น้ําในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

น้ําในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) คือโรคที่มีผลต่อหูชั้นใน หูชั้นในมีหน้าที่มนการได้ยินและทรงตัว ซึ่งโรคนี้จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศรีษะ และนำไปสู่ปัญหาการได้ยินและมีเสียงดังในหู โดยมักเกิดกับหูเพียงข้างเดียว สถาบันแห่งชาติเกี่ยวกับอาการหูหนวกและความผิดปกติทางการสื่อสาร (NIDCD) ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ในจำนวน 615,000 คน ตรวจพบคนเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน 45,000 คนในแต่ละปี และพบได้มากในคนวัย 40-50 ปี น้ําในหูไม่เท่ากัน เป็นโรคเรื้อรัง แต่การรักษาและการใช้ชีวิต สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ และจะมีอาการทุเลาลงภายในเวลาไม่กี่ปี

สาเหตุของการเกิดน้ําในหูไม่เท่ากันคืออะไร?

สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัดนัก แต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของของเหลวในท่อของหูชั้นใน สาเหตุอื่นๆของการเกิดโรคได้แก่ โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคภูมิแพ้ทั่วไป และพันธุกรรม

อาการของน้ําในหูไม่เท่ากัน

อาการของโรคมักเกิดขึ้นเป็นบางเวลา โดยมีอาการดังนี้ :
  • อาการวิงเวียนศรีษะ จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ไม่กี่นาทียาวนานไปจนถึง 24 ชั่วโมง
  • สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่มีอาการ
  • หูอื้อ
  • มีความรู้ว่าหูแน่น
  • สูญเสียการทรงตัว
  • ปวดหัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่ออกจากการวิ่งเวียนศรีษะ
ผู้ที่เป็นน้ําในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการอย่างน้อยสองถึงสามอย่างในครั้งเดียว : คนส่วนใหญ่ที่เป็นน้ําในหูไม่เท่ากัน จะไม่พบอาการระหว่างช่วง แต่อาจจะยังสับสนกับความผิดปกติของหูชั้นในอื่นๆ

การวินิจฉัยโรคร้านในหูไม่เท่ากัน

หากคุณกำลังมีอาการ แพทย์จะทำการทดสอบเพื่อตรวจสอบความสมดุลและการได้ยิน เพื่อแยกแยะสาเหตุและอาการอื่นๆ

การทดสอบการได้ยิน

การทดสอบการได้ยินหรือการวัดค่าเสียง ใช้เพื่อทดสอบว่าคุณกำลังมีปัญหากับการได้ยินเสียงหรือไม่ โดยที่คุณจะต้องสวมหูฟังระหว่างการทดสอบและฟังเสียงแหลมที่มีระดับความดังแตกต่างกันไป โดยคุณจะต้องสังเกตุว่า ช่วงเวลาใดที่คุณได้ยินหรือไม่สามารถได้ยินเสียง การทดสอบการได้ยินของคุณ จะช่วยให้บอกว่าคุณสามารถแยกความแตกต่างของเสียงได้มากน้อยแค่ไหน  ในการทดสอบคุณจะต้องใส่หูฟังและบอกว่าเสียงใดคือเสียงที่คุณได้ยิน จากผลการทดสอบจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยว่าคุณมีความผิดปกติของหูเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ความผิดปกติในหูชั้นในหรือความผิดปกติของเส้นประสาทในหูสามารถทำให้คุณสูญเสียการได้ยินได้ การตรวจประสาทหูชั้นใน (ECog) เพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าในหูชั้นใน และการตรวจสอบสอบของก้านสมอง (ABR) จะตรวจสอบการทำงานของเส้นประสาทการได้ยิน การทดสอบเหล่านี้จะทำให้แพทย์สามารถบอกได้ว่า ปัญหาของคุณเกิดจากหูชั้นในหรือเส้นประสาทหู

การทดสอบการทรงตัว

การทดสอบการทรงตัวเป็นการทดสอบการทำงานของหูชั้นใน ผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะไม่สาทารถทรงตัวได้ดี  ในการทดสอบนี้ คุณจะต้องวางอิเล็กโทดไว้รอบดวงตาเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา เพราะการตอบสนองของหูชั้นใน จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของดวงตา ในระหว่างการทดสอบ แพทย์จะใช้ทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็นดันเข้าไปในหูของคุณ ทำให้ระบบการทรงตัวของคุณทำงาน โดยแพทย์จะติดตามการเคลื่อนไหวของดวงตา เพื่อหาความผิดปกติต่างๆ การทดสอบเก้าอี้หมุน วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก วิธีนี้จะทำให้แพทย์ทราบถึงปัญหาว่าเกิดจากหูหรือสมอง ในการทดสอบนี้ แพทย์จะติดตามการเคลื่อนไหวของดวงตาของคุณอย่างใกล้ชิด การตรวจประสาทการทางตัวในหูชั้นใน โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อคอ (Vestibular evoked myogenic potential) เป็นการวัดความไวเสียงส่วนหน้าของหูชั้นใน โดยการทดสอบจะช่วยระบุว่าระบบการทรงตัวส่วนใดทำงานผิดปกติ 

การทดสอบอื่นๆ

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อมหรือเนื้องอกในสมอง อาจจะมีอาการคล้ายกับโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แพทย์จะทำการทดสอบต่างๆเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด โดยอาจจะมีการทำ MRI ศรีษะ หรือ CT scan กะโหลกเพื่อหาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับสมอง

น้ําในหูไม่เท่ากันรักษาได้อย่างไร?

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการต่างๆ ที่สามารถลดอาการได้ ตั้งแต่การใช้ยารักษา ไปจนถึงการผ่าตัด

การใช้ยารักษา

แพทย์ของคุณอาจจะสั่งยาแก้เมารถเพื่อรักษาอาการวิงเวียน คลื่นไส้และอาเจียน แต่ถ้าหากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย แพทย์จะจ่ายยาแก้คลื่นไส้ ปัญหาเกี่ยวกับของเหลวในหูชั้นใน ทำให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ดังนั้นแพทย์อาจสั่งยาขับปัสสาวะเพื่อลดปริมาณของเหลวในร่างกาย แพทย์สามารถฉีดยาเข้าไปในชั้นในเพื่อลดอาการวิงเวียนได้

กายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด สามารถช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะได้ อีกทั้งยังช่วยฝึกสมองโดยคำนึงถึงความแตกต่างของหูทั้งสองข้าง 

เครื่อช่วยฟัง

คุณสามารถรักษาการสูญเสียการได้ยินได้ ด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง

การผ่าตัด

โดยส่วนมากแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องรับการผ่าตัด แต่ในผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้แล้ว การผ่าตัดจะช่วยลดการผลิตของเหลวในหู เพื่อช่วยให้การระบายของเหลวในหูดีขึ้น

การรับประทานอาหารส่งผลต่อโรคน้ำในหูอย่างไร?

การเปลี่ยนวิธีการกิน อาจจะสามารถช่วยลดปริมาณของเหลวในหูชั้นใน โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงมีดังนี้ :
  • เกลือ
  • คาเฟอีน
  • ชอกโกแลต
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ผงชูรส
สิ่งสำคัญคือ ควรดื่มน้ำอย่างน้อยหกถึงแปดแก้วต่อวัน เพื่อนไม่ให้ร่างกายเก็ยบของเหลวไว้มากเกินไป

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สามารถช่วยบรรเทาอาการของน้ําในหูไม่เท่ากันได้อย่างไร?

การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิต สามารถช่วยให้อาการของคุณดีขึ้นได้ โดยมีวิธีการต่างๆดังนี้ :
  • การพักระหว่างมีอาการวิงเวียนศรีษะ
  • ทานอาหารให้ครบทุกมื้อ เพื่อช่วยในการควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย
  • จัดการกับความเครียดวิตกกังวลด้วยยาหรือการบำบัด
สิงสำคัญคือการเลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ เพราะนิโคตินและอาการภูมิแพ้สามารถทำให้อาการแย่ลงได้

แนวโน้มของผู้ที่เป็นน้ําในหูไม่เท่ากันคืออะไร?

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการรักษาที่ชัดเจน แต่ก็มีวิธีที่สามารถบรรเทาอาการต่างๆได้ โรคน้ำในหูไม่เท่ากันอาจจำเป็นที่จะต้องใช้เวลานานหลายปีในการรักษา ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับคุณ

การดูแลตัวเอง

อาหาร

การรับประทานอาหารที่มีเกลือ (โซเดียม) ต่ำจะช่วยลดความดันของเหลวในหูชั้นในของคุณ ซึ่งสามารถช่วยควบคุมอาการของโรคเมนิแยร์ได้ ผู้ให้บริการของคุณอาจแนะนำให้ลดโซเดียมลงเหลือ 1,000 ถึง 1,500 มก. ต่อวัน นี่คือเกลือประมาณ ¾ ช้อนชา (4 กรัม) เริ่มต้นด้วยการหยิบขวดเกลือออกจากโต๊ะ และอย่าเติมเกลือเพิ่มในอาหาร เนื่องจากในอาหารที่รับประทานมีเกลืออยู่แล้ว เคล็ดลับเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณลดเกลือส่วนเกินจากอาหารของคุณได้ เมื่อซื้อของ ให้มองหาตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพซึ่งมีเกลือตามธรรมชาติต่ำ ได้แก่:
  • ผักและผลไม้สดหรือแช่แข็ง
  • เนื้อวัว ไก่ ไก่งวง และปลาสดหรือแช่แข็ง โปรดทราบว่าไก่งวงทั้งตัวมักจะเติมเกลือ ดังนั้นโปรดอ่านฉลาก
เรียนรู้การอ่านฉลาก
  • ตรวจสอบฉลากทั้งหมดเพื่อดูว่ามีเกลือเท่าใดในอาหารแต่ละมื้อ ผลิตภัณฑ์ที่มีเกลือน้อยกว่า 100 มก. ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคนั้นดี
  • ส่วนผสมจะแสดงตามลำดับปริมาณอาหารที่มี หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลืออยู่ด้านบนสุดของรายการส่วนผสม
  • มองหาคำเหล่านี้: โซเดียมต่ำ, ปราศจากโซเดียม, ไม่เติมเกลือ, ลดโซเดียม หรือไม่ใส่เกลือ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่:
  • อาหารกระป๋องส่วนใหญ่ เว้นแต่ฉลากระบุว่ามีโซเดียมต่ำหรือไม่มีเลย อาหารกระป๋องมักใส่เกลือเพื่อรักษาสีของอาหารและทำให้ดูสดอยู่เสมอ
  • อาหารแปรรูป เช่น เนื้อหมักหรือรมควัน เบคอน ฮอทด็อก ไส้กรอก โบโลน่า แฮม และซาลามิ
  • อาหารสำเร็จรูป เช่น มักกะโรนีกับชีส และข้าวผสม
  • แอนโชวี่ มะกอก ผักดอง และกะหล่ำปลีดอง
  • ซอสถั่วเหลือง 
  • น้ำมะเขือเทศและน้ำผักอื่นๆ
  • ชีส 
  • น้ำสลัดห 
  • ขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่ เช่น มันฝรั่งทอดหรือแครกเกอร์
เมื่อคุณทำอาหารและทานอาหารที่บ้าน:
  • แทนที่เกลือด้วยเครื่องปรุงรสอื่นๆ พริกไทย กระเทียม สมุนไพร และมะนาวเป็นตัวเลือกที่ดี
  • หลีกเลี่ยงการผสมเครื่องเทศแบบบรรจุหีบห่อ มักมีเกลือเป็นส่วนประกอบ
  • ใช้ผงกระเทียมและหัวหอม ไม่ใช่เกลือกระเทียมและหัวหอม
  • งดอาหารที่มีผงชูรส (ผงชูรส)
  • เปลี่ยนเครื่องปั่นเกลือของคุณด้วยเครื่องปรุงรสที่ปราศจากเกลือ
  • ใช้น้ำมันและน้ำส้มสายชูกับสลัด. เพิ่มสมุนไพรสดหรือแห้ง
  • กินผลไม้สดหรือเชอร์เบทเป็นของหวาน
เมื่อคุณออกไปทานอาหาร:
  • ยึดติดกับอาหารนึ่ง ย่าง อบ ต้ม และย่างโดยไม่เติมเกลือ ซอส หรือชีส
  • หากคุณคิดว่าร้านอาหารอาจใช้ผงชูรส ขอให้พวกเขาอย่าใส่ผงชูรสลงในอาหารที่คุณสั่ง
พยายามกินอาหารในปริมาณที่เท่ากันและดื่มน้ำในปริมาณที่เท่ากันในเวลาเดียวกันทุกวัน สิ่งนี้สามารถช่วยลดการเปลี่ยนแปลงของความสมดุลของของเหลวในหูของคุณ

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอื่น ๆ

การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้อาจช่วยได้เช่นกัน:
  • ยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์บางชนิด เช่น ยาลดกรดและยาระบายมีเกลืออยู่มาก หากคุณต้องการยาเหล่านี้ ให้ถามผู้ให้บริการหรือเภสัชกรของคุณว่ายี่ห้อใดมีเกลือน้อยหรือไม่มีเลย
  • น้ำยาปรับสภาพน้ำที่บ้านเติมเกลือลงในน้ำ หากคุณมีให้จำกัดปริมาณน้ำประปาที่คุณดื่ม ดื่มน้ำขวดแทน
  • หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลงได้
  • ถ้าคุณสูบบุหรี่ ให้เลิก การเลิกบุหรี่อาจช่วยลดอาการได้
  • บางคนพบว่าการจัดการอาการภูมิแพ้และการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ช่วยลดอาการของโรคมีเนียร์
  • นอนหลับให้เพียงพอและทำตามขั้นตอนเพื่อลดความเครียด

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menieres-disease/symptoms-causes/syc-20374910
  • https://www.nhs.uk/conditions/menieres-disease/
  • https://www.dizziness-and-balance.com/disorders/menieres/menieres.html
  • https://www.nidcd.nih.gov/health/menieres-disease
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด