พยาธิใบไม้ตับ
โรคพยาธิใบไม้ตับหรือ (Liver fluke) คือ พยาธิชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมได้ ในแมวและสุนัข พยาธิชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างแบนคล้ายใบไม้ มีหัวและท้ายเรียวมน ลักษณะลำตัวเป็นสีแดงอ่อน ๆ โดยการติดเชื้อจะมีสาเหตุมาจากการรับประทานปลาหรือสัตว์น้ำที่ปรุงไม่สุก โดยเมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายแล้ว จากนั้นพยาธิจะไปอาศัยอยู่ในท่อน้ำดีอาการและผลข้างเคียงของพยาธิใบไม้ตับ
เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ให้สังเกตุถึงอาการจุกและแน่นบริเวณท้องใต้ชายโครงด้านขวา และลิ้นปี่ มีอาการท้องอืด ตับโต เมื่อเป็นไปถึงระยะสุดท้ายจะทำให้ตัวเหลือง เกิดโรคดีซ่าน เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ อาจจะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้ดังนี้:- ท้องเสีย (diarrhea)
- มีไข้ (fever)
- เป็นผื่น
- เบื่ออาหาร
- ปวดท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน
สาเหตุของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
โดยทั่วไปแล้วคนหรือสัตว์จะได้รับเชื้อพยาธิใบไม้ตับจากการทานอาหารทะเล หรือปลาที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ พยาธิใบไม้ตับนี้พบมากในปลาน้ำจืดเช่น ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาขาว นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในปลาที่นำมาแปรรูปที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ปรุงสุกและสะอาด เช่น ปลาร้าการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ
ยาชนิดรับประทาน
แพทย์จะสั่งจ่ายยาพราซิควอเทลโดยพิจารณาตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเพื่อการกำจัดไข่ของพยาธิ และหากผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยอาจจะต้องรับประทานยาปฎิชีวินะเพิ่มการผ่าตัด
การผ่าตัดจะเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้มีภาวะแทรกซ้อนหรือติดเชื้อในระบบทางเดินท่อน้ำดีการป้องกันพยาธิใบไม้ตับ
การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับนั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นวิธีที่ง่ายและเห็นผลดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อพยาธิ โดยควรพิจารณาอาหารที่จะรับประทานดังนี้:- รับประทานอาหารทะเล หรือปลาน้ำจืดที่ปรุงสุกเท่านั้น ไม่ควรรับประทานหากปลายังดิบ หรือกึ่งสุกกิ่งดิบ
- เมื่อต้องการรับประทานปลาดิบควรแน่ใจว่าปลานั้นถูกแช่อยู่ในความเย็นต่ำกว่า -20 องศา เป็นเวลา หนึ่งอาทิตย์
- เมื่อไปในยังแหล่งทุรกันดาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารและน้ำที่ไม่ต้ม อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกและสะอาด
ปัจจัยเสี่ยงของโรคพยาธิใบไม้ตับ
จากสถิติของการสุ่มตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีและพยาธิใบไม้ตับในปี 2552 ได้พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่แล้วเป็นประชาชนในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่ผู้คนในแถบนี้นิยมรับประทาน ก้อย ซึ่งไม่ได้ปรุงสุก ดังนั้นการรับประทานอาหารจึงเป็นปัจจัยหลักที่จะทำความเสี่ยงต่อโรคพยาธิใบไม้ตับมาสู่ร่างกายวงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ในตับ
สัตว์ที่ติดเชื้อจะขับไข่ออกมาทางอุจจาระ ไข่เหล่านี้พัฒนาในน้ำจืดโดยใช้หอยทากเป็นโฮสต์ทันทีเพื่อผ่านขั้นตอนการพัฒนาหลายขั้นตอน ต่อมาหอยทากจะปล่อยไข่ไปยังพืชซึ่งสัตว์กินหญ้ากินเข้าไปและส่งต่อไปยังมนุษย์ซึ่งพวกมันจะมีชีวิตอยู่จนโตเต็มวัย มนุษย์อาจกินปรสิตโดยตรงผ่านพืชขั้นตอนของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ- ระยะเฉียบพลัน ระยะนี้อธิบายเวลาตั้งแต่วันที่สี่ถึงวันที่เจ็ดหลังจากสัมผัสกับปรสิต คุณอาจตรวจไม่พบสัญญาณหรืออาการแสดง และอาจเป็นต่อไปอีกสองถึงสี่เดือน
- ระยะแฝง ในช่วงระยะแฝง พยาธิใบไม้ในตับจะโตเต็มที่แล้วและจะไปเกาะที่ท่อน้ำดี ขั้นตอนนี้อาจดำเนินต่อไปอีกสองสามเดือน
- ระยะเรื้อรัง ในระยะนี้ หนอนโตเต็มวัยอาจก่อให้เกิดผลเสียได้ เนื่องจากพวกมันขับของเสียจากการเผาผลาญออกมาทางตับและน้ำดี สิ่งนี้อาจนำไปสู่การอุดตันของท่อน้ำดีและการอักเสบ
นี่คือลิงค์แหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/parasites/liver_flukes/index.html
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/319479
- https://www.msdmanuals.com/home/infections/parasitic-infections-trematodes-flukes/fluke-infections-of-the-liver
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น