เมารถ (Motion Sickness): อาการ สาเหตุ การรักษา

การเมารถคืออะไร?

การเมารถ (Motion Sickness) คือความรู้สึกมึนงง ตามปกติมักจะเกิดขึ้นเวลาเรามีการเดินทางโดยทางรถ เรือ เครื่องบินหรือรถไฟ ประสาทสัมผัสของร่างกายจะทำการส่งข้อความอันยุ่งเหยิงไปยังสมอง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการมึนงง วิงเวียนศีรษะหรือคลื่นไส้ หลายคนมักพบว่าส่วนใหญ่มักจะรู้ตัวอยู่แล้วว่ามีแนวโน้มว่าจะเป็นอาการดังกล่าว

อาการเมารถเป็นอย่างไร?

อาการเมารถปกติมักจะเกิดอาการไม่สบายท้อง ร่วมกับอาการอื่นๆเช่น เหงื่อออกหายใจถี่และวิงเวียนศีรษะ บางรายอาจเริ่มหน้าซีดหรือบ่นปวดศีรษะ อาการด้านล่างดังกล่าวเป็นอาการที่เป็นผลมาการเมารถ:
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • สูญเสียหรือมีปัญหาในเรื่องการทรงตัว

อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเมารถ

ในทุกๆการเดินทาง ทั้งทางบก ทางอากาศหรือทางน้ำ สามารถก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวจากการเมารถได้ทั้งสิ้น ในบางครั้งการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกหรือของเล่นเด็กในสนามเด็กเล่นก็สามารถทำให้เกิดอาการเมารถได้. พบว่าอาการเมารถมักเกิดขึ้นกับเด็กวัยระหว่าง2ถึง12ปี หญิงตั้งครรภ์ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดอาการดังกล่าวเนื่องจากมีการรบกวนของระบบหูชั้นใน

สาเหตุของการเมารถ

การรักษาสมดุลของร่างกายจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการส่งสัญญานไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ตาและหูชั้นใน ร่วมกับประสาทรับรู้ของขาและเท้าจะส่งสัญญานไปยังระบบประสาทให้รับรู้ในจังหวะที่ร่างกายเราแตะพื้นดิน เป็นต้น หากสมองได้รับสัญญานที่ขัดแย้งกันก็จะมีอาการเมารถตามมา ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราโดยสารบนเครื่องบินเรามองไม่เห็นความเคลื่อนไหวผิดปกติของบรรยากาศ แต่ร่างกายเรารู้สึกถึงมันได้ และส่งผลให้เกิดการสับสนจนเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ หรืออาจอาเจียนได้

สามารถวินิจฉัยอาการเมารถ 

อาการเมารถมักหายได้เองอย่างรวดเร็วและตามปกตินั้นไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ คนส่วนใหญ่จะรับรู้ความรู้สึกดังกล่าวได้เองเพราะอาการนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลาเดินทาง  หรืออาจเกิดขึ้นในบางกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมเฉพาะอย่างเท่านั้น

รักษาอาการเมารถ 

มียาที่เอาไว้รักษาอาการเมารถอยู่หลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่มักมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการเท่านั้น ซึ่งยาเหล่านี้อาจส่งผลทำให้รู้สึกง่วงนอน ดังนั้นหากรับประทานชนิดนี้แล้วห้ามขับขี่พาหนะใดๆหรือใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายโดยเด็ดขาด ยาแก้อาการเมารถส่วนใหญ่ที่แพทย์สั่งบ่อยๆมักเป็นยาพวกไฮออสซีน บิวทิลโบรไมด์(hyoscine hydrobromide)ที่เรารู้จักกันดีในชื่อของยาสโคโปลมีน ส่วนยาที่สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไปในการแก้อาการเมารถคือยาไดเมนไฮดริเนต ซึ่งพบได้ในชื่อการค้าคือ DramamineหรือGravol

จะป้องกันอาการเมารถได้อย่างไร

ส่วนใหญ่คนที่มีอาการเมารถง่ายมักจะรู้ตัวก่อนอยู่แล้ว หากคุณมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเมารถ ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวต่อไปนี้อาจช่วยป้องกันได้  มีการวางแผนการเดินทาง หากต้องเดินทางทางอากาศให้ขอที่นั่งที่ริมหน้าต่างหรือที่นั่งตรงบริเวณปีกเครื่องบิน ถ้าเดินทางโดยทางรถไฟ เรือ หรือรถบัส ให้เลือกที่นั่งตรงบริเวณด้านหน้าและพยายามหลีกเลี่ยงการนั่งมองไปทางด้านหลัง บนเรือโดยสารให้ขอห้องโดยสารที่ใกล้ด้านหน้าหรือตรงกลางเรือให้มากที่สุด เปิดหน้าต่างระบายอากาศบ้างเป็นครั้งคราวหากทำได้และหลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือบนพาหนะ  การเลือกนั่งบริเวณด้านหน้าของรถยนต์หรือรถบัส  หรือขับรถด้วยตนเองก็สามารถช่วยได้เช่นกัน หลายคนที่เคยพบเจอกับอาการเมารถพบว่าพวกเขาไม่มีอาการหากพวกเขาเป็นคนขับรถเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องพักผ่อนอย่างพอเพียงในคืนก่อนการเดินทางและหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะการขาดน้ำ ปวดศีรษะและความเครียดล้วนเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดแนวโน้มให้เกิดอาการเมารถได้มากขึ้น ควรรับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและอาหารที่ทำให้เกิดกรดทั้งก่อนและระหว่างการเดินทาง ใช้ทางเลือกแบบวิธีทางธรรมชาติหรือการบำบัดทางเลือก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่าพืชจำพวกเปปเปอร์มินต์ก็สามารถช่วยได้ เช่นเดียวกับขิงและฮอร์ฮาวด์สีดำ แม้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ก็ตามแต่ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับนักบิน นักบินอวกาศ หรือผู้ที่มีอาการเมารถเป็นประจำ หรือผู้ทีประกอบวิชาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องกับอาการเมารถ นักจิตบำบัดและการใช้เครื่องมือตรวจความสมดุลของร่างกาย (biofeedback)ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก การฝึกลมหายใจก็พบว่าสามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการรักษารูปแบบนี้มักใช้กับคนที่แค่นึกถึงเรื่องการเดินทางก็รู้สึกไม่สบายแล้วได้ผลออกมาที่ดี

เคล็ดลับสำหรับผู้ที่มีอาการเมารถ

อาการเมารถอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว แต่มีหลายวิธีที่คุณสามารถลองใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ คำแนะนำบางประการที่ควรพิจารณามีดังนี้:
  • เลือกที่นั่งของคุณอย่างชาญฉลาด : เมื่อเดินทางในยานพาหนะ ให้เลือกที่นั่งที่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ในรถยนต์ มักเป็นที่นั่งด้านหน้า บนเครื่องบิน ให้เลือกที่นั่งเหนือปีก เนื่องจากบริเวณนี้มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความวุ่นวายน้อยลง
  • มองไปข้างหน้าหรือท้องฟ้า : จับจ้องไปที่จุดที่มั่นคงในระยะไกล วิธีนี้สามารถช่วยให้สมองปรับสัญญาณการเคลื่อนไหวที่ขัดแย้งกันที่ได้รับและลดอาการคลื่นไส้ได้
  • อากาศบริสุทธิ์ : ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการระบายอากาศที่ดีโดยให้มีอากาศบริสุทธิ์หมุนเวียนในยานพาหนะหรือพื้นที่ที่คุณอยู่ อากาศเหม็นอับหรืออากาศที่จำกัดอาจทำให้อาการเมารถแย่ลงได้
  • ขิง : ขิงเป็นที่รู้กันว่าช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้ คุณสามารถลองลูกอมขิง ชาขิง หรือแม้แต่อาหารเสริมขิงก่อนและระหว่างการเดินทาง
  • หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก : อย่ากินอาหารหนัก มันเยิ้ม หรือเผ็ดก่อนเดินทาง เลือกใช้ของว่างเบาๆ รสชาติกลมกล่อมแทน
  • ป้องกันภาวะขาดน้ำ: ดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ แต่หลีกเลี่ยงปริมาณที่มากเกินไป เนื่องจากการอิ่มท้องอาจทำให้อาการเมารถรุนแรงขึ้นได้
  • ยา : ยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ เช่น Dramamine หรือ Bonine สามารถช่วยป้องกันหรือลดอาการเมารถได้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนรับประทานยาใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีโรคประจำตัวหรือใช้ยาอื่นๆ อยู่
  • กดจุด : บางคนพบความโล่งใจโดยการใช้แรงกดบนจุดกดจุดเฉพาะ จุดทั่วไปจุดหนึ่งอยู่ที่ด้านในของข้อมือประมาณสามนิ้วจากฐานฝ่ามือ
  • ใจเย็นๆ : ความวิตกกังวลและความเครียดอาจทำให้อาการเมารถแย่ลงได้ ฝึกหายใจลึกๆ การทำสมาธิ หรือเทคนิคการผ่อนคลายอื่นๆ เพื่อช่วยควบคุมระดับความเครียด
  • การเตรียมตัว : หากรู้ว่าตนเองมีอาการเมารถได้ง่ายควรเตรียมมาตรการป้องกันก่อนการเดินทาง หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก พักผ่อนให้เพียงพอ และลองใช้วิธีรักษา เช่น สายรัดข้อมือที่ออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการเมารถ
  • ฝึกสมองของคุณ : การเปิดรับการเคลื่อนไหวอย่างค่อยเป็นค่อยไปสามารถช่วยให้ร่างกายของคุณปรับตัวเมื่อเวลาผ่านไป เช่น หากคุณมีอาการเมาเรือได้ง่าย การใช้เวลาบนเรือนานขึ้นอาจช่วยลดความรุนแรงของอาการได้
โปรดจำไว้ว่ากลยุทธ์ที่ต่างกันใช้ได้ผลสำหรับคนแต่ละคน ดังนั้นคุณอาจต้องทดลองเพื่อดูว่าเทคนิคใดผสมผสานกันที่เหมาะกับคุณมากที่สุด หากอาการเมารถของคุณรุนแรงหรือต่อเนื่อง ให้ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/cold-and-flu/ear-infection/motion-sickness
  • https://my.clevelandclinic.org/health/articles/12782-motion-sickness
  • https://medlineplus.gov/motionsickness.html
  • https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/expert-answers/car-sickness-in-children/faq-20057876

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด