โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) คือการติดเชื้อในบริเวณตั้งเเต่เยื่อหุ้มสมองไปจนถึงกระดูกไขสันหลัง โดยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบนี้เกิดจากของเหลวภายในระบบประสาทบริเวณเยื่อหุ้มสมองเเละกระดูกไขสันหลังเกิดการติดเชื้อ
สาเหตุส่วนใหญ่ทั่วไปที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้แก่การติดเชื้อจากไวรัสเเละแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆได้แก่
เชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถเเพร่กระจายได้ ด้วยการไอและจามหรือการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอะไรบ้าง
อาการของการติดเชื้อไวรัสเเละเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอาการคล้ายกับการเกิดเนื้องอก อย่างไรก็ตามโดยปกติอาการเชื้อราในสมองที่เกิดจากแบคทีเรียมีอาการที่หลากหลาย โดยอาการของโรคขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วยอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองจากไวรัส
อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสในทารกสามารถทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้- เบื่ออาหาร
- อาการระคายเคือง
- ต้องการนอนตลอดเวลา
- มีอาการเซื่องซึมและเฉื่อยชา
- มีไข้
- ปวดหัว
- มีไข้
- อาการคอตึง
- ภาวะลมชัก
- อ่อนไหวต่อเเสงสว่าง
- ต้องการนอนตลอดเวลา
- มีอาการเซื่องซึมและเฉื่อยชา
- คลื่นไส้และอาเจียน
- เบื่ออาหาร
อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้แก่- มีการเปลี่ยนแปลงของสติสัมปชัญญะ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- อ่อนไหวต่อเเสงเเดด
- เกิดอาการระคายเคือง
- ปวดหัว
- เป็นไข้
- เป็นหวัด
- คอตึง
- เกิดรอยฟกช้ำบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ
- ต้องการนอนตลอดเวลา
- มีอาการเซื่องซึมและเฉื่อยชา
อาการของโรคเชื้อราในสมอง
อาการของโรคเชื้อราในสมองมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อประเภทอื่นๆ ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้- คลื่นไส้
- อาเจียน
- อ่อน
- มีไข้
- ปวดหัว
- มีอาการสับสนหรืองุนงง
โรคเยื่อหุ้มสมองที่ทำให้เกิดผื่น
หนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis) ที่ทำให้เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบคือมีผื่นเกิดขึ้นเนื่องจากแบคทีเรียได้เข้าสู่กระเเสเลือดหรือเรียกว่าโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อแบทีเรียในกระเเสเลือดและเซลล์เป้าหมายบริเวณรอบๆเส้นเลือดฝอย โดยแบคทีเรียเหล่านี้ได้เข้าไปทำลายเซลล์ในเส้นเลือดเเละทำให้เส้นเลือดเกิดการเสียหายจึงทำให้เส้นเลือดสามารถแตกหรือเปื่อยได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเป็นผื่นสีเเดง ชมพู หรือสีม่วงเกิดขึ้นซึ่งผื่นเหล่านี้มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆและรวมกันเป็นผื่นขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดแผลฟกช้ำได้ การติดเชื้อมีอาการรุนเเรงขึ้นเเละแพร่กระจายได้ โดยจะสามารถเห็นผื่นเกิดขึ้นอย่างชัดเจนและผื่นจุดเล็กไกลายเป็นผื่นสีดำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีผิวคลำอาจสังเกตุผื่นที่เกิดจากโรคเยื่อหุ้มสมองได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นสามารถสังเกตุผื่นในบริเวณที่มีสีผิวสว่างกว่าเช่นบริเวณฝ่ามือและภายในช่องปากซึ่งเป็นบริเวณที่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามผื่นแต่ละชนิดไม่ได้มีลักษณะที่เหมือนกันเสมอไป ดูรูปภาพโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ทำให้เกิดผื่นเพื่อทำให้เข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นได้มากยิ่งขึ้นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแต่ละชนิดมีสาเหตุที่แตกต่างกันแต่อย่างไรก็ตามอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแต่ละชนิดมีความเหมือนกันคือเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิสามารถแพร่กระจายผ่านกระเเสเลือดจนกระทั่งไปถึงสมองหรือไขสันหลังได้ เมื่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อเเล้ว ทำให้เนื้อเยื่อและของเหลวที่อยู่รอบๆอวัยวะสำคัญของร่างกายเริ่มเกิดการติดเชื้อและสามารถพัฒนากลายเป็นการติดเชื้อที่รุนเเรงมากขึ้นได้ โรคเยื่อหุ้มสมองที่ไม่มีการติดเชื้อเป็นผลมาจากการบาดเจ็บทางกายภาพหรือร่างกายเกิดการบาดเจ็บซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในกระเเสเลือดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถรักษาได้อย่างไร
วิธีการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถรักษาได้ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียจำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาล การวินิจฉัยพบโรคตั้งแต่เนินๆทำให้สามารถรักษาโรคและป้องกันไม่ให้สมองเกิดความเสียหายหรือสมองตายได้ โดยการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถทำได้ด้วยการฉีดยาต้านปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือด ซึ่งไม่มียาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่เกี่ยวข้อง โรคเชื้อราในสมองสามารถรักษาด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากพยาธิรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นหรือรักษาที่บริเวณเกิดการติดเชื้อโดยตรง อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่สาเหตุและชนิดของพยาธิ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าหากที่อาการรุนเเรงแพทย์จะพยายามรักษาอาการติดเชื้อก่อน โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิดสามารถหายไปเองได้แต่การติดเชื้อไวร้สบางชนิดจำเป็นต้องรักษาด้วยการฉีดยาต้านไวรัสเข้าเส้นเลือดเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคติดต่อได้อย่างไร
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหลายชนิดไม่สามารถติดต่อได้เช่นโรคเชื้อราในสมองและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ทั้งสองชนิดนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ส่วนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ โดยสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสของเหลวในร่างกายเช่นเสมหะ น้ำลายและอุจจาระ นอกจากนี้ละอองของเหลวที่มีการติดเชื้อสามารถทำให้เชื้อเกิดการแพร่กระจายได้ผ่านการไอหรือจาม ดังนั้นคุณไม่ควรอยู่ใกล่กับผู้ที่ติดเชื้อเพราะอาจทำให้ได้รับเชื้อโรคได้ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียเป็นการติดเชื้อในสมองที่รุนเเรงและเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ โดยเฉพาะโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่สามารถแพร่เชื้อด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้ โรงเรียน สถานที่รับเลี้ยงเด็ก ค่ายทหาร โรคพยาบาลและหอพักของมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ทำให้เชื้อเกิดการเเพร่กระจายได้ โดยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ แต่ไม่ใช่โรคเยื่อหุ้มสมองทุกชนิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถป้องกันได้อย่างไร
การรักษาสุขภาพให้เเข็งเเรงและวิธีการดำรงชีวิตเป็นสิ่งสำคัญและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ได้ โดยสามารถป้องกันการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วยวิธีดังต่อไปนี้- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่สูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
- วัคซีน Haemophilus influenzae type B (Hib)
- วัคซีนชนิดคอนจูเกต
- วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สัญญาณในทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดและทารกอาจแสดงอาการเหล่านี้:- ไข้สูง
- ร้องไห้อย่างต่อเนื่อง
- ง่วงนอนหรือหงุดหงิดมาก
- ปัญหาในการตื่นจากการนอนหลับ
- เฉื่อยชา
- เบื่ออาหาร
- อาเจียน
- กระพุ้งในจุดที่อ่อนนุ่มบนศีรษะของทารก
- ความแข็งในร่างกายและคอ
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
ไปพบแพทย์ทันทีหากคุณหรือคนในครอบครัวของคุณมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น:- มีไข้
- ปวดหัวอย่างรุนแรงที่ไม่หายไป
- ความสับสน
- อาเจียน
- คอแข็ง
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.meningitis.org/meningitis/check-symptoms?gclid=CjwKCAjw5Kv7BRBSEiwAXGDEle1eT3SRHuI-J2PU6g90QctlDCIDHA8I8ZqZjRNh9_WRbtJzY3-jvRoCtzMQAvD_BwE
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/meningitis/symptoms-causes/syc-20350508
- https://www.webmd.com/children/understanding-meningitis-basics
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น