ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร
ยาเลื่อนประจำเดือน คือ ยาที่ช่วยให้ประจำเดือนที่จะมาถึงในรอบวันตามปกติ ถูกเลื่อนออกไปได้ ใช้ในกรณีที่ผู้หญิงเกิดความจำเป็นไม่อยากให้มีประจำเดือนในช่วงเวลานั้น ๆ โดยยาออกฤทธิ์ให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือนตามระยะเวลาปกติ และจะเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อหยุดกินยาลักษณะของยาเลื่อนประจําเดือน
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
ผู้ที่ต้องการเลื่อนประจำเดือนทำการกินยาเลื่อนประจํา เดือนชนิดฮอร์โมนรวมได้ ด้วยวิธีการต่อไปนี้ ยาฮอร์โมนรวม แบบ 28 เม็ด โดยปกติยาชนิดนี้จะมีฮอร์โมนอยู่ในตัวยา 21 เม็ดแรก และอีก 7 เม็ดที่เหลือจะเป็นเม็ดยาหลอก เพื่อให้ประจำเดือนมาในช่วง 7 วันที่รับประทานยาหลอกนั่นเอง ดังนั้นหาหต้องการเลื่อนประจำเดือนต่อไป ควรข้ามยาหลอกทั้ง 7 เม็ดไป แล้วรับประทานยาเลื่อนเมนแผงใหม่ต่อแทน ยาฮอร์โมนรวม แบบ 21 เม็ด ให้กินยาเลื่อนประจําเดือน 21 เม็ดเลย และตามปกติประจำเดือนจะมาในวันหลังจากที่ยาเม็ดสุดท้ายหมด และควรหยุดรับประทานยาไป 7 วันในระหว่างที่มีประจำเดือน หรือกินยาเลื่อนประจำเดือนแผงใหม่ต่อทันที เพื่อเลื่อนประจำเดือนต่อ หลังยาแผงแรกหมดยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสโตเจนตัวเดียว
เป็นยาที่ไม่สามารถเลื่อนประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากกำลังคุมกำเนิดด้วยยาชนิดนี้อยู่แล้ว ควรพิจารณาเปลี่ยนเป็นยาฮอร์โมนรวมแทน การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือนติดต่อกันเกิน 2 แผง โดยไม่หยุดพักให้ประจำเดือนมาตามปกติบ้างวิธีการกินยาเลื่อนประจําเดือนที่ถูกต้อง
- ยาเลื่อนประจำเดือน ควรกินก่อนประจำเดือนมาอย่างน้อย 3-5 วัน โดยกินยาตามน้ำหนักตัว
- กรณีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 60 กิโลกรัม กินยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง
- กรณีน้ำหนักตัวมากกว่า 60 กิโลกรัม กินยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
- เมื่อหยุดกินยา ประจำเดือนจะมาตามปกติภายใน 2-3 วัน
ผู้ที่ห้ามใช้ยาเลื่อนเมนส์
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากยาจะส่งผลให้ทารกในครรภ์ที่เป็นเพศหญิงเกิดพัฒนาการของอวัยวะเพศภายนอกคล้ายกับเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุครรภ์เดือนครึ่งไปแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังพัฒนาอวัยวะเพศ
- ผู้ที่กำลังให้นมลูก เนื่องจากตัวยาสามารถปนเปื้อนไปในน้ำนมของแม่ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับทารกได้
- ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือมีเคยมีอาการของโรคหลอดเลือดอุดตัน เนื่องจากยากลุ่มนี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตันได้
- ผู้ที่เคยเป็น หรือกำลังเป็นโรคตับขั้นรุนแรง เนื่องจากยานี้จะถูกกำจัดที่ตับ การรับประทานจะทำให้ตับทำงานหนักเกิบ หรืออาจเกิดการสะสมของยาในร่างกายได้ และยังพบความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบด้วย
- ผู้ที่เคยเป็นหรือกำลังเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งที่อวัยวะเพศ ชนิดที่ไวต่อฮอร์โมน เพราะตัวยาจะสนับสนุนการเจริญของเนื้อร้ายเหล่านี้
ยาเลื่อนประจําเดือน ผลข้างเคียงอย่างไร
การกินยาเลื่อนประจำเดือนจะส่งผลต่อการคุมกำเนิดได้ แต่จะไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เพื่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ควรใช้ถุงยางอนามัยด้วยเสมอยาเลื่อนประจําเดือนผลข้างเคียง ได้แก่
- แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ปวดท้อง
- มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย เป็นเลือดจากการหลุดลอกของเยื่อบุผิวโพรงมดลูก แต่ไม่ใช่ประจำเดือน
- เจ็บเต้านม
- คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ
- ปวดศีรษะ
- มีความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ และความต้องการทางเพศ
ยาเลื่อนประจำเดือนส่งผลต่อยาอื่น ๆ หรือไม่
ปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงยาที่ใช้ในการเลื่อนประจำเดือน อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับยาเฉพาะที่เกี่ยวข้อง หากคุณกำลังพิจารณาที่จะใช้ยาเพื่อเลื่อนประจำเดือนหรือหากคุณกำลังใช้ยาอยู่แล้วและมีความกังวลเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ พวกเขาสามารถให้คำแนะนำส่วนบุคคลโดยพิจารณาจากประวัติทางการแพทย์ของคุณ ยาที่ใช้ในปัจจุบัน และข้อพิจารณาด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล ต่อไปนี้เป็นประเด็นทั่วไปบางประการเกี่ยวกับการโต้ตอบระหว่างยากับยาที่ใช้ในการควบคุมรอบประจำเดือนหรือการเลื่อนออกไป:- การโต้ตอบกับยาอื่น ๆ:
-
-
- ยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับฮอร์โมนคุมกำเนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งอาจรวมถึงยา เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยากันชัก ยาต้านเชื้อรา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสามารถประเมินปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นโดยพิจารณาจากยาเฉพาะที่คุณกำลังรับประทาน
-
- ประสิทธิผลของยาคุมกำเนิด:
-
-
- ยาบางชนิดอาจส่งผลต่อประสิทธิผลของยาคุมกำเนิด สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ รวมถึงยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์สมุนไพร
-
- ยาปฏิชีวนะและการคุมกำเนิด:
-
- มีความเชื่อกันโดยทั่วไปว่ายาปฏิชีวนะสามารถรบกวนประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดได้ แม้ว่ายาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับฮอร์โมนคุมกำเนิด แต่ขอบเขตของปฏิกิริยาจะแปรผัน ขอแนะนำให้ใช้วิธีคุมกำเนิดเพิ่มเติมในระหว่างการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและหารือเรื่องนี้กับแพทย์
- ยาต้านอาการชัก:
-
-
- ยากันชักบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับฮอร์โมนคุมกำเนิด หากคุณกำลังใช้ยารักษาอาการชัก ให้ปรึกษาถึงปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ
-
- ปัจจัยด้านสุขภาพส่วนบุคคล:
-
- ปัจจัยด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น การทำงานของตับและการเผาผลาญ สามารถส่งผลต่อปฏิกิริยาระหว่างยาในร่างกายได้ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณสามารถพิจารณาปัจจัยเหล่านี้เมื่อประเมินปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้น
สรุปภาพรวมของยาเลื่อนประจำเดือน
ยาเลื่อนประจำเดือนไม่สามารถใช้ทดแทนยาคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ ยาเลื่อนประจำเดือนจะให้ผลดีแก่ผู้ที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ และรู้วันที่จะมีประจำเดือนที่แน่นอนมากกว่าผู้ที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ ผู้ที่มีเลือดออกจากอวัยวะเพศที่ผิดปกติอยู่แล้ว ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการก่อนใช้ยา เพราะการกินยาเลื่อนประจำเดือนอาจบดบังอาการของโรคได้นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://patient.info/news-and-features/how-to-delay-period-norethisterone
- https://www.nhs.uk/common-health-questions/travel-health/how-can-i-delay-my-period/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น