เครื่องพ่นยาแบบฝอยละอองคืออะไร
หากคุณเป็นโรคหอบหืด แพทย์อาจสั่งจ่ายเครื่องพ่นยาให้เพื่อการรักษาหรือช่วยให้หายใจดีขึ้น เครื่องนี้จะปล่อยยาที่เหมือนกับ metered-dose inhalers (MDIs) ซึ่งเป็นชนิดสูดดม เครื่องพ่นยาจะใช้ง่ายกว่า (MDIs) โดยเฉพาะเด็กที่ยังไม่โตพอที่จะใช้เครื่องสูด หรือผู้ใหญ่ที่เป็นหอบหืดรุนแรง เครื่องพ่นยาจะเปลี่ยนยาน้ำให้เป็นละอองเพื่อรักษาหอบหืด มีทั้งเป็นชนิดที่ใช้ไฟฟ้าหรือเป็นถ่าน และมีทั้งเป็นแบบเล้ก ๆ ที่พกติดตัวได้และแบบใหญ่ ๆ ที่ต้องวางบนโต๊ะหรือติดกับผนัง ทั้งสองชนิดมีปั๊มลม ยา และสายที่เชื่อมระหว่างยาและปั๊มลมอยู่ข้างใน ข้างบนเป็นส่วนที่นำเข้าปากหรือหน้ากากที่ให้หายใจเอาละอองเข้าไป นมผึ้งสามารถทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้อย่างไรการใช้งาน
แพทย์จะบอกว่าคุณต้องใช้เครื่องพ่นยาบ่อยแค่ไหน หากมีเอกสารแสดงวิธีใช้มากับเครื่อง ควรอ่านเอกสารที่ได้มา วิธีใช้เครื่องพ่นมีดังนี้:- วางตัวปั๊มลงบนพื้นเรียบ
- ตรวจสอบว่าส่วนประกอบทุกชิ้นสะอาดดี
- ล้างมือก่อนที่จะเตรียมยา
- หากยาผสมมาแล้ว ให้นำใส่ในที่ใส่ยา หากคุณจำเป็นต้องผสมเอง ให้วัดสัดส่วนให้ถูก และใส่เข้าไปในที่ใส่ยา
- ต่อท่อ ปั๊ม และที่ใส่ยาเข้าด้วยกัน
- ติดที่เป่าหรือหน้ากาก
- เปิดเครื่องและตรวจสอบว่าเครื่องพ่นได้
- ใส่ส่วนที่เป่าเข้าไปในปากปิดปากไม่ให้มีช่องว่าง
- หายใจเข้าช้า ๆ จนกว่ายาจะหมด อาจใช้เวลา 5-15 นาที
- ให้ที่ใส่ยาตั้งขึ้นในขณะที่ใช้
การทำงานของเครื่อง
อากาศจะถูกดันเข้าไปในท่อและทำให้ยาน้ำกลายเป็นละออง ระหว่างที่หอบหืดกำเริบหรือทางเดินหายใจติดเชื้อ ละอองยาจะไปช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น เมื่อทางเดินหายใจแคบลง เช่น ในขณะที่หอบหืดกำเริบ คุณจะไม่สามารถหายใจลึก ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ เครื่องพ่นยาฝอยละอองจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะนำยาเข้าไปข้างในได้มากกว่าเครื่องสูดที่ต้องหายใจเข้าลึก ๆ เครื่องพ่นยาสามารถส่งยาเพื่อรักษาทั้งระยะสั้น และระยะยาวได้ ยามากกว่า 1 ชนิดสามารถใช้รักษาได้พร้อมกัน ยาที่ใช้ร่วมกันได้ เช่น:- albuterol
- ipratropium
- budesonide
- formoterol
ประโยชน์ของ nebulizer
- ใช้ง่ายเมื่อหอบหืดกำเริบ เพราะไม่ต้องหายใจลึก ๆ เมื่อใช้
- สามารถใช้ยาหลายตัวพร้อมกันได้
- ง่ายต่อการใช้สำหรับเด็กเล็ก
ข้อเสียของ nebulizer
- เครื่องพ่นยาไม่ง่ายต่อการใช้แบบสูด
- มักต้องชาร์จไฟ
- การส่งยาเข้าไปนั้นทำได้ช้ากว่าการใช้เครื่องแบบสูด
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น