ไมเกรน (Migraine) : อาการ สาเหตุ ประเภทของ การรักษา 

ไมเกรน (Migraine) คือ ความผิดปกติของสภาพระบบประสาทอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน อาการที่พบบ่อยคือ การตึงของกล้ามเนื้อ การอ่อนล้า และการปวดศีรษะ ลักษณะอาการมักจะประกอบไปด้วยการคลื่นไส้ คลื่นไส้อาเจียน ลำบากในการเปล่งเสียงหรือพูดคุย มึนงง และประสาทสัมผัสไวต่อเสียงและแสง คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นไมเกรนได้ การวินิจฉัยการปวดศีรษะไมเกรนนั้นขึ้นกับประวัติผู้ป่วย การรายงานอาการ และการวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย ประเภทของการปวดศีรษะไมเกรนนั้นได้แก่ ไมเกรนแบบทั่วไป (Common migrane) คือ ไม่มีอาการนำก่อนการปวดศีรษะ และไมเกรนแบบคลาสิก (Classic migrane) คือ มีอาการนำหรือมีสิ่งเร้าก่อนการปวดศีรษะ (Headache) ไมเกรนสามารถเริ่มต้นเป็นได้ตั้งแต่วัยเด็กหรืออาจจะไม่เป็นเลยจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ไมเกรนพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และหากในครอบครัวมีผู้เป็นไมเกรน มีโอกาสเป็นไปได้สูงว่าบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวจะสามารถเป็นไมเกรนได้เช่นกัน  ไมเกรนมีความแตกต่างจากการปวดหัวโดยทั่วไป เราสามารถสังเกตลักษณะอาการได้ว่าการปวดศีรษะแบบนี้เป็นไมเกรนหรือเป็นการปวดศีรษะโดยทั่วไป

ปวดแบบไหนเป็นไมเกรน

อาการเจ็บปวดจากไมเกรนสามารถอธิบายได้ดังนี้
  • ปวดตึบๆ
  • ปวดแบบเสียดแทง
  • ปวดแบบกดรัด
  • เหนื่อยล้า
นอกจากนี้ยังรวมถึงอาการเมื่อยล้าอย่างหนักและยาวนาน อาการปวดอาจจะเริ่มจากการปวดที่ไม่รุนแรง แต่หากการรักษาจะสามารถปวดแบบรุนแรงได้  ไมเกรนมักจะปวดที่บริเวณหน้าผาก และมีอาการปวดที่ด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ แต่ทั้งนี้สามารถปวดศีรษะทั้งสองด้านพร้อมกันได้ หรือจะปวดสลับกันก็ได้ โดยทั่วไปไมเกรนจะสร้างความเจ็บปวดราวๆ 4 ชัวโมง หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะยาวนานถึง 72 ชั่วโมงหรือนานนับสัปดาห์ ในไมเกรนแบบออร่า ความเจ็บปวดมักจะคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาที่พบสิ่งเร้าหรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ 

อาการของโรคไมเกรน

อาการของไมเกรนอาจจะเกิดขึ้น 1 – 2 วันก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดศีรษะ และนี้คือลักษณะการบ่งบอกว่าคุณเป็นไมเกรน ลักษณะอาการจะมีดังนี้: ไมเกรนแบบออร่า หรือแบบมีอาการเตือน คุณมักจะมีปัญหาในเรื่องการมองเห็น ความรู้สึก การเคลื่อนไหว การเปล่งเสียงหรือพูดคุย โดยจะมีลักษณะอาการดังนี้
  • พูดไม่ชัด
  • รู้สึกชา ซ่า ที่บริเวณใบหน้า แขน หรือขา
  • มองเห็นแสงวาบ หรือจุดแสง
  • สูญเสียการมองเห็นชั่วคราว
ระยะต่อไปคือระยะที่ส่งผล นี่คือระยะที่ไมเกรนจะส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง ในผู้ป่วยบางรายสามารถเกิดระยะนี้พร้อมกับช่วงที่เกิดออร่าหรือมีอาการเตือน ระยะส่งผลรุนแรงนี้สามารถเกิดได้ยาวนานตั้งแต่ระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน อาการไมเกรนสามารถเกิดขึ้นได้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ลักษณะบางประการของอาการไมเกรนมักจะประกอบไปด้วยอาการเหล่านี้ 
  • มีการไวต่อแสงและเสียงมากขึ้น
  • คลื่นไส้
  • หน้ามืด เป็นลม
  • ปวดหัวข้างเดียวบ่อยๆ อาจจะปวดที่ด้านซ้ายหรือขวา หน้าหรือหลัง หรือขมับ
  • มีอาการปวดหัวมากๆ และรู้สึกตึบๆในศีรษะ
  • อาเจียน
หลังจากระยะอาการรุนแรง จะเข้าสู่ระยะที่บ่งบอกอาการของไมเกรนชัดเจน นั่นคือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความรู้สึก ตั้งแต่ความรู้สึกร่าเริงมีความสุข ไปจนสู่ความรู้สึกเหนื่อยล้าและเบื่อหน่าย โดยที่อาการปวดหัวเล็กน้อยนั้นจะยังคงอยู่ ความยาวนานและรุนแรงของไมเกรนจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางระยะอาจจะถูกข้ามไปและไม่ปรากฏในการเป็นไมเกรน และเป็นไปได้ว่าการเป็นไมเกรนจะไม่มีอาการปวดหัวร่วมด้วยในบางครั้ง

การตรวจสอบว่าเป็นไมเกรนหรือไม่

แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะอาการของผู้ป่วย  ซักถามประวัติผู้ป่วย และทำการตรวจร่างกาย เพื่อวิเคราะห์และแยกแยะสาเหตุ รวมถึงการฉายภาพทางการแพทย์ได้แก่ CT scan หรือ MRI เพื่อหาสาเหตุอันประกอบไปด้วย

ประเภทของไมเกรน

Migraine ไมเกรนมีหลายประเภทมากๆ แต่ประเภทหลักๆ จะมี 2 ประเภทด้วยกันได้แก่ ไมเกรนแบบมีออร่า(อาการเตือน) และไมเกรนแบบไม่มีออร่า ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงประเภทของไมเกรน 3 ประเภทด้วยกัน โดยไมเกรนอีกประเภทที่กล่าวถึงคือไมเกรนจากความเครียด

ไมเกรนแบบไม่มีออร่า

ไมเกรนประเภทนี้ถูกเรียกว่าไมเกรนทั่วไป (common migraine)ซึ่งผู้ป่วยไมเกรนส่วนมากจะเป็นไมเกรนประเภทนี้ จากข้อมูลของ International Headache Society ผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนประเภทนี้ จะได้รับมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างน้อยสองประการ
  • ปวดศีรษะตั้งแต่ 4 – 72 ชั่วโมง กรณีที่ไม่ได้รับการรักษาหรือการรักษาไม่ได้ผล โดยจะมีอาการอย่างน้อย 2 ข้อจากอาการดังต่อไปนี้
    • ปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง
    • ปวดศีรษะตึบๆ
    • ปวดศีรษะตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง
    • ความเจ็บปวดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นขณะที่เดินขึ้นลงบันได
  • มีอาการไมเกรนต่อไปนี้
    • ไมเกรนจากแสงจ้า
    • ไมเกรนจากเสียงดัง
    • คลื่นไส้โดยปราศจากอาการอาเจียน
  • ปวดศีรษะโดยไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ

ไมเกรนแบบมีออร่า

ไมเกรนประเภทนี้ถูกเรียกว่า คลาสสิกไมเกรน(classic migraine) ผู้ป่วยไมเกรนประเภทนี้มีราวๆ 25% จากผู้ป่วยไมเกรนทั้งหมด จากข้อมูลของ International Headache Society ผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนประเภทนี้ จะได้รับมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างน้อยสองประการ
  • อาการเตือนจะมีอย่างน้อยหนึ่งอาการจากอาการเหล่านี้
    • ปัญหาด้านการมองเห็น
    • ปัญหาด้านความรู้สึกของร่างกาย ใบหน้า หรือลิ้น เช่น อาการช่า หรือซ่า
    • มีปัญหาในการเปล่งเสียงหรือพูดคุย
    • เมื่อยล้าหรืออ่อนแรง สามารถเป็นได้ยาวนานถึง 72 ชั่วโมง
    • อาการผิดปกติก้านสมองที่ประกอบไปด้วย
      • พูดไม่ชัด
      • รู้สึกปั่นป่วนทางอารมณ์
      • หูอื้อ
      • มีปัญหาในการได้ยิน
      • เห็นภาพซ้อน
      • ไม่มีแรงในการเคลื่อนไหวร่างกาย
      • หมดสติ
      • มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ประกอบไปด้วย แสงจ้า จุดดำ หรือสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว
  • อาการเตือนจะมีอย่างน้อย 2 ประการจากคุณลักษณะต่อไปนี้:
    • อาการไมเกรนขยายตัวยาวนานมากกว่า 5 นาที
    • แต่ละอาการเตือนสามารถเกิดได้ตั้งแต่ 5 นาที จนถึง 1 ชั่วโมง และในบางรายสามารถเกิดได้ถึง 3 ชั่วโมง
    • ปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง มีปัญหาด้านการมองเห็น ปัญหาด้านการพูด และการเปล่งเสียง
    • อาการเตือนจะเกิดร่วมกับการปวดศีรษะหรือเกิดก่อนหน้านั้น 1 ชั่วโมง
  • อาการปวดศีรษะไม่ได้เกิดจากปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ หรือการขาดเลือดเลี้ยงสมองชั่วคราว
ออร่าหรืออาการเตือนจะเกิดขึ้นก่อนการปวดศีรษะ แต่สามารถเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องร่วมกับการปวดศีรษะ

ไมเกรนจากความเครียด

ไมเกรนประเภทนี้เกิดจากความเครียดเป็นตัวเหนี่ยวนำ เป็นการปวดหัวจากความเครียด การปวดไมเกรนประเภทนี้สามารถบรรเทาด้วยการออกกำลังกายประเภทโยคะได้

สาเหตุของไมเกรน

นักวิจัยไม่สามารถระบุสาเหตุที่ว่าโรคไมเกรนเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตาม พวกเขาพบว่ามีปัจจัยบางอย่างเหนี่ยวนำให้เกิดไมเกรน ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง เช่น การลดลงของระดับเซโรโทนินในสมอง ปัจจัยอื่นๆ ที่ชักนำให้เกิดไมเกรนได้แก่
  • แสงสว่างจ้า
  • อากาศที่ร้อนจัด
  • การสูญเสียน้ำของร่างกาย
  • การเปลี่ยนแปลงของความดันบรรยากาศ
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในเพศหญิงระหว่าง ฮอร์โมเอสโทเจนหรือโพรเจสเทอโรน ในระหว่างช่วงมีประจำเดือนหรือการตั้งครรภ์
  • ความเครียดสะสม
  • เสียงที่ดังมาก
  • การตึงทางกายภาพของร่างกายจากกิจกรรมต่างๆ
  • การอดอาหาร
  • การเปลี่ยนช่วงเวลาเข้านอน
  • การใช้ยาที่มีผลข้างเคียง เช่น ยาคุมกำเนิดหรือไนโตรกลีเซอรีน
  • กลิ่นไม่ถึงประสงค์
  • อาหารบางชนิด
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การท่องเที่ยว
หากผู้ป่วยเป็นไมเกรน แพทย์จะขอให้ผู้ป่วยทำบันทึก โปรดเขียนลงในบันทึกทำอะไร อาหารแบบไหนที่รับประทาน รวมถึงยาชนิดใดที่รับประทานก่อนที่จะเกิดไมเกรน ซึ่งนั้นสามารถบอกสิ่งเหนี่ยวนำให้เกิดไมเกรนได้

วิธีรักษาไมเกรน

ไมเกรนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่แพทย์สามารถจัดการกับอาการเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในความถี่ที่น้อยลงได้ และจะทำการรักษาตามลักษณะอาการ การรักษาจะช่วยให้ความรุนแรงจากความเจ็บปวดน้อยลงได้ แผนการรักษาไมเกรนนั้นขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้
  • อายุ
  • ความบ่อยในการเกิดไมเกรน
  • ประเภทของไมเกรน
  • ความรุนแรงและความยาวนานของความเจ็บป่วย
  • ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วยหรือไม่
  • ปัจจัยด้านสุขภาพอื่นๆ หรือการรักษาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยได้รับ
แผนการรักษาอาจจะทำร่วมกับวิธีการเหล่านี้
  • การเยียวยาและดูแลตนเอง
  • การปรับปรุงพฤติกรรม การหลีกเลี่ยงความเครียดและสิ่งเร้าต่างๆ
  • รับประทานยาช่วยลดอาการปวด เช่น  NSAIDs หรือ acetaminophen (Tylenol)
  • ยาบรรเทาอาการไมเกรนที่แพทย์สั่งคุณจำเป็นต้องใช้ทุกวัน เพื่อลดความเจ็บปวดและความถี่ในการเกิดไมเกรน
  • ยาบรรเทาอาการไมเกรนที่แพทย์สั่งคุณต้องรับประทานทันทีที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะป้องกันการปวดศีรษะที่รุนแรง
  • ยาบรรเทาอาการที่ช่วยลดการคลื่นไส้และป้องกันการอาเจียน
  • การบำบัดด้วยฮอร์โมนในกรณีที่ไมเกรนเกิดขึ้นสัมพันธ์กับประจำเดือนของผู้ป่วย
  • การให้คำปรึกษาทางการแพทย์
  • การรักษาทางเลือก อาจจะหมายถึงนวดกดจุด หรือการฝังเข็ม

การบรรเทารักษาอาการคลื่นไส้และป้องกันการอาเจียนจากไมเกรน

ถ้าผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้โดยปราศจากอาการอาเจียน  แพทย์จะแนะนำยาต้านอาการคลื่นไส้ให้กับผู้ป่วย หรือยาแก้แพ้ โดยยานี้สามารถช่วยป้องกันการอาเจียนของผู้ป่วยได้ การนวดกดจุดสามารถบรรเทาอาการไมเกรนได้อีกวิธีหนึ่ง โดยสามารถลดความรุนแรงของการคลื่นไส้ได้ตั้งแต่ 30 นาทีไปจนถึง 4 ชั่วโมง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะทำให้เกิดไมเกรนได้

อาหารที่มีส่วนประกอบดังนี้สามารถชักนำให้คุณเกิดไมเกรนได้
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มาคาเฟอีน
  • ส่วนผสมอาหารบางชนิด ได้แก่ ไนเตรท สารทดแทนความหวาน(aspartame) ผงชูรส (monosodium glutamate)
  • ไทรามีนที่พบได้จากธรรมชาติในอาหารบางชนิด
ไทรามีนมักเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการหมักดองอาหาร อาหารที่มีไทรามีนได้แก่ ชีสบางชนิด  กะหล่ำปลีดอง และซอสถั่วเหลือง อย่างไรก็ตามบางงานวิจัยพบว่าไทรามีนอาจจะสารป้องกันการปวดหัวมากกว่าเหนี่ยวนำให้เกิดไมเกรนสำหรับบางคน

การบรรเทาและเยียวยาไมเกรน

ผู้ป่วยสามารถลองทำวิธีการดังต่อไปนี้ เพื่อเยียวยาไมเกรน
  • นอนพักผ่อนในห้องที่มืดและเงียบสงบ
  • นวดที่หนังศีรษะและขมัย
  • วางผ้าเย็นบนหน้าผากหรือด้านหลังของคอ
นอกจากนี้แล้วผู้คนส่วนมากยังนิยมใช้สมุนไพรร่วมด้วยในการเยียวยาไมเกรนด้วยเช่นกัน

คำถามที่พบบ่อย

ไมเกรนสามารถรักษาที่บ้านได้หรือไม่  การใช้น้ำมันหอมระเหยและการจัดการกับความเครียด อาจช่วยบรรเทาอาการและช่วยป้องกันอาการต่างๆ ได้ อาการปวดหัวไมเกรนแตกต่างจากอาการปวดหัวประเภทอื่นๆ อาการอาจรวมถึง: การเปลี่ยนแปลงทางสายตา มีวิธีรักษาไมเกรนหรือไม่  ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาไมเกรนให้หายขาดแม้ว่าจะมีการรักษาหลายวิธีเพื่อช่วยบรรเทาอาการ อาจใช้เวลาในการหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ คุณอาจต้องลองยาหลายๆ ชนิดหรือหลายชนิดรวมกันก่อนที่จะพบยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไมเกรนปวดนานแค่ไหน ไมเกรนมักปวดนาน 4 ถึง 72 ชั่วโมงหากไม่ได้รับการรักษา ไมเกรนเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ไมเกรนอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยหรือเกิดขึ้นหลายครั้งต่อเดือน กาแฟดีต่อไมเกรนหรือไม่ ตามที่ American Migraine Foundation (AMF) ระบุว่าการดื่มกาแฟไม่ใช่การรักษาที่ได้ผลสำหรับอาการปวดหัวไมเกรน แม้ว่าคาเฟอีนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะสำหรับผู้ที่เป็นไมเกรนได้ แต่ผลกระทบของคาเฟอีนต่อสมองอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนใช้มันอย่างไร ควรกินอะไรสำหรับผู้ปวดไมเกรน อาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม ได้แก่ผักใบเขียวเข้ม อะโวคาโด และทูน่า กรดไขมันโอเมก้า 3: การวิจัยระบุว่าการเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยผู้ที่เป็นไมเกรนได้ อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลา เช่น ปลาแมคเคอเรลและปลาแซลมอน เมล็ดพืช และพืชตระกูลถั่ว ทำไมไมเกรนถึงไม่หายไป ปวดหัวเรื้อรังเกิดจากอะไร อาการปวดศีรษะต่อเนื่องอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บหรือปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างกระดูกสันหลัง เช่น ข้ออักเสบ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อผู้ที่เป็นไมเกรนหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การใช้ยาบรรเทาอาการปวดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างต่อเนื่อง กล้วยดีต่อไมเกรนหรือไม่ กล้วยดีต่ออาการปวดหัวเพราะให้โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ หากปวดหัวเพราะขาดน้ำ ผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบสูงสามารถต่อสู้กับอาการปวดหัวได้ ช็อกโกแลตช่วยไมเกรนได้หรือไม่ มีส่วนประกอบบางอย่างของช็อกโกแลต ซึ่งในทางทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นไมเกรน ตัวอย่างเช่น มีแมกนีเซียมและไรโบฟลาวิน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถปรับปรุงอาการไมเกรนเมื่อรับประทานเป็นอาหารเสริม  ไอศกรีมดีต่อไมเกรนหรือไม่ อาหารเย็น เช่น ไอศกรีมอาจเป็นตัวกระตุ้นไมเกรนสำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนแต่สำหรับคนส่วนใหญ่ อาการปวดจะหายไปอย่างรวดเร็ว วิธีแก้ไขคือกินไอศกรีมหรือดื่มเครื่องดื่มเย็นให้ช้าลง  อาหารชนิดใดที่แย่กว่าสำหรับไมเกรน อาหารที่มียีสต์ เช่น ขนมปังซาวโดว์ และขนมอบใหม่ๆ เช่น โดนัท เค้ก และขนมปัง เป็นที่รู้กันว่ากระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้   ไมเกรนที่เจ็บปวดที่สุดเรียกว่าอะไร ผู้เชี่ยวชาญหลายคนถือว่า อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์เป็นอาการปวดศีรษะประเภทที่เจ็บปวดที่สุด  ควรเพิกเฉยต่อไมเกรนหรือไม่  การเข้ารับการรักษาอาจช่วยให้อาการปวดหัวของคุณทุเลาลงได้ อย่าใช้กำลังกับความเจ็บปวด การพยายามเพิกเฉยต่ออาการปวดไมเกรนหรืออาการต่างๆ เช่น ออร่า ซึ่งอาจรวมถึงการมองเห็นแสงหรือเส้นซิกแซก ได้ยินเสียงแว่วในหู หรือรู้สึกเวียนหัวและไม่มั่นคง อาจทำให้อาการปวดหัวแย่ลงได้ เมื่อไหร่ที่ควรกังวลเกี่ยวกับไมเกรน อาการปวดศีรษะต่อไปนี้หมายความว่าคุณควรไปพบแพทย์ทันที: อาการปวดศีรษะรุนแรงที่เกิดขึ้นใหม่อย่างกะทันหันซึ่งมาพร้อมกับ: อ่อนแรง วิงเวียน สูญเสียการทรงตัวหรือล้มอย่างกะทันหัน มึนงงหรือรู้สึกเสียวซ่า หรือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ มีปัญหาในการพูด สับสน ชัก บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม กาแฟกระตุ้นไมเกรนได้หรือไม่ คาเฟอีนอาจทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นได้สองทาง: การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่น ๆ อาจเริ่มมีอาการไมเกรนและอาการถอนคาเฟอีนเป็นตัวกระตุ้นไมเกรนบ่อยยิ่งขึ้น

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งที่มาข้อมูลของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/migraine-headache/symptoms-causes/syc-20360201
  • https://www.nhs.uk/conditions/migraine/
  • https://www.webmd.com/migraines-headaches/migraines-headaches-migraines
  • https://medlineplus.gov/migraine.html
  • https://www.migrainetrust.org/about-migraine/migraine-what-is-it/more-than-just-a-headache/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด