โรคขาดสารอาหาร (Malnutrition) คือการได้รับสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป
ภาวะขาดแคลนสารอาหารสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างได้แก่ ความบกพร่องในการเจริญเติบโต ปัญหาเกี่ยวกับดวงตา โรคเบาหวานและโรคหัวใจ
โรคขาดสารอาหารเกิดขึ้นกับประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลก โดยประชากรในบางประเทศกำลังพัฒนามีความเสี่ยงเป็นโรคขาดสารอาหารบางประเภทซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตรวมไปถึงทรัพยากรภายในประเทศ
ในบทความนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับประเภท ลักษณะอาการและสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสารอาหารรวมไปถึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการป้องกัน
โรคขาดเเคลนสารอาหารคืออะไร?
โรคขาดแคลนสารอาหารเป็นอาการที่เกิดจากการขาดแคลนสารอาหารที่จำเป็นรวมถึงการทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป โรคขาดแคลนสารอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่- ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงการขาดแคลนสารอาหารที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับโปรตีน ทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำหรือสารอาหารเสริมไม่เพียงพอต่อการใช้งานของร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับร่างกายได้แก่มีน้ำหนักเกิน แคระแกน และน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน
- ภาวะโภชนาการเกินหมายถึงการทานสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปเช่นโปรตีน ทานอาหารที่มีแคลอรี่หรือไขมันสูง สาเหตุเหล่านี้สามารถทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกินได้เช่นกัน โดยปกติมักทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
สัญญาณและอาการของโรคขาดสารอาหาร
สัญญาณและอาการขาดสารอาหารขึ้นอยู่กับประเภทของโรคขาดเเคลนสารอาหารภาวะขาดแคลนสารอาหาร
ภาวะขาดเเคลนสารอาหารเกิดจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ภาวะขาดเเคลนสารอาหารทำให้เกิด- น้ำหนักลดลง
- สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและไขมัน
- แก้มตอบและตาโหล
- ท้องบวม
- ผมและผิวเเห้ง
- แผลหายช้า
- อ่อนล้าหมดเเรง
- ไม่มีสมาธิจดจ่อ
- มีอารมณ์ฉันเฉียวเเละหงุดหงิด
- ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล
- วิตามินเอ : ทำให้ตาแห้ง ตาบอดในทีมืดและมมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง
- ธาตุสังกะสี : ความอยากอาหารลดลง แคระแกน แผลหายช้า ผมร่วงและท้องเสีย
- ธาตุเหล็ก : ทำให้สมองไม่ทำงานตามปกติ มีปัญหาเกี่ยวกับการปรับอุณหภูมิของร่างกายและมีปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง
- ไอโอดีน : ต่อมไทรอยด์โตและเพิ่มการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ส่งผลทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย
ภาวะโภชนาการเกิน
สัญญาณเเรกที่เกิดขึ้นจากภาวะโภชนาการเกินคือมีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนแต่อย่างไรก็ตามปัญหาสุขภาพเหล่านี้มีสาเหตุเกิดจากการขาดแคลนสารอาหารได้ด้วยเช่นกัน จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีปริมาณวิตามินในเลือดน้อย ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุได้อย่างเพียงพอ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ข้อมูลจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำการศึกษาในวัยรุ่นจำนวน 285 คนพบว่าในเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วนมีปริมาณวิตามินเอและอีในเลือดเพียง 2-10% เท่านั้น ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีน้ำหนักปกติ เนื่องจากผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีสาเหตุเกิดจากการบริโภคอาหารฟาสฟู้ดมากเกินไปซึ่งเป็นอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูงแต่มีสารอาหารอื่นๆน้อยมาก จากงานวิจัยในเด็กและผู้ใหญ่จำนวน 17,000 คนพบว่าผู้ที่ทานอาหารฟาสฟู้ดมีภาวะขาดเเคลนสารอาหารที่จำเป็นอย่างวิตามินเอและซีแต่ได้รับพลังงานจากแคลอรี่และโซเดียมที่สูงกว่าผู้ที่หลีกเลี่ยงอาหารฟาสฟู้ดการประเมินภาวะขาดเเคลนสารอาหาร
อาการขาดสารอาหารสามารถได้รับการวินิจฉัยเเละประเมินความอันตรายของภาวะนี้ด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเมื่อพวกเขาทำการประเมินความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นกับร่างกาย อุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ประเมินภาวะขาดเเคลนสารอาหารได้แก่เครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องดัชนีมวลร่างกาย (BMI) การตรวจเลือดเพื่อระบุสถานะขาดเเคลนสารอาหารรองและการทดสอบร่างกาย ถ้าคุณเคยมีประวัติน้ำหนักลงลดโดยไม่ทราบสาเหตุและมีอาการอื่นๆที่เกี่ยข้องกับภาวะขาดเเคลนสารอาหาร แพทย์จะเเนะนำให้คุณทำการทดสอบเพื่อค้นหาภาวะขาดเเคลนสารอาหารรองด้วย การวินิจฉัยภาวะขาดเเคลนสารอาหารที่มีสาเหตุเกิดจากภาวะโภชนาการเกินทำการวินิจฉัยได้ยากกว่า ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วยและทานอาหารฟาสฟู้ดเป็นประจำ คุณอาจได้รับสารอาหารอย่างเช่นวิตามินเเละแร่ธาตุไม่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อวินิจฉัยภาวะขาดเเคลนสารอาหารจึงจำเป็นต้องพูดคุยเกี่ยวกับพฤติกรรมการทานอาหารกับแพทย์ของคุณ อาการขาดเเคลนสารอาหารได้แก่น้ำหนักลดลง อ่อนล้าหมดเเรง หงุดหงิดรำคาญง่ายและได้รับสารอาหารเสริมไม่เพียงพอ ส่วนภาวะโภขนาการเกินทำให้เกิดโรคอ้วนเเละน้ำหนักเกิดรวมถึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินและเเร่ธาตุที่จำเป็นได้น้อยลงผลกระทบในระยะยาว
ภาวะขาดเเคลนสารอาหารทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเเละโรคเรื้อรังได้ ผลกระทบในระยะยาวของภาวะขาดเเคลนสารอาหารได้แก่มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนสูงและเป็นโรคหัวใจรวมถึงโรคเบาหวานได้ง่าย นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตุว่าเด็กที่มีภาวะขาดเเคลนโภชนาการในวัยเด็กมีโอกาสเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญของร่างกายได้ที่ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ภาวะโภชนาการเกินสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพบางอย่างได้เช่นกัน โดยเฉพาะภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคหัวใจเเละโรคเบาหวานชนิดดื้ออินซูลินได้ (โรคเบาหวานประเภทที่ 2) จากงานวิจัยในเด็กจำนวนมากกว่า 369,000 คนพบว่าเด็กเป็นโรคอ้วนมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดดื้ออินซูลินได้มากถึง 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลร่างกายกับเพื่อที่มีค่าดัชนีมวลร่างกายปกติ (BMI) เนื่องจากผลกระทบระยะยาวของโรคขาดเเคลนสารอาหารเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคบางอย่าง ดังนั้นการป้องกันและการรักษาภาวะขาดเเคลนสารอาหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อช่วยลดโอกาสเสี่ยงเเละป้องกันปัญหาสุขภาพเรื้อรัง มีงานวิจัยหลายงานที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับภาวะขาดเเคลนสารอาหารในวัยเด็กและความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันสูงเมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ภาวะโภชนาการเกินในวัยเด็กก่อให้เกิดโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวานชนิดดื้ออินซูลินเเละโรคหัวใจสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสารอาหาร
ภาวะขาดเเคลนอาหารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกซึ่งเป็นผลมาจากสภาพเศรฐกิจและปัญหาสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประเมินว่ามีผู้ใหญ่จำนวนมากกว่า 460 ล้านคนและเด็กจำนวนมากกว่า 150 คนเป็นโรคขาดสารอาหารและมีเด็กและผู้ใหญ่มากกว่า 2 พันล้านคนที่เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารได้แก่ :- ความมั่นคงทางอาหารหรือการขาดเเคลนและไร้ความสามารถในการเข้าถึงอาหาร จากปัจจัยดังกล่าวมีผลการวิจัยที่มีความเช่ือมโยงกับความมั่นคงทางอาหารทั้งในประเทศที่พัฒนาเเล้วและกำลังพัฒนาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะขาดเเคลน
- ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดูดซึมสารอาหารที่ผิดปกติเช่นโรคโครห์น โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตนและมีแบคทีเรียเจริญเติบโตอยู่ในลำไส้เล็ก ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะขาดเเคลนสารอาหารได้
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลมากเกินไป การดื่มแอลกอฮลอย่างหนักทำให้เกิดการบริโภคโปรตีนที่ไม่เพียงพอรวมถึงทำให้ขาดเเคลนพลังงานและสารอาหารรองอีกด้วย
- ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ได้แก่ ภาวะซึมเศร้าและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตอื่นๆสามารถทำให้เกิดภาวะขาดเเคลนสารอาหารได้สูง หนึ่งในงานวิจัยพบว่าโรคขาดเเคลนสารอาหารสามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าสูงถึง 4% เมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ
- ไม่สามารถหาและเตรียมอาหารเองได้ จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่พิการหรือผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือเดินทางได้ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคขาดเเคลนสารอาหารได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทักษะการเตรียมอาหารอีกด้วย
Populations at Risk ประชากรที่มีความเสี่ยง
โรคขาดแคลนอาหารเกิดขึ้นกับคนทั่วโลกแต่มีประชากรบางส่วนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้สูงกว่า ประชากรที่มีความเสี่ยงเป็นโรคขาดเเคลนสารอาหารได้แก่- ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาหรือบริเวณที่มีอาหารจำกัด ภาวะขาดเเคลนสารอาหารหลักเเละรองมักเกิดขึ้นกับคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณทวีปเอเชียใต้และทวีปแอฟริกาที่ตั้งอยู่ใต้ทะเลทรายซาฮารา
- ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ในประเทศที่กำลังพัฒนาพบว่ามีผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรมีภาวะขาดเเคลนสารอาหารโดยคิดเป็น 24–31%
- คนจนและผู้ที่มีรายได้ต่ำ ผู้ที่มีสถานะทางสังคมต่ำมักเป็นผู้ที่มีภาวะขาดเเคลนสารอาหาร
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่พิการหรืออยู่เพียงลำพัง มีงานวิจัยพบว่า 22% ของผู้สูงอายุเป็นโรคขาดเเคลนสารอาหารเเละเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคขาดเเคลนสารอาหารคิดเป็น 45%
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหาร ผู้ที่เป็นโรคโครห์นหรือโรคลำไส้อักเสบมีโอกาสเป็นโรคขาดเเคลนสารอาหารได้ถึง 4 เท่าของคนปกติที่ไม่มีอาการเหล่านี้
วิธีป้องกันและการรักษา
การป้องกันเเละรักษาภาวะขาดเเคลนสารอาหารขึ้นอยู่กับการระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นโรคขาดเเคลนสารอาหาร รัฐบาล องค์กรอิสระและโรงเรียนมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้เกิดโรคขาดสารอาหาร งานวิจัยได้เเนะนำวิธีที่ใช้รักษาและป้องกันการเกิดภาวะขาดเเคลนสารอาหารที่ได้ผลดีที่สุดคือการทานอาหารเสริมซึ่งได้แก่อาหารเสริมธาตุเหล็ก สังกะสีและไอโอดีน รวมถึงการให้การศึกษาเรื่องโภชนการอาหารให้กับประชากรในประเทศที่มีความเสี่ยงเป็นโรคขาดเเคลนสารอาหาร นอกจากนี้การจัดกิจกรรมเเละการเพิ่มลักษณะนิสัยที่ดีในการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและการออกกำลังกายเป็นประจำเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนเเละภาวะน้ำหนักเกินที่เกิดจากภาวะโภชนการเกินทั้งในเด็กเเละผู้ใหญ่ได้ คุณสามารถปองกันภาวะทุพโภชนาการได้ด้วยการทานอาหารที่หลากหลายซึ่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เเร่ธาตุและน้ำ การรักษาภาวะขาดเเคลนอาหารขึ้นอยู่กับวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ถ้าคุณสังเกตุได้ว่าผู้ใดมีอาการหรือภาวะขาดเเคลนสารอาหาร ควรเเนะนำให้พวกเขาไปพบเเพทย์โดยทันที ทีมเเพทย์สามารถประเมินสัญญาณเเละอาการของภาวะขาดเเคลนสารอาหารได้และสามารถแนะนำวิธีป้องกันอย่างเช่น การทำงานร่วมกับนักโภชนาการเพื่อจัดทำตารางการทานอาหารที่มีการจัดอาหารเสริมให้ทานด้วย การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตและการส่งเสริมการทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายเป็นประจำรวมถึงการให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหารและการทานอาหารเสริมสามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคขาดเเคลนสารอาหารได้ โดยปกติการรักษาและประเมินจะทำโดยแพทย์และนักโภชนาการข้อเท็จจริงสำคัญ 10 ประการเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ
เมื่อมุ่งเน้นไปที่การต่อสู้กับความยากจน ความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการเป็นสองสิ่งที่มักถูกหยิบยกขึ้นมา ผู้คนมักจะตระหนักถึงแนวคิดนี้พร้อมกับความแพร่หลาย แต่ข้อเท็จจริงหลายอย่างมักจะถูกละเลยในการอภิปรายเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ ข้อเท็จจริงที่กล่าวถึงด้านล่างคือข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการและผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการ- ผู้คนกว่าสองพันล้านคนทั่วโลกประสบกับภาวะทุพโภชนาการ แม้ว่ามักมีการกล่าวถึงภาวะทุพโภชนาการว่าเป็นปัญหา แต่โดยทั่วไปมักถูกกล่าวถึงว่าเป็นปัญหาของคนโชคร้ายเพียงไม่กี่คน ถึงกระนั้น ความเป็นจริงก็แสดงให้เห็นว่าปัญหานั้นลุกลามมากเพียงใด ผู้คนสองพันล้านคนหรือเกือบหนึ่งในสามของประชากรโลกต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะทุพโภชนาการ
- สองในสามของผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการอาศัยอยู่ในเอเชีย แม้ว่าเอเชียจะไม่ใช่ทวีปที่มีอัตราการขาดสารอาหารสูงที่สุด แต่เป็นทวีปที่มีประชากรขาดสารอาหารเป็นจำนวนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม มีข่าวดีบางประการเกี่ยวกับประเด็นนี้ เนื่องจากเปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ประสบภาวะทุพโภชนาการในเอเชียใต้ลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
- เกือบร้อยละ 14 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคขาดสารอาหาร ข้อเท็จจริงที่ว่าภาวะทุพโภชนาการส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาเป็นหลักมักจะไม่ทำให้ผู้คนประหลาดใจ อย่างไรก็ตาม ก็ยังน่าตกใจว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในประเทศเหล่านี้ได้อย่างไร มากกว่าหนึ่งในเก้าคนในประเทศกำลังพัฒนาประสบภาวะทุพโภชนาการ
- การขยายโครงการเพื่อกำหนดเป้าหมายภาวะทุพโภชนาการทั่วโลกจะมีค่าใช้จ่ายเพียง 11.8 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ตามข้อมูลของธนาคารโลก สำหรับบริบทแล้ว สหรัฐอเมริกาใช้เงิน 618.7 พันล้านดอลลาร์ในการใช้จ่ายทางทหารในปี 2556 ความจำเป็นในการดำเนินการนั้นยิ่งใหญ่ และการดำเนินการในนามของสหรัฐอเมริกานั้นไม่เคยเป็นไปได้มากไปกว่านี้ในการต่อสู้กับความอดอยาก
- เด็ก 1 ใน 4 ของโลกมีภาวะแคระแกรน การ “แคระแกรน” หมายถึงการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจและพัฒนาการหยุดชะงักเนื่องจากขาดอาหาร ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจำนวนดังกล่าวมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3
- หนึ่งในสี่คนใน Sub-Saharan Africa เป็นโรคขาดสารอาหาร Sub-Saharan Africa เป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขาดสารอาหารมากที่สุดในบรรดาประชากร ความต้องการทั่วโลกในการจัดการกับภาวะทุพโภชนาการเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่ด้วยผลกระทบที่ไม่เป็นธรรมต่อภูมิภาคต่างๆ เช่น อนุภูมิภาคทะเลทรายซาฮารา จึงเป็นความท้าทายที่เราต้องเต็มใจเผชิญ
- ครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนาเป็น โรคโลหิตจาง ซึ่งอาจเป็นผลจากการขาดสารอาหาร ทำให้เสียชีวิตระหว่างการคลอดบุตรปีละ 110,000 ราย ผู้หญิงโดยรวมยังมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะทุพโภชนาการมากขึ้นเนื่องจากบรรทัดฐานที่มักเป็นผู้หญิงที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้
- เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตก่อนอายุห้าขวบมากกว่าเด็กถึง 20 เท่า เหยื่อรายใหญ่ที่สุดของการขาดสารอาหารคือเด็ก นอกจากเด็กหนึ่งในสี่ที่มีภาวะทุพโภชนาการแล้ว เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะเด็กที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารอาหาร มีโอกาสเสียชีวิตก่อนอายุห้าขวบมากกว่าเด็กถึง 20 เท่า
- หนึ่งในสามของการเสียชีวิตของเด็กก่อนอายุห้าขวบมีสาเหตุมาจากภาวะ ทุพโภชนาการ บางทีอันตรายที่เกิดกับเด็ก หนึ่งในสามของการเสียชีวิตของเด็กก่อนอายุ 5 ขวบมีสาเหตุมาจากภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการมุ่งเน้นทั่วโลกในการปรับปรุงการเข้าถึงอาหารทั่วโลก
- ทุกอย่างเริ่มดีขึ้นแต่มีความคืบหน้าที่ต้องดำเนินการ ดังนั้น นี่เป็นข่าวดีเล็กน้อย: ตั้งแต่ปี 2009 จำนวนเด็กที่ได้รับการรักษาภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่พวกเขาประสบเพิ่มขึ้นสามเท่า อย่างไรก็ตาม ยังมีความคืบหน้าที่ต้องทำ แม้ว่าจำนวนเด็กที่ได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นสามเท่า แต่จำนวนเด็กที่ได้รับการรักษายังคงต่ำเพียงร้อยละ 15
บทสรุป
ภาวะทุพโภชนาการหมายถึงภาวะขาดเเคลนสารอาหารเเละภาวะโภชนาการอาหารเกิน ผู้ที่มีภาวะขาดเเคลนสารอาหารอาจมีประสบการณ์น้ำหนักลดลง อ่อนล้าหมดเเรง และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายหรือมีภาวะขาดเเคลนวิตามินและแร่ธาตุ ส่วนภาวะโภชนาการเกินสามารถทำให้เกิดน้ำหนักเกิน โรคอ้วนและได้รับสารอาหารเสริมไม่เพียงพอเนื่องจากปัญหาการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย ภาวะทั้งสองนี้เป็นปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้หากปล่อยไว้ไม่รักษา ถ้าคุณพบว่าตัวเองหรือผู้ใดมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะภาวะขาดเเคลนสารอาหาร ควรไปพบเเพทย์ให้เร็วที่สุดนี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/malnutrition
- https://www.nhs.uk/conditions/malnutrition/
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/179316
- https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/nutritional/malnutrition
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น