คลื่นไส้ (Nausea) : อาการ สาเหตุ การรักษา

อาการคลื่นไส้ (Nausea) คืออาการที่รู้สึกไม่สบายท้องและทำให้อยากอาเจียนออกมา ซึ่งอาการคลื่นไส้นั้นอาจเป็นอาการเบื้องต้นของโรคกระเพาะอาหาร อาการคลื่นไส้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และอาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ คลื่นไส้ (Nausea)

สาเหตุอาการคลื่นไส้

การคลื่นไส้นั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งบางคนอาจจะมีปฎิกริยาต่อปัจจัยเร้าบางอย่างที่ก่อให้เกิดอาการมึน งง หรืออาจมีอาการแพ้อาหารหรือยาบางชนิด หรือเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยา ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถทำให้เกิดการคลื่นไส้ได้ บางครั้งการตั้งครรภ์อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้เวียนหัว  หรือโรคอื่น ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงคืออาการคลื่นไส้ โดยสาเหตุหลัก ๆ ของอาการคลื่นไส้มีดังนี้

โรคกรดไหลย้อน

คืออาการแสบร้อนที่บริเวณหน้าอก เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารในณะที่คุณกำลังรับประทานอาหาร และสาเหตุนี้ทำให้เกิดการคลื่นไส้อาเจียนได้

อาการเมารถและเมาเรือ

อาการเมารถ หรือเมาเรือ อาการนี้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่อาจจะเกิดขึ้นในบางคนเมื่อนั่งรถหรือเรือที่ได้รับแรงกระแทก หรือเรือที่โคลงไปตามลูกคลื่นมากเกินไป จนทำให้ประสาท การทรงตัวไม่ปกติ ก่อให้เกิดอาการววิงเวียนและอาการคลื่นไส้ อาเจียนออกมาได้

การรับประทานอาหารที่มากไป

การรับประทานอาหารที่มากเกินไป หรือเลือกรับประทานแต่อาหารที่ชอบ เช่น อาหารที่มีไขมันสูงเกินไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือการรับประทานอาหารที่เราแพ้เข้าไปก็สามารถเกิดอาการคลื่นไส้ได้

การติดเชื้อ

เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส สามารถทำให้คุณมีอาการคลื่นไส้ได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนั้นเจริญเติบโตอยู่ในอาหาร เมื่อรับประทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียเข้าไป จะก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งเรียกว่า โรคอาหารเป็นพิษ 

การใช้ยาบางชนิด

การใช้ยาบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น การรักษาโรคมะเร็ง การใช้เคมีบำบัด ยาจำพวกนี้มีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกพะอืดพะอม ปวดท้องจนเกิดการคลื่นไส้ได้ โปรดอ่านข้อมูลของยา และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยา หรือการรักษาใดๆที่ทำให้เกิดการคลื่นไส้ 

อาการเจ็บป่วยหรือโรคอื่นๆ

หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว อาการปวดที่รุนแรงสามารถทำให้มีอาการคลื่นไส้ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้ใน โรคตับอ่อนอักเสบ โรคนิ่วในถุงน้ำดี และ โรคนิ่วในไต

แผลหรือฝีในระบบทางเดินอาหาร

การมีแผลในกระเพาะหรือในเยื่อบุลำไส้เล็ก อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เมื่อคุณรับประทานอาหาร อาหาร แผลในกระเพาะอาหารจะเกิดอาการระคายเคือง ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน และเกิดอาการคลื่นไส้อย่างฉับพลันได้ อาการคลื่นไส้ยังเป็นอาการของโรคอื่นๆอีกมากมาย รวมถึง:

วิธีแก้อาการคลื่นไส้

                 

วิธีแก้อาการคลื่นไส้นั้นสามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น การนั่งบริเวณแถวหน้าของรถระหว่างเดินทาง สามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้จากการเมาเรือหรือเมารถได้ อาการเมาเรือหรือเมารถนั้นสามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น ยาไดเมนไฮดริเนต (Dramamine) ยาต้านฮีสทามีน หรือการใช้แผ่นสโคโปลามีน เพื่อบรรเทาอาการเมาเรือ

การรับประทานยาเพื่อแก้อาเจียนนั้น สามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน หรือยาแก้ปวดหัวสำหรับรักษาอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ก็สามารถลดอาการคลื่นไส้ได้เช่นเดียวกัน

การดื่มน้ำให้เพียงพอหลังจากการคลื่นไส้อาเจียนนั้น ก็สามารถช่วยลดภาวะขาดน้ำหลังจากเกิดการคลื่นไส้ได้ ทำได้โดยการจิบน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มอื่นๆ การรับประทานอาหารแบบแบรทไดเอท(เช่น กล้วย ข้าว ซอสแอปเปิ้ล และขนมปังปิ้ง) มีประโยชน์อย่างมากในการลดอาการคลื่นไส้สำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร

การป้องกันอาการคลื่นไส้

การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ทำได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยดังต่อไปนี้ :
  • การอยู่ในสภาวะแสงไฟที่จ้า ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการโรคไมเกรนขึ้นได้
  • ความร้อนและความชื้นที่มากเกินไป
  • การเดินทางทางทะเล
  • กลิ่นที่แรง เช่น กลิ่นน้ำหอม และกลิ่นอาหาร
การรับประทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (ยาสโคโปลามีน) ก่อนการเดินทางนั้นสามารถป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมาเรือหรือเมารถได้ เปลี่ยนอุปนิสัยในการรับประทานอาหารของคุณ เช่น การแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อย และกินบ่อยๆ แทน ก็สามารถลดอาการคลื่นไส้ได้  หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือลดการรับประทานอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง หรือมีรสเลี่ยน ก็สามารถช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนได้เช่นเดียวกัน อาหารแก้คลื่นไส้ ที่ทำจะทำให้เกิดการคลื่นไส้น้อยลงนั้น ได้แก่ อาหารเช้าแบบซีเรียล คุกกี้ ขนมปังปิ้ง และน้ำซุปอุ่น ๆ  อาหารเหล่านี้สามารถแก้อาเจียนได้เป็นอย่างดี

รับประทานอาหารอย่างไรเมื่อคลื่นไส้

เปลี่ยนอุปนิสัยในการรับประทานอาหารของคุณ เช่น การแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อย และกินบ่อยๆ แทน ก็สามารถลดอาการคลื่นไส้ได้  หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือลดการรับประทานอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง หรือมีรสเลี่ยน ก็สามารถช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนได้เช่นเดียวกัน อาหารแก้คลื่นไส้ ที่ทำจะทำให้เกิดการคลื่นไส้น้อยลงนั้น ได้แก่ อาหารเช้าแบบซีเรียล คุกกี้ ขนมปังปิ้ง และน้ำซุปอุ่น ๆ  อาหารเหล่านี้สามารถแก้อาเจียนได้เป็นอย่างดี รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ. หากคุณรู้สึกไม่สบายท้องระหว่างมื้ออาหาร ให้ลองทานอาหารมื้อเล็กๆ 6-8 มื้อในระหว่างวันและทานอาหารว่างก่อนนอน รับประทานอาหารเย็นหรือที่อุณหภูมิห้องไม่ร้อนจัด เพื่อลดกลิ่นและรส อย่ากินในห้องอุ่น อากาศอาจดูอบอ้าวและเหม็นอับ และอาจทำให้ท้องของคุณรู้สึกแย่ลงได้ บ้วนปากก่อนและหลังอาหาร สิ่งนี้จะช่วยกำจัดรสชาติที่ไม่ดีในปากของคุณ นั่งหรือนอนโดยยกศีรษะขึ้นอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร หากคุณต้องการพักผ่อน การเงยหน้าขึ้นจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้   กินอะไรถ้าคุณรู้สึกคลื่นไส้: กินสัตว์ปีกหรือถั่วเหลือง. อาหารประเภทไก่ งวงไก่ หรือถั่วเหลือง หากคุณพบว่าจู่ๆ คุณก็ไม่ชอบเนื้อแดง (นี่อาจเป็นปฏิกิริยาทั่วไป) กินอาหารแห้งเช่น แครกเกอร์ ขนมปังปิ้ง ซีเรียลแห้ง หรือขนมปังแท่ง เมื่อคุณตื่นนอนและทุกๆ 2-3 ชั่วโมงในระหว่างวัน ให้สารอาหารและช่วยให้อิ่มท้อง รับประทานอาหารเย็นแทนอาหารรสเผ็ดร้อน. พิจารณาโยเกิร์ตที่ไม่มีไขมัน น้ำผลไม้ เชอร์เบท และเครื่องดื่มเกลือแร่ อาหารรสเผ็ดอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนมากยิ่งขึ้น อย่ากินอาหารที่มีรสหวานจัด มันเยิ้ม หรือทอด พวกเขาอาจทำให้ท้องของคุณปั่นป่วนมากยิ่งขึ้น พิจารณามันฝรั่งอบ ต้ม หรือบด; ข้าว; ซุปครีมที่ทำจากนมไขมันต่ำ เจลาตินรสผลไม้ เพรทเซิล; หรือพุดดิ้งไขมันต่ำ ลองทานอาหารรสจืด นิ่ม ย่อยง่ายในวันที่คุณนัดรับการรักษา ไข่ลวกบนขนมปังแห้งหรืออกไก่ตุ๋นกับบะหมี่ธรรมดาก็เป็นตัวเลือกที่ดี ทานอาหารที่ไม่มีกลิ่นแรง. กลิ่นอาจทำให้คลื่นไส้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา 


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด