เรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ
โรคหัดเกิดจากอะไร
โรคหัด (Measles) คือ การติดเชื้อไวรัสที่เติบโตในเซลล์เยื่อบุลำคอและปอด เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายไปในอากาศทุกครั้งที่มีคนติดเชื้อไอหรือจาม ผู้ที่เป็นโรคหัดจะมีอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้ ไอ และมีน้ำมูกไหล เป็นผื่นในช่องคอ หากไม่ได้รับการรักษาโรคหัดอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเช่นการติดเชื้อในหูโรคปอดบวมและโรคไข้สมองอักเสบ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก มีข้อมูลว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัด ประมาณ 367 รายต่อวัน หรือ 15 รายต่อชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สำหรับสถานการณ์โรคหัดในประเทศไทย ตามรายงานของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปี 2555-2556 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคหัดรวมทั้งสิ้น 5,207 คน และ 2,646 คน ในแต่ละปีตามลำดับ โดยเด็กอายุ 9 เดือน-7 ปี จัดเป็นกลุ่มช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคนี้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.03 และ 25.85 ของแต่ละปี ทั้งนี้ยังพบผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 9 เดือน โดยในปี 2555 พบ 19 คน และในปี 2556 พบ 9 คนอาการคนติดเชื้อโรคหัด
ผื่นหัดเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง มักเริ่มเป็นบริเวณใบหน้า และลุกลามไปตามร่างกายภายในสองถึงสามวัน ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจไม่มีผื่นแดงเกิดขึ้นให้เห็น และมีอาการอื่น ๆ ที่แสดงถึงอาการออกหัด ร่วมด้วยโดยมีลักษณะเด่นคือ :- ภายในเจ็ดถึง 14 วันหลังจากติดเชื้อหัด อาการแรกจะปรากฏขึ้น เหมือนเป็นหวัดหรือเป็นไข้หัดไอมีน้ำมูกไหลและเจ็บคอ
- สามถึงห้าวันต่อมาผื่นแดง (rash) หรือน้ำตาลแดงจะกระจายไปตามร่างกาย และบางครั้งผิวหนังอาจจะมีการลอก หากอาการรุนแรงอาจส่งผล กระทบต่อปอด ลําไส้และสมองได้ และอาจนําไปสู่ ผลข้างเคียงที่ร้ายแรง อาจเป็นอันตรายชีวิตได้
- ไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส
- มีตุ่มขาว และตุ่มแดงในปาก
- เจ็บตา
- ตาแดง
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคหัด
แหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ระบุว่าโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงไม่เพียงแต่พบได้บ่อยในเด็กเล็กเท่านั้น แต่ยังพบได้ในผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 20 ด้วยโรคแทรกซ้อนเหล่านี้อาจรวมถึงโรคปอดอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบ และตาบอด โรคหัดนั้นสามารถรักษาให้หายได้และไม่เป็นอันตรายมากนัก แต่หากเป็นหัดแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี รวมถึงคนท้องหรือคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงอาจจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น- ท้องเสีย อาเจียน จนอาจทำให้อยู่ในภาวะขาดน้ำ
- สมองทำงานผิดปกติ
- คนท้องอาจจะคลอดก่อนกำหนด หรือแท้ง
- กล่องเสียงอักเสบ
- ตาแดง
- หากไวรัสทำลายระบบประสาท อาจจะจำให้ตาบอด
- หูชั้นกลางติดเชื้อ อักเสบ
- ปอดบวม
- หลอดลมอักเสบ
- ไวรัสตับอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- หัวใจ และระบบประสาทถูกทำลาย
สาเหตุของไข้หัด
โรคหัดเป็นโรคติดต่อที่มีโอกาสติดเชื้อได้สูงมาก การติดต่อของโรคนั้นสามารถรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ หรือการสัมผัสละอองน้ำลาย และน้ำมูกของผู้ป่วยจากการ ไอหรือจาม ในช่วง 4 วันก่อนและหลังเกิดผื่น(rash) นั้นถือเป็นช่วงของการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ โดยไวรัสแพร่กระจายจากคนสู่คนเท่านั้น และติดต่อจากการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่เข้าไปในร่างกาย เชื้อไวรัสหัดสามารถแพร่กระจายได้ค่อนข้างง่ายผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ
โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโรคหัดนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคมักมีความเสี่ยงสูง และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากภูมิต้านทานถูกทำลายอย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV รวมทั้งผู้ที่ขาดสารอาหารนั้น จะป่วยเป็นโรคหัดอย่างรุนแรงเมื่อได้รับเชื้อ สตรีมีครรภ์ที่ได้รับเชื้ออาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ หากโรคหัดในเด็กเล็กเป็นแล้วอาจจะมีอันตราย เช่นเดียวกันกับโรคหัดในผู้ใหญ่ที่เป็นสตรีมีครรภ์อาจจะอันตรายเป็นอย่างมากวิธีการรักษาโรคหัด
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการรักษาโรคหัดได้โดยตรง แต่บางครั้งการได้รับวัคซีนโรคหัดคางทูมและหัดเยอรมัน (MMR) ภายในสามวันแรกหลังจากได้รับเชื้อสามารถป้องกันโรคได้ และแพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงที่ เพื่อช่วยลดอาการคัน หรือ จ่ายยาตามอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น เช่น ยาลดน้ำมูก ยาทาผื่นลดอาการคัน ทั้งนี้ผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ เพื่อให้ร่างกลับมาแข็งแรงเพื่อต่อสู้กับไวรัส และไม่ควรออกไปข้างนอกหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้คนรอบข้าง โรงพยาบาลสมิติเวชมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคประเภทนี้มากการป้องกันโรคหัด (Measles)
หากเด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ครบตามกำหนดตั้งแต่ตอนอายุ 9-12 เดือน โดยวัคซีน ที่ใช้คือ Measles-Mumps-Rubella-Varicella Vaccine (MMRV) โดยเด็กอายุตั้งแต่ 12 เดือน-12 ปี สามารถรับวัคซีนตัวนี้ได้
รับซ้ำอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุครบ 4-6 ปีก็จะสามารถป้องกันโรคหัดไม่ให้มีการติดเชื้อจากบุคคลอื่นได้ และรวมถึงในผู้ใหญ่ก็ยังสามารถรับวัคซีนได้ด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้สตรีมีครรภ์และผู้ป่วยลูคีเมียรวมไปผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ควรรับวัคซีนสมุนไพรรักษาโรคหัด
เนื่องด้วยยังไม่มีวิธีรักษาโรคหัดใด ๆ ทางการแพทย์ที่แน่ชัดที่จะรักษาโรคหัดได้นอกจากการฉีดวัคซีน และไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฎิชีวนะ จึงทำให้มีการใช้ทางเลือกด้วยการรักษาโรคหัดด้วยสมุนไพร ซึ่งมีหลากหลายชนิดเช่นกันที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น :- ขมิ้นอ้อย หั่นเหง้า 5 แว่น นำมาต้มรวมกับน้ำปูนใสพอสมควร ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละ 1 ถ้วยชา
- หญ้าแพรก ต้นใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้พิษ
- แพงพวยฝรั่ง 30-60 กรัม นำมาคั้นแล้วต้มดื่ม
- สนทราย ตำใบให้ละเอียดพอกแก้โรคผิวหนัง กลาก (ringworm) เกลื้อน ผดผื่นคัน แก้ผื่นหัด
คำถามที่พบบ่อย
โรคหัดเป็นโรคร้ายแรงหรือไม่ โรคหัดอาจร้ายแรง เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 20 ปี มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่า ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือหูอักเสบและท้องเสีย ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ได้แก่ โรคปอดบวมและโรคไข้สมองอักเสบหัดเป็นนานแค่ไหน
ผื่นจะคงอยู่เป็นเวลา5 ถึง 6 วัน แล้วจะค่อยๆ จางลง โดยเฉลี่ยแล้วผื่นจะเกิดขึ้น 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส (ภายในช่วง 7 ถึง 18 วัน) การเสียชีวิตจากโรคหัดส่วนใหญ่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคหัดคันไหม
เมื่อมันกระจายออกไป มันมักจะหายไปบนใบหน้า ผื่นที่หัดเยอรมันมักเป็นสัญญาณแรกของการเจ็บป่วยที่ผู้ปกครองสังเกตเห็น อาจมีลักษณะเหมือนผื่นจากไวรัสอื่น ๆ โดยปรากฏเป็นจุดสีชมพูหรือสีแดงอ่อน ซึ่งอาจรวมกันเป็นหย่อม ๆ ที่มีสีเท่ากัน ผื่นสามารถคันและนานถึง 3 วันโรคหัดหายได้เองหรือไม่
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคหัด แต่อาการมักจะดีขึ้นภายใน 7 ถึง 10 วันใครบ้างที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัด
เด็กเล็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคหัดและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการเสียชีวิต หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนก็มีความเสี่ยงเช่นกัน บุคคลที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน (ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือได้รับวัคซีนแต่ไม่มีภูมิคุ้มกัน) สามารถติดเชื้อได้เป็นโรคหัด อาบน้ำได้ไหม
เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคหัดมักจะมีไข้สูงการลดอุณหภูมิด้วยการอาบน้ำอุ่นจึงช่วยลดอาการปวดเมื่อยและอาการไม่สบายอื่นๆได้ การเพิ่มเกลือแร่หรือข้าวโอ๊ตในน้ำอาบอาจช่วยลดอาการคันของผิวหนังได้ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/measles
- https://www.cdc.gov/measles/index.html
- https://www.nhs.uk/conditions/measles/
- https://kidshealth.org/en/parents/measles.html
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น