ปวดประจำเดือน (Menstruation Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะปวดประจำเดือนคืออะไร

ปวดประจำเดือน (Menstruation Pain) เมนส์หรือประจำเดือนคือ การที่มีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นปกติตามรอบเดือนเป็นประจำ ผู้หญิงหลายคนมักมีอาการปวดประจำเดือนที่เรียกกันว่าปวดท้องเมนส์  อาการปวดโดยมากของอาการปวดท้องประจำเดือนมักรู้สึกปวดตุ๊บๆ ปวดบีบที่บริเวณท้องส่วนล่าง และอาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยเช่น ปวดแผ่นหลังช่วงล่าง คลื่นไส้ ท้องเสีย และปวดศีรษะ อาการปวดประจำเดือนต่างจากอาการอารมณ์เหวี่ยงก่อนมีประจำเดือน (PMS) อาการ PMS เป็นสาเหตุของอาการที่แตกต่างออกไปเช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ตัวบวม หงุดหงิด และเหนื่อยล้า อาการ PMS มักเริ่มมีอาการหนึ่งหรือสองสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน

สาเหตุของอาการปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิและอาการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ซึ่งแต่ละประเภทมีสาเหตุที่แตกต่างกัน

การปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea)

คืออาการปวดประจำเดือนทั่วไป การปวดประจำเดือนชนิดนี้ไม่มีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ สาเหตุปกติของอาการปวดประจำเดือนชนิดนี้คือการมีสารโปรสตาแกลนดินส์มากเกิดไป ซึ่งเป็นสารเคมีที่สร้างโดยมดลูกเอง สารเคมีชนิดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกร็งและคลาย เป็นสาเหตุของการบีบตัวของมดลูก

อาการปวดจะเริ่มมีอาการหนึ่งหรือสองวันก่อนมีประจำเดือน และตามปกติแล้วจะมีอาการไปอีกสองสามวัน แต่ในผู้หญิงบางคนอาจมีอาการนานกว่านั้น

ตามปกติแล้วนั้นอาการปวดประจำเดือนมักเป็นในช่วงอายุน้อย เพิ่งเริ่มมีประจำเดือนในช่วงแรก และเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นอาการปวดก็จะเริ่มน้อยลง และอาการปวดประจำเดือนจะดีขึ้นหลังจากมีการคลอดบุตร

การปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ

การปวดประจำเดือนนี้มักเกิดขึ้นในช่วงวัยกลางคน ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆที่ส่งผลต่อมดลูก หรือจากระบบสืบพันธุ์อื่นๆ เช่นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และเนื้องอกมดลูก อาการปวดลักษณะดังกล่าวอาการจะแย่ลงเรื่อยๆ อาจเริ่มตั้งแต่ก่อนมีประจำเดือนและมีอาการเรื่อยไปจนช่วงหมดประจำเดือน

คุณอาจหาซื้อยาบรรเทาอาการปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปได้เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบกลุ่มยา NSAIDs ยา NSAIDs คือยาที่ไปช่วยลดจำนวนสารโปรสตาแกลนดินส์ที่มดลูกสร้างลง ทำให้ส่งผลกระทบน้อยลง ช่วยให้การบีบตัวลดลง คุณสามารถใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มมีอาการหรือเมื่อเริ่มมีประจำเดือน และสามารถรับประทานต่อเนื่องไปได้อีกสองสามวัน คุณไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAIDs หากคุณมีแผลหรือมีปัญหาอื่นๆเกี่ยวกับช่องท้อง มีปัญหาเลือดออกหรือเป็นโรคตับ และคนที่allergy-0094/”>แพ้ยาแอสไพริน หากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ว่าควรใช้หรือไม่อย่างไร

สิ่งที่สามารถช่วยเพิ่มเติมได้คือการพักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

ปวดประจำเดือนขนาดไหนที่ควรไปพบแพทย์

อาการปวดประจำเดือนถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงทุกคน แต่อย่างไรก็ตามคุณควรปรึกษาแพทย์หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้

  • การรับประทานยากลุ่ม NSAIDs และการดูแลตัวเองขั้นต้นไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้
  • อาการปวดเกร็งเริ่มแย่ลง
  • คุณมีอายุเกิน 25 ปี และเพิ่งเคยมีอาการปวดท้องเกร็งที่รุนแรงเป็นครั้งแรก
  • มีไข้ในระหว่างปวดประจำเดือน
  • มีอาการปวดในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
Menstruation Pain

อาการปวดประจำเดือนสามารถวินิจฉัยได้อย่างไร

การวินิจฉัยอาการปวดท้องประจำเดือนมากและรุนแรง แพทย์จะสอบถามประวิติโรคประจำตัวและทำการตรวจภายใน อาจตรวจด้วยอัลตราซาว์นหรือการถ่ายภาพรูปแบบอื่นๆ หากแพทย์สงสัยว่าคุณกำลังมีอาการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ แพทย์อาจสั่งตรวจด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง การผ่าตัดรูปแบบนี้จะช่วยทำให้แพทย์สามารถเห็นภาพภายในร่างกายของผู้ป่วยได้ชัดเจนมากขึ้น

การรักษาอาการปวดประจำเดือนรุนแรงได้อย่างไร

หากผู้ป่วยมีอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิและมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา แพทย์อาจจะแนะนำให้รับประทานยาคุมกำเนิด เช่นยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด  ชนิดแปะ หากผู้ป่วยมีอาการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ การรักษาจะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุของอาการ ในบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด

เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนคุณอาจลองทำสิ่งดังต่อไปนี้

  • ใช้แผ่นประคบร้อนหรือขวดน้ำร้อนวางบนบริเวณหน้าท้อง

  • ออกกำลังกาย

  • อาบน้ำร้อน

  • ใช้เทคนิคผ่อนคลาย เช่นการเล่นโยคะและการทำสมาธิ

แก้ปัญหาปวดประจำเดือนด้วยวิธีธรรมชาติ

ต่อไปนี้เป็นวิธีการรักษาแบบธรรมชาติที่ควรพิจารณา:
  • การบำบัดด้วยความร้อน:

      • การประคบร้อนที่ช่องท้องส่วนล่างสามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ ใช้แผ่นทำความร้อน ขวดน้ำร้อน หรืออ่างน้ำอุ่นเพื่อบรรเทาอาการ
  • ชาสมุนไพร:

      • ชาสมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง คาโมมายล์ และเปปเปอร์มินต์ อาจมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถลดความเจ็บปวดและไม่สบายตัวได้ จิบชาเหล่านี้ตลอดทั้งวัน
  • การปรับเปลี่ยนอาหาร:

      • รักษาสมดุลอาหารโดยเน้นที่อาหารทั้งส่วน เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนไร้มัน การลดการบริโภคอาหารแปรรูป น้ำตาล และคาเฟอีนอาจช่วยจัดการกับอาการอักเสบและความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนได้
  • ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ:

      • การมีน้ำเพียงพอสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องอืดและการกักเก็บน้ำได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงมีประจำเดือน ดื่มน้ำและชาสมุนไพรปริมาณมากตลอดทั้งวัน
  • กรดไขมันโอเมก้า 3:

      • อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาที่มีไขมัน (ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล) เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเชีย และวอลนัท อาจช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้
  • ออกกำลังกาย:

      • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้ กิจกรรมต่างๆ เช่น การเดิน โยคะ และว่ายน้ำเป็นทางเลือกที่อ่อนโยนที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้
  • เทคนิคจิตใจและร่างกาย:

      • การปฏิบัติต่างๆ เช่น การหายใจลึกๆ การผ่อนคลาย และการทำสมาธิสามารถช่วยจัดการกับความเครียด ซึ่งอาจทำให้อาการปวดประจำเดือนรุนแรงขึ้นได้ การลดระดับความเครียดอาจทำให้เกิดตะคริวที่รุนแรงน้อยลง
  • การฝังเข็มและการกดจุด:

      • บุคคลบางคนสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ด้วยการฝังเข็มหรือการกดจุด เชื่อกันว่าการปฏิบัติเหล่านี้ช่วยปรับสมดุลการไหลเวียนพลังงานของร่างกาย
  • น้ำมันหอมระเหย:

      • น้ำมันหอมระเหย เช่น ลาเวนเดอร์ คลารีเสจ และโรสแมรี่ อาจมีคุณสมบัติผ่อนคลายเมื่อใช้ในอโรมาเธอราพี เจือจางน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดในน้ำมันตัวพาแล้วนวดลงบนช่องท้องส่วนล่าง
  • ตงกุย (Angelica sinensis):

      • ตงกุยเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีภาวะสุขภาพพื้นฐานหรือกำลังใช้ยาอยู่
  • อาหารเสริมวิตามิน:

    • การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าอาหารเสริม เช่น วิตามินบี 1 (ไทอามีน) วิตามินบี 6 (ไพริดอกซิ) แมกนีเซียม และแคลเซียมอาจช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมกับความต้องการของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/periodpain.html

  • https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/menstruation-pain-dysmenorrhoea


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด