความสามารถในการทำงานของคุณในระหว่างวัน ควรเข้าพบจิตแพทย์ แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับการใช้สารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ และยาผิดกฎหมายบางชนิด รวมทั้งยารักษาโรคตามใบสั่งแพทย์ หรือยา OTC และอาหารเสริมที่กำลังใช้อยู่ หากสงสัยว่ายาที่ใช้ทำให้เกิดอาการฝันร้าย โปรดปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยารักษา ไม่มีการทดสอบเฉพาะสำหรับการวินิจฉัยฝันร้าย อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจจะตรวจสอบพฤติการณ์ความฝันร้ายของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนในห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้เซ็นเซอร์ตรวจสอบร่างกายดังต่อไปนี้- อัตราการเต้นของหัวใจ
- คลื่นสมอง
- การหายใจ
- ระดับออกซิเจนในเลือด
- การเคลื่อนไหวของดวงตา
- การเคลื่อนไหวของขา
- ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
การรักษาฝันร้ายที่คอยทำร้ายใจ
ฝันร้ายอาจจะไม่ต้องการการรักษา แต่ต้องทำการแก้ไขในปัญหาพื้นฐานที่มีอยู่อาจจะเป็นปัญหาทางสุขภาพ หรือทางจิตใจ หากฝันร้ายของคุณเกิดขึ้นจากโรค PTSD แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาความดันโลหิต Prazosin ที่มีฤทธิ์สามารถเยียวยาฝันร้ายได้ แพทย์อาจจะแนะนำเทคนิคการบำบัด หรือลดปัญหาที่เกิดจากสภาพจิตใจดังต่อไปนี้- ความวิตกกังวล
- ความซึมเศร้า
- ความเครียด
ควรทำอย่างไรเมื่อฝันร้าย
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถช่วยแก้ไขปัญหาฝันร้าย คุณสามารถลองทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ได้- ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนไม่ให้มากเกินไป
- หลีกเลี่ยงยากล่อมประสาท
- ใช้เทคนิคผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือทำสมาธิก่อนเข้านอน
- กำหนดเวลาเข้านอน และตื่นนอนเวลาเดิมทุกเช้า
- กำหนดเวลาเข้านอน และเวลานอนให้เด็กๆ เหมือนเดิมทุกคืน
- ฝึกให้เด็กๆ ผ่อนคลายก่อนนอนด้วยการหายใจลึกๆ
- ให้เด็กๆ เขียนตอนจบของฝันร้ายใหม่
- ให้เด็กๆ พูดคุยกับตัวละครจากฝันร้าย
- ให้เด็กๆ ของคุณจดบันทึกความฝัน
- ให้เด็กๆ อยู่ใต้ผ้าห่ม หรือสร้างความอบอุ่นจากตุ๊กตา
- เปิดไฟเวลากลางคืน และเปิดประตูห้องนอนทิ้งไว้ตอนกลางคืน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฝันร้าย
ต่อไปนี้เป็นคำถามทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับฝันร้ายและคำตอบ:- ทำไมฉันถึงฝันร้ายบ่อยๆ?
-
-
- ฝันร้ายสามารถกระตุ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การบาดเจ็บ ยา หรือความผิดปกติของการนอนหลับบางอย่าง การระบุสาเหตุที่แท้จริงเป็นสิ่งสำคัญในการค้นหาวิธีแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ
-
- ยาสามารถทำให้เกิดฝันร้ายได้หรือไม่?
-
-
- ใช่ ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ซึมเศร้า ยารักษาโรคจิต และยารักษาความดันโลหิต อาจทำให้เกิดฝันร้ายหรือฝันร้ายได้ หากคุณสงสัยว่ายามีส่วนทำให้คุณฝันร้าย ให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณ
-
- ฉันจะลดอาการฝันร้ายได้อย่างไร?
-
-
- การปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยในการนอนหลับที่ดี การจัดการความเครียด และการจัดการปัญหาทางอารมณ์ที่ซ่อนอยู่สามารถช่วยลดฝันร้ายได้ เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึกๆ หรือการทำสมาธิก่อนนอนก็อาจเป็นประโยชน์เช่นกัน
-
- มีความเชื่อมโยงระหว่างฝันร้ายกับสุขภาพจิตหรือไม่?
-
-
- ใช่แล้ว ฝันร้ายกับสุขภาพจิตมีความเชื่อมโยงกัน สภาวะต่างๆ เช่น ความวิตกกังวล โรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) และภาวะซึมเศร้า อาจส่งผลให้ฝันร้ายเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรง
-
- ฉันควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อฝันร้ายซ้ำๆ หรือไม่?
-
-
- หากฝันร้ายส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพการนอนหลับ การทำงานในแต่ละวัน หรือสุขภาพจิต การขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับอาจเป็นประโยชน์ พวกเขาสามารถช่วยระบุปัญหาที่ซ่อนอยู่และให้การแทรกแซงที่เหมาะสม
-
- ปัจจัยด้านอาหารสามารถส่งผลต่อฝันร้ายได้หรือไม่?
-
-
- แม้ว่าจะมีหลักฐานโดยตรงที่จำกัดที่เชื่อมโยงอาหารบางอย่างเข้ากับฝันร้าย แต่การรับประทานอาหารมื้อหนักหรืออาหารรสเผ็ดใกล้เวลานอนอาจรบกวนการนอนหลับและช่วยให้ฝันสดใสได้ การรักษาอาหารที่สมดุลและการหลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอนจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
-
- ฝันร้ายมักเกิดขึ้นในบางกลุ่มอายุหรือไม่?
-
-
- ฝันร้ายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แต่มักเกิดในเด็กมากกว่า เด็กๆ มักจะฝันร้ายเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการ ฝันร้ายยังสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความเครียดหรือวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
-
- การอดนอนมีส่วนทำให้เกิดฝันร้ายได้หรือไม่?
-
- ใช่ การนอนหลับไม่เพียงพอหรือรูปแบบการนอนที่ผิดปกติอาจส่งผลต่อการจำความฝันและส่งผลให้เกิดฝันร้ายได้ การกำหนดตารางการนอนหลับให้สม่ำเสมอและระยะเวลาการนอนหลับที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณภาพการนอนหลับโดยรวม
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น