กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) : อาการ ประเภท สาเหตุ การรักษา

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) คือ อาการอักเสบและอาการติดเชื้อในกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังและในระยะยาวต่อเนื่องกัน โรคกล้ามเนื้ออักเสบบางประเภทเกี่ยวข้องกับผื่นที่ขึ้นบนผิวหนัง โรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อย และการวินิจฉัยโรคทำได้ยากเพราะบางครั้งไม่สามารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคได้ อาการของโรคสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือค่อยๆเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อาการเบื้องต้นได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้ออ่อนเเรง มีปัญหากับการกลืนและหายใจลำบาก  โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กเเละผู้ใหญ่ ยกเว้นโรคกล้ามเนื้ออักเสบบางประเภทที่มีเเนวโน้มเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis)

ประเภทของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ 
  1. dermatomyositis โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ
  2. inclusion-body myositis โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
  3. juvenile myositis โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก
  4. polymyositis โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน
  5. toxic myositis โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษ

โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่สามารถวินิจฉัยได้ง่ายที่สุดเนื่องจากจะมีอาการผื่นแดงอมม่วงเป็นรูปดอกเฮเลียโทรฟปรากฎขึ้น ผื่นนี้เกิดขึ้นที่เปลือกตาแล้วลุกลามไปที่ใบหน้า หน้าอก ลำคอและหลัง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อข้อต่อ เช่น ที่ข้อนิ้ว ข้อศอก หัวเข่าและนิ้วเท้าทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงตามมา  อาการอื่นๆของโรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ ได้แก่
  • ผิวหนังแห้งหยาบหรือเกิดผิวหนังตกสะเก็ด
  • เกิดอาการ Gottron’s papules หรือ Gottron’s sign เป็นผื่นแดงนูนที่พบบนข้อนิ้วมือ ข้อศอก หัวเข่าและมักพบร่วมกับผิวหนังตกสะเก็ด
  • เกิดปัญหาในการลุกขึ้นจากท่านั่ง
  • รู้สึกอ่อนล้าเเละอ่อนเเรง
  • เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อคอ สะโพก กล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ด้วย
  • การกลืนลำบาก
  • เสียงแหบ
  • เกิดก้อนแคลเซียมเเข็งตัวใต้ผิวหนัง
  • รู้สึกเจ็บกล้ามเนื้อ
  • เกิดการอักเสบในข้อต่อ
  • บริเวณโค่นเล็บผิดปกติ 
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • แผลในกระเพาะอาหาร

โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกาย

โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกายหรือ (IBM) เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบเพียงชนิดเดียวที่โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกายหรือ (IBM) มีอาการเริ่มต้นด้วยอาการข้อมือและนิ้วมืออ่อนเเรงรวมถึงอาการกล้ามเนื้อขาอักเสบเเละอ่อนเเรง อาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงมักเกิดขึ้นในกล้ามเนื้อมัดที่เล็กกว่าและทำให้เกิดความไม่สมดุลของร่างกายเมื่อเกิดกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นบนร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง เชื่อว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม     อาการโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกาย (IBM)  ได้แก่ 
  • การเดินลำบาก
  • ไม่คล่องเเคล่วสูญเสียการทรงตัว
  • หกล้มง่าย
  • มีปัญหากับการลุกขึ้นจากท่านั่ง
  • การบีบและคลายมืออ่อนเเรง มือเล็กลงและใช้นิ้วไม่ถนัด
  • การกลืนลำบาก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เจ็บปวดในกล้ามเนื้อ
  • ปฏิกิริยาตอบสนองของเอ็นกล้ามเนื้อลดลง

โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก

โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กเกิดขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี โรคนี้เกิดขึ้นในผู้ป่วยเด็กอเมริกันจำนวน 3,000 ถึง 5,000 คน ซึ่งโรคนี้มีโอกาสเกิดขึ้นเด็กผู้หญิงมากกว่าสองเท่าของเด็กผู้ชาย อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้เหมือนกับโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดอื่นๆ โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กจะมีลักษณะกล้ามเนื้ออ่อนเเรงและผื่นขึ้นบนผิวหนัง อาการของโรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กได้แก่
  • เกิดผื่นสีแดงม่วงที่เห็นได้อย่างชัดเจนบนเปลือกตาหรือข้อต่อบางครั้งเห็นผื่นเป็นรูปดอกเฮเลียโทรฟ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เกิดอารมณ์หงุดหงิด
  • ปวดท้อง
  • เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติเช่นมีปัญหาในการขึ้นบันได ลุกขึ้นจากท่านั่งยาก และยืนแต่งตัวยาก
  • เกิดปัญหากับการยกมือขึ้นเหนือศีรษะเมื่อทำกิจกรรมสระผมหรือหวีผม
  • เกิดปัญหากับการยกศีรษะขึ้นหรือการผงกศีรษะ
  • เกิดรอยแดงจากการอักเสบ
  • มีปัญหากับการกลืน
  • เกิดก้อนเเคลเซียมที่เเข็งใต้ผิวหนัง
  • กล้ามเนื้ออ่อนล้า
  • เกิดการเจ็บปวดในกล้ามเนื้อเเละข้อต่อ
  • เสียงแหบ
  • มีอาการ Gottron’s papules คือตุ่มที่พบบริเวณข้อนิ้วมือ ข้อศอกและหัวเข่า 
  • มีไข้หวัด

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลันเริ่มจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงเกิดขึ้นที่บริเวณใกล้ลำตัวที่สุดและจากนั้นจึงแพร่ขยายออกไปทั่วร่างกาย อาการของโรงกล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลันของแต่ละคนเกิดขึ้นแตกต่างกัน มักพบอาการของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเกิดขึ้นร่วมด้วย อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน มีดังต่อไปนี้
  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรง
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ
  • การกลืนลำบาก
  • หกล้มง่าย
  • มีปัญหาในการลุกขึ้นจากท่านั่ง
  • รู้สึกอ่อนล้าเเละอ่อนเพลีย
  • มีอาการไอเเห้งแบบเรื้อรัง
  • ผิวที่มือหนาขึ้น
  • หายใจลำบาก
  • มีไข้หวัด
  • น้ำหนักลดลง
  • เสียงแหบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษมีเกิดจากสาเหตุการใช้ยาบางประเภทหรือการใช้ยาที่ผิดกฎหมาย การใช้กลุ่มยาลดคลอเลสเตอรอลหรือยาลดไขมันเช่นกลุ่มยาสแตติน (statins) เป็นยาที่ทำให้เกิดโรคนี้มากที่สุด แม้ว่าอาการของโรคนี้เป็นโรคที่หายากมาก แต่ก็มียาและสารชนิดอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษได้ ซึ่งได้แก่ยาประเภทต่อไปนี้  
  • ยาปรับภูมิคุ้มกันให้คงที่
  • ยารักษาโรคกระเพาะอาหารหรือยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ยารักษาโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง
  • ยารักษาอาการไอและบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
  • สารโทลูอีน (เป็นสารตัวทำละลายที่ใช้ในทินเนอร์ บางคนอาจนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายเช่นการสูดดมทินเนอร์ )
อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษมีอาการคล้ายกับอาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดอื่นๆ ผู้ที่เคยมีอาการของโรคนี้มากก่อน เมื่อผ่านการรักษาจนหายดีขึ้นเเล้วพวกเขามักหยุดใช้ยาที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเป็นพิษ

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนมากคิดว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในตัวเองบกพร่องทำให้ร่างกายทำลายหรือโจมตีกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามมักเกิดอาการบาดเจ็บและการติดเชื้อเกิดขึ้นเป็นหลัก นักวิจัยบางท่านเชื่อว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

วิธีการวินิจฉัย

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบมักได้รับการวินิจฉัยโรคผิด เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออักเสบเพราะเป็นโรคหาได้ยากและอาจเป็นเพราะอาการเบื้องต้นของโรคคือการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอาการอ่อนล้าและอ่อนเพลีย ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้ในโรคทั่วไป  แพทย์อาจจะวิธีใดวิธีหนึ่งได้ดังต่อไปนี้ในการวินิจฉัยโรค ได้แก่
  • การตรวจร่างกาย
  • การตัดกล้ามเนื้อไปตรวจ
  • การใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจเส้นประสาทรับความรู้สึกโดยใช้ไฟฟ้า 
  • การตรวจเลือดเพื่อระบุระดับ CPK 
  • การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคภูมิเเพ้ตัวเอง
  • การตรวจเลือดเพื่อค้นหาภูมิคุ้มกันโรคกล้ามเนื้ออักเสบเฉพาะ
  • การตรวจความผิดปกติของดีเอ็นเอ

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบไม่มียาและการรักษาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามมียากลุ่มstdocs.co/what-is-corticosteroids-2″>คอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น ยาเพรดนิโซโลน (Rayos) มักนำมาใช้เพื่อรักษาโรคนี้ แพทย์มักจัดยานี้ให้ร่วมกับยาที่กดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาอะซาไธโอพรีน(Azasan) และยาเมทโธเทร็กเซต  (Trexall) เนื่องจากโดยธรรมชาติของโรคกล้ามเนื้ออักเสบนี้อาจจะทำให้คุณได้รับการรักษาหลายแบบและต้องเปลี่ยนการรักษาไปเรื่อยๆเพื่อค้นหาแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณ คุณต้องให้ความร่วมมือในการรักษากับคุณหมอจนกว่าการรักษาประสบความสำเร็จดีที่สุด    การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อและการเล่นโยคะสามารถรักษากล้ามเนื้อให้แข็งเเรงและยืดหยุ่นเป็นการป้องกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพได้

ภาพรวมการรักษากล้ามเนื้ออักเสบ

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาสำหรับโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ผู้ป่วยบางคนที่มีอาการโรคกล้ามเนื้ออักเสบอาจจะต้องใช้ไม้เท้า อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินหรือรถเข็น หากปล่อยให้กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังและไม่รักษา อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางคนสามารถจัดการกับอาการเจ็บป่วยของตนเองได้ดีจนหายปวดกล้ามเนื้อทั้งหมดหรือผู้ป่วยบางคนอาจจะหายปวดกล้ามเนื้อบางส่วน

อาหารที่เหมาะกับผู้เป็นกล้ามเนื้ออักเสบ

ผลไม้และผัก

ผลไม้เต็มไปด้วยไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ (กลุ่มของสารอาหารที่ต่อสู้กับอนุมูลอิสระซึ่งสามารถทำลายเซลล์ได้) นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งวิตามินซีและวิตามินเอชั้นเยี่ยมอีกด้วย นอกจากนี้เรายังแนะนำให้เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ น้ำตาลต่ำ และล้างให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ควรจำกัดการบริโภคผลไม้แห้งและน้ำผลไม้เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูง  

ธัญพืช

เลือกธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้องและข้าวป่า ขนมปังโฮลวีต พาสต้าโฮลวีต ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต ควินัว และข้าวบาร์เลย์  เป็นแหล่งไฟเบอร์และพลังงานไขมันต่ำ เมล็ดธัญพืชยังให้โฟเลต วิตามินบี 6 และวิตามินบี 2 ซีลีเนียม และสังกะสีในปริมาณที่ดี แนะนำให้กินโฮลเกรนอย่างน้อยสามมื้อต่อวัน

เนื้อ ปลา และสัตว์ปีก

เลือกโปรตีนไม่ติดมัน เช่น ไข่ เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ไก่/ไก่งวงบดไม่ติดมัน ปลา เนื้อไม่ติดมัน (เนื้อสันใน เนื้อบด 90/10  เนื้อลูกวัว เนื้อแกะ เนื้อสันในหมู) สำหรับการเตรียมอาหาร: การย่าง การอบ การย่าง การลวก หรือการย่าง เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการทอด เนื้อสัตว์ ปลา และสัตว์ปีกยังเป็นแหล่งที่ดีของสังกะสี วิตามินบี และธาตุเหล็ก คำแนะนำของโปรตีนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระดับกิจกรรมและน้ำหนัก แต่โดยเฉลี่ยแล้วผู้ชายที่อยู่ประจำควรกินโปรตีนประมาณ 56 กรัมต่อวัน และผู้หญิงโดยเฉลี่ยควรกินโปรตีนประมาณ 46 กรัมต่อวัน

ถั่ว ถั่ว และเมล็ดพืช

เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ดีและมีไฟเบอร์สูง ให้วิตามินอีและซีลีเนียม เลือกถั่ว/เมล็ดพืชไม่ใส่เกลือและเนย (ถั่วลิสง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ) แนะนำให้ใช้ถั่วเมล็ดแห้ง พืชตระกูลถั่ว หากใช้ถั่วกระป๋อง ให้เลือกตัวเลือกโซเดียมต่ำและตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ระบายและล้างแล้ว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เทมเป้ และถั่วแระญี่ปุ่นก็เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ดีเช่นกัน

ผลิตภัณฑ์นม

เหล่านี้เป็นแหล่งแคลเซียมที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้มีสังกะสี วิตามินบี วิตามินดี และซีลีเนียม บุคคลที่หลีกเลี่ยงนมอาจเลือกนมที่ไม่มีแลคโตส นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ และผลิตภัณฑ์นมจากพืชอื่นๆ ที่ให้แคลเซียม เป้าหมายคือบริโภคผลิตภัณฑ์นมหรือผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสามมื้อต่อวัน

ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ

ไขมันดีส่วนใหญ่มาจากผัก ถั่ว เมล็ดพืช และปลา ไขมันที่ดีต่อสุขภาพประเภทหนึ่งเรียกว่า “ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว” น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และถั่วส่วนใหญ่ ตลอดจนน้ำมันดอกคำฝอยและดอกทานตะวันที่มีโอเลอิกสูง คือตัวอย่างของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว พยายามจำกัดไขมันแข็ง เช่น เนย มาการีนแบบแท่ง ชอร์ตเทนนิ่ง และน้ำมันหมู เพราะอาจทำให้เป็นโรคหัวใจได้

โอเมก้า-3

โอเมก้า-3 มีความสำคัญเนื่องจากอาจลดการอักเสบ แหล่งโอเมโก้ 3 ที่ดี ได้แก่ ปลาที่มีไขมัน (ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล ปลาแองโชวี่ ปลาซาร์ดีน และปลาเฮอริ่ง) อะโวคาโด เมล็ดแฟลกซ์บด เมล็ดเชีย  วอลนัท พีแคน น้ำมันคาโนลา น้ำมันวอลนัท และน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์

แก้ปัญหาการกลืนอาหารลำบาก

การกลืนลำบาก  เกิดขึ้นในประมาณหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก:
  • การกลืนจะเจ็บปวด
  • รู้สึกว่าอาหาร “ติดอยู่”
  • มีอาการเสียดท้อง
  • ไอบ่อยเมื่อกลืนของแข็งหรือของเหลว
  • มีไข้ต่ำ
  • การรับประทานอาหารจนหมดเป็นเรื่องยาก
  • ใช้เวลาทานอาหารนานขึ้น
  • เบื่ออาหาร
การกลืนลำบากอาจเกิดจากปากแห้งและ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบจากการสำลัก (อาหารติดอยู่ในปอด) การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักลด และภาวะขาดน้ำ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/myositis-symptoms-treatments-prognosis
  • https://medlineplus.gov/myositis.html
  • https://www.myositis.org/about-myositis/types-of-myositis/
  • https://www.myositis.org/about-myositis/
  • https://www.hopkinsmyositis.org/myositis/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด