โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) : สาเหตุ ประเภท อาการ

โรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร

จอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) เกิดจากการที่ตามีปัญหาการมองเห็นเนื่องจากที่จุดรับภาพตรงกลางของตานั้นเสื่อมลง ซึ่งการมองเห็นแบบปกตินั้น มีจุดรับภาพตรงกลางซึ่งมองสิ่งของที่อยู่หน้าของคุณ และการมองเห็นด้านข้างคือสิ่งที่คุณมองเห็นด้านข้าง และการที่จอประสาทตาเสื่อมนั้นไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยตาบอด เพราะไม่ได้มีผลกระทบต่อจุดรับรับภาพส่วนปลายที่ตาของคุณ โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration)

สาเหตุจอประสาทตาเสื่อม

สาเหตุของโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา ซึ่งเป็นพื้นที่เล็กในดวงตา ที่เป็นจุดศูนย์กลางของดวงตา ที่อยู่ด้านหลังของลูกตา ทางการแพทย์ไม่ได้ทราบสาเหตุที่ชัดเจนสำหรับโรคจอประสาทตาเสื่อม แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบางอย่างก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นจอประสาทตาเสื่อมได้ ความเสี่ยงของการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมมีดังนี้:
  • อายุมากกว่า 65 ปี
  • มีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • การสูบบุหรี่
  • มีน้ำหนักตัวเยอะ
  • มีโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทของจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมมีอยู่ 2 ประเภทคือจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง และจอประสาทเสื่อมตาชนิดเปียก จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งนั้น เป็นอาการที่คนทั่วไปนั้นพบบ่อยที่สุด ซึ่งส่งผลประมาณ 85 ถึง 90 เปอร์เซนต์ ของคนที่มีอาการจอประสาทตาเสื่อม อาการนี้เกิดจากจุดสีเหลืองที่เรียกว่าดรูเซนเข้าไปสะสมในจอประสาทตา อาการนี้ทำให้จอประสาทตาได้รับความเสียหายและสูญเสียการมองเห็น จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกส่งผลได้ประมาณ 10 ถึง 15 เปอร์เซนต์ ของคนที่มีอาการจอประสาทตาเสื่อม อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อมีความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยด้านหลังจอประสาทตา หากคุณมีอาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดนี้ คุณอาจเห็นจุดสีดำอยู่ตรงกลางของการมองเห็นของคุณ เนื่องจากหลอดเลือดมีการรั่วไหลหรือมีของเหลวรั่วไหลออกมา

อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคที่อันตรายมาก เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป อาการนี้ก็จะแย่ลง คุณอาจจะไม่เห็นอาการแรกเริ่มของโรคจอประสาทตาเสื่อม นอกจากนี้คุณอาจไม่สังเกตเห็นอาการของมันเมื่อการมองเห็นของคุณยังปกติ เมื่อคุณใช้ตาสองข้างมองในเวลาที่พร้อมกัน อาการของจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง มีอาการดังต่อไปนี้:
  • การมองเส้นตรงจะผิดเพี้ยนไป
  • การมองเห็นจุดตรงกลางเริ่มลดลง
  • มีความต้องการแสงสว่างที่มากกว่าปกติ
  • มีการปรับตัวในที่แสงน้อยยากลำบาก
  • มองภาพแล้วเบลอ
  • มีปัญหาในการจดจำใบหน้า
อาการบางอย่างของจอประสาทเสื่อมชนิดเปียกก็อาจคล้ายกันกับจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง เช่น การมองเห็นที่ผิดเพี้ยนการมองเห็นส่วนกลางนั้นเปลี่ยนไป คนที่เป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก อาจมีอาการต่อไปนี้:
  • การมองเห็นที่พร่ามัว
  • เห็นภาพเลือนลาง
  • อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว
อาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกและแห้งนั้น ไม่มีผลต่อจุดรับการมองเห็นส่วนปลาย แม้ว่าอาการเหล่านี้จะสามารถป้องกันได้จากสิ่งที่มองเห็นตรงหน้าของคุณ แต่นั้นก็ไม่ใช่สาเหตุที่ให้ตาบอดได้ 

การวินิจฉัยโรคจอประสาทตาเสื่อม

การตรวจสายตาประจำปีเป็นเรื่องที่สำคัญ ถึงแม้ว่าการมองเห็นจะปกติก็ตาม คุณควรจะพบจักษุแพทย์หากคุณรู้สึกว่าการมองเห็นนั้นเปลี่ยนไป จักษุแพทย์จะตรวจหาความผิดปกติ และวินิจฉัยอาการจอประสาทตาเสื่อม เช่น จกษุแพทย์สามารถให้ยาหยอดตาชนิดพิเศษ เพื่อขยายม่านตาของคุณ และตรวจสอบด้านหลังตาของคุณเพื่อหาของเหลวในตาหรือจุดสีเหลืองในดวงตาของคุณ ในระหว่างการตรวจสายตาของคุณ จักษุแพทย์สามารถตรวจจุดรับภาพส่วนกลางด้วยการมองตาราง หากมีเส้นบางเส้นมองไม่ชัด หรือแตก นั่นคือสัญญาณว่าคุณอาจเป็นจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งการวินิจฉัยแบบอื่นมีดังนี้:

เครื่องมือตรวจความหนาของชั้นจอประสาทตา

การวินิจฉัยนี้เป็นการถ่ายภาพขวางทางจอประสาทตา และตรวจหาอาการบวม หนา หรือบางของชั้นจอประสาทตา หลังจากที่คุณได้รับการวินิจฉัยแล้ว จักษุแพทย์อาจ ตรวจสอบว่าการตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างไร

การตรวจหลอดเลือดในตาด้วยสารเรืองแสง

การวินิจฉัยด้วยวิธีนี้คล้ายกับการตรวจหลอดเลือดด้วยแสงฟลูออเรสเซนต์ จักษุแพทย์จะฉีดสารเรืองสีเขียวเข้าไปในหลอดเลือด การวินิจฉัยนี้เพื่อหาแสงฟลูออเรสเซนต์และวินิจฉัยอาการจอประสาทตาเสื่อมได้

การเอ็กซเรย์ตรวจเส้นเลือด

จักษุแพทย์จะทำการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำที่แขนของคุณไปยังเส้นเลือดที่อยู่ในจอประสาทตาของคุณ จากนั้นก็จะใช้กล้องพิเศษ ถ่ายรูปดวงตาเก็บเอาไว้ และจักษุแพทย์ก็จะตรวจสอบจากสีที่ฉีดเข้าไปว่ามีความผิดปกติในจอประสาทตาหรือหลอดเลือดที่อยู่ในตาของคุณหรือไม่

การรักษาจอประสาทตาเสื่อม

ตอนนี้ไม่มีการรักษาที่แน่นอนของอาการจอประสาทตาเสื่อม แต่จักษุแพทย์สามารถให้คุณรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการของโรค

การรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง

หากคุณเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง จักษุแพทย์อาจจะแนะนำให้คุณพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพสายตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถสอนให้ปรับตัวและรับมือกับการสูญเสียการมองเห็นได้ จักษุแพทย์อาจแนะนำให้คุณผ่าตัด เพื่อปรับการมองเห็นให้ดีขึ้น ซึ่งในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะฝังเลนส์พิเศษไว้ในดวงตาของคุณ ซึ่งจะทำให้ขยายขอบเขตการมองเห็นให้มากขึ้น

การรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก

หากคุณมีอาการจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก จักษุแพทย์จะแนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสายตาต่ำ นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำยาที่รักษาอาการนี้ได้โดยตรง เพื่อหยุดการเติบโตของเส้นเลือดใหม่ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษา ก่อนที่คุณจะเห็นถึงความแตกต่างในการรักษา การรักษาจอประสาทตาเสื่อมในรูปแบบอื่น ก็มีการใช้พลังงานบำบัด จักษุแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในหลอดเลือดดำของแขนข้างไหนก็ได้ และใช้แสงพิเศษเพื่อปิดรอยรั่วของหลอดเลือดในตาของคุณ การบำบัดนี้สามารถปรับปรุงการมองเห็นได้ แต่คุณอาจต้องมีการบำบัดที่หลากหลาย การผ่าตัดตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นการรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก การรักษานี้เป็นการใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง เพื่อจัดการกับเส้นเลือดที่ผิดปกติ จุดประสงค์ของการบำบัดนี้คือเพื่อหยุดเลือดที่หลุดรั่วและลดความเสียหายต่อประสาทตาของคุณ แต่อย่างไรก็ตามเลเซอร์สามารถทำให้เกิดแผลเป็นและทำให้เกิดจุดบอดบนดวงตาของคุณ แม้ว่าการรักษานี้จะประสบความสำเร็จหลอดเลือดที่ผิดปกติสามารถกลับมาใหม่ได้และคุณจะต้องกลับไปรับการรักษาอีกครั้ง 

เคล็ดลับในการป้องกันจอประสาทตาเสื่อม

ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ได้กำหนดวิธีในการป้องกันจอประสาทตาเสื่อม แต่อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้โดยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งรวมถึง:
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
  • รักษาน้ำหนักตัวให้คงที่
  • ออกกำลังกายให้มาก
โรคจอประสาทตาเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็เป็นไปได้ที่จะทำการวินิจฉัยให้เร็วกว่านี้ในการตรวจสายตา ยิ่งทำการรักษาให้เร็ว ก็มีโอกาสที่ชะลออาการจอประสาทตาเสื่อมและลดโอกาสในการสูญเสียการมองเห็นได้อีกด้วย

สถิติผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมในประเทศไทย

สถิตินี้ได้มาจากเว็บไซต์ผู้จัดการในปี 2559 ซึ่งมีการวิจัยมาว่า สำหรับผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมนั้น เคยเป็นอันดับที่ 4 ของผู้ป่วยโรคตาทั้งหมด โดยอันดับ 1โรคต้อกระจก อันดับ 2 โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา อันดับ 3 โรคต้อหิน แต่ภายใน 10 – 20 ปี ข้างหน้าหากเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว คาดว่า มีความเป็นไปได้ที่จำนวนผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมจะเพิ่มขึ้น และขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับ 2 – 3 ในที่สุด

อาหารและความเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ

ไม่เพียงแต่ผลไม้ ผัก และถั่วที่ดีต่อหัวใจของคุณเท่านั้น อาหารเหล่านี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของคุณต่อโรคจอประสาทตาเสื่อมได้อีกด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี ซึ่งแตกต่างจากภาวะสายตาที่รุนแรงที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงโรคเบาหวานและโรคต้อหินที่ไม่ได้รับการรักษา โรคจอประสาทตาเสื่อม แทบจะไม่ทำให้ตาบอดเลย แต่ โรคนี้หากมีความรุนแรงก็สามารถหยุดคุณจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การขับรถและการอ่าน

สารต้านอนุมูลอิสระช่วยเพิ่มการมองเห็น

ความเชื่อมโยงระหว่างอาหารเพื่อสุขภาพกับการสูญเสียการมองเห็นที่ลดลงจากโรคจอประสาทตาเสื่อม ดูเหมือนจะเป็นคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของแคโรทีนอยด์ วิตามิน และแร่ธาตุบางชนิด  การศึกษาพบว่าความก้าวหน้าของโรคลดลงในผู้ที่มีโรคจอประสาทตาเสื่อมปานกลางที่รับประทานอาหารเสริมทุกวันซึ่งประกอบด้วยวิตามินซี (500 มิลลิกรัมต่อวัน) วิตามินอี (400 หน่วยสากล (IU) ต่อวัน) เบต้าแคโรทีน (15 มิลลิกรัมต่อวันหรือ 25,000 IU) ), สังกะสี (80 มิลลิกรัมต่อวัน) และทองแดง (2 มิลลิกรัมต่อวัน)

รับสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นในอาหารของคุณ

ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อม สามารถได้รับประโยชน์ทางสายตาเช่นเดียวกันกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ:
  • วิตามินซี – ผลไม้รสเปรี้ยว, ผลเบอร์รี่, แตงโม, บรอกโคลี, มะเขือเทศ, กะหล่ำปลี, มันฝรั่ง
  • วิตามินอี – น้ำมันพืช อัลมอนด์ ถั่วพิสตาชิโอ ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี เมล็ดธัญพืช หัวผักกาดเขียว และมะม่วง
  • เบต้าแคโรทีน – แครอท มันเทศ ผักโขม ผักใบเขียวเข้ม เมล่อน แคนตาลูป สควอชฤดูหนาว และแอปริคอต
  • สังกะสี – เนื้อไก่ หมู ตับ ไข่ จมูกข้าวสาลี ซีเรียลเสริมอาหารเช้า และอาหารทะเล
  • ทองแดง – ตับ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ธัญพืช อาหารทะเล และผลไม้แห้ง
นอกจากวิตามินและแร่ธาตุแล้ว แคโรทีนอยด์ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้ดวงตาแข็งแรง แคโรทีนอยด์เป็นสารประกอบที่ไม่อิ่มตัวของเม็ดสีเหลืองถึงแดง ซึ่งพบในผักและผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสีเข้มข้น ลูทีนและซีแซนทีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาการมองเห็น แคโรทีนอยด์ทั้งสองชนิดนี้สะสมอยู่ที่ส่วนหลังของดวงตา โดยเฉพาะในและรอบๆ macula ยังไม่ทราบปริมาณอาหารที่เหมาะสมของแต่ละคน แต่การรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวันควรให้ลูทีนและซีแซนทีนเพียงพอ แหล่งข้อมูลที่ดีได้แก่:
  • ลูทีน – ผักโขม คะน้า กระหล่ำปลี ชาร์ดสวิส ผักกาดเขียว ผักชีลาว พริกแดง และฝรั่ง
  • ซีแซนทีน – พริกหวานสีส้ม บรอกโคลี ข้าวโพด หัวผักกาดเขียว กระหล่ำปลี ผักใบเขียว ส้มเขียวหวาน ส้ม ไข่ และลูกพลับ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/eye-health/macular-degeneration/age-related-macular-degeneration-overview
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dry-macular-degeneration/symptoms-causes/syc-20350375
  • https://www.nhs.uk/conditions/age-related-macular-degeneration-amd/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด