Lorazepam คือยาอะไร
ยาลอราซีแพมเป็นยาคลายเครียด โดยลอราซีแพมจัดอยู่ในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ซึ่งออกฤทธิ์ที่สมองและประสาทให้หลั่งสารออกมาควบคุมให้อาการสงบลง การทำงานของยาจะไปเพิ่มการทำงานของกาบ้า (GABA) ซึ่งเป็นสารเคมีภายในสมองการใช้ยาในแบบอื่นๆ
ลอราซีแพม ต้องเป็นแพทย์สั่งเท่านั้นถึงสามารถรับประทานได้ โดยทั่วไป แพทย์ในการใช้ยานี้เพื่อการนอนหลับในกรณีที่นอนไม่หลับ หรือเพื่อลดอาการถอนแอลกอฮอล์ รวมไปถึงใช้เพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนเนื่องจากเคมีบำบัด คำเตือนก่อนใช้ยา Lorazepam การใช้ยาลอราซีแพมร่วมกับยาบรรเทาความปวด เช่น โคเคน (Codeine) ไฮโดรคอโดน (Hydrocodone) อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่ร้ายแรง เช่น การเสียชีวิต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงลง แพทย์จะเริ่มยาในขนาดที่ต่ำก่อน และใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ ได้แก่ การหายใจช้า/ตื้น วิงเวียนศีรษะผิดปกติ ซึมลง/เวียนศีรษะอย่างรุนแรง ปลุกตื่นยากวิธีใช้ยาลอราซีแพม
ควรอ่านฉลากหรือใบกำกับยาก่อนทุกครั้งที่ใช้ยาลอราซีแพม หากมีข้อสงสัยหรือคำถามให้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ ซึ่งสามารถรับประทานยาลอราซีแพมโดยมีหรือไม่มีอาหารตามก็ได้ ขึ้นอยู่กับคำสั่งแพทย์ หากต้องใช้ยาในระยะยาวควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน เพื่อให้คุณไม่ลืมยา หากคุณหยุดใช้ยากระทันหัน อาจเกิดอาการถอนยา ได้แก่- อาการชัก
- นอนไม่หลับ
- อารมณ์แปรแปรวน
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- ปวดท้อง
- เบื่ออาหาร
- ประสาทหลอน
- ชาตามแขนขา
- ปวดกล้ามเนื้อ
- หัวใจเต้นเร็ว
- ความจำระยะสั้นหายไป
- มีไข้สูง
- มีปฏิกิริยาไวต่อแสง/สัมผัส/เสียง
ผลข้างเคียงของ Lorazepam
ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อาเจียน การมองเห็นไม่ชัดเจน ท้องผูก แสบร้อนกลางทรวงอก ความอยากอาหารเปลี่ยนไป หากอาการเหล่านี้แย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรของคุณทันที จำไว้ว่าแพทย์ของคุณสั่งยานี้เนื่องจากพวกเขาตัดสินใจแล้วว่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยา อีกทั้งหลายคนที่ใช้ยานี้ก็ไม่เกิดผลข้างเคียงจากยา แจ้งให้แพทย์ทราบหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึง:- จิตใจหรืออารมย์เปลี่ยนไป เช่น เห็นภาพหลอน, ซึมเศร้า, มีความคิดฆ่าตัวตาย
- พูดไม่ชัดหรือพูดลำบาก
- การมองเห็นเปลี่ยนไป
- ร่างกายอ่อนเพลียผิดปกติ
- เดินลำบาก
- มีปัญหาในการจำ
- มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีไข้, เจ็บคอ
- ตัวและตาเหลือง
- ชัก
- หายใจช้าหรือลำบาก
- ผื่น
- คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น ภายในลำคอ)
- วิงเวียนศีรษะรุนแรง
- หายใจลำบาก
ข้อควรระวังในการใช้ยา Lorazepam
ก่อนที่จะรับประทานยาลอราซีแพมควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติการแพ้ของตัวคุณกับยาดังกล่าวหรือยาเบนโซไดอะซีปีนตัวอื่นๆ อาทิ อัลพราโวแลม(alprazolam), โคลนาซีแพม(clonazepam), ไดอะซีแพม(diazepam) หรืออาการแพ้อื่นๆ เนื่อจากผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าวมีส่วนประกอบที่ไม่ออกฤทธิ์ ซึ่งอาจเป็สาเหตุให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาที่ตามมาได้ ประวัติที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการใช้ยา:- โรคไต
- โรคตับ
- ต้อหิน (Glaucoma)
- ปัญหาเกี่ยวกับปอด/การหายใจ เช่น อาการหยุดหายใจระหว่างหลับ
- มีอาการซึมเศร้า โรคทางจิต
- มีบุคคลหรือประวัติครอบครัวที่ใช้ยาแล้วเกิดความผิดปกติ เช่น ใช้ยาในปริมาณมากแล้วเกิดการเสพติดยา/แอลกอฮอล์
ปฏิกิริยาต่อกันของยา
ดูในส่วนของคำเตือนที่กล่าวไว้ด้านบน ปฏิกิริยาต่อกันของยาอาจเปลี่ยนการทำงานของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงที่รุนแรงของผลข้างเคียงของยาได้ ในบทความนี้ไม่มีปฏิกิริยาต่อกันของยาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรเก็บรายชื่อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่คุณใช้ รวมถึงรายการยาที่แพทย์สั่ง ทั้งที่เป็นสมุนไพรและไม่ใช่สมุนไพร แจ้งแพทย์และเภสัชกรให้ทราบ อย่าเริ่มหรือหยุดยาเอง หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ บางผลิตภัณฑ์อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยา เช่น- Clozapine
- Kava
- Sodium oxybate (หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ Gamma hydroxybutyrate : GHB)
การใช้ยาเกินขนาด
โทรแจ้ง 1669 หรือรีบไปดน่วยฉุกเฉิน หากคุณใช้ยาเกินขนาดและมีอาการรุนแรง เช่นหายใจไม่ออกหรือหายใจลำบาก หรือศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี 1367 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หมายเหตุ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การเริ่มลดความเครียด อาจเพิ่มประสิทธิภาพของยาลอราซีแพมได้ อย่าแบ่งยาหรือใช้ยาร่วมกับผู้อื่น การตรวจเลือด เช่น การตรวจนับเม็ดเลือด, หน้าที่ของตับ เป็นระยะเพื่อติดตามความคืบหน้า หรือตรวจสอบผลข้างเคียงเป็นสิ่งที่ควรทำ สามารถปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์ได้การลืมทานยา
หากคุณลืมทานยาและต้องทานมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ให้ข้ามยามื้อนั้นไปและไปทานยาของมื้อถัดไปแทน โดยไม่ต้องเบิ้นยาหรือทานยาเพิ่ม หรือหากลืมยาในกรณีที่คุณทานยาวันละครั้งก่อนนอนแล้วคุณลืมยา ไม่ต้องทานยาทดแทนในมื้อเช้า ให้ข้ามไปทานตามปกติมื้อก่อนนอนได้เลย หรือโทรลปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกการเก็บรักษายา
เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง, พ้นแสงและความชื่น ไม่เก็บยาไว้ในห้องน้ำ อีกทั้งควรเก็บยาทั้งหมดให้ไกลมือเด็กและสัตว์เลี้ยง อีกทั้งอย่าทิ้งยาลงในชักโครกหรือเทลงในท่อระบายน้ำ ยกเว้นจะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรทิ้งยาเหล่านี้ให้เหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรหรือบริษัทกำจัดขยะในพื้นที่ของคุณใครที่ไม่ควรใช้ลอราซีแพม
ลอราซีแพมเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มเบนโซไดอะซีพีน ซึ่งมักใช้รักษาโรควิตกกังวล การนอนไม่หลับ และอาการชักบางประเภท อย่างไรก็ตาม มีสถานการณ์และเงื่อนไขเฉพาะที่อาจไม่แนะนำให้ใช้ และควรใช้ความระมัดระวัง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับลอราซีแพมและความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ต่อไปนี้เป็นบางสถานการณ์ที่อาจจำเป็นต้องมีความระมัดระวังหรือการหลีกเลี่ยงการใช้ยาลอราซีแพม:- อาการแพ้หรือความไว:บุคคลที่ทราบว่าแพ้ยาลอราซีแพมหรือยาเบนโซไดอะซีปีนไม่ควรรับประทาน ปฏิกิริยาการแพ้อาจรวมถึงอาการต่างๆ เช่น ผื่น คัน บวม หรือหายใจลำบาก
- โรคต้อหินมุมแคบ: Lorazepam อาจทำให้อาการนี้รุนแรงขึ้นเนื่องจากอาจส่งผลต่อความดันในลูกตา อาจไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหินชนิดนี้
- ปัญหาระบบทางเดินหายใจ:ควรใช้ความระมัดระวังสำหรับบุคคลที่มีภาวะทางเดินหายใจรุนแรง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากลอราซีแพมอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าทางเดินหายใจหรือทำให้หายใจลำบากแย่ลง
- ประวัติการใช้สารเสพติดหรือการเสพติด:บุคคลที่มีประวัติการใช้สารเสพติด โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์หรือยาอื่นๆ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะติดยาลอราซีแพม ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อสั่งยาเบนโซไดอะซีพีนในกรณีเช่นนี้
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาลอราซีแพมในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เว้นแต่ว่าผลประโยชน์จะมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องหารือเรื่องนี้กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ
- ผู้สูงอายุ:ผู้สูงอายุจำเป็นต้องระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีความไวต่อผลของลอราซีแพมมากกว่า รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอาการระงับประสาท สับสน หรือการประสานงานบกพร่อง
- ตับหรือไตทำงานไม่ปกติ:บุคคลที่มีความบกพร่องทางตับหรือไตอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรือติดตามอย่างใกล้ชิดขณะรับประทานลอราซีแพม เนื่องจากยาได้รับการประมวลผลโดยอวัยวะเหล่านี้
- สภาวะทางการแพทย์บางประการ:ลอราซีแพมอาจไม่เหมาะกับบุคคลที่มีอาการป่วยบางอย่าง เช่น โรคต้อหินเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการมึนเมาจากแอลกอฮอล์เฉียบพลัน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682053.html
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-8892-5244/lorazepam-oral/lorazepam-oral/details
- https://www.nhs.uk/medicines/lorazepam/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น