ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติคืออะไร
มาเนีย หรือภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania) คือเป็นภาวะทางจิตที่ผู้ป่วยรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจโดยไม่มีเหตุผล เป็นความรู้สึกที่รุนแรง อยู่ไม่สุข และมีอาการหลงผิด ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติเป็นอาการที่พบได้ปกติของผู้ที่เป็นโรคไบโพล่า ภาวะอารมณ์ดีผิดปกตินั้นเป็นอันตรายเนื่องด้วยสาเหตุหลายประการ ผู้ป่วยอาจไม่นอนหลับหรือกินระหว่างที่มีอาการ พวกเขาอาจมีพฤติกรรมที่เสี่ยงและทำให้ตัวเองได้รับอันตราย ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงสูงอย่างมากที่จะมีอาการประสาทหลอนและเกิดภาวะการรับรู้ผิดปกติสาเหตุของภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ
ปัจจัยทางครอบครัวเป็นอาจปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ ผู้ป่วยที่มีพ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นโรคนี้ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม การที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคน ๆ นั้นจะเป็นโรคนี้เสมอไป บางคนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้เพราะปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยทงจิตที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคไบโพล่า สิ่งกระตุ้นอย่างนึง หรือการรวมกันของสิ่งกระตุ้นหลาย ๆ อย่างอาจทำให้เกิดโรคนี้ จากการสแกนสมองพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะอามณ์ดีผิดปกตินั้นมีโครงสร้างหรือกิจกรรมในสมองที่ค่อนข้างแตกต่างจากปกติ แพทย์จะไม่ใช้การสแกนสมองเพื่อวินิจฉัยภาวะอารมณ์ดีผิดปกติหรือโรคไบโพล่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมก็สามารถเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน หรือ ความเครียดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต เช่น การเสียชีวิตของคนรัก สามารถทำให้เกิดภาวะอารมณ์ดีผิดปกติได้ รวมถึงภาวะเครียดจากการเงิน ความสัมพันธ์ การเจ็บป่วย และภาวะพร่องไทรอยด์ ก็ทำให้เกิดได้เช่นกัน อาการภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะแสดงออกถึงความตื่นเต้นและความสุขที่มากเกินไป รวมไปถึงอารมณ์รุนแรงอื่น ๆ ด้วย พวกเขาจะอยู่ไม่สุขและอาจมีอาการเห็นภาพหลอน ผู้ป่วยบางคนรู้สึกตกใจและวิตกกังวล ผู้ป่วยอาจเปลี่ยนอารมณ์จากมีความสุขมาก ๆ ไปเป็นซึมเศร้าได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภาวะมีความสุขผิดปกติทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีพลังงานมาก ทำให้ระบบในร่างกายทำงานเร็วขึ้น เหมือนว่าทุกอย่างรอบตัวรวดเร็วไปหมด ผู้ที่เป็นภาวะนี้จะมีความคิดที่เร็วมากและพูดเร็ว ทำให้ไม่หลับและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง อาจมีอาการประสาทหลอน หงุดหงิดและเสียสมาธิง่าย ๆ แสดงพฤติกรรมเสี่ยง และใช้จ่ายเงินอย่างสนุกสนาน ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว และมีการใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์อย่างผิด ๆ ส่วนภาวะอารมณ์ดีผิดปกติที่มีอาการน้อย จะถูกเรียกว่า ไฮโปมาเนีย ซึ่งมีอาการเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น แต่เบากว่า เกิดขึ้นในระยะเวลาที่สั้นกว่าการรักษาโรคร่าเริง
หากมีอาการรุนแรงหรือมีอาการทางจิตร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจต้องนอนโรงพยาบาล เพราะการนอนที่โรวพยาบาลจะช่วยไม่ให้ผู้ป่วยทำให้ตัวเองบาดเจ็บ
ยา
ยานั้นเป็นวิธีแรกที่ใช้รักษาผู้ป่วยภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ ยาที่สั่งจ่ายจะเป็นยาที่ช่วยให้อารมณ์สมดุลและลดความเสี่งที่ผู้ป่วยจะทำให้ตัวเองบาดเจ็บ ยาต่าง ๆ มีดังนี้:- ลิเทียม (Cibalith-S, Eskalith, Lithane)
- ยาต้านอาการทางจิต เช่น aripiprazole (Abilify) olanzapine (Zyprexa) quetiapine (Seroquel) และ risperidine (Risperdal)
- ยากันชัก เช่น valproic acid (Depakene, Stavzor) divalproex (Depakote) หรือ lamotrigine (Lamictal)
- กลุ่มยานอนหลับเเละคลายเครียด เช่น alprazolam (Niravam, Xanax) chlordiazepoxide (Librium) clonazepam (Klonopin) diazepam (Valium) หรือ lorazepam (Ativan)
จิตบำบัด
การบำบัดทางจิตสามารถช่วยให้ผู้ป่วยทราบถึงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้ ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับความเครียด การบำบัดแบบครอบครัวหรือแบบกลุ่มก็อาจช่วยได้เช่นกันข้อควรระวังของภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ
อาการแมเนียเป็นอาการของภาวะสุขภาพจิตหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไบโพลาร์ อาการแมเนียไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่มีลักษณะเป็นช่วงหนึ่งของอารมณ์ที่เพิ่มขึ้น พลังงานที่เพิ่มขึ้น และความหุนหันพลันแล่น อย่างไรก็ตาม หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับการจัดการ อาการคลุ้มคลั่งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนและผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้หลายอย่าง ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากความคลุ้มคลั่ง:- การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวช:อาการแมเนียขั้นรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของแต่ละบุคคลและเพื่อรักษาอารมณ์ให้คงที่ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหากมีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือหากบุคคลนั้นไม่สามารถดูแลตัวเองได้
- ปัญหาทางการเงินและกฎหมาย:ในช่วงที่เกิดอาการแมเนีย บุคคลอาจมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและเสี่ยง เช่น การใช้จ่ายมากเกินไป การพนัน หรือกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย พฤติกรรมเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาทางการเงินและผลทางกฎหมาย
- ความตึงเครียดด้านความสัมพันธ์:ภาวะแมเนียอาจทำให้ความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมงานตึงเครียด เนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่อยู่กับร่องกับรอย ความฉุนเฉียว และการตัดสินใจที่บกพร่อง การรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายในช่วงที่เกิดอาการแมเนีย
- การใช้สารเสพติด:บุคคลบางคนที่เป็นโรคไบโพลาร์และอาการคลุ้มคลั่งอาจหันไปเสพยาหรือแอลกอฮอล์เพื่อรักษาตัวเองหรือรับมือกับอาการของตนเอง สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาการใช้สารเสพติดและทำให้สภาพโดยรวมเลวร้ายลง
- ปัญหาสุขภาพกาย:อาการแมเนียสามารถรบกวนรูปแบบการนอนหลับ ความอยากอาหาร และกิจวัตรการดูแลตนเองได้ เมื่อเวลาผ่านไป การหยุดชะงักเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพกาย เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง ความผิดปกติของการนอนหลับ และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- โรคร่วมทางการแพทย์:ผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่ได้รับการจัดการที่ดี อาจมีความเสี่ยงสูงสำหรับสภาวะทางการแพทย์บางอย่าง รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม ซึ่งอาจรุนแรงขึ้นจากผลกระทบของความคลุ้มคลั่งและผลข้างเคียงของยา
- อาการซึมเศร้า:ความบ้าคลั่งมักตามมาด้วยอาการซึมเศร้าในโรคอารมณ์สองขั้ว การเปลี่ยนแปลงระหว่างความคลุ้มคลั่งและภาวะซึมเศร้าอาจทำให้ร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้า นำไปสู่วงจรของอารมณ์แปรปรวน
- ความคิดและการกระทำในการฆ่าตัวตาย:ในกรณีที่รุนแรง อาการแมเนียสามารถนำไปสู่ความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบุคคลประสบกับภาวะซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ที่ต่ำมากหลังจากเกิดอาการแมเนีย
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.verywellmind.com/how-to-recognize-a-manic-or-hypomanic-episode-380316
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bipolar-disorder/symptoms-causes/syc-20355955
- https://www.mind.org.uk/information-support/types-of-mental-health-problems/hypomania-and-mania/about-hypomania-and-mania/
- https://www.webmd.com/bipolar-disorder/guide/hypomania-mania-symptom
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น