ยาโลเพราไมด์ (Loperamide) – วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาโลเพราไมด์

Loperamide คือยาอะไร

ยา Loperamide เป็นยาบรรเทาอาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน และท้องเสียเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากติดเชื้อ ทำให้ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารและลดการขับสารคัดหลั่ง ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยยับยั้งการบีบตัวของลำไส้และทำให้น้ำในอุจจาระลดลง ทำให้ถ่ายน้อยลงและถี่น้อยลง ทำให้อาการท้องเสียน้อยลง ยานี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย ไม่ทำให้เกิดอาการเสพติดเนื่องจากมีการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและสมองผ่านทางผนังลำไส้น้อยมาก แต่มีความเป็นพิษต่อการทำงานของหัวใจอย่างมาก สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง และภาวะอื่น ๆ เช่น ภาวะปอดและสมองบวม ปัสสาวะไม่ออก และลิ่มเลือดในขา เป็นต้น

Imodium คือ

อีโมเดียม (Imodium)เป็นชื่อทางการค้าของโลเพราไมด์ (Loperamide) ซึ่งเป็นยาลดอาการท้องร่วง โดยยาจะช่วยชะลอการบีบตัวของทางเดินอาหาร  ใช้ในการรักษากระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง และกลุ่มอาการลำไส้สั้น ยานี้จึงไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ถ่ายเป็นเลือด

ยา Loperamide ใช้รักษาอาการอะไร

ยาโลเพราไมด์สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยช่วยลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ใช้เพื่อรักษาอาการท้องร่วงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ ใช้ลดปริมาณของเสีย หลังจากช่วงที่ว่างเว้นจากการผ่าตัดของลำไส้เล็กส่วนปลายหรือลำไส้ใหญ่ ใช้เพื่อรักษาภาวะขาดน้ำ (Dehydration) และขาดอิเล็กโทรไลท์ (Electrolyte) ได้

Loperamide

รูปแบบของยา Loperamide

รูปแบบของยา Loperamide มีรูปแบบยาแคปซูล ยาเม็ด ขนาด 2 mg. และยาน้ำ ขนาด 1 mg./ 5 ml., 1 mg./ 60 ml., 1 mg./ 90 ml., และ 1 mg./ 120 ml. 

ปริมาณการใช้ยา Loperamide

ในการใช้ยาควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลปริมาณการใช้ยาที่ถูกต้องและให้เกิดผลดีที่สุด ปริมาณของยา Loperamide สำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องรับประทานเพื่อรักษาอาการท้องร่วง โดยเริ่มต้นรับประทาน 4 mg หลังจากนั้นให้ประทานครั้งละ 2 mg เป็นระยะเวลา 5 วัน จนอาการดีขึ้นแล้วให้รับประทานยาตามปริมาณปกติวันละ 6-8 mg  และห้ามใช้ยาเกินวันละ16 mg และปริมาณยาสำหรับรักษาอาการท้องร่วงเรื้อรัง คือ ให้เริ่มรับประทานยา  4 mg หลังจากนั้นให้รับประทานครั้งละ 2 mg จนกระทั่งอาการลดลง ซึ่งปริมาณยาปกติต่อวันคือ 4-8 mg โดยให้แบ่งรับประทาน และห้ามใช้ยาเกินวันละ 16 mg ส่วนปริมาณการใช้ยาสำหรับรักษาอาการท้องร่วงธรรมดาในเด็กอายุ 6-12 ปี ให้รับประทานได้ตั้งแต่วันละ 0.08 ถึง 0.24 mg ซึ่งขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเด็ก (รับประทาน 1 mg/น้ำหนักตัว 10 kg) โดยให้แบ่งรับประทาน 2 หรือ 3 ครั้ง เด็กอายุ 6-8 ปี ให้รับประทานครั้งละ 2 mg วันละ 2 ครั้ง เด็กอายุ 8-12 ปี รับประทาน 2 mg วันละ 3 ครั้ง ไม่แนะนำให้ใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี สำหรับอาการท้องร่วงเรื้อรัง ยังไม่มีการกำหนดปริมาณการใช้ยาสำหรับเด็ก

การเก็บรักษายา Loperamide

ในการเก็บรักษายา Loperamide ควรอ่านฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรก่อนเสมอ เนื่องจากยา Loperamide บางยี่ห้ออาจมีวิธีการเก็บรักษาแตกต่างกัน และควรเก็บ ยา Loperamide ให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากหากเด็กและสัตว์เลี้ยงรับประทานเข้าไปจะเป็นอันตรายได้ โดยให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงไม่ให้ยาโดนแสงแดดหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหายไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นในการใช้ยาควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง ในการกำจัดยาไม่ควรทิ้งลงในชักโครกหรือท่อระบายน้ำ ยกเว้นแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำให้ทิ้งได้

ผลข้างเคียงของ Loperamide

ในการใช้ยาอาจมีผลข้างเคียงคือมีมีผื่นลมพิษ มีไข้ ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอบวม ท้องร่วง เสียงแหบ หัวใจเต้นเร็วหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นผลมาจากการแพ้ยา มีอาการปากแห้ง มึนงง ซึม วิงเวียน ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกแน่นจุกเสียดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ปวดท้อง เจ็บตรงช่องท้อง มีการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และอาจมีอาการลำไส้ใหญ่อุดตัน พองตัวและเน่าได้

วิธีใช้ยา Loperamide

ในการใช้ยา Loperamide ทุกครั้ง แนะนำให้อ่านวิธีใช้ และใช้ยาตามที่ฉลากยาระบุไว้อย่างเคร่งครัด ห้ามใช้ยาเกินขนาดหรือน้อยกว่าที่ระบุ และไม่ควรรับประทานยานี้ติดต่อกันนานเกิน 1 สัปดาห์ หากรับประทานยาแล้ว มีอาการไข้ ปวดท้องรุนแรง อุจจาระมีเลือดปน หรือท้องเสีย และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบปรึกษาแพทย์ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ อาหารเป็นพิษ

ข้อควรระวังในการใช้ยา Loperamide

ยา Loperamide มีข้อควรระวังในการใช้ คือ ควรแจ้งให้แพทย์หากผู้ใช้ยาเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุ เนื่องจากการใช้ยาอาจมีผลข้างเคียงต่อเด็กและผู้สูงอายุมากกว่า และก่อนใช้ยาผู้ป่วยควรดื่มน้ำและได้รับสารอาหารที่เพียง โดยการใช้ยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึมได้ จึงไม่ควรขับรถและการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร ควรแจ้งประวัติการรักษาโรคอื่นๆ และประวัติการแพ้ยา การแพ้อาหาร ขนสัตว์ สีย้อมหรือสารกันบูด รวมทั้งหากข้อมูลการใช้ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพรกำลังใช้  อย่าใช้ยาและควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากอุจจาระเป็นดำ หรือมีมูกเลือดปน เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของการทำงานของตับ มีไข้ และท้องเสียมากกว่า 2 วัน หรือมีอาการปวดท้องรุนแรง ท้องอืดบวม และหากมีโรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง โรคลำไส้อักเสบชนิดซูโดเมมเบรนัส เป็นโรคบิด เป็นโรคตับ สมรรถภาพของตับ หรือโรคลำไส้อักเสบชนิดมีแผล ท้องอืด ควรแจ้งแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการใช้ยา เนื่องจากการใช้ยาอาจจะทำให้โรคเหล่านี้แย่ลง หากลืมใช้ยาให้ใช้ทันทีที่นึกได้ ถ้าใกล้เวลาใช้ยาในครั้งต่อไป ให้ข้ามไปใช้ยาในครั้งต่อไปได้โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า หากท่านซื้อยารับประทานเอง และอาการยังไม่ดีขึ้นใน 2 วันให้ปรึกษาแพทย์ หากรับประทานยา 5 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรแจ้งแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอหากกำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร ตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปวดท้องบิด

ใครที่ควรหลีกเลี่ยงยา Loperamide 

ต่อไปนี้เป็นกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการใช้ยาโลเพอราไมด์:
  • เด็ก:
      • โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ Loperamide สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยไม่ได้รับการดูแลและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สำหรับเด็กโต ควรกำหนดขนาดยาอย่างระมัดระวังโดยพิจารณาจากน้ำหนักและอายุของเด็ก
  • สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร:
      • สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนใช้ยานี้แม้ว่าจะถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • บุคคลที่เป็นโรคตับ:
      • โลเพอราไมด์ถูกเผาผลาญในตับ และผู้ที่เป็นโรคตับอาจมียาสะสมในระบบร่างกาย ผู้ที่มีความบกพร่องทางตับควรใช้โลเพอราไมด์ด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้หรือแพ้ง่าย:
      • บุคคลที่เคยมีอาการแพ้หรือไวต่อยาโลเพอราไมด์หรือส่วนประกอบใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางประการ:
      • บุคคลที่มีอาการป่วยเฉพาะ เช่น โรคลำไส้อักเสบ ลำไส้ใหญ่อักเสบจากแบคทีเรีย หรือภาวะทางเดินอาหารที่รุนแรงอื่นๆ ควรใช้โลเพอราไมด์ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาที่มีปฏิกิริยากับ Loperamide:
      • ยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับโลเพอราไมด์ ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิผลหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง บุคคลที่รับประทานยาอื่นๆ ควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนใช้ยาโลเพอราไมด์
  • ผู้ที่มีประวัติการใช้สารเสพติด:
    • มีรายงานการใช้ Loperamide ในทางที่ผิด โดยเฉพาะในบุคคลที่ต้องการรักษาอาการถอนฝิ่นด้วยตนเอง การใช้โลเพอราไมด์ในทางที่ผิดอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านสุขภาพที่ร้ายแรง และผู้ที่มีประวัติการใช้สารเสพติดควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเสมอ และอ่านฉลากของผลิตภัณฑ์เพื่อดูคำแนะนำในการใช้ยาและการใช้ที่เหมาะสม หากคุณมีอาการรุนแรงหรือต่อเนื่อง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด