ยามีลอกซิแคม (Meloxicam) – วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยามีลอกซิแคม

ยามีลอกซิแคม Meloxicam คืออะไร 

ยา Meloxicam  คือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เป็นยาที่ทำงานโดยการไปลดฮอร์โมนที่เป็นสาเหตุของการอักเสบ และการเจ็บปวดภายในร่างกาย ยามีลอกซิแคมถูกนำมาใช้ เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดหรือการอักเสบที่มีสาเหตุมาจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคข้อเสื่อมในผู้ใหญ่ ยามีลอกซิแคมยังได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ยา Meloxicam ยี่ห้อ Anjeso คือยาที่นำมาใช้รักษาอาการเจ็บปวดปานกลางถึงขั้นรุนแรงในผู้ใหญ่ ยา Vivlodex คือ ยาสำหรับใช้ในผู้ใหญ่เท่านั้น และยา Qmiiz  คือยาสำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่มีน้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 132 ปอนด์ (60 กิโลกรัม) อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ โรคข้อเข่าเสื่อม

คำเตือนก่อนใช้ยา Meloxicam 

ยามีลอกซิแคมอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะหากมีการใช้ยาในระยะยาวหรือใช้ยาในปริมาณสูง หรือกับผู้ที่มีโรคหัวใจ ไม่ควรใช้ยาดังกล่าวนี้ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือ CABG)  ควรรีบขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันทีหากพบว่ามีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนแรง หายใจสั้น ลิ้นแข็งพูดไม่ชัดหรือมีปัญหาด้านการมองเห็นหรือการทรงตัว ยามีลอกซิแคมิาจเป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออกในลำไส้หรือกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถเป็นอาการร้ายแรงได้ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าในขณะใช้ยา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ โทรหาแพทย์ทันทีหากมีอาการของเลือดออกในกระเพาะอาหารเช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ มีเลือดหรือมีลักษณะเหนียวคล้ายยางมะตอย หรือไอออกมาเป็นเลอดหรืออาเจียนมีสีคล้ายกาแฟบด หลีกเลี่ยงการสบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารมากขึ้น ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการมช้ยาบรรเทาอาการหวัด ยาแก้แพ้หรือยาแก้ปวดทุกชนิด ยาที่มีความคล้ายกับยาที่มีส่วนประกอบของยามีลอกซิแคม ควรตรวจสอบฉลากยาเพื่อดูส่วนประกอบของ NSAID (ยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน คีโทโพรเฟน หรือนาพรอกเซ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ การใช้ยานาพรอกเซน ยามีลอกซิแคมยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะหากมีการใช้ยาในระยะยาวหรือใช้ยาในปริมาณสูงหรือหากเป็นภาวะโรคหัวใจ แม้แต่กับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะโรคหัวใจหรือมีปัจจัยเสี่ยงก็ตามก็สามารถเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในขณะใช้ยาดังกล่าวนี้ได้ ไม่ควรใช้ยาดังกล่าวนี้ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือ CABG)  ยามีลอกซิแคมอาจเป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออกในลำไส้หรือกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถเป็นอาการร้ายแรงได้ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าในขณะใช้ยา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ไม่ควรใช้ยามีลอกซิแคมหากมีภาวะโรคภูมิแพ้หรือเคยมีอาการหอบหืดกำเริบหรือมีปฏิกิริยาภูมิแพ้ขั้นรุนแรงหลังการใช้ยาแอสไพรินหรือยา NSAID     เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาดังกล่าว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็น: หากกำลังตังครรภ์ไม่ควรรับประทานยามีลอกซิแคมเว้นแต่แพทย์สั่ง การรับประทานยา NSAID ในช่วงระหว่าง 20 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับหัวใจรุนแรงหรือมีปัญหาต่อไตในเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆในการตั้งครรภ์ได้ ยามีลอกซิแคมยังอาจเป็นสาเหตุทำให้การตกไข่เกิดการล่าช้า ไม่ควรรับประทานยานี้หากกำลังอยู่ในช่วงการรักษาภาวะมีบุตรยาก หรือกำลังพยายามตั้งครรภ์  ยามีลอกซิแคมสามารถส่งต่อผ่านการให้นมบุตรได้และอาจเป็นอันตรายต่อเด็กที่ทานนมมารดา ปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตรในขณะใช้ยาดังกล่าวนี้ ยามีลอกซิแคมยังไม่ได้รับการอนุญาติจากทาง FDA สำหรับการใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี 

ยา Meloxicam  รับประทานอย่างไร 

ควรรับประทานยามีลอกซิแคมตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามคำแนะนำตามฉลากยา บางครั้งแพทย์อาจสั่งเปลี่ยนปริมาณยาของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับผลการรักษาที่ดีที่สุด ไม่ควรทานยาในปริมาณที่มากเกินไปหรือนานเกินกว่าคำแนะนำ ควรใช้ยาในปริมาณน้อยที่สุดที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการการรักษาภาวะที่เกิดขึ้น ยามีลอกซิแคมชนิดเม็ดใช้รับประทาน ชนิดฉีดคือการให้ยาในรูปแบบสารละลายเข้าทางเส้นเลือด ผู้ให้บริการทางการแพทย์จะเป็นผู้ให้ยาในรูปแบบดังกล่าวนี้  สามารถรับประทานยาทางปากได้ทั้งแบบพร้อมอาหารหรือตอนท้องว่างได้ นำยาเม็ดแตกตัวในช่องปากออกจากบรรจุภัณฑ์เมื่อพร้อมรับประทานยาเท่านั้น วางยาเม็ดในปากและปล่อยให้ตัวยาละลายโดยไม่เคี้ยว กลืนยาเม็ดที่ละลายหลายๆครั้ง ปริมาณยาที่ต้องการอาจมีการปรับเปลี่ยนหากมีการเปลี่ยนยี่ห้อยา ความเข้มข้นหรือรูปแบบของตัวยา หลีกเลี่ยงการเกิดความผิดพลาดของยาด้วยการใช้ยาเฉพาะตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น การใช้ปริมาณยามีลอกซิแคมจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว (โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น) ปริมาณยาอาจมีการปรับเปลี่ยนหากคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง หากมีการใช้ยานี้ในระยะยาว อาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจทางการแพทย์บ่อยๆ การจัดเก็บยามีลอกซิแคมชนิดเม็ดหรือแคปซูลควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงที่ชื้นและร้อน ควรเก็บยาไว้ในขวดที่ปิดฝาสนิทเมื่อไม่ได้ใช้

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารมากขึ้น หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพรินในขณะใช้ยามีลอกซิแคม ยกเว้นแพทย์สั่ง ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาแก้บวมหรือยาบรรเทาอาการหวัดหรือไข้หวัดชนิดอื่นๆ เพราะยาดังกล่าวอาจมีส่วนผสมของยาที่มีความคล้ายคลึงกับส่วนประกอบของยามีลอกซิแคม (เช่น ยาแอสไพริน ไอบรูโพรเฟน คีโตโพนเฟนหรือนาพรอกเซน)

Meloxicam

ผลข้างเคียงของยา Meloxicam 

ไปพบแพทย์ฉุกเฉินทันทีเพื่อขอความช่วยเหลือหากมีสัญญานของการเกิดปฏิกิริยาภูมแพ้ยามีลอกซิแคม: จาม คัดจมูกหรือมีน้ำมูก หายใจมีเสียงวี๊ดหรือมีปัญหาด้านการหายใจ มีผื่นลมพิษ บวมบริเวณใบหน้า ลิ้น ริมฝีปากหรือคอ ไปพบแพทย์ฉุกเฉินทันทีเพื่อขอความช่วยเหลือหากมีสัญญานของอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง: มีอาการเจ็บหน้าอกแผ่กระจายไปยังบริเวณกรามหรือหัวไหล่ ชากระทันหันหรืออ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด รู้สึกหายใจสั้นถี่ หยุดการใช้ยาและโทรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้
  • มีสัญญานแรกของผื่นขึ้นที่บริเวณผิวหนัง แม้ว่าจะเป็นเพียงเล็กน้อยก็ตาม
  • หายใจสั้น (แม้ในเวลาที่ออกแรงเพียงเล็กน้อย)
  • มีอาการบวมหรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มีสัญญานของเลือดออกในกระเพาะอาหาร-อุจจาระเหนียว หรือมีเลือดปน ไอออกมาเป็นเลือด หรืออาเจียนมีสีคล้ายสีกาแฟบด
  • มีปัญหาเกี่ยวกับตับ- คลื่นไส้ ปวดท้องส่วนบน คัน รู้สึกเหนื่อยล้า มีอาการคล้ายไข้หวัด ไม่อยากอาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระเป็นสีคล้ายดินเหนียว มีอาการดีซ่าน (ผิวหนังหรือดวงตาเป็นสีเหลือง)
  • มีปัญหาเกี่ยวกับไต – ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะ ปัสสาวะขัดหรือเจ็บปวด บวมบริเวณเท้าหรือข้อเท้า รู้สึกเหนื่อยล้าหรือหายใจสั้น
  • เซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ (โลหิตจาง) – ผิวหนังซีดเซียว รู้สึกเวียนศีรษะ หรือหายใจสั้น อัตราการเต้นหัวใจเร็ว ไม่มีสมาธิหรือ
  • มีปฏิกิริยาแพ้ผิวหนังรุนแรง – มีไข้ เจ็บคอ บวมบริเวณใบหน้าหรือลิ้น รู้สึกร้อนผ่าวที่ดวงตา เจ็บปวดผิวหนังบริเวณที่ขึ้นผื่นสีม่วงหรือแดงซึ่งมีการแพร่กระจาย (โดยเฉพาะที่ใบหน้าหรือช่วงบนของร่างกาย)และเป็นสาเหตุทำให้เกิดตุ่มพองและผิวหนังลอก
ผลข้างเคียงทั่วๆไปของยามีลอกซิแคมอาจรวมไปถึง:
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการแสบร้อนที่หน้าอก
  • ท้องเสีย ท้องผูก มีลมในกระเพาะอาหาร
  • มึนงง
  • มีอาการหวัด ไข้หวัด 

ยาชนิดอื่นๆ ที่ส่งผลต่อยา Meloxicam  มีอะไรบ้าง 

ปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยามีลอกซิแคมหากคุณกำลังรับประทานยาต้านอาการซึมเศร้าเช่น ไซตาโลแพรม เอสซิตาโลแพรม ฟลูอ็อกเซทีน (โปรแซ็ค) ฟลูวอกซามีน พาร็อกซีทีน เซอร์ทราลีน (โซลอฟต์) ทราโซโดน หรือวิลาโซโดน การรับประทานยาดังกล่าวนี้ร่วมกับยา NSAID อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยฟกช้ำหรือเลือดออกง่าย  แจ้งให้แพทย์ทราบหากกำลังรับประทานยาทุกชนิดและทุกครั้งที่เริ่มและหยุดยา โดยเฉพาะ:

  • ไซโคลสปอริน
  • ลิเทียม
  • เมโธเทรกเซท
  • โซเดียมโพลีสไตรีนซัลโฟเนต (คายัคซาเลต)
  • ยาเจือจางเลือด (วาฟาริน คูมาดิน แจนโทเวน)
  • ยาสำหรับความดันเลือดหรือหัวใจ ซึ่งรวมไปถึงยาขับปัสสาวะหรือยาขับน้ำและยาเอซีอี อินฮิบิเตอร์ หรือ
  • ยาสเตียรอยด์ (เช่นยาเพรดนิโซโลน)
รายชื่อดังกล่าวอาจไม่ใช่รายชื่อทั้งหมด ยาอื่นๆก็อาจมีปฏิกิริยาต่อยามีลอกซิแคมได้ ซึ่งอาจรวมไปถึงยาตามแพทย์สั่งหรือยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป วิตามิน และผลิตภัณฑ์สมุนไพร 

Meloxicam ห้ามใช้ในใคร

บุคคลเหล่านี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษหรือหลีกเลี่ยงการใช้ Meloxicam :
  • โรคภูมิแพ้:
      • บุคคลที่แพ้ยามีลอกซิแคมหรือยากลุ่ม NSAID อื่นๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่ผื่นผิวหนังเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรง เช่น หายใจลำบาก
  • โรคหอบหืด:
      • ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการรุนแรงขึ้นจากแอสไพรินหรือ NSAIDs อื่นๆ ควรใช้ meloxicam ด้วยความระมัดระวัง NSAIDs รวมถึง meloxicam บางครั้งอาจทำให้เกิดหรือทำให้อาการของโรคหอบหืดแย่ลงได้
  • ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร:
      • บุคคลที่มีประวัติเป็นแผลในทางเดินอาหาร มีเลือดออก หรือมีการเจาะทะลุ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จากการใช้ NSAID Meloxicam อาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง และอาจนำไปสู่ปัญหาระบบทางเดินอาหาร
  • ปัญหาไต:
      • Meloxicam ถูกขับออกทางไตเป็นหลัก บุคคลที่มีความบกพร่องทางการทำงานของไตอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรืออาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงยามีลอกซิแคมโดยสิ้นเชิง เนื่องจากยาสามารถสะสมในร่างกายได้
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ:
      • ผู้ที่มีความบกพร่องทางตับอย่างรุนแรงควรใช้ meloxicam ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากยาจะถูกเผาผลาญในตับ อาจจำเป็นต้องมีการทดสอบการทำงานของตับก่อนและระหว่างการรักษาด้วยยามีลอกซิแคม
  • ภาวะหัวใจ:
      • Meloxicam อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง บุคคลที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือปัญหาหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ ควรใช้ยามีลอกซิแคมด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • การตั้งครรภ์:
      • ผู้ที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ควรหลีกเลี่ยงการใช้เมลอกซิแคม เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ สตรีมีครรภ์ควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อหารือเกี่ยวกับทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า
  • ให้นมบุตร:
      • Meloxicam สามารถผ่านเข้าสู่เต้านมได้และควรใช้ด้วยความระมัดระวังในระหว่างให้นมบุตร มารดาที่ให้นมบุตรควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงและผลประโยชน์
  • ผู้สูงอายุ:
    • ผู้สูงอายุอาจไวต่อผลข้างเคียงของยามีลอกซิแคม เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจจำเป็นต้องมีขนาดยาเริ่มต้นที่ต่ำกว่าและการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในประชากรกลุ่มนี้
สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณทราบเกี่ยวกับประวัติการรักษาที่สมบูรณ์ของคุณ รวมถึงอาการป่วย ยา หรืออาหารเสริมที่มีอยู่ก่อนที่คุณรับประทานก่อนเริ่มใช้ยามีลอกซิแคมหรือยาอื่น ๆ มีเพียงบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้นที่สามารถประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของยามีลอกซิแคมในสถานการณ์เฉพาะของคุณได้ และให้คำแนะนำที่เหมาะสมในการใช้งาน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานยามีลอกซิแคมให้ตรงตามที่กำหนด และรายงานผลข้างเคียงหรือข้อกังวลใดๆ ให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณทราบโดยทันที
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด